foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

ศิลปินลูกทุ่ง หมอลำอีสาน

thongpan 01หมอลำทองแปน พันบุปผา

เจ้าแม่ลำกลอนประยุกต์

นางทองแปน พันบุปผา หรือชื่อในการแสดงว่า “หมอลำทองแปน พันบุปผา” เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 ที่บ้านโพธิ์สง่า ตำบลเมืองเดช (ในสมัยนั้น) อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายสังข์ พันบุปผา ซึ่งเป็นหมอลำกลอน สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลเมืองเดช (ในสมัยนั้น) อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

นางทองแปน พันบุปผา เริ่มต้นชีวิตการเป็นหมอลำ หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่ได้ศึกษาต่อ เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน พ่อแม่จึงสนับสนุนให้เรียนหมอลํากลอน (หมอลําคู่) ซึ่งพ่อมีอาชีพเป็นหมอลํากลอนอยู่แล้ว จึงสอนลํากลอนให้แก่ลูกสาวของตน ประกอบกับช่วงเวลานั้นถือว่า หมอลํากลอน เป็นที่นิยมมากในจังหวัดอุบลราชธานี พ่อและแม่เห็นว่า ลูกสาวคนนี้เป็นคนที่มีความจําดีกว่าลูกทุกคน มีความกล้าแสดงออกและมีปฏิภาณไหวพริบดีมาก จึงตั้งใจสอนหมอลํากลอนให้ลูกสาว เพื่อสืบทอดมรดกทางปัญญาให้กับลูกสาวคนนี้ อาชีพหมอลํากลอนสามารถสร้างรายได้ และยึดถือเป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ พ่อซึ่งมองเห็นความสามารถของลูกสาว จึงตั้งใจสอนหมอลํากลอนให้

thongpan 04

ด้วยความเฉลียวฉลาด มีความจำเป็นเลิศ มีความขยัน อดทน พร้อมกับมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนรู้ ภายในเวลา 3 ปี จึงทำให้ นางทองแปน แตกฉานในเรื่องกลอนลำ จึงสามารถออกรับงานแสดงได้ โดยขึ้นเวทีแสดงครั้งแรกเมื่ออายุได้เพียง 18 ปี ได้รับค่าจ้างในการแสดงครั้งแรกเป็นเงิน 150 บาท (ในสมัยนี้ก็หลักหมื่น) จนเป็นที่กล่าวขานอย่างกว้างขวางทั่วไปในวงการหมอลำกลอนทั่วภาคอีสาน และมีชื่อเสียงข้ามแม่น้ำโขงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ชื่อในการแสดงสมัยนั้นว่า “หมอลำปรานี พันบุปผา” ซึ่งมีบิดาเป็นครูสอน และคอยเป็นพี่เลี้ยงแนะนำอย่างใกล้ชิด ต่อมาในปี พุทธศักราช 2531 ได้เปลี่ยนชื่อในการแสดงมาเป็น “หมอลำทองแปน พันบุปผา” จึงทำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากแฟนหมอลำตลอดมา

thongpan 02

นางทองแปน พันบุปผา เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประพันธ์กลอนลำ และการแสดงหมอลำกลอน ถือเป็นผู้คิดค้นหมอลำกลอนประยุกต์คนแรกแห่งวงการหมอลำกลอนก็ว่าได้ เพื่อพัฒนาสร้างสรรค์การลำให้ทันสมัยในยุคปัจจุบันที่มีความเป็นพลวัต โดยได้ผลิตผลงานด้านการลำออกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ สู่สายตาประชาชนมากมาย อาทิ ชุดหมอลำชิงชู้ ลำประยุกต์ชุดรักข้ามรุ่น ลำล่องชุดลูกทรพี ลำเพลินชุดมโนราห์เล่นน้ำ ลำพื้นตำนานรักชุดผาแดงนางไอ่ และมีผลงานการลำร่วมกับ หมอลำ ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงหมอลำ ปีพุทธศักราช 2548 อาทิ ลำล่องชุด หมู่บ้านศีลห้า ลำล่องชุด พ่อกับแม่คือตู้เอทีเอ็ม

thongpan 05

นอกจากนี้ ยังได้ผสานเอาวัฒนธรรมอีสานเข้าไปในกลอนลำและการลำ ใช้การลำเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆ อาทิ คุณธรรม จริยธรรม พระพุทธศาสนา เศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลังได้ซึมซาบ เอาคติเหล่านี้ไปใช้ในวิถีชีวิต เมื่อว่างเว้นจากการรับงานแสดง หมอลำทองแปน ก็ไม่ได้นิ่งเฉย คอยอุทิศตน เพื่อสืบต่อลมหายใจแห่งศิลปะการแสดงหมอลำกลอนอันทรงคุณค่านี้ โดยได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจสั่งสอนศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า หมายมั่นปั้นใจอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา มรดกนี้ไว้ตราบนานเท่านาน

thongpan 03

หมอลําทองแปน พันบุปผา มีผลงานมากมายที่เผยแพร่ทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ รวมทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุค ยูทูป เป็นต้น และยังรับงานแสดงต่างๆ ตามที่มีผู้ว่าจ้างทั้งภาคอีสาน ภายในประเทศ และต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชาและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น และร่วมแสดงงานการกุศลต่างๆ อีกมากมาย

ด้วยความสามารถด้านการประพันธ์กลอนลำ และการแสดงหมอลำกลอนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างโดดเด่น ตลอดจนการอุทิศตนเพื่องานสังคมมาโดยตลอด หมอลําทองแปน พันบุปผา เจ้าแม่ลํากลอนประยุกต์ มีผลงานมากมายกว่า 100 บทกลอน ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียง อาทิ

ลําเพลิน

  • ลําเพลินองคุลีมาล
  • ลําเพลินขุนช้างขุนแผน
  • ลําเพลินขุนช้างขุนแผน ชุดที่ ๑ -๔
  • ฯลฯ

ลำกลอนประยุกต์ ชุด ศึกดวลคำหมาก ยกที่1
ลำโดย ทองแปน พันบุปผา ทองพูล หนวดเหล็ก

ลํากลอน

  • ลํากลอนเจ้าแม่กลอนมันส์
  • ลํากลอนตายายเลี้ยงหลาน
  • ลํากลอนแจกข้าวหาผี
  • ลํากลอนเขยขี้เหล้าแม่เฒ่าขี้จม
  • ฯลฯ

ลําล่องลํายาว

  • ลําล่องพ่อแม่คือธนาคารของ
  • ลูกลําล่องข้าวเม็ดใหญ่
  • ลําล่องพระพุทธประวัติ
  • ลําล่องย่ากินปลิง
  • ฯลฯ

ลําประยุกต์

  • ลําประยุกต์คู่ฮิตคู่ฮอต จี๊ดจิ๊จ๊ะ
  • ลําประยุกต์บ่าวเกี้ยวสาว
  • ลําประยุกต์พระสุธน-มโนราห์ ภาคที่ ๑-๒
  • ลําประยุกต์รักข้ามรุ่น ลุ้นเมียแก่
  • ฯลฯ

ลำเต้ยคู่มันส์ หมากกระจาย

ลําเต้ย

  • ลําเต้ยชีวิตของแม่ทองแปน
  • ลําเต้ยซุปเปอร์ทองแปน
  • ลําเต้ยหมากกระจาย

ลําเรื่องต่อกลอน

  • ชุดกําพร้าผีน้อย

ลําพื้นโบราณ

  • ลําพื้นตํานานรักผาแดง–นางไอ่

ศิลปินมรดกอีสาน - หมอลำทองแปน พันบุปผา

รางวัลและเกียรติคุณ

  • ปี พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัล ชนะเลิศในการเข้าประกวดหมอลํากลอน ที่ ถานีวิทยุเมืองเดช คลื่น 197 MHz อําเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จัดโดย ส.ส.ตุ่น จินตเวช
  • ปี พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัล ขวัญใจประชาชน ในงานประกวดหมอลํากลอน ที่ทุ่งศรีเมืองอุบล อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปี พ.ศ. 2550 เป็นผู้คิดค้น หมอลํากลอนประยุกต์ เป็นคนแรกแห่งวงการหมอลํากลอนเพื่อพัฒนาลํากลอนให้ทันสมัยในยุคปัจจุบัน จึงนับได้ว่าเป็นเจ้าแม่หมอลําประยุกต์คนแรกของไทย
  • ปี พ.ศ. 2561 ได้รับรางวัล นาคราช สาขาศิลปินพื้นบ้านอีสาน (หมอลํากลอน) จาก สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • ปี พ.ศ. 2561 ได้รับรางวัล ศิลปินมรดกอีสาน (สาขาหมอลํากลอน) จาก ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

หมอลำทองแปน พันบุปผา - รายการไมค์ทองคำ หมอลำฝังเพชร2

หมอลำทองแปน พันบุปผา ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 131 หมู่ 3 บ้านโพธิ์สง่า ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี หมายเลขโทรศัพท์ 081-0717073

ติดต่อ-ติดตามผลงานทาง Facebook : หมอลำทองแปน พันบุปผา

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)