foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon sen suang bucha

สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

bulletการฟ้อนเพื่อบูชา

การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุมของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่



 

3diamondเชิ้งผีหมอ

ผีหมอ นั้นเป็นเทวดาที่ลงมาสิงสถิตย์อยู่ในร่างของมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น เช่น มีหญิงกลางคนเกิดล้มเจ็บลงอย่างกระทันหัน แล้วเพ้อว่า "ตัวเอง เป็นเทวดาต้องการมาอาศัยอยู่กับลูกที่กำลังป่วยนี้ ถ้าไม่ให้อาศัยอยู่ก็จะเอาชีวิตผู้ป่วยเสีย" เมื่อญาติๆ ยินยอมตามคำเพ้อของผู้ป่วยๆ เริ่มทุเลาในที่สุดก็หายป่วย ประเพณีบูชาผีหมอจะทำเป็นประจำในราวเดือนสี่ของทุกๆ ปี โดยทำกันในเวลาข้างขึ้น เมื่อจะมีพิธีผีหมอประจำหมู่บ้านก็จะไปบอกข่าวการทำพิธี ณ บ้านต่างๆ ที่สังกัดเข้าผีหมอด้วยกัน

หลังจากนั้น ผีหมอที่อยู่ในหมู่บ้านอื่นเมื่อทราบข่าวก็จะเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ พวงมาลัย ดาบ ปลาแห้ง ให้พร้อม พอถึงวันนัดก็มาพร้อมกับแต่งตัวลงสู่ปะรำพิธี ที่จัดไว้ให้มีการเล่นเกม และฟ้อนรำเป็นที่สนุกสนานยิ่ง

เครื่องแต่งกาย

ผู้หญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ใช้สไบสีแดงโพกศีรษะ ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว

อุปกรณ์การแสดง

จานเล็กๆ ใส่ดอกไม้สีขาว 10 ดอก เทียน ไม้ขีดไฟ ไข่ต้ม มีดดาบ ผ้าสไบ พวงมาลัย ปลาแห้ง

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

ขั้นตอนการแสดง

  1. ผู้แสดงหญิงจะเดินถือจานใส่ของออกมานั่ง แล้วหยิบผ้าคาดศีรษะ จุดเทียนเสี่ยงไข่ และเข้าทรง
  2. ผู้แสดงชายจะออกมาทีละคน แย่งพวงมาลัย ดาบ และปลาแห้ง
  3. ออกจากทรง

การแสดงฟ้อนเลี้ยงผีหมอ โดย วงสินไซ

3diamondฟ้อนผีฟ้า

ชาวอีสานเชื่อกันว่า มีเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ มีนามว่า พระยาแถน เป็นผู้สร้างมนุษย์ให้เกิดมาบนโลก และควบคุมความเป็นไปของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้วจะมีความสุข ความทุกข์ หรือยากดีมีจนก็ขึ้นอยู่กับอำนาจของพระยาแถน และยังมีความเชื่อว่า บนผืนโลกอันกว้างใหญ่นี้ ท่ามกลางป่าสูง หรือป่าดงดิบ แม่น้ำลำคลอง ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ย่อมจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ ใครจะทำอะไรก็จะต้องบนบานสานกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความไม่สบายเกิดขึ้นในครอบครัว รักษาไม่หาย พวกพี่น้องของผู้ป่วยก็เชิญผู้มีวิชาอาคมมาลำ และฟ้อนขับกล่อม เพื่อให้ผู้ป่วยหายขากการป่วยนั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ชาวบ้านเรียกว่า "ผีฟ้า" การลำผีฟ้ามีอยู่ 2 ลักษณะคือ

liang pee fah

  • ลำเพื่อบวงสรวงบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า ผีโคตร หรือ ผีต้นตระกูล ซึ่งจะอาสัยอยู่ตามบ้าน ตามเล้า ตามตุ่มน้ำ หรือตามครกมอง ปีหนึ่งๆ จะต้องเลี้ยงครั้งหนึ่งในราวเดือนหก หรือเดือนเจ็ด ดังกลอนลำว่า
              เดือนหกตั้งสังขารดอกไม้ใหญ่
    มาชมดวงดอกไม้สเลเตชมพั๊วดอกหุ่ง
    ลงมาเล่นผามเพียงเย็นเลี้ยงข่วง
    เอาเดอ เอาเดอ เฮาเอย
    ลงมาเล่นกันตำบักหุ่งติ่ง
    หัวค่อยๆ ย่านแอวมองหัก
    หัวแฮงๆ ย่านแอวมองขาดเคิ่ง
    ดึกดื่นแล้วแมลงภู่หาบ่อนนอน
    แมงซอนหาบ่อนซ้นคนจนหาบ่อนเพิ่ม เอาเดอ
  • ลำเพื่อรักษาคนป่วย ซึ่งเป็นการลำเพื่อสอดส่องหาสาเหตุแห่งความเจ็บป่วย ผู้ลำหรือหมอลำที่ชาวบ้านสามารถติดต่อกับภูติผี วิญญาณหรือเทวดาได้ หมอลำจะเริ่มพิธีด้วยการคุกเข่าตรงหน้าเครื่องบูชา กราบลงแล้วเชิญผีฟ้าให้มารับเครื่องบูชา หมอลำผีฟ้าก็จะลำจนทราบสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย ถ้าสาเหตุนั้นเกิดจากผีฟ้า หมอลำผีฟ้าก็จะขับลำนำอ้อนวอนให้ผีฟ้าออกจากร่างของผู้ป่วย ในขณะที่หมอลำผีฟ้าลำอยู่นั้น บริวารผีฟ้าก็จะฟ้อนบูชาผีฟ้าไปด้วย หมอแคนก็จะเป่าแคนประกอบการลำ ผู้ป่วยบางรายก็จะลุกขึ้นฟ้อนตามบริวารผีฟ้า และเมื่อรักษาจนหายการเจ็บป่วยแล้ว จะต้องเป็นบริวารของผีฟ้าต่อไป ตัวอย่างกลอนลำอ้อนวอนผีฟ้า
              ขอนำฮ่องคองคูมาฮอดพ่อ
    รินทองท้าวนางกองคำให้เจ้านำส่งพ่อเด้อนางเอย
    มาเดอแก้วกองคำพวงหมากหล่ำ
    มาฮอดแล้งบ่อนไข้กะให้ลง
    บ่อนโพงกะให้แวบ
    กินเข้ากะให้ตกท้องหนา
    กินปลาก็ให้ตกท้องน้อง
    คันเจ้าให้แซบซ้อนเมือหน้าสิบ่เอา
    วันผัดอย่าให้กลายวันหมายอย่าให้ชุด
    ผัดหมายให้วันลุนฮอดมื้ออื่น
    ตื่นมื้อเช้าเมือหน้าให้ส่วงเซา
    หมอว่านให้หาว่านมาทา
    ยาฮากไม้ทางไว้ให้ส่วงหาย

การลำผีฟ้า เพื่อรักษาคนป่วยนั้นจะต้องมีลำดับขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อครอบครัวใดเกิดมีผู้ป่วยซึ่งรักษาไม่หาย ญาติของผู้ป่วยก็จะไปหาหมอลำผีฟ้า เพื่อเชิญมาดูอาการว่าจะมีเทิง (ผีฟ้า) มาสิงอยู่หรือไม่ หรือถ้าไม่มีใครมาสิงก็จะดูอาการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากอะไร จะใช้วิธีใดในการรักษา
  2. การทำพิธีจะต้องกระทำบนบ้านของผู้ป่วย โดยมีญาติผู้ป่วยอยู่ในพิธีนั้นด้วย หมอลำผีฟ้าจะมากับบริวารของหมอลำผีฟ้า (คือ คนที่หมอลำผีฟ้ารักษาหายแล้ว) และหมอแคน
  3. หมอลำผีฟ้าจะเริ่มต้นด้วย การตั้งเครื่องบูชาพระยาแถน ด้วยเครื่องบูชาที่มีอุปกรณ์ดังนี้ บายศรีหมากเบ็ง 1 ต้น เหล้า ไข่ ขัน 5 ผ้าแพรวา เงิน แล้วแต่หมอจะเรียก โดยปกติ 6 บาท หรือหนึ่งตำลึง ด้ายผูกแขน
  4. การประกอบพิธีมีดังนี้ ให้คนป่วยนั่งอยู่ซ้ายสุดนั่งพับเพียบ พนมมือ ถือกรวยดอกไม้ หมอลำผีฟ้ากราบลง 3 ครั้ง แล้วจะทำพิธีเสี่ยงทายไข่ว่า พระยาแถนจะลงมาเข้าทรงหรือไม่ โดยจะนำไข่มาวางลงในมือคนป่วย แล้วหมอลำผีฟ้าจะลำอัญเชิญพระยาแถนลงมา หากท่านลงมาสู่พิธีไข่ไก่จะค่อยๆ กระดกตัวขึ้น แต่ถ้าพระยาแถนไม่ลงมาไข่ไก่จะนอนอยู่อย่างนั้นตลอดไป วิธีอัญเชิญนั้นจะมีการลำเพื่อขอร้องและการฟ้อนประกอบ

    พระยาแถนเข้าทรงจะสังเกตได้จากการที่หมอลำขนลุก แล้วหมอลำก็จะ "ลำส่อง" เป็นการลำเพื่อหาสาเหตุของการป่วย เมื่อทราบสาเหตุแล้วจะมีการ "ลำปัว" หรือลำรักษาดังเนื้อหาของกลอนลำข้างต้น โดยจะกล่าวถึงการขอโทษที่ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงแต่งคายเพื่อขอขมา และขอให้คนป่วยหาย ช่วงนี้จะมีการฟ้อนประกอบ โดยหมอลำผีฟ้าจะฟ้อนก่อน แล้วบริวารของผีฟ้าก็จะฟ้อนตาม ในบางครั้งผู้ป่วยก็จะลุกขึ้นฟ้อนตาม สุดท้ายคือการ "ลำส่ง" คือให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่ผีต้องการ เสร็จแล้วหมอลำผีฟ้าจะให้น้ำมนต์แก่ผู้ป่วยดื่ม เอาด้ายผูกแขนให้เป็นอันเสร็จสิ้นการฟ้อนผีฟ้า และวันถัดไปญาติของคนป่วยอาจทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้อีกก็ได้
ฟ้อนผีฟ้า

ฟ้อนผีฟ้า มีประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ยาวนาน ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่า นิสิตปัจจุบันควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมสมัยโบราณ เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้

การแต่งกาย

การแต่งกายของหมอลำผีฟ้าจะสวมผ้าซิ่นไหม เสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบ บริวารก็แต่งตัวเรียบร้อยแบบชาวบ้านทั่วไป

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน โดยเฉพาะแคน

 

3diamondฟ้อนไทยดำ

ชาวไทดำ เดิมอาศัยอยู่แถบเมืองเชียงขวาง เมืองแถง เมืองไล และเมืองลอ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยในช่วงที่มีการปราบฮ่อ ราวรัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันชาวไทดำ ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

สำหรับชาวไทดำจะนับถือและบูชาพระยาแถน บรรพบุรุษและผีต่างๆ มาก ชาวไทดำมีความเชื่อว่า คนทุกๆ คนนอกจากประกอบไปด้วยร่างกายแล้ว ยังประกอบด้วยอีกส่วนหนึ่งก็คือ ขวัญ (วิญญาณหรือจิต) และเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเกิดจาก การที่ขวัญไม่อยู่กับตัวเองหรือขวัญได้หนีหายไป จะต้องมีพิธีตามหาขวัญหรือเรียกขวัญให้กลับคืนมา ในพิธีการเรียกขวัญนี้ต้องอาศัยหมอผี ซึ่งชาวไทดำเรียกว่า มด โดยหมอผีจะเชิญผีต่างๆ ให้ไปตามหาขวัญกลับมา

ในการเชิญผีชนิดใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าขวัญนั้นจะไปตกอยู่ที่ใด เช่น ขวัญไปอยู่ตามป่าตามเขาก็จะอัญเชิญผียะวาย ซึ่งเป็นผีเจ้าป่าเจ้าเขาเป็นผู้ตามหาขวัญให้กลับมา แต่ถ้าขวัญตกน้ำก็จะเชิญผีกองกอยตามหาขวัญ ซึ่งเมื่อตามหาขวัญกลับมาได้แล้ว คนไข้ก็จะหายจากการเจ็บป่วย และเมื่อถูกรักษาหายก็จะเป็นลูกเลี้ยงของหมอผีไป

ฟ้อนไทดำ เพลง แคน ย่าง

เมื่อครบรอบ 4 ปี หมอผีจะจัดพิธีเลี้ยงผีขึ้น ซึ่งชาว ไทดำเรียกพิธีนี้ว่า การแซปาง หรือ ชมปาง โดยหมอผีจะอัญเชิญเทพเจ้าต่างๆ ที่ชาวไทดำนับถือลงมาชมปางก่อน แล้วค่อยอัญเชิญผีชนิดต่างๆ ลงมาชมปาง ในพิธีนี้ชาวไทดำทุกคนจะต้องมาร่วมพิธี ซึ่งมีการจัดหาเครื่องดนตรี มีการจัดเลี้ยงและฟ้อนรำ

 

3diamondเรือมปัญโจล

ruam pan jolศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ นำโดย ผศ.ภูมิจิตร เรืองเดช และอาจารย์ผกา เบญจกาญจน์ ได้ไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมที่เรียกว่า "บองบ๊อด" ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งพิธีกรรมบองบ๊อด นี้เป็นพิธีกรรมที่จะใช้รักษาคนไข้ คำว่า "บองบ๊อด" แปลว่า รักษาคนไข้ ก่อนการรักษาตามพิธีการ จะเริ่มจากผู้ทำพิธีจะต้องเป็นผู้ที่ถือศีล และปฏิบัติตนในทางที่ดีงามอยู่เสมอ ในการรักษา เมื่อคนทรงเข้าสู่โรงพิธีก็จะจุดธูปเทียน ท่องคาถาอัญเชิญเทวดาให้มาประทับทรง เมื่อประทับทรงแล้วคนทรงก็จะฟ้อนไปรอบๆ ในลักษณะสี่ทิศ

เมื่อไหว้ครูแล้ว คนทรงซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากอาจเหนื่อย ก็มอบให้ศิษย์ต่อซึ่งเทพก็จะเข้ามาสิงสถิตย์ที่ตัวลูกศิษย์ ศิษย์ก็จะร่ายรำในลักษณะต่างๆ ที่ช่วยในการรักษาคนไข้ คนไข้ที่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดอารมณ์ร่วม ลุกขึ้นฟ้อนไปกับคนทรงก็ได้ การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการเข้าทรงนี้ มิได้มุ่งหมายให้คนป่วยนั้นหายขาดจากโรคภัย แต่เป็นการเพิ่มพูนกำลังใจให้กับผู้ป่วย

เรือมปัลโจล หรือ ฟ้อนเทพประทับทรง นี้ ผู้ทรงจะร่ายรำออกไปเอง โดยมิได้มีการฝึกซ้อมมาก่อน ทางวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จึงได้นำท่าฟ้อนมาประดิษฐ์เป็นชุดฟ้อน "เรือมปัลโจล" ขึ้น โดยอาสัยเค้าเดิม พร้อมปรับปรุงขบวนฟ้อน และท่าฟ้อนให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น

เครื่องแต่งกาย

ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน นุ่งผ้าวิ่นกรอมเท้า ห่มผ้าแถบพันรอบอก ห่มสไบทับด้านหน้าไว้หาง 2 ชาย ด้านหลังคาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ให้ผู้แสดงถือขันบายศรี หรือขันหมากเบ็ง

ลำดับขั้นตอนการแสดง

ท่าฟ้อน "เรือมปัลโจล" ผู้แสดงจะถือขันหมากเบ็งออกมานำหน้า คนทรงและลูกน้องจะเริ่มอัญเชิญเทวดาหรือเทพเพื่อประทับทรง เมื่อเทพประทับทรง หัวหน้าคนทรงก็จะมอบต่อไปยังลุกน้อง หรือศิษย์ ต่อไปก็เป็นการฟ้อนพร้อมๆ กัน โดยแสดงการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เท้า ข้อมือ ไหล่ หัวเข่า การใช้ลำตัว ฯลฯ

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงกันตรึม ทำนองเพลงกัญจังเจก อาไยกัด เชิ๊บจ๊ะซ์

เรือมโจลมะมด (รำเข้าทรง)

 

blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนศิลปาชีพ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)