foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paothai yor

thaiyorกลุ่มชาติพันธุ์ ย้อ ไทย้อ ญ้อ เป็นประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในจังหวัดสกลนคร และนครพนม มีภาษาพูดเหมือนภาษาไทยลาว ต่างสำเนียงเล็กน้อย คือ น้ำเสียงสูงอ่อน หวาน ไม่ห้วนสั้นเหมือนไทยลาว มีผิวขาว บ้านเรือนสะอาดตา เช่นเดียวกับชาวผู้ไทย ชาวย้อ ถือว่ากลุ่มตนเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมแข็งกว่าไทยลาว ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาว หรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง

ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ ไชยบุรี ปากน้ำสงคราม ริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไป

แล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตั้งเป็นเมืองท่าอุเทน เมื่อ พ.ศ. 2373 คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในปัจจุบัน

thaiyor 01

ชาวไทย้อชอบตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งชื่อเมืองชาวไทย้อมักมีคำว่า “ท่า” ขึ้นก่อน เช่น เมืองท่าขอนยาง เมืองท่าอุเทน ลักษณะบ้านเรือนของชาวไทย้อ คล้ายกับบ้านเรือนของชาวไทยลาวทั่วไป คือ ตัวเรือนเป็นเรือนใต้ถุนสูง มีชายคาที่เรียกว่า เซีย มีชานติดกับครัว มีเล้าข้าวอยู่ทางด้านหลังบ้าน ถ้าเป็นบ้านของชาวไร่ชาวนาทั่วไป ก็จะมุงด้วยหญ้าแฝก ฝาผนังเป็นฟากสับสานลานสอง บ้านที่มีฐานะดีก็จะมุงด้วยกระเบื้องเกร็ด หรือสังกะสี และเปลี่ยนฝาผนังเป็นไม้กระดาน ซึ่งมีให้เห็นในปัจจุบัน ชาวย้อ นิยมสร้างบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่มสังคมย่อยในวงศ์ญาติพี่น้องของตน และเมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็กลายเป็นหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่า “คุ้ม” และมีวัดประจำคุ้มของพวกตน

ประชากรชาวไทย้อ อาศัยอยู่กระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน เฉพาะพื้นที่ที่มีชาวไทย้ออาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเมือง สว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอกุดบาก กิ่งอำเภอโคกศรีสุพรรณ และกิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ บ้านแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นอกจากนี้ยังมีอยู่ที่ภาคตะวันออก คือที่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

thaiyor 09

ชาวไทญ้อ สกลนคร

วิถีชีวิตของชาวไทยญ้อ ลักษณะนิสัยใจคอของไทยญ้อส่วนมากที่สุดคือ ซื่อสัตย์ สุจริต รักสงบ มีความสามัคคีมั่น ไม่ว่าจะมีอะไร เช่น การทำบุญ การปลูกบ้าน ทำนาจะว่านหรือวานกัน (นาว่านคือ การลงแขก ทำนา ทำงาน) ชาวไทย้อมีอาชีพด้านเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว กล้วย อ้อย สับปะรด ยาสูบ และพืชผักตามฤดูกาล รองลงมาได้แก่ อาชีพเลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำในลำน้ำ เนื่องจากว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำสงคราม และแม่น้ำชี ภูมิปัญญาของชาวญ้อที่เป็นเอกลักษณ์คือ การทำปลาร้า  ทำส้มปลาชะโด  อร่อย

พันแสงรุ้ง ตอน ญ้อท่าอุเทน ของ ป่าใหญ่ครีเอชั่น

ภาษา ภาษาชาวย้อจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กระได ชาวย้อมีภาษาพูดโดยพื้นฐานเสียงแตกต่างไปจากภาษาไทยลาว (ภาษาไทยอีสาน) ตรงที่ฐานเสียงอักษรสูง และเสียงจัตวา จะเน้นหนักในลำคอ น้ำเสียงสูง อ่อนหวาน ฐานเสียงสระ เอือ ใอ ในภาษาไทยลาวจะตรงกับฐานเสียงสระ เอีย และ เออ ตามลำดับ เช่น เฮือ เป็น เฮีย ให้ เป็น เห้อ ประโยคว่า อยู่ทางได เป็น อยู่ทางเลอ เจ้าสิไปไส เป็น เจ้านะไปกะเลอ เป็นต้น

พันแสงรุ้ง ตอน ญ้อสองฝั่งของ ของ ป่าใหญ่ครีเอชั่น

ตัวอย่างภาษาพูดของชาวย้อ หัวเจอ - หัวใจ, หมากเผ็ด - พริก, กินเข้างาย - กินข้าวเช้า, หัวสิเคอ - ตะไค้, ไปกะเลอ, ไปเตอ - ไปไหน ชาวไทย้อไม่มีภาษาเขียนไม่มีตัวอักษรของตนเอง ในอดีตเคยใช้อักษรธรรม หรืออักษรไทยน้อย เช่นเดียวกับชาวอีสาน ปัจจุบันใช้อักษรไทยทั้งสิ้น

thaiyor 08

โครงสร้างทางสังคม ลักษณะครอบครัวของชาวไทย้อส่วนใหญ่เป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว ลักษณะเครือญาติไทย้อมีลักษณะเด่นตรงที่ว่า พวกเขาแม้จะแยกครอบครัวไปแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันเสมอ ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเต็มความสามารถ ยามเทศกาลงานบุญต่างๆ ก็จะเดินทางไปช่วยเหลือกัน ชาวไทย้อเชื่อกันว่าผู้จะทำหน้าที่ี่แทนพ่อได้เป็นอย่างดี คือ ลูกชาย เพราะผู้ชายนั้นบึกบึนทรหดอดทน สามารถทำงานในอาชีพเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นการสืบสายตระกูล และการรับมรดก ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้ชาย ภาระหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวนั้น หน้าที่ในการหาเงินทองมาจับจ่ายใช้สอยภายในครอบครัว การคุ้มครองดูแลต่างๆ เป็นหน้าที่ของพ่อบ้าน แม่บ้านจะดูแลลูกๆ ภาระหน้าที่ภายในบ้าน

สำหรับประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อของชาวไทย้อนั้น ชาวไทย้อที่บ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา โดยชาวบ้านจะสร้าง ตูบปู่ตา หรือ โฮงผีปู่ตา โดยชาวย้อถือว่าผีปู่ตาคือ ผีบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว แต่ยังมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ สำหรับที่ตั้งของผีปู่ตาจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ สำหรับ ผีบรรพบุรุษของชาวย้อที่ถือว่าเป็นผีปู่ตา มีดังนี้ คือ

thaiyor 05

ผีเจ้าพ่อขุนสำราญ ญาพ่อผีลือสองนางพี่น้อง เป็นผีผู้หญิงที่ชอบความสวยงาม ชาวย้อจะให้ความสำคัญกับผีสองนางพี่น้อง ในด้านการป้องกันให้ความช่วยเหลือแก่เด็กๆ ของชาวย้อ โดยทั่วๆ ไปชาวย้อชอบตั้งถิ่นฐานที่อยู่ใกล้แม่น้ำ เพื่อสะดวกในการอุปโภค บริโภค ซึ่งด้วยสาเหตุที่มี เด็กๆ เสียชีวิต ในการอาบน้ำบ่อยๆ ทำให้ชาวย้อลดจำนวนลงเรื่อยๆ เหตุนี้ชาวย้อจึงมีโฮงผีปู่ตาสองนางพี่น้องไว้ที่ท่าน้ำ เพื่อรักษาเด็กในขณะลงอาบน้ำ เช่นเดียวกับชาวย้อที่ท่าอุเทนมีความเชื่อว่า ผีมเหสักข์ และผีบรรพบุรุษ คอยปกป้องคุ้มครองให้พวกตนอยู่เย็นเป็นสุข มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ เพื่อตอบแทนคุณผีดังกล่าว ชาวไทย้อที่ท่าอุเทน จึงมีประเพณีเลี้ยงผีโดยจัด พิธีกรรมที่เรียกว่า "ลงนางเทียม" ณ หอผีบ้าน เป็นประจำทุกปี ปีละ 3 ครั้ง

thaiyor 06

สำหรับประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวย้อนั้น ประเพณีการแต่งงานเมื่อหนุ่มสาวคู่ใดที่รักใคร่ชอบ พอถึงขั้นตกลงปลงใจที่จะเป็นสามีภรรยากันแล้ว ฝ่ายชายก็จะให้บิดามารดาของตนดำเนินการให้ได้แต่งงานกับหญิงคนรัก ดังนี้ "ไปเจาะ" คือการส่งผู้ใหญ่ไปทาบทาม "โอมสาว" คือการ ทำพิธีสู่ขอ "แฮกเสื่อแฮกหมอน" คือการเตรียมการ ได้แก่ การจัดเตรียมเครื่องนอน ประกอบด้วยฟูก หมอน ผ้าห่ม เสื่อ และมุ้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง ในการนี้ต้องเชิญผู้เฒ่า ผู้แก่ที่ชาวบ้านยอมรับว่าเป็น ผัวค้ำเมียคูณ มาทำพิธีตัดเย็บให้ชาวย้อเรียกว่า แฮกเสื่อแฮกหมอน "เล่าดอง" คือบอกเล่าวันแต่งงาน "มื้อกินดอง" คือพิธีวันแต่งงาน

เมื่อได้ฤกษ์ยามดีแล้ว ก็จะเป็นการแห่จ้าวบ่าวพร้อมขันสินสอดของหมั้น พานบายศรี และสำรับที่เรียกว่า "ขำเพีย" ประกอบด้วยไข่ไก่ต้ม 2 ฟอง งา พริกแห้ง และเกลือป่น อย่างละ 1 ถ้วย ไปยังบ้าน เจ้าสาว พิธีสำคัญได้แก่ การวางสินสอดทองหมั้น ต่อหน้าเจ้าโคตรลุงตาของเจ้าสาวพิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีป้อนไข่หน่วย พิธีขอพรจากเจ้าโคตรลุงตาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากให้เขยไปสู่ก็ ทำพิธีจูงบ่าวสาวเข้าหอ แล้วเลี้ยงอาหารแก่แขกผู้มาร่วมงานเป็นอันเสร็จพิธีแต่งงาน สำหรับงานบุญของชาวไทย้อส่วนมากก็เหมือนกับ ชาวอีสานทั่วที่นับถือ พระพุทธศาสนาและ ปฏิบัติตนตาม "ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่"

thaiyor 07

ชาวย้อรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก และรับประทานข้าวเจ้าในบางโอกาส ไม่นิยมรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เหมือนชาวไทยลาว อาหารพื้นเมืองที่มีรับประทานเฉพาะในหมู่ไทย้อ ทำจากปลากราย เรียกว่า "หมกเจาะ" ส่วนอาหารประเภทอื่นก็เหมือนกับชาวไทยลาวทั่วไป ส่วนการรักษาพยาบาลของไทย้อนั้นมีทั้งรักษาด้วยแผนปัจจุบันและแผนโบราณ สำหรับแผนโบราณนั้นก็จะมีการรักษาด้วยยาสมุนไพร และการรักษาด้วยเวทย์มนต์คาถา โดยมีหมอธรรมเป็นผู้รักษา ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่พบหรือ ที่เชื่อว่าเป็นการกระทำของภูตผีวิญญาณ หรือที่เรียกว่า "ผีเข้าเจ้าสูน" อาจจะเป็นผีพระภูมิเจ้าที่ ผีเชื้อ หรือผีบรรพบุรุษ ผีเข้าสิง เสียขวัญ และถูกผีปอบเข้าสิง

ในกรณีที่ผีปอบเข้าสิงยิ่งเป็นอันตรายต่อคนป่วยอย่างยิ่ง ถ้าเรียกหมอธรรมมารักษาไม่ทัน ผีปอบอาจจะกินคนป่วยจนตาย เพราะอาการที่โดยปอบเข้าสิงนั้นมักจะอาละวาด แสดงอาการไม่เกร็งกลัว หรือดูถูกหมอธรรม ผู้ที่เป็นหมอธรรมจะต้องมีสายสิญจน์ แส้หวาย (ปะกำ) แล้วถามชื่อผีปอบว่า ชื่อ อะไร มาจากไหน หมอธรรมจะ ใช้แส้ปะกำโบย แล้วใช้สายสิญจน์มัดผู้ป่วยเอาไว้ แล้วสอนสัมทับอีกว่า ต่อไปจะไม่มาทำผู้อื่นอีกโดยให้กินน้ำสาบาน แล้วขอขมากับหมอธรรม โดยใช้ลิ้นเลียปลายเท้า แล้วสัญญาว่าจะไม่กลับมาทำร้ายผู้ป่วยอีก

thaiyor 03

ศิลปะการแสดง ฟ้อนไทย้อ โดยจะพบในช่วงเทศกาลสงกรานต์เดือนเมษายน และเทศกาลที่สำคัญๆ เท่านั้น ในช่วงสงกรานต์นั้น ชาวไทย้อจะมีการสงน้ำพระในตอนกลางวันโดย มีการตั้งขบวนแห่จากคุ้มเหนือไปยังคุ้มใต้ตามลำดับ ตั้งแต่ขึ้นหนึ่งค่ำเป็นไป จนถึงวันเพ็ญสิบห้าค่ำเดือนห้า ส่วนในตอนกลางคืนหนุ่มสาวจะจัดขบวนแห่นำต้นดอกจำปา (ลั่นทม) ไปบูชาวัดที่ผ่านไป เริ่มจากวัดใต้สุดขึ้นไปตามลำดับถึงวัดเหนือสุดซึ่งเป็นคืนสุดท้าย เสร็จพิธีแห่ดอกไม้บูชาองค์พระธาตุท่าอุเทน จะเป็นช่วงแห่งการเกี้ยวพาราสี การหยอกล้อกัน อย่างสนุกสนานของบรรดาหนุ่มสาวชาวไทย้อ

การแต่งกายชุดรำไทยญ้อ

ชาย  สวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียวสด  ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพับครึ่งกลาง พาดไหล่  ซ้ายและขวา  ปล่อยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเท่ากัน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงินเข้ม ใช้สไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายด้านหน้า เครื่องประดับสร้อยเงิน ห้อยพระ  ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย

หญิง  สวมเสื้อแขนกระบอกสีชมพู (สีบานเย็น) คอกลมขลิบดำ หรือน้ำเงินเข้ม นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง  (ตีนจก)  เข็มขัดลายชิดคาดเอว ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพาดไหล่ด้านซ้ายแบบเฉียง ปล่อยชายยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ชายเท่ากัน เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรือดอกไม้ประดิษฐ์

thaiyor 04

 

redline

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)