คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
การเรียนรู้ภาษาอีสานจากเพลง น่าจะเป็นหนทางที่ผู้เรียนจะเข้าใจได้ง่ายกว่า เพราะได้ยินสำเนียงเสียงอีสานจากนักร้อง บางเพลงก็ยังเรียนรู้ความหมายของคำได้ จากละครในมิวสิกวีดิโอได้อีกด้วย ตามคำขอครับสำหรับแฟนๆ ที่ชอบเพลงอีสานแต่ฟังแล้วเข้าใจความหมายได้ไม่หมด ก็ทำให้ความรู้สึกซาบซึ้งในดนตรีนั้นลดน้อยลง อยากจะทราบเนื้อหาเพลงใด ของนักร้องคนใด ก็บอกกันมาครับ ส่งอีเมล์ไปที่ webmaster (at) isangate.com จะได้นำมาเสนอเป็นลำดับต่อไป ขอแจ้งให้ทราบว่า ผู้จัดทำไม่ได้มีความต้องการโปรโมทเพลงนักร้องคนใด ค่ายใดทั้งสิ้น เพลงที่ถูกคัดเลือกมานำเสนอ จะต้องมีภาษาอีสานแทรกอยู่จำนวนหนึ่ง ที่แฟนเพลงบางท่านอาจไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ฟังแล้วม่วนแต่บ่เข้าใจ จึงจะได้รับการคัดเลือกมาลงในหน้านี้ครับ
ขับร้อง : เอกพล มนต์ตระการ คำร้อง/ทำนอง : พุฒินันท์ ยงยศโยธิน , เรียบเรียง : จินดาสตูดิโอ สกลนคร
ฮักน้องตั้งแต่ ทางหินแห่ยังบ่ลาดยาง สมัยไปเกื่อยน้ำส้างกลางท่งนาใต้แสงเดือนดาว อ้ายหาบกะปิ๊บ ฮักน้องมาดน จนหลังคาบ้านอ้ายเปลี่ยนสี เบิ่งหนังกลางแปลงแต่กี้ ฉายขายยาเก้ามื้อเก้าคืน อ้ายยืนข้างฮั้ว * ใจหวี่ใจวอน คิดถึงตอนเข้าด้ายเข้าเข็ม พ่อน้องเห็นเฮาเต็มเต็ม ออกปากเห้มๆ คงเป็นเรื่องใหญ่ ** ถ้าดนคักแหน่ จนทางหินแห่ลาดยางบักตอย จนหลังคาหลูฝนย้อยอ้ายยังคอยน้องบ่เปลี่ยนแปลง (ซ้ำ *, **) มีคำภาษาอีสานที่น่าสนใจหลายคำดังนี้
|
มนต์ฮักทางหินแห่ เพลงรักเศร้าๆ ของผู้บ่าวไทบ้าน เอกพล มนต์ตระการ เฮ็ดให้คึดฮอดความหลังสมัยอาวทิดหมูยังเป็นบ่าวส่ำน้อย มื้อนี้มี Music Video ฉบับเต็มเผยแพร่ทาง Youtube แล้ว เลยเอามาฝากมาต้อนแฟนเพลงกัน ให้ได้เห็นภาพความฮักของบ่าวสาวชาวบ้านนาป่าดอนสมัยก่อน โอย... คึดฮอดสมัยเป็นบ่าวแวงเด้
สมัยนั้นยังไม่มีประปาหมู่บ้าน น้ำกินน้ำใช้ก็จะตักจากน้ำส้าง (บ่อน้ำ ซึ่งไม่ลึกมากนัก) ถ้าบ่อขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ได้ดีก็เป็นบ่อน้ำในวัด ที่ขุดได้ลึกและกว้าง แต่หมู่บ้านอีสานส่วนใหญ่จะอยู่บนที่ดอน ที่สูง ในหน้าแล้งบ่อน้ำในหมู่บ้านมักจะแห้งขอด รวมทั้งบ่อน้ำภายในวัดด้วย ชาวบ้านต้องพากันไปตักน้ำจากบ่อที่ขุดอยู่ริมห้วยไกลจากหมู่บ้านไปพอสมควร หน้าที่นี้ก็จะเป็นของคนหนุ่ม-สาวและเด็กๆ ต้องรีบไปก่อนน้ำจะแห้งขอด ถ้าไปช้าก็ต้องรอนานให้น้ำไหลซึมเข้ามาในบ่อ แล้วต้องรอให้น้ำใสก่อนจึงค่อยๆ "เกื่อย" คือการตักน้ำเบาๆ ใส่ครุไม้ไผ่เพื่อหาบกลับบ้าน สาวสวยมักจะไม่ค่อยกังวลนักเพราะจะมีหนุ่มๆ คอยบริการเกื่อยน้ำให้ (อย่างทิดหมูไปตั้งแต่บ่ายสอง กว่าจะได้หาบน้ำกลับบ้านก็เกือบสามทุ่ม เพราะหลงคารมสาวๆ ที่บอกว่า "อ้ายๆ เกื่อยน้ำให้นางแหน่" จนเจ้าของได้แต่น้ำขุ่นๆ เมือบ้าน คักหลาย) อ่านเรื่องของครุตักน้ำและน้ำส้างเพิ่มเติมได้ที่ เครื่องใช้ในครัวเรือนที่สาปสูญ (1)
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)