foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

isan thai words

ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

คำที่น่าสนใจนำมาเสนอในวันนี้คือ...

ออนซอน-นาตูห่ง-อึน-ชุ่มอึน-โจกโพก-โจกโหลก-งาบงาบ-ชะงาบ-สะงาบ-พูด

ออนซอน

ภาษาอีสานวันละคำ 2 คำเลย มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ออนชอน" และ "สะออน"

มีคำถามมาว่า มีความสงสัยในภาษาอีสาน 2 คำข้างต้นว่า เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ถามมาหลายคนแล้วก็ตอบไม่ตรงกัน ก็ขอเฉลยดังนี้ครับ

ออนชอน ว. เพราะพริ้ง สวย งาม น่ารัก อย่างว่า ออนชอนเสียงไก่ขันเนืองข้อน (กา) ใกล้ฮุ่งเค้าครางอั่นออนชอน ขัวนัวเหมือยหมอกฮวายลงข้อน ไฟฟืนใต้ทุกเตาเฮืองฮุ่ง ซว่าซว่าข้าดาตั้งแต่งงาย (สังข์). melodious, beautiful, lovely.

สะออน ก. เป็นภาษาพูด (ควมเว้า) ของชาวอีสาน มีความหมายว่า ชอบใจ, พอใจ, ติดใจ อย่างว่า เนื้ออ่อนเพี้ยงกุทลีกลมไหว คือคู่หงส์คำเหินเมื่อลีลาย้าย สะออนใจเจ้าชายชมสมิ้งเมื่อย หลับบ่ได้ตาพลั้งเพื่อแล (สังข์). to like, be pleased, be satisfied, be enamored with.

on shon

คำเรกเป็นคำวิเศษณ์ ขยายให้เห็นความหมายที่แท้จริง เช่น น้องจั่งแม่นงามเป็นตาออนชอนเนาะ บางครั้งสำเนียงและการออกเสียงอาจจะเพี้ยนๆ ไป เช่น ออนชอน ก็ออกเสียงเป็น ออนซอน (เสียง ช. เป็น ซ. ได้) มีหลายอักษรที่คนอีสานออกเสียงต่างกัน เช่น ร. รัก เป็น ฮ. ฮัก เป็นต้น ส่วนคำหลังเป็นกริยาในการพูด เช่น ผัวใหม่เมียสาวคุยกันในห้องนอน ชายหนุ่มเอ่ยขึ้นว่า โอย... จั่งแหม่นข่อยสะออนของเจ้าหลายเด้อ (สะออนหยังน้อ คือ บ่บอกมาโลด)

นาตูห่ง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "นาตูห่ง"

ฝนตกเมื่อเช้าวันนี้ สงสัยจะฟังเพลง "ฝนเทลงมา" ไปด้วย เลยมีแฟนนานุแฟนถามอาวทิดหมูมาว่า "คำว่า 'นาตูห่ง' นี่มันหมายถึงอีหยังอาวทิดหมู" แล้วอาวทิดหมูก็โยนยคำถามต่อมาให้ช่วยอธิบายให้เพิ่นแหน่ เลยขอแยกออกเป็น 3 คำเลย ดังนี้

นา ก็คือ ที่นา ที่ชาวนาใช้ทำนาปลูกข้าวนี่แหละน้อ
ตู ก็คือ กู ข้า ข้อย ผม นี่แหละ ซึ่งหมายถึงตัวผู้พูดหรือผู้ร้องเพลง
ห่ง ก็คือ ลักษณะของน้ำที่เจิ่ง นอง ท่วม นั่นแหละ

เมื่อนำมารวมกันจึงมีความหมายว่า "ให้ฝนตกลงมาท่วมนากูแหน่" นั่นเอง แต่แถวในเมืองบ้านอาวทิดหมูเช้าวันนี้ ชาวบ้านบอกว่าเรือเล็กห้ามออกจากฝั่งเด้อ ทั้งฝั่งอำเภอวารินชำราบ และฝั่งมืองอุบลฯ ท่วมอีกแล้วพี่น้องเอย

noul 6

มีคนบอกว่า "สาเหตุที่ฝนตกหนักในเขตเมือง เพราะ โฉนดที่นา มันพากันมาอยู่ในธนาคารเบิด พ่ะนะ" แหม่นอยู่บ้ออาว....????

อึน

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "อึน"

บ่ได้เสนอคำภาษาลาวอีสานมานานแล้ว พอดีมีพายุ "โนอึล" เข้ามาถล่ม ก็เลยนึกถึงคำว่า "อึน" ในภา๋ษาอีสานของเฮากะมี แต่ความหมายไม่เหมือนกับ "โนอึล" ภาษาเกาหลีเด้อ (เกาหลี: 노을, อักษรโรมัน: Noul) เป็นชื่อในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในชุดที่ 3 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ส่งชื่อโดยประเทศเกาหลีเหนือ คำว่า "โนอึล" ในภาษาเกาหลี หมายถึง แสงเรืองในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก

อึน ว. เปียก ชื้น ผ้าที่ตากแห้งไม่สนิท ผ้ายังชุ่มอยู่เรียก ผ้าอึน อย่างว่า ทุกข์ใช่น้อยฝนเร่งฮวายฮำ สองค่อยเพียรเพลาแพงห่มอึนเอาตุ้ม ผ่อดูวันสูรย์ซ้ายเมโฆเค้าฮ่ม พุ้นเยอ ฟ้าหลั่งเหลื้อมเสียงก้องคื่นเค็ง (สังข์) ผายแครงปั้นผืนอึนเอาตาก แล้วแต่งตุ้มหอมให้ดูดนม ทุกข์ยิ่งล้ำมีท่อสองศรี ในไพรเขียวบ่มีพงศ์เชื้อ เมื่อนั้นสองกษัตริย์ไท้เดินดงหิวหอด เลี้ยงลูกน้อยนานช้ายากแคลน (สังข์). moist, damp, wet.

ชุ่มอึน ว. เปียกชุ่ม ชื้นแฉะ ผ้าที่เปียกถึงตากก็ชุ่มอยู่เรียก ผ้าชุ่มอึน อย่างว่า ผายแครงปั้นผืนอึนเอาตาก แล้วแต่งตุ้มหอมให้ดูดนม (สังข์) ทวายมือเช้ดชุ่มสะใบปุนปั้น (กา). damp.

noul 7

ความหมายเป๊ะกับพายุเลยทีเดียว เพราะตอนนี้แถวกระท่อมน้อยอาวทิดหมูกะยังอึนๆ จื้นๆ แฉะๆ อยู่ย้อนมีฝนมาเป็นระยะ บ่ได้ขาดเลย

โจกโพก

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "โจกโพก"

มีคำถามมาจากหลานๆ นักเรียนจากทางภาคใต้สอบถามมาว่า "คุณครูสอนภาษาไทยให้นักเรียนหาคำภาษาถิ่นภาคต่างๆ ที่มีความหมายเดียวกันมาเสนอ ผมได้คำว่า "ผมหงอก" อยากทราบว่า คนอีสานเรียกว่าอะไร" (ขอสงวนนาม และชื่อโรงเรียนไว้ เดี๋ยวจะไม่ได้คะแนน รับทราบครับ)

โจกโพก ว. เส้นผมบนศรีษะขาวทุกเส้นเรียก หัวขาวโจกโพก. completely (white, ref. to hair).

คนผมหงอกนั้นทางอีสานจะบอกว่า "โอ.. อ้าย เจ้าคือมาผมขาวโจกโพกแท้หล่ะ" หรือตอนน้ำท่วม (ไม่ว่าอีสาน กลาง ใต้) เหลียวไปทางใดมีแต่น้ำก็จะพูดกันว่า "น้ำท่วมหลาย แนมไปทางใด๋กะขาวโจกโพก" (น้ำท่วมมาก มองไปไกลสุดสายตาก็มีแต่น้ำขาว(สะท้อนแสง)ไปหมด)

joke poke

ส่วน "แอ่งน้ำ" ในธรรมชาติที่กว้างใหญ่ไพศาล สุดสายตานักจะเรียกกันว่าว่า "โจกโหลก"

โจกโหลก ว. ที่ลุ่มซึ่งเป็นแอ่งใหญ่ เรียก ขุมโจกโหลก. large (of hole or pond).

joke loke

งาบงาบ

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "งาบงาบ"

เป็นคำถามที่ทันยุคมากทีเดียวครับ ตอนนี้คนไทยในเมืองกรุงกำลัง "หันใจงาบงาบ" จากสาเหตุฝุ่น PM 2.5 และโคโรนาไวรัส ที่ประเดประดังเข้ามาในช่วงนี้ มารู้จับความหมายกันหน่อย

งาบงาบ ว. อาการอ้าปากหายใจช้าๆ ของคนเหนื่อยหอบ หรือหายใจของคนกำลังจะตาย เรียก "หันใจงาบงาบ". feebly gasping for breath.

ชะงาบ ว. อ้าปากงาบๆ เหมือนคนกำลังจะตาย เรียกว่า หันใจชะงาบ ชาบงาบ งาบงาบ ก็ว่า. gasping weakly.

สะงาบ ว. หายใจทางปาก คนเจ็บป่วยมีอาการหนักจวนจะสิ้นใจ ต้องหายใจทางปาก หรือปลาในหนองน้ำที่งวดลงจนต้องหายใจทางปาก อย่างว่า ฝูงหมู่ปลาน้อยมังกรแกมนาค ฟองฟาดเต้นตายข้อนสะงาบเงย (สังข์). to breathe through ones mount, gasp.

ngab ngab

ปัญหานี้นับวันจะรุนแรงขึ้นทุกวัน ทั้งจากการก่อสร้างอาคารใหญ่สูงในเมืองที่ความเจริญมีมากมาย การคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเก่าๆ ควันขโมง และจากการเผาขยะ พืชผลการเกษตรเพื่อการทำไร่นาทั่วๆ ไป อย่าเผาเลยครับไถกลบฝังดินให้เป็นปุ๋ยดีกว่า การเผานอกจากจะทำร้ายสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยในบริเวณนั้น ขี้เถ้าที่เกิดจากการเผายังเป็นด่างที่ทำร้ายดินไม่เกิดประโยชน์สักนิดนะครับพี่น้อง

พูด

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "พูด"

จากแฟนานุแฟนหนุ่มน้อยแห่งเมืองน้ำดำ(กาฬสินธุ์) ส่งจดหมายน้อยมาถามว่า "พ่อใหญ่บ้านมาชวนพ่อไปฆ่างัวตกพูดกัน" คำว่า "ตกพูด" นี่หมายความว่าจั่งใด๋น้อครับ "พูด" คือกันกับ "เว้า" บ่ครับ

คำว่า "พูด" ในความหมายของชาวอีสานมี 3 ความหมายตามบริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้

พูด ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำ เรียก พูด, เว้า ก็ว่า. to speak.

พูด ก. พ่นน้ำออกจากปาก เรียก พูด อย่างว่า มณีกาบฮู้อมน้ำพูดพลัน เสด็จผ่านแผ้วผายน้ำพูดพรม (สังข์). to spray water out of mouth.

พูด ก. แบ่งของออกเป็นส่วนๆ เพื่อแบ่งปันกัน เรียก พูด เช่น พูดปลา พูดกบ พูดเขียด พูดซี้น อย่างว่า เสี่ยวเฮาปันพูดน้อยบ่สมส่วนกับขน (ผาแดง). portion, share (of meat from hunting or fishing).

pood

จากคำถามที่ถามมานั่นก็หมายถึง ผู้ใหญ่บ้านมาชวนลงขันซื้อวัวมาฆ่าชำแหละปันส่วนกัน โดยการแบ่งเป็นกองๆ เท่าๆ กัน สมัยแต่ก่อนใช้ตอกไม้ไผ่ร้อยเป็นพวงดังภาพประกอบ แต่สมัยนี้ใช้ถุงก็อปแก๊บสะดวกกว่า อ่านเพิ่มเติมจาก การลงแขก-ตกพูด-แบ่งปัน นะหลาน

 

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)