คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
สืบเนื่องมาจากงานพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) ที่ทำพิธีปลงศพบนเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนให้ความสนใจค้นหาเรื่องราวของ "นกหัสดีลิงค์" กันมากมาย และข้อมูลเรื่องนี้ในเว็บไซต์ประตูสู่อีสานมีการเข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากเกินกว่า 50,000 วิวในเวลาแค่สัปดาห์เดียว เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เลยขอนำภาพเก่าๆ ในอดีตในการจัดทำพิธีปลงศพบนเมรุนกหัสดีลิงค์มาให้ชมกัน ขอขอบคุณภาพจาก เพจคณะละคอนสุดสะแนน หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ที่ได้รวบรวมไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้กัน
วัฒนธรรมประเพณีพื้นเมืองเก่าแก่ จะยังอยู่สืบเชื้อสายได้ ก็จะต้องมีผู้รักษา หากขาดผู้รักษาแล้ว วัฒนธรรมท้องถิ่นก็หมดไปด้วย นกหัสดีลิงค์ ที่ว่านี้เป็นเรื่องประชาชนในท้องถิ่นถวายให้เกียรติแก่ผู้ตาย ไฟพระราชทาน นั้นเป็นพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานมาให้ผู้ตาย นกหัสดีลิงค์ ก็เท่ากับว่าเป็นพานทองรับไฟเพลิงพระราชทานของพระมหากษัตริย์ นั่นเอง ดอกไม้มีพานใส่ฉันใด นกหัสดีลิงค์ก็ฉันนั้น
(ซ้าย) ญาแม่สุกัณ ปราบภัย นางเทียมเจ้านางสีดา ในพิธีส่งสะการ ญาพ่อท้าวสิทธิสาร พระอุบลการประชานิจ (บุญชู พรหมวงศานนท์) สตรีที่ยืนอยู่ข้างๆนั้น คือ หมอลำทองสามส่าว ผู้ลำขับกล่อมนางสีดา (ขวา) เมรุหอแก้วนกหัสดีลิงค์ พ.ศ. 2464 พิธีปลงศพ อาชญาท่านธรรมบาล (ผุย ธมฺมปาโล) หลักคำเมืองอุบลราชธานี เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย)
(ซ้าย) เมรุหอแก้วนกหัสดีลิงค์ พ.ศ. 2486 พิธีปลงศพ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (ญาท่านดีโลด) อดีตเจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี และเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง ช่างทำเมรุในงานดังกล่าว มีทั้งช่างที่เป็นพระภิกษุและฆราวาสซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างถวาย เช่น พระครูวิสสุกรรมโกศล ช่างโพธิ์ ส่งศรี นายพิเชียร ศรีสมบูรณ์ ช่างล้วน มุขสมบัติ นายสาย เสาโท ในความอุปการะของนายวิชิต โกศัลวิตร (ขวา) เมรุหอแก้วนกหัสดีลิงค์ งานส่งสะการพระอุปัชฌาย์เคน อดีตเจ้าคณะตำบลหนองบ่อ วัดบูรพาพิสัย จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2504 พระอุปัชฌาย์เคน คมฺภีรปญฺโญ เป็นช่างทำเมรุ ร่วมกับพระมหาถวัลย์ ภายหลังคือ พระปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารสุโภ) รองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง
เมรุนกหัสดีลิงค์ หลวงปู่นาค วัดป่าใหญ่ (ไม่ทราบปี พ.ศ.)
เมรุนกหัสดีลิงค์ ในงานศพ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2471 (ภาพของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี)
ภาพ : นกหัสดีลิงค์ในงานศพ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2471 (ภาพของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี)
ความยิ่งใหญ่ของพิธีกรรมและมหรสพในงานศพของ เจ้าเมืองอุบลราชธานี จากหลักฐานวรรณกรรมท้องถิ่นเมืองอุบลราชธานี "พื้นเมืองอุบล" งานปลงศพพระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองท่านที่ 3 (ครองเมือง พ.ศ. 2398 - 2406)
...บรบวนตั้ง พระเมรหลวงกลางท่ง
ฮอดมื้อเต้า ศพย้ายจากโฮง
การละเล่น ระงมคนขับเสบ
พิณพาทย์ฆ้อง เสียงก้องทั่วเมือง
ขลุ่ยแคนไค้ หอยสังข์กลมกล่อม
ซุงต่อยต้อง กลมกลั่วปี่แถ
ฆ้องกลองพร้อม ไชยพาทย์สันเสียง
เสียงสนั่นก้อง ระงมห้าวกล่อมขวัญ
โฮมงันได้ เจ็ดวันเลยจูด
เททอดน้ำ นำเจ้าส่งสการ
สังฆเจ้า ทังมวลพร้อมพร่ำ
มาจูดเมี้ยน เทิงซ้ำสูตรพระธรรม
พากันสร้าง บังสกุลทานทอด
หมายหยาดน้ำ บุญยู้พระยอดเมือง
จูดเมี้ยนแล้ว ศพเมรยาพ่อใหญ่
สามขวบมื้อ ตามจาฮีตบูฮาณ
พากันเก็บกระดูกเจ้า ลาเลิกหดสรง
โถลายคราม หน่วยงามประสงค์เมี้ยน..."
จาก ปรีชา พิณทอง. "ประวัติเมืองอุบลราชธานี สำนวนอิสานคัดจากใบลาน". อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรม, 2506. หน้า 191 (ในวรรณกรรมออกนามพระพรหมราชวงศาว่า พระประทุมราชวงศา)
พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เป็นบุตรพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าเมืองอุบลคนแรก มารดาคือเจ้านางตุ่ย พระธิดาเจ้าอุปราช (ธรรมเทโว) เจ้าอุปราชจำปาสัก พระองค์ที่ 2 พระพรหมกุทอง เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าฮุย เจ้านครจำปาสักองค์ที่ 7 จึงนับสืบเนื่องเป็นเชื้อพระวงศ์จำปาสัก แต่เสียดายที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเท่าไหร่
(ซ้าย) นกหัสดีลิงค์ในงานศพ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2471 (ภาพของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี) (ขวา) เมรุนกหัสดีลิงค์ ส่งสะการ ญาแม่คำยาน ณ อุบล
ผังขบวนแห่อันแสดงถึงฐานานุฐานะของเจ้านางสีดา ประกอบด้วย
ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ในอุบลราชธานี" โดย อ.วิราณี แว่นทอง
นางเทียมเจ้านางสีดา (ญาแม่มณีจันทร์) ฟ้อนท่าค้ำฟ้า เตรียมฆ่านก ในงานส่งสะการ ดร.คำหมา แสงงาม จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ที่ถือขันวางศรคันธนู คือคุณยายประทิน วันทาพงษ์ ซึ่งต่อมาเป็นผู้สืบทอดเป็นนางเทียมเจ้านางสีดาคนที่ 5
ท่าฟ้อนของเจ้านางสีดาเป็นท่าเฉพาะเรียกว่า "ท่าค้ำฟ้า" คือ ม้วนจีบทีละข้าง เริ่มจากมือขวา ซ้าย แล้วคลายจีบออกเป็นตั้งวง แขนตึงระดับไหล่ ใช้มือทั้งสองข้างหันฝ่ามือไปในทิศบน หรือหันฝ่ามือขึ้นท้องฟ้า แขนตึงชี้ไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา มีการใช้กำลังแขนและสายตาที่มุ่งมั่น ท่านี้ ไม่เคยมีการปรับเปลี่ยน มาเป็นเวลาสองร้อยปี และสืบทอดเฉพาะในสายตระกูลนางเทียมเจ้านางสีดา เท่านั้น (ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "การรำในพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ในอุบลราชธานี" โดย วิราณี แว่นทอง: 2551)
(ซ้าย) ญาแม่มณีจันทร์ ผ่องศิลป์ ฟ้อนศรฆ่านก ด้วยท่าฟ้อนที่สืบทอดในวงศ์ตระกูลมากว่า 200 ปี สังเกตที่คันศรเป็นรูปนาค สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ปราบนกหัสดีลิงค์ (ขวา) ญาแม่สุกัญ ปราบภัย แผลงศรฆ่านกหัสดีลิงค์ในงานส่งสะการ ญาพ่อโฮงแพ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2471
เจ้านางสีดาปราบนกหัสดีลิงค์ (ญาแม่มณีจันทร์)
ตัวแทนอาญาสี่ นำขันห้ามาเชิญเจ้านางสีดาไปฆ่านกหัสดีลิงค์ อาญาสี่จะกล่าวคำเชิญเจ้านางสีดาว่า "นกโตนี้กาลีบ้านกาลีเมือง กินคนมาร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมืองแล้ว อาญาสี่เพิ่นกะมาขอเชิญญาแม่สีดาไปปราบนก" ฝั่งเจ้านางสีดาจะถามกลับว่า "นกโตนี้อยู่ไส" อาญาสี่ตอบว่า "อยู่ท่งหลวงท่งปาง ขอเชิญญาแม่สีดาไปปราบนกเทอญ"
แต่เดิมตัวแทนอาญาสี่ต้องเป็นคนมาจากตระกูลผู้สืบเชื้อสาย อาญาสี่เมืองอุบล คือ สกุล ณ อุบล, สิงหัษฐิต, บุตโรบล, พรหมวงศานนท์ เป็นต้น ในภายหลังได้ปรับเปลี่ยนโดยคัดเลือก ข้าราชการบำนาญ หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นที่นับหน้าถือตาของบ้านเมือง ทำหน้าที่แทน
(ซ้าย) เครื่องคาย ในพิธีเลี้ยงคายหน้า ณ หอโฮงนางสีดา บ้านด้ามพร้า (ขวา) บรรดานางเทียมแต่ละอาชญ์องค์ที่เข้าร่วมพิธีเลี้ยงคายหน้า ณ หอโฮงเจ้านางสีดา แต่ละองค์จะยกขันคารวะองค์ที่อาวุโสตามลำดับ
การบายศรี เจ้านางสีดาและบรรดามเหสักข์ในพิธีเลี้ยงคายหน้าก่อนไปฆ่านกหัสดีลิงค์
การฟ้อนรำ เล่นศร ในพิธีเลี้ยงคายหน้า
วอทอง หรือเสลี่ยงเจ้านางสีดา สำหรับแห่ไปฆ่านกหัสดีลิงค์ แต่ดั้งเดิมโบราณในสมัยที่ยังเผาศพกลางทุ่งศรีเมือง เจ้านางสีดาจะเริ่มฟ้อนท่าค้ำฟ้า บนเสลี่ยง คือ มือขวาจับเสา มือซ้ายม้วนจีบแล้วตั้งวงแขนตึง ประกอบการตบเท้าขวาเพื่อสะดุ้งจังหวะ ขบวนเสลี่ยงจะเวียนซ้าย สามรอบ เมื่อมาหยุดตรงหน้านกหัสดีลิงก์ เจ้านางสีดาจะแผลงศร ถูกคอนกหัสดีลิงค์
(ซ้าย) นำแนบ (บริวารผู้ติดตามเจ้านางสีดา) ถือกุบศึก และศรชัย ซึ่งใช้ฆ่านกหัสดีลิงค์มากว่า 200 ปี (ขวา) ขบวนแห่นางสีดาไปฆ่านกหัสดีลิงค์
(ซ้าย) ฆ้องไชย นำขบวนอาญาสี่ แห่เจ้านางสีดาเข้าไปฆ่านก (กลาง) หอก ดาบ ที่นำเข้าขวนแห่ เป็นของโบราณที่เก็บรักษาโดยทายาทตระกูลเจ้านางสีดา (ขวา) ขบวนขุนตูม ขุนตาม ขุนซ้ำ ขุนพลอย บริวารเจ้านางสีดา ทำหน้าที่แทงหอก ดาบ ซ้ำที่นกหัสดีลิงค์ หลังจากเจ้านางสีดายิงศรแล้ว
ประมวลภาพจากพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์ งานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
ตำนานนกหัสดีลิงค์ (1) | ตำนานนกหัสดีลิงค์ (2) | ตำนานนกหัสดีลิงค์ (3)
เมรุุนกหัสดีลิงค์เทินบุษบก ใน งานพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่พระเทพวิทยาคม "หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ"
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)