foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon sen suang bucha

สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

bulletการฟ้อนเพื่อบูชา

การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุมของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่



 

3diamondฟ้อนแถบลาน

ฟ้อนแถบลาน เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีเชื้อสายลาว ฟ้อนแถบลานนี้ชาวบ้านอำเภอหล่มสักเรียกว่า "รำแขนลาน" เป็นการฟ้อนในเทศกาลเข้าพรรษาและงานทำบุญบั้งไฟ มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ผาแดง โดยมีความเชื่อกันว่า การฟ้อนแถบลานนี้ จะทำให้เจ้าพ่อผาแดงเกิดความพึงพอใจ แล้วบันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ และทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ลักษณะเด่นของฟ้อนแถบลานอยู่ที่การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยแถบใบลาน ที่มีสีสันลวดลายที่งดงาม

การแต่งกาย

ผู้แสดงหญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม ติดด้วยแถบใบลาน นุ่งผ้าซิ่น โพกศีรษะ สวมเล็บ ติดพู่แดง

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายศรีทันดร

ฟ้อนแถบลาน

3diamondฟ้อนบายศรี

บายศรีสู่ขวัญ หรือ บาศรีสูตรขวัญ เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ ที่นิยมกระทำกันสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ถือว่าเมื่อจัดทำพิธีนี้จะก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำว่า บายศรี ก็หมายถึงการทำสิริให้กับชนผู้ดี สูตรเป็นคำเก่าแก่ หมายถึง การสวด ซึ่งในอันที่จริงแล้ว บาศรีสูตรขวัญนี้เป็นพิธีของพราหมณ์ ส่วนขวัญนั้นเราถือว่าเป็นของไม่มีตัวตน เห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้ แต่เชื่อว่า "ขวัญ" นี้แฝงอยู่ในตัวตนของคนและสัตว์มาตั้งแต่กำเนิด และขวัญนี้จะต้องอยู่ประจำตัวของตนตลอด เวลาตกใจ เสียใจ ป่วยไข้ ขวัญจะหนีไป ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นจึงต้องเรียกขวัญ หรือสูตรขวัญ เพื่อให้ขวัญหลับมาอยู่กับตัวจะได้สุขสบาย (อ่านเรื่อง การสูตรขวัญ ได้ที่นี่)

การทำพิธีสู่ขวัญนี้มีทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เหตุดี ได้แก่ หายจากการเจ็บป่วย จากไปอยู่บ้านอื่นกลับมา ไปค้าขายได้เงินทองมามาก เหตุเหล่านี้ก็มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ส่วนเหตุไม่ดี ได้แก่ การเจ็บไข้ได้ป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ ก็ทำพิธีบายศรีเช่นเดียวกัน ในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่องที่กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญเช่น ในเรื่อง พญาคันคาก

                 "เมื่อนั้น ภูธรเจ้า พญาหลวงแถนเถือก
       เจ้าก็ เดินไพร่พร้อม แถนฟ้าซุพญา
                 บัดนี้ เฮาจักบาลีเจ้า บุญมีองค์ประเสริฐ จริงเทอญ
       เฮาจัก ตกแต่งพร้อม กวยช้างสู่ขวัญ ก่อนเทอญ
                 แต่นั้น ยาบๆ แส่ ฝูงหมุ่พญาแถน
       เขาก็ ปูนกันตก แต่งงัวควายช้าง"

หรือ

                  เขาก็ ยาบๆ พร้อม แตกต่างพาขวัญ
        เงินคำกอง เบิกบาสีเจ้า
                 บัดนี้ สิทธิเดชไท้ มาฮอดเมืองแถน
        ขวัญอย่าอ่อน อยู่ยืนยาวเทอญ
 

ram bai si

pan baisri 01การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เนื่องมาจากพิธีบายศรีสู่ขวัญเมื่อมีแขกมาเยือน ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมี พานบายศรี หรือที่เรียกว่า "พาขวัญ" การจัดพาขวัญนี้ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง หรือขันสัมฤทธิ์หลายใบซ้อนๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ชั้นถึง 9 ชั้น มีใบตองจัดเป็นกรวยเข้าช่อ ประดับดอกไม้สดดูสวยงาม

ชั้นล่างของพาขวัญ จะเป็นพานมีใบศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้สด ข้าวต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว มีดด้ามคำ ชั้นต่อไปจะตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้สด ซึ่งจะเป็นดอกปาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า

ส่วนชั้นที่ 5 จะมีฝ้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว นอกจากพาขวัญแล้วจะต้องมีเครื่องบูชาอื่นๆ เช่น ขันบูชา ขันธ์ 5 ซึ่งมีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบน้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ โดยจะมีพรารหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้าน ในคำเรียกขวัญนั้นมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า "สูตรขวัญ" ซึ่งคำสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดฟ้อนบายศรีขึ้น เพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจ เพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แต่งโดยอาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล และท่าฟ้อนประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์ แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่เนื้อร้องอาจจะเพี้ยนจากเดิมไปบ้างดังนี้

          "มาเถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
หมู่ชาวเมืองมาเบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
ยอพาขวัญ ไม้จันทร์เพริศแพร้ว
ขวัญมาแล้ว มาสู่คีงกลม
เกศเจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนดม เก็บเอาไว้บูชา
ยามเมื่อฝนเจ้าอย่าคลาย ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา
อยู่ที่ไหนจุ่งมารัดด้ายไสยา มาคล้องผ้าแพรกระเจา

        อย่าเพลินเผลอ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
อยู่แดนดินใด หรือฟากฟ้าไกล ขอให้มาเฮือนเฮา
เผืออย่าคิดอาศัยซู้เก่า ขออย่าเว้าขวัยเจ้าจะตรม
หมอกน้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่าเพลินชม ป่าเขาลำเนาไพร
เชิญมาทัดพวงพยอม ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ
เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวงมาลัยมาคล้องให้สวยรวย"

หลังจากฟ้อนบายศรีเรียกขวัญแล้ว จะมีการผูกข้อมือด้วยฝ้าย ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้ว ถือว่าเป็นฝ้ายมงคลทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

ram bai si 2

การแต่งกาย

ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นห่มสไบเฉียง เกล้าผมมวย ทัดดอกไม้

 

ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ

3diamondเรือมมม๊วต

เรือมมม๊วต หรือ โจลมม๊อต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เรือมมม๊วต จะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คนกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยให้มีอาการทุเลาลงได้ แม้ว่าจะเป็นพิธีกรรมที่มีมานานมากแล้วก็ตาม ก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่า ดนตรีนั้นสามารถรักษาคนป่วยให้หายไข้หรือโรคภัยไข้เจ็บได้ อุปกรณ์ประกอบการเซ่นไหว้เหมือนกับการไหว้ครูดนตรี

การเล่นเรือมมม๊วต จะไม่จำกัดจำนวน ในจำนวนผู้เล่นจะต้องมีหัวหน้า หรือครูมม๊วตอาวุโส ทำหน้าที่เป้นผู้นำพิธีต่างๆ เป็นผู้จัดระเบียบแนะนำสั่งสอนทั้งมม๊วตเก่าและมม๊วตใหม่ และเป็นผู้รำตามทำนองเพลง "กาปเป" ไล่เสนียดจังไรทั้งปวง นอกจากนี้ต้องมีพี่เลี้ยงของมม๊วตอีกเท่าจำนวนผู้เล่น เพื่อคอยรับใช้และซักถามม๊วตที่เข้าทรงแล้ว เช่น ถามเรื่องคนป่วย ซึ่งเป็นคนที่เป็นพี่เลี้ยงของมม๊วตนั้น จะต้องเข้าใจภาษาพูดของผู้ทรงมม๊วตเป็นอย่างดี

โอกาสการเล่นมักจะเป็นการเล่นตามประเพณี คือ เป็นการเล่นไหว้ครูหรือตามสัญญาที่ได้กล่าวบนเอาไว้ มักจะเล่นวันที่เป็นสิริมงคล ยกเว้นวันพระ ส่วนเวลาไหนนั้นก็แล้วแต่สะดวกอาจเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ได้ การเล่นมม๊วตอีกอย่างหนึ่งเมื่อมีผู้ป่วยเป็นกระทันหันญาติๆ ต้องให้เล่นเรือมม๊วต ทำนองและจังหวะดนตรีมีดังนี้

  1. ทำนองและจังหวะไหว้ครูดนตรีใช้ทำนอง ซแร็ยซเติร
  2. ทำนองและจังหวะไหว้ครูผู้เข้ามม๊วต เรียกว่า โจลมม๊วต ใช้ทำนองเพลงเพลียง
  3. ทำนองและจังหวะออกรำ ซึ่งท่ารำหรือฟ้อนนั้นก้แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน ใช้ทำนองเพลงบันแซร
  4. ทำนองและจังหวะรำตามใช้ทำนองเพลงกาปเป
  5. ทำนองและจังหวะรำ ใช้ทำนองเพลงเซียม มลปโดง อันซอง ซแนญนบ ฯลฯ
  6. ทำนองและจังหวะเบ็ดเตล้ดประกอบท่ารำของมม๊วต ใช้ทำนองเพลงตัมแร๊ย หม๊วนพลุ ตระเนาะทม็วนแพล และจบลงด้วย จังหวะซาปดาน

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย โทนอย่างน้อย 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่

การแต่งกาย

จะใช้ชุดพื้นเมืองของชาวอีสานใต้

 

เรือมมะม็อต

3diamondเชิ้งตูมกาอธิษฐาน

ชาวอีสานมีประเพณีที่สืบทอดกันโดยเฉพาะในวันออกพรรษา คือ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกๆ ปี ชาวอีสานจะมีพิธี จุดน้ำมันตูมกา โดยใช้ลูกตูมกา ฟักทอง หรือกระบอกไม้ไผ่บรรจุน้ำมันมะพร้าว จุดตั้งไว้จนสว่างไสวไปทั่วบริเวณวัดและในหมู่บ้าน ประเพณีการจุดน้ำมันตูมกานี้เป็นการบูชาและระลึกถึงพระพุทธเจ้า และในวันนี้จะมีการกวนข้าวทิพย์ด้วย จากแรงศรัทธาและความประทับใจในประเพณีการจุดน้ำมันตูมกานี้ ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสกลนคร จึงได้นำมาประยุกต์เป็นรูปแบบของการแสดงที่สวยงามชุดหนึ่ง

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบ กลองกิ่ง ลายผู้ไท

การแต่งกาย

ผู้แสดงหญิงล้วนแต่งกายพื้นเมืองชาวผู้ไท คือ นุ่งผ้าซิ่นดำมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อดำขลิบแดงเข้ารูปแขนกระบอกผ่าหน้า ติดกระดุมเงินหรือกระดุมสีขาวตลอดแนว สวมเล็บยาวที่ทำจากกระดาษสีติดพู่ที่ปลายเล็บ ห่มสไบเฉียงทิ้งชายด้านขวา ผมเกล้ามวยสูงผูกผ้าแดง

ฟ้อนพุทธบูชา (ตูมกาถวาย)

 

blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนศิลปาชีพ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)