foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

art local people

tepbutr satirodchompoo 04เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์

นายเทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ หรือ เทพบุตร สติรอดชมภู ชื่อนี้สำหรับคนติดตามเส้นทางของความเป็น "หมอลำ และลูกทุ่งอีสาน" ท่านเป็นเหมือน "เจ้าของค่ายเพลงอีสานยุคแรก" แม้ในวันนั้นคำว่า "ค่าย" จะยังไม่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นผู้ก่อตั้งคณะหมอลำ "รังสิมันต์" ที่ดังลั่นทั่วภาคอีสานไปจนถึงภาคกลาง มีการบันทึกเสียงลำเรื่องต่อกลอนที่โด่งดังหลายเรื่อง เป็นทั้งผู้สร้างและผลักดันนักร้องดังมากมาย เช่น ศักดิ์สยาม เพชรชมพู, เทพพร เพชรอุบล, ดาว บ้านดอน เป็นต้น

นับว่าเป็นข่าวที่สร้างความเสียใจอย่างมากให้กับวงการบันเทิง เมื่อ เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ อดีตสามีของหมอลำศิลปินแห่งชาติ บานเย็น รากแก่น และเป็นคุณพ่อของศิลปินหมอลำ แคนดี้ รากแก่น และนักแสดงชื่อดัง โทนี่ รากเเก่น ที่ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 หลังรักษาอาการป่วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี

ถึงแม้จะไม่มีผลงานในวงการบันเทิงเหมือนกับอดีตภรรยา และบุตรชายกับบุตรสาว แต่ เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ ก็เป็นนักธุรกิจชาวออสเตรเลีย ที่มีเชื้อสาย เวียดนาม-ฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญของวงการเพลงหมอลำ หลังได้ก่อตั้งวงหมอลำ และปลุกปั้นหลายๆ ศิลปินลูกทุ่งชื่อดังมากมาย

เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ เป็นโฆษกและนักจัดรายการวิทยุ รวมถึงเป็นเจ้าของบริษัท สำนักงานสยามธุรกิจบันเทิง โดยเขามีส่วนในการเข้าไปเป็นผู้จัดการวงของคณะหมอลำเรื่องต่อกลอน คณะรังสิมันต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2510 ซึ่งมีสมาชิกอย่าง ฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2536 สาขาศิลปะการแสดง เป็นนางเอก และมีพระเอกหมอลำชื่อดัง ทองคำ เพ็งดี รวมถึงได้หมอลำสาวแสนสวยดาวรุ่ง บานเย็น รากแก่น มาร่วมอยู่ในคณะด้วย

รู้จักกับ "เทพบุตร สติรอดชมภู"

“วงดนตรีลูกทุ่ง” คือ ธุรกิจบันเทิงดั้งเดิม ที่ไม่มีใครพูดถึง เพราะจะไปมองไปที่ความดังและชื่อเสียงของตัว “นักร้อง” เสียมากกว่า ซึ่งเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว วงดนตรีลูกทุ่งกว่าร้อยละ 80 มีนายทุนเป็นผู้บริหาร (เจ้าของ) ส่วนนักร้องที่ได้ชื่อว่าเป็น "หัวหน้าวงดนตรีลูกทุ่ง" คณะนั้นก็มีสถานะแค่เป็น “ลูกจ้าง” ที่ได้ค่าตัวแพงกว่าทุกคนในวงดนตรีเท่านั้น

“เทพบุตร สติรอดชมภู” เป็นนักธุรกิจบันเทิงคนหนึ่ง ที่มีความเก่งกาจในการบริหารจัดการวงดนตรี หรือคณะหมอลำเรื่อง กว่าจะประสบความสำเร็จบนถนนสายลูกทุ่งอีสาน เทพบุตรต้องสู้ชีวิตมาแต่วัยเยาว์ เมื่อเป็นวัยรุ่นพ่อแม่ส่งให้ไปเรียนวิชาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าที่ จังหวัดมหาสารคาม หลังจากเลิกเรียนในเวลากลางคืน ก็ไปทำงานพิเศษเพื่อหารายได้ให้แก่ตัวเอง

tepbutr satirodchompoo 07

ปี 2507 เทพบุตรเก็บหอมรอมริบมาร่วม 3-4 ปี จนสามารถเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง จนเปิดร้านเป็นของตัวเอง ชื่อ “ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าเทพบุตร” สร้างฐานะให้มั่งคั่ง จากนั้น เทพบุตรไปเช่าเวลาที่สถานีวิทยุทหารอากาศ มหาสารคาม เพื่อจัดรายการเพลงลูกทุ่ง และหมอลำ

ปี 2508 เทพบุตรกับน้องชาย และผองเพื่อน ตั้งวงดนตรีสตริงขึ้นชื่อวง “เทพบุตรชาโดว์” รับงานเดินสายแสดงทั่วภาคอีสาน เป็นที่นิยมของบรรดาแฟนเพลงวัยรุ่นในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก

ปี 2510 เทพบุตรเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนอยู่กับ "หมอลำคณะรังสิมันต์" ของ แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน เนื่องจากเทพบุตรเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องตัดเย็บเสื้อผ้า ทำให้ชุดหมอลำในยุคนั้นจึงออกมาสวยงามตระการตามาก

แม้ตัวเขาจะไม่ใช่ศิลปินหมอลำ แต่เทพบุตรได้เรียนรู้เรื่องการแสดงหมอลำอย่างทะลุปรุโปร่ง หมอลำไม่ใช่ความบันเทิงแบบบ้านบ้าน หากแต่สามารถสร้างงาน และสร้างธุรกิจด้านการเงินได้เป็นอย่างดี และมีความยั่งยืน เทพบุตรจึงได้นำหมอลำ "คณะรังสิมันต์" แยกตัวจาก "แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน" ออกมาดูแลเอง โดยมาตั้งสำนักงานอยู่ที่ซอยบุปผาสวรรค์ ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ เดิมทีนั้นสำนักงานหมอลำส่วนใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม แต่เทพบุตรนำหมอลำมาอยู่ในซอยบุปผาสวรรค์ ที่เป็นอาณาจักรวงดนตรีลูกทุ่ง เขาได้ปั้นนางเอกหมอลำคนใหม่คือ “บานเย็น รากแก่น” มาคู่กับพระเอกหมอลำคนเดิม "ทองคำ เพ็งดี"

ด้วยคอนเนกชั่นอันกว้างขวางของตัวเทพบุตรเอง ทำให้ "บานเย็น รากแก่น" ได้แสดงหนังเรื่อง “แผ่นดินแม่” ของชรินทร์ นันทนาคร และได้ขับร้องเพลง “คืนเพ็ญเข็นฝ้าย” เมื่อเพลงดัง เทพบุตรก็ตั้ง "วงดนตรีบานเย็น รากแก่น" ทันที เขาทุ่มเทปั้นสาวหมอลำเมืองอุบลฯ เต็มที่ จนเป็นราชินีหมอลำคนที่ 2 ของเมืองไทย ต่อจาก "แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน"

ขณะเดียวกัน เทพบุตรได้สร้างนักร้องลูกทุ่งอีสานคนใหม่ คือ “จีระ จีระพรรณ” เจ้าของเพลง "เศรษฐีขายขี้กระบอง" และตั้งวงดนตรีจีระ จีระพรรณ รับงานแสดงเดินสายทั่วประเทศ เมื่อเทพบุตรขัดแย้งแตกหักกับจีระ จีระพรรณ ก็หันมาปั้น “ศักดิ์สยาม เพชรชมภู” จนโด่งดัง และตั้ง "วงดนตรีศักดิ์สยาม เพชรชมภู" เป็น วงดนตรีลูกทุ่งอีสานวงแรก ที่ไม่ต้องพึ่งพาการแสดงหมอลำร่วมด้วย

tepbutr satirodchompoo 06

ช่วงที่เพลงของ "ศักดิ์สยาม" ดังระเบิด เทพบุตรจ่ายค่าตัวให้ศักดิ์สยามแบบเหมาจ่าย วันละ 400 บาท และขยับเป็นวันละ 500 บาท ช่วงปี 2518 กลยุทธ์ในการบริหารวงดนตรี และสร้างนักร้องให้โด่งดัง เทพบุตรจะสร้างสัมพันธ์อันดีกับ “นักจัดรายการวิทยุ” ทั่วภาคอีสาน ในลักษณะต่างตอบแทน เมื่อมัดใจนักจัดรายการวิทยุได้ เพลงของนักร้องในสังกัดเทพบุตรก็จะถูกเชียร์ออกอากาศทางวิทยุมากเป็นพิเศษ

นอกจากนั้น ยังมีนักร้องที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นอีกหลายคน ที่เทพบุตรมีส่วนในการสนับสนุน เช่น เทพพร เพชรอุบล, ดาว บ้านดอน, เทพรังสรรค์ ขวัญดารา, สุภาพ ดาวดวงเด่น, อรอุมา สิงห์ศิริ, ร้อยเอ็ด เพชรสยาม, พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย ฯลฯ

บนเส้นทางธุรกิจเพลงลูกทุ่งอีสานวันนี้ ได้เปลี่ยนจากการรวมศูนย์โดยค่ายเพลงค่ายใหญ่ มาสู่สตาร์ทอัพ “อายุน้อยร้อยล้าน” อันไม่ต่างจากยุคเฟื่องฟูของเทพบุตร นักธุรกิจลูกทุ่งหมอลำเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

rangsimant 01

คณะรังสิมันต์ เป็นคณะหมอลำที่ลำทำนองอุบล (วาทอุบล) ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างมาก หลังการลำออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ โดยมีการถ่ายทำการแสดงดังกล่าวบันทึกเทปโทรทัศน์ด้วย คณะรังสิมันต์ ได้มีพัฒนาการการแสดงเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะเริ่มต้น พ.ศ. 2504 เป็นการรวมกลุ่มของหมอลำกลอน ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งเป็นคณะหมอลำเรื่องขึ้นเปิดรับงานทั่วไป มีการเช่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากคณะลิเกในจังหวัดนครราชสีมา
  • ระยะที่ 2 พ.ศ. 2508-2509 สร้างความนิยมด้วยการปรับปรุงการแสดง เพื่อแข่งขันกับวงดนตรีลูกทุ่ง มีการร้องเพลงลูกทุ่ง มีหางเครื่องเต้นประกอบก่อนการแสดงเข้าเรื่อง
  • ระยะที่ 3 พ.ศ. 2513-2524 มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ประยุกต์เครื่องแต่งกายเลียนแบบลิเกของภาคกลาง นำเครื่องแต่งกายแบบชุดไทยพระราชนิยมมาประกอบการแสดง มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลมาประยุกต์ใช้ในการแสดง ลักษณะการแสดงที่สำคัญของการแสดง มีการกล่าวนำ ดำเนินเรื่อง และช่วงกล่าวอำลา

การแสดงจะเริ่มต้นในเวลา 20.00 ไปจนถึง 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เรื่องที่แสดง ได้แก่ วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เช่น จำปาสี่ต้น ท้าวก่ำกาดำ นางแตงอ่อน แต่เรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของคณะรังสิมันต์ คือ เรื่อง ศรีธน-มโนห์รา (พระสุธน-มโนราห์) ลักษณะของกลอนลำใช้ทำนองวาทอุบล ในการดำเนินเรื่องและแทรกทำนองลำอื่นๆ เช่น ลำเต้ย ลำเพลินในจังหวะสนุกสนาน หมอลำเรื่องนั้นเป็นการแสดงที่นักแสดงต้องร้องกลอนลำ สลับกับการเจรจาเป็นการดำเนินเรื่องไปจนจบ ช่วงท้ายจะมีนักแสดงอาวุโส หรือนักแสดงตัวเอกมาร้องกลอนลำลา เพื่ออวยพรให้ผู้ชมเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ (ข้อมูลจาก แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน)

sak siam 02

นอกจากวงหมอลำแล้ว เทพบุตร ยังเป็นผู้ผลักดันศิลปินลูกทุ่งอีสาน ศักดิ์สยาม เพชรชมภู (บุญชื่น เสนาราช) ผู้ถ่ายทอดเพลง "ทุ่งกุลาร้องไห้, อ.ส.รอรัก, ตามน้องกลับมหาสารคาม" และ "คักใจเจ้าแล้วบ่" รวมถึง ดาว บ้านดอน (เทียม เศิกศิริ) ศิลปินลูกทุ่งเจ้าของเพลง "คนขี่หลังควาย" ที่ได้รับรางวัล เสาอากาศทองคำพระราชทาน ปี พ.ศ. 2519

dao bandon 02

เทพบุตร สติรอดชมภู ได้บันทึกถึงเรื่องราวของ "คณะหมอลำรังสิมันต์" และบานเย็น รากแก่น ไว้ในเฟซบุ๊คส่วนตัว เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ไว้ว่า

ตำนานคณะหมอลำเรื่องต่อกลอน รังสิมันต์

"ราชินีหมอลำบานเย็น รากแก่น บนเส้นทางของลำเรื่องต่อกลอน "คณะรังสิมันต์" ขอถือโอกาสรวบรัดตัดตอนถึงในวันสุดท้ายของ บานเย็น รากแก่น ที่มีโอกาสได้แสดงร่วมกับหมอลำ คณะรังสิมันต์ ที่จังหวัดนครราชสีมา ในตันปี พุทธศักราช 2517 ผมรับงานแสดงของวงรังสิมันต์ ซึ่งมี บานเย็น รากแก่น เป็นตัวชูโรงสำคัญที่สุด เจ้าภาพทางภาคกลาง ขอให้ได้เพียง บานเย็น รากแก่น มาแสดงเพียงคนเดียวก็พอใจ ผมรู้ว่า สาคร ทุมมี (ผู้ดูแลวงรังสิมันต์ร่วมกับผม) ที่รับงานคณะรังสิมันต์ไว้ที่จังหวัดนครราชสีมา ทับซ้อนกับงานที่ผมรับไว้ที่ซอยบุปผาสวรรค์ ก่อนหน้านี้ที่ภาคกลาง

ผมจึงให้ สุพจน์ พรเจริญ (ช่วงนั้นทำวงดนตรี เรียม ดาราน้อย อยู่) นำวงดนตรีทั้งหมดเตรียมไว้ที่งาน และให้แสดงรอ บานเย็น รากแก่น ซึ่งจะเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา ไปถึงงานประมาณ 6 ทุ่ม หรือ ตี 1 ให้ชาวคณะเล่นรอ บานเย็น รากแก่น จะมาปรากฎตัว ส่วนผมขับรถไปรับ บานเย็น และแม่เหมือย รากแก่น แม่ของ บานเย็น ที่จังหวัดนครราชสีมา และได้บอกกับ สาคร ทุมมี ว่าจะนำ บานเย็น รากแก่น ไปแสดงอีกงานที่รับไว้แล้ว

banyen 06

ณ วันนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต ของ บานเย็น รากแก่น เป็นวันสุดท้ายที่มีโอกาสได้อยู่กับคณะรังสิมันต์ ผมก็ตั้งสำนักงาน "วงดนตรีลูกทุ่งสาว บานเย็น รากแก่น" ขึ้นที่ ซอยบุปผาสวรรค์ รับงานในนามวงดนตรี บานเย็น รากแก่น งานแสดงเต็มยาวเหยียดไปถึงปีหน้า บุคคลสำคัญที่มาอยู่ร่วมวง ก็มี สุพจน์ พรเจริญ, ใหญ่ อยุธยา, เปี๊ยก บ้านโป่ง, พรหมศร พรสวรรค์, ดิ่ง วินศิริ โดยมอบหมายให้ พี่อมรฤทธิ์ วิมลชัยฤกษ์ เป็นผู้ดูแล วงดนตรีลูกทุ่งสาว บานเย็น รากแก่น ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ส่วนคณะหมอลำรังสิมันต์ ผมก็วางมือให้ สาคร ทุมมี บริหารเองทั้งหมด (สาเหตุในปี พุทธศักราช 2516 ผมมีคดีความถูกตัดสินจำคุกตลอดปี จึงไม่ได้มาบริหารวงหมอลำรังสิมันต์เลย เมื่อผมออกมาจากคุก จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่) เมื่อตั้งวงดนตรีให้กับ บานเย็น รากแก่น ก็ดังสุดขีด ตั้งแต่เป็นศิลปินมา ไปแสดงที่ไหน? คนแน่นทุกที่ แสดงถึงความดัง ความฮิต ความสนใจ ความสวย ของ บานเย็น รากแก่น

ส่วนวงหมอลำเรื่องต่อกลอน คณะรังสิมันต์ ในยุคที่บริหารโดย สาคร ทุมมี ซึ่งมีพระเอก หมอลำทองคำ เพ็งดี และสุมาลี ป้องเขต เป็นนางเอก ก็ถึงจุดอวสาน ไม่นานก็ต้องยุบวงไปโดยปริยาย เสียดายเหมือนกัน 9 ปี ของหมอลำเรื่องต่อกลอน คณะรังสิมันต์ ที่ผมมีส่วนร่วมจำเป็นต้องสลายตัว แยกย้ายกันไปคนละทาง ผมเองก็มีความเศร้าใจเป็นที่สุด ไม่นึกว่าผมวางมือ ให้ สาคร ทุมมี มาบริหารเป็นหัวหน้าคนเดียวแล้วจะยุบวงเร็วขนาดนี้ จากวันนั้นถึงวันนี้ ผมไม่มีโอกาสได้พบกับ ทองคำ เพ็งดี อีกเลย จนทราบข่าวว่าเขาเสียชีวิต

ส่วน สาคร ทุมมี ไปอยู่บ้านเสียมกับภรรยาเก่า ผมมีโอกาสไปเยี่ยม ส่วน สุมาลี ป้องเขต ก็ไปอยู่กับลูกที่บ้านยาง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ผมก็มีโอกาสไปเยี่ยม เทพพร เพชรอุบล อยู่ขอนแก่นเสียชีวิตแล้ว ศักดิ์สยาม เพชรชมภู อยู่บ้านนานกเขียน จังหวัดมหาสารคาม บานเย็น รากแก่น อยู่อุบลราชธานี ส่วนผม เทพบุตร สติรอดชมภู มีถิ่นที่อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ที่เอ่ยนามมานี้ไม่ได้พบกันเลยตั้งแต่ยุบวงมา ถ้าได้มีโอกาสพบกันน้ำตาคงจะท่วมจอ มันซาบซึ้งในการอยู่ร่วมกันมาอย่างอบอุ่น เมื่อจากกันโดยไม่ได้ร่ำลากันเอยมันเศร้า

ทั้งหมดนี้คือ ตำนานหมอลำเรื่องต่อกลอน คณะรังสิมันต์ คณะเดียวในประวัติศาสตร์ เป็นยอดหมอลำต้นตำรับลำเรื่องต่อกลอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ประเทศไทย ที่ไม่มีใครลบสถิติต่างๆ ได้ เหลือไว้แต่ตำนานเล่าขานสืบไป และความทรงจำที่ดีตลอดกาลฯ..."

ชีวิตครอบครัว

เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ สมรสกับ บานเย็น รากแก่น มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นหญิง 2 คน ชาย 1 คน คือ แอนนี่, แคนดี้ และ โทนี่ รากแก่น แต่ก็แยกทางกับภรรยาตั้งแต่ลูกทั้ง 3 คนยังเล็กๆ ด้วยปัญหาที่ไม่เข้าใจกันบางประการในช่วงที่ บานเย็น รากแก่น ไปเดินสายทัวร์ในอเมริกาและยุโรป ส่วนตัวเทพบุตรเองไปๆ มาๆ ประเทศไทยและออสเตรเลีย เพื่อทำธุรกิจหลายอย่าง โดยนำลูกทั้ง 3 คนไปเล่าเรียนและอยู่อาศัยที่ออสเตรเลีย

tepbutr satirodchompoo 01

ในบรรดาลูกทั้ง 3 คน แคนดี้ รากแก่น เป็นลูกสาวคนกลาง จบปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต แต่มีอาชีพเป็นศิลปิน ทั้งจัดรายการทางสถานีวิทยุ และทำวงดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมกับ ผู้เป็นแม่ ตั้งชื่อวงว่า แคนดี้ แฟมิลี่ (candy family) โดยบานเย็น รากแก่น จะร้องและฟ้อนแบบอีสาน ส่วนลูกสาวจะออกไปในแนวหมอลำซิ่ง และลีลาการเต้นสมัยใหม่

tepbutr satirodchompoo 02

ก่อนหน้านี้ แคนดี้ รากแก่น ไม่ได้ชื่นชอบการแสดงภาคอีสาน แต่ผู้เป็นแม่ก็พยายามค่อยๆ อธิบาย และค่อยๆ ฝึกสอนจนแคนดี้ได้พัฒนามาตามลำดับ จนสามารถโชว์การฟ้อนและการเต้นสมัยใหม่ รับงานการแสดงคู่กับแม่บานเย็น รากแก่น สร้างความสุขให้กับผู้ชม

ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิต เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ ได้ใช้ชีวิตอยู่ระหว่างประเทศไทย และออสเตรเลีย กับครอบครัว โดยถึงแม้ว่าจะจากไปแล้ว แต่สำหรับหลายๆ คนแล้วเขาคือปูชนียบุคคลสำคัญของวงการเพลงหมอลำและลูกทุ่งไทย ที่สร้างศิลปินไว้ประดับวงการมากมายตลอดไป

tepbutr satirodchompoo 03

นายเทพบุตร สติรอดชมพู ได้รับรางวัลรางวัล ผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ สาขาสื่อสารวัฒนธรรม จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี พ.ศ. 2554

เทพบุตร วิมลชัยฤกษ์ จากไปอย่างสงบ ด้วยวัย 76 ปี หลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ท่อน้ำดีและบริเวณตับ เป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือน ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และทางครอบครัวได้เคลื่อนย้ายร่างมา ณ ศาลาสิงหเสนี วัดธาตุทอง ท่ามกลางความอาลัยรักของคนในครอบครัวที่ยังอยู่ในอาการโศกเศร้ สำหรับกำหนดสวดพระอภิธรรมจะมีไปจนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2562 และทางครอบครัวได้กำหนดพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 สิงหาคม 2562 เวลา 17.00 น. ณ เมรุหน้าวัดธาตุทอง

tepbutr satirodchompoo 05

ครูสลา คุณวุฒิ นักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ได้โพสต์อาลัยลงในอินสตราแกรมส่วนตัวว่า

"..อาลัยยิ่ง.."

"..ทราบข่าวการจากไปของ คุณพ่อเทพบุตร สติรอดชมพู ด้วยความอาลัยยิ่ง พ่อเทพบุตร (คุณพ่อของน้องแคนดี้ รากแก่น) ชื่อนี้ สำหรับคนติดตามเส้นทางของความเป็น "ลูกทุ่งอีสาน" ท่านเป็นเหมือน "เจ้าของค่ายเพลงอีสานยุคแรก" แม้ในวันนั้น คำว่า "ค่าย" จะยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ปักหลักอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคาม แต่มีส่วนนำพาศิลปิน หรือขุนพลเพลงอีสานยุคบุกเบิกสู่บัลลังค์ความดัง ความสำเร็จ คนแล้วคนเล่า ทั้งในฐานะคนแต่งเพลง และหรือคนอยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็น ศักดิ์สยาม เพชรชมพู เทพพร เพชรอุบล ดาว บ้านดอน ฯลฯ

ในช่วงปี 2512 - 2530 ท่านคือหนึ่งในเสาหลักแห่งวงการเพลง&หมอลำอีสาน เป็นอีกคน ที่นำ "คำอีสาน" มาอยู่ในบทเพลง อย่างเป็นทางการ วันนี้..วันเวลา ได้นำพาพ่อจากไปขอแสดงความเสียใจ กับลูกหลานและญาติมิตร ในฐานะที่เป็นอีกคนหนึ่ง ที่ได้อาศัย "ทุ่งนาเพลง" ที่พ่อถากทางเส้นทางไว้ ผม "สลา คุณวุฒิ" ขอคารวะและรำลึกถึงและ..ขอให้พ่อสู่สุคติ ครับ"

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)