คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ในการแสดงของทุกภาคนอกจากจะมีเครื่องดนตรีที่ให้ท่วงทำนองสนุกสนาน มีนักร้อง นักรำแล้ว ส่วนประอบอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เครื่องแต่งกาย ซึ่งในภาคอีสานจะมีเครื่องแต่งกายหลากหลายแบบตามสภาพถิ่น วัสดุ และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้ภาคอื่น
ชาวอีสานถือว่า การทอผ้า เป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือ การลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญบิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกัยในแถบอีสานเหนือคือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา
คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร ที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
ลวดลายผ้าพื้นเมืองอีสานทั้งสองกลุ่ม นิยมใช้ลายขนานกับตัว ซึ่งต่างจากผ้าซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางตัว และนุ่งยาวกรอมเท้า ในขณะที่ชาวไทยลาวนิยมนุ่งผ้าซิ่นสูงระดับเข่า แต่ไม่สั้นเหมือนผู้หญิงเวียงจันทร์และหลวงพระบาง การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นจะต่อด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ส่วนหัวซิ่นนิยมด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอเก็บขิดเป็นลายโบคว่ำ และโบหงายมีสีแดงเป็นพื้น ส่วนการต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ ยกเว้นกลุ่มไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ ซึ่งมักจะทอริมผ้าเป็นริ้วๆ ต่างสีตามแนวตะเข็บซิ่น จนดูกลมกลืนกับตะเข็บและเวลานุ่งจะให้ตะเข็บอยู่ข้างสะโพก
ผ้าซิ่นสำหรับใช้เป็นผ้านุ่งของชาวอีสานนั้นจะมีลักษณะการใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ชุดผ้าพื้นเมืองอีสานที่สวยงามทั้งจากซิ่นไหม และผ้าฝ้าย
ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง | การแสดงที่ปรากฎในภาคอีสาน | เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน
การฟ้อนแบบต่างๆ | การเซิ้งแบบต่างๆ | ดนตรีประกอบการฟ้อน | เครื่องแต่งกายสำหรับการฟ้อนภาคอีสาน
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อน และฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน มีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียว อย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรม ดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม
วงดนตรีประกอบเรือมมม็วต
วงดนตรีประกอบเรือมอันเร ประกอบด้วย ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา โทน 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง, ฉาบ และกรับอย่างละ 1 คู่
กันตรึมโบราณ บ้านโชค เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
คลิกไปอ่าน เครื่องแต่งกายสำหรับชุดฟ้อนภาคอีสาน
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ชุดฟ้อนซาปดาน นี้เป็นชุดฟ้อนที่พัฒนาท่าฟ้อนขึ้นมาใหม่ โดยอาจารย์เครือจิตร ศรีบุญนาค ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ เพื่อประกอบเพลง "ซาปดาน" ซึ่งมีความหมายว่า เลิก หรือ หยุด ในเนื้อเพลงกล่าวถึงผู้ชายที่มีหญิงคนรักแล้วเปรียบเหมือนกับได้ดอกไม้ ถึงจะได้รับดอกไม้ใหม่ก็จะไม่ทิ้งดอกเก่า แต่จะทิ้งดอกไม้ดอกใหม่เสีย และกล่าวถึงผู้หญิงที่เศร้าโศกพร่ำร้องไห้เมื่อผู้ชายคนรักต้องจากไปไกล
"ปกาเอย เปรียฮปา ปองมันจอลปกาเลย บองดะ ตุ กร็มเคนิย บองซดายปกานะ บองมันจอลปกาจัฮ ปกาจัฮบอกปีเดิม บองรัปตันเฟิร เนียงดะ มุ ออนยุม |
กัตบานหงับนา ตัวฮซเว็จฉลวย บองมันจอลปกาเลย บอกซูจอลปกาทเม็ย บอกซดาปกานะ ซแร็คซเคิงจัมเปิร เมียงดะ มุ ออนยุม เนียงกัตตามบองปีกรอย" |
เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน ใช้ผ้าขาวม้าห่มเป็นแถบรัดหน้าอก ปล่อยชายด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นพื้นเมืองของอีสานใต้ เกล้าผมมวยติดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ทำนองเพลงซาปดาน
ซาปดาน กันตรึมเงินล้าน น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์
เจรียงซันตรูจ แปลว่า เพลงตกเบ็ด เป็นการร้องเล่นในเทศกาลต่างๆ เช่น งานบวช ซึ่งส่วนมากจะจัดในลานวัด โดยพวกหนุ่มๆ จะรวมกลุ่มกันใช้ผลหมากรากไม้ผูกเชือก มีคันเบ็ดผูกไปล่อสาวๆ ที่ไปเที่ยวตามงานวัด เหยื่อที่ปลายคันเบ็ดนั้นใช้ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ผูกเป็นพวง วิธีการตกเบ็ดนั้น ที่ไหนมีกลุ่มหญิงสาวนั่งรวมกันอยู่ กลุ่มหนุ่มๆ ก็จะพากันร้องรำทำเพลง แล้วก็หย่อนเบ็ดให้เหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าของคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง ผู้ที่ถือคันเบ็ดเป็นผู้ร้องเพลงเอง ชอบสาวคนไหนก็นำเหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าคนนั้น หากสาวรีบรับเหยื่อไปก็แสดงว่ารับรัก หลังจากเสร็จงานแล้ว ฝ่ายหนุ่มก็จะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอต่อไป ซึ่งเป็นประเพณีเชื่อมความสามัคคีของกลุ่มหนุ่มสาวระหว่างหมู่บ้านหนึ่งกับอีกหมู่บ้านหนึ่งอีกด้วย
การแสดงเรือมซันตรูจ ในปัจจุบันได้ดัดแปลงโดยให้มีผู้ร้องเพลงเจรียงซันตรูจประกอบทำนองซันตรูจ แบ่งผู้แสดงชายและหญิงอย่างละเท่าๆ กัน ฝ่ายชายและหญิงจะรำออกมาพร้อมๆ กัน ตั้งเป็นวงกลม ฝ่ายชายจะแยกไปรวมอยู่นอกวง ซึ่งผลัดกันเข้ามาเกี้ยวหรือจีบสาว โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ กัน ถ้าชายคนหนุ่มคนใดมีของดีแสดงออกมาจนเป็นที่ถูกใจของฝ่ายหญิง ก็จะออกไปรำเกี้ยวกัน
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิง จะห่มผ้าแถบนุ่งผ้าถุงพื้นเมืองอีสานใต้ ส่วนฝ่ายชายใส่เสื้อคอกลมนุ่งโจงกระเบน มีผ้าขาวม้าพาดบ่าปล่อยชายสองข้างไว้ด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม หรือจะใช้วงโปงลางบรรเลงเพลงทำนองซันตรูจ
อุปกรณ์การแสดง ดอกไม้ หรือคันเบ็ด
เรือมซันตู๊จ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด
เรือมตลอก หรือ รำกะลา นี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ โดยชาวบ้านนิยมปลูกมะพร้าวไว้บริเวณบ้าน ให้ความร่มรื่น ความเชื่อแต่โบราณนั้นเชื่อว่า เมื่อลูกหลานแต่งงาน พ่อแม่จะมอบที่ดินให้ทำกินและเป็นที่ปลูกบ้าน ซึ่งจะต้องปลูกมะพร้าวก่อนเพื่อแสดงถึงความมั่นคง เพราะการปลูกมะพร้าวในภาคอีสานจะต้องได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษ จึงจะเจริญงอกงามเพราะดินแห้งแล้ง ใครปลูกมะพร้าวได้งอกงามก็จะทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคง
ในฤดูหลังจากการเก็บเกี่ยว จะเป็นระยะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะว่างงาน หนุ่มสาวจะเอากะลามาขัดที่ลานบ้าน เพื่อนำไปประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ เช่น ทัพพี กระบวยตักน้ำ และนำกะลามาใช้ประกอบการร่ายรำอย่างสนุกสนาน ในลักษณะหญิงชายจับคู่กัน การร่ายรำจะมีการเคาะกะลามะพร้าวเป็นจังหวะ หากหญิงชายคู่ใดเคาะกะลาแตก คู่นั้นอาจจะได้แต่งงานกัน ระบำกะลานี้ อาจารย์พจนีย์ กงตาล อาจารย์ประจำภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ จึงได้ฝึกหัดและต่อท่ารำมาจากชาวเขมรอพยพ
ลำดับขั้นการแสดง
ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้แสดงก่อน โดยออกมานั่งขัดกะลามะพร้าว แล้วเคาะกะลาให้จังหวะเชิญชวนให้ผู้ชายออกมา เมื่อผู้ชายได้ยินเสียงก็จะออกมาเกี้ยวเป็นเชิงขอเล่นด้วย ซึ่งชายหญิงแต่ละคู่จะออกมาแสดงลีลาการเกี้ยวพาราสีกัน โดยใช้กะลาเป็นอุปกรณ์ ท่ารำมีการแปรแถวและเคาะกะลาไปเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวจะขึ้นกับจังหวะของดนตรีซึ่งช้าบ้างเร็วบ้าง ท่าทางในการแสดงออกของผู้แสดงนั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งพอจะนับได้ว่า รำกะลาของอีสานใต้เป็นต้นแบบรำกะลาหรือเซิ้งกะโป๋ของอีสานเหนือ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชาย นิยมนุ่งกางเกงสีพื้น เสื้อคอกลมผ่าหน้าขลิบที่คอ แขน และด้านหน้าอก มีผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบนสีพื้นสด เสื้อคอกลมแขนสั้นมีขลิบ เช่นเดียวกับชาย คาดเข็มขัดทับ ผมปล่อยหรือเกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงกันตรึม ทำนองจองได และเพลงเรือมตลอก
อุปกรณ์การแสดง กะลามะพร้าวคนละคู่
เรือม ตล็อก (ระบำกะลา)
เรือมจับกรับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเดิมใช้ชื่อเรียกว่า "อาไยลำแบ" หรือ "รำจับกรับ" การใช้กรับหรือไม้สองอันกระทบกันนี้ เห็นได้โดยทั่วไปในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และชาวอาหรับ การรำกรับของชาวสุรินทร์นั้นจะมีการเล่นในงานนักขัตฤกษ์ งานมงคลทุกประเภท มักจะมีอาสาสมัครโดยมีกรับทั้งสองมือออกร่ายรำขับร้องประกอบกับเสียงกรับกระทบกัน ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า จั๊กตะล็อก ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จึงได้นำรูปแบบของการแสดงมาจัดกระบวนให้มีรูปแบบยิ่งขึ้น แต่ท่ารำและลีลาการแสดงต่างๆ ไว้คงเดิม แสดงถึงลีลาการขยับกรับ และหยอกล้อระหว่างคู่เล่น โดยมีจังหวะช้าและเร็วขึ้นตามลำดับ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิง นุ่งโจงกระเบนผ้ามัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอกมีสไบห้อยมาผูกด้านซ้ายที่เอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้นมีผ้าขาวม้าคาดเอว และมีผ้าคล้องไหล่พับทบด้านหน้าทิ้งชาย 2 ชายด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ประกอบด้วยเพลง ถวายครู อาไยกลาย กันต๊บ ปะการันเจก โอละนอย
อุปกรณ์การแสดง กรับสั้น สำหรับฝ่ายหญิงแต่ละคน กรับยาว 1 คู่และอีก 1 อันสำหรับฝ่ายชายแต่ละคน
เรือมจับกรับ
คลิกไปอ่าน ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อน และฟ้อนได้อย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนนั้น มีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวง มีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ หรือกลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายประเภท ถ้าแบ่งประเภทโดยยึดการใช้หรือการเล่นดนตรีนั้นๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
พิณ ซึง ซุง | ไหซอง หรือ พิณไห |
ซอกระป๋อง ซอปิ๊บ | ซอกระบอก | โปงลาง |
นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว ยังมีเครื่องดนตรีประเภทตีทำด้วยโลหะอีกหลายชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า สิ่ง แส่ง
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนของอีสานเหนือดั้งเดิม จะใช้เครื่องดนตรีหลักเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดเดียว เช่น ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนผีหมอ จะใช้แคน ฟ้อนกลองตุ้มจะใช้กลองตุ้มอย่างเดียว แต่ในการแสดงชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในยุคหลังจะใช้ดนตรีลักษณะผสมวงหลายชิ้น เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง ฯลฯ ผสมกัน
ทำนองเพลงพื้นบ้านอีสานเหนือเป็นทำนองสั้นๆ และวนเวียนกลับไปกลับมาซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ตอน คือ
ดังนั้นในการบรรเลงเพลงพื้นเมืองอีสานนั้น ในขั้นแรกจะเริ่มด้วยการเกริ่นเสียก่อน แล้วจึงดำเนินทำนองหลักอาจจะกลับไปหลับมา ดังนั้นการบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานจะใช้ทำนองหลักเป็นตัวแกนในการบรรเลง
วงโปงลางศิลป์อีสาน 2559 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คลิกไปอ่าน เครื่องแต่งกายสำหรับชุดฟ้อนภาคอีสาน
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ในฤดูหนาวชาวอีสานนิยมเล่น "ว่าว" กันในช่วงเดือน 12 ประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระยะมีลมแรงอย่างสม่ำเสมอ เพราะในฤดูร้อนภาคอีสานไม่มีลมประจำที่พัดแรงและสม่ำเสมอเหมือนอย่างในภาคกลาง และลมไม่แรงพอที่จะพัดพยุงให้ว่าวขนาดใหญ่ขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ ว่าวอีสานประกอบด้วย ตัวว่าว เชือกว่าว และสะนู หรือธนู ผูกติดไว้บนหัวว่าว คันธนูหรือสะนูว่าวเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วยคันธนู ทำด้วยไม้ไผ่ และเปิ้นธนูจะเป็นแผ่นบางๆ ทำด้วยใบตาลหรือลำหวายขนาดยาวพอเหมาะกับคันธนู ใช้เส้นด้ายหรือไหมผูกปลายเปิ้นธนูเข้ากับปลายคันธนูทั้งสองข้างขึงให้ตึงจันคันธนูโก่งพองาม ตรงปลายของเปิ้นธนูทั้งสองข้างให้ใช้ขี้สูด ติดไว้เป็นก้อนกลมขนาดเท่าปลายก้อย เพื่อให้ธนูมีเสียงไพเราะ ว่าวอีสานจึงต่างจากว่าวภาคอื่นเพราะมีเสียงที่ไพเราะ
การเล่นว่าวนี้ที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีการส่งเสริมการเล่นว่าว ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้คิดประดิษฐ์ชุดระบำว่าวขึ้น โดยเลียนแบบลีลาของการเล่นว่าวที่ล้อกับลม
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงแสดงเป็นว่าว ดังนั้นการแต่งกายจะสวมเสื้อมีผ้าทิ้งมาด้านหน้าและหลัง ลักษณะครึ่งวงกลมคล้ายกับเสื้อที่เรียกว่า เสื้อปีกค้างคาว นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนโดยใช้ผ้าโสร่งพื้นเมือง ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม
ระบำว่าว
ระบำกลอง เป็นระบำชุดหนึ่งที่ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยได้แบบอย่างมาจากรำกลองยาวในภาคกลาง แต่ใช้กลองเล็กที่เรียกว่ากลองกันตรึมแทนกลองยาว ลักษณะการฟ้อนเป็นลีลาเฉพาะของอีสานใต้ ซึ่งนับเป็นชุดที่สนุกสนานชุดหนึ่ง
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลม ผ่าด้านหน้าแต่ไม่ชิดกัน คล้ายกับเสื้อของมอญ (ชุดฟ้อนม่านมงคล) สีดำ และนุ่งผ้าซิ่นดำมีเชิง นุ่งลักษณะพับทบด้านข้างปล่อยให้ชายผ้าบานคล้ายกระโปรง ผมเกล้ามวย ใช้ผ้าสีสดพันรอบศีรษะแต่เห็นมวยผมเล็กน้อย ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมสีสด นุ่งโจงกระเบนใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม
ระบำสุ่ม เป็นระบำชุดหนึ่งในระบำกัมพูชา ซึ่งอาจารย์พจนีย์ กงตาล ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ ได้ต่อท่ารำมาจากนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์พนมเปญ เมื่อกัมพูชาแตกแล้วได้อพยพมาอาศัยที่ศูนย์อพยพชาวกัมพูชา ณ ศูนย์อพยพกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ราวปี พ.ศ. 2524 ระบำสุ่มเป็นชุดฟ้อนที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริง และการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มหญิงสาว คำว่า สุ่ม ในภาษาเขมรเรียกว่า อันรุ้จ ซึ่งหมายถึงภาชนะสำหรับจับสัตว์น้ำในบริเวณน้ำตื้น
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ระบายที่แขน คอ และเอว ใช้ผ้าสไบรัดตะเบ็งมาน ผมเกล้ามวยต่ำติดดอกไม้ มือถือเชนียงหรือชะนาง ซึ่งเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ใช้ผ้าสไบโพกศีรษะ มือถือสุ่ม
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงมโหรี
อุปกรณ์การแสดง เชนียง และสุ่ม
เรือม อันรุด(ระบำสุ่ม)
เรือมอันเร หรือ เรือมลูตอันเร เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า เรือม แปลว่า รำ ส่วนคำว่า อันเร แปลว่า สาก เรือมอันเรจึงแปลว่า รำสาก ส่วนคำว่า ลูต แปลว่า กระโดด เต้น ข้าม เพราะฉะนั้น เรือมลูตอันเร จึงแปลว่า รำเต้นสาก หรือการเต้นสาก นิยมละเล่นกันในวันสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่า วันต็อม ชาวสุรินทร์จะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะหยุดงาน 3 - 7 วันเพื่อทำบุญ เมื่อหยุดงานก็มีเวลาว่างที่หนุมสาวจะได้พบปะกัน เกิดการละเล่นสนุกสนาน เช่น การเล่นสะบ้า เรือมอันเร
เรือมอันเร แต่เดิมนั้นไม่มีบทเพลงและท่าฟ้อนรำที่เป็นแบบฉบับอย่างในปัจจุบัน ผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง คือ ครูปิ่น ดีสม ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกตาพรหม ตำบลโด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้นำบทเพลงพื้นบ้านที่เคยร้องมาบรรจุใส่จังหวะต่างๆ ซึ่งมี 5 จังหวะดังนี้
ส่วนผู้คิดท่าฟ้อนคือ นางผ่องศรี ทองหล่อ และนางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ ครูโรงเรียนบ้านหนองโด่ง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ท่าพื้นฐานที่ฟ้อนกันมาแต่เดิมมาดัดแปลงให้สวยงามยิ่งขึ้น ในการเล่นเรือมอันเร เราจะต้องมีการไหว้ครูเสียก่อน เดิมที่ชาวอีสานยังใช้การตำข้าวด้วยมือ หลังจากตำข้าวเสร็จก็จะนำสากมากระทบกัน ฉะนั้นสากจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเล่นเรือมอันเร การเล่นเรือมอันเรจะฟ้อนเป็นวงกลมรอบตัวผู้กระทบสาก มีการเข้าสากทีละคู่ตามจังหวะดนตรีที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนครบ 5 จังหวะ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกตัดด้วยผ้าต่วน นิยมใส่สีเหลือง นุ่งผ้าถุงไหมปูม ห่มผ้าสไบเฉียงบางๆ นิยมใช้ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ส่วนมากใช้สีเดียวกับผ้าซิ่น ผมปล่อย อาจจะทัดดอกไม้ให้สวยงาม ส่วนฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นเป็นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าโสร่งไหมหางกระรอก ใช้ผ้าขาวม้าไหมพื้นเมืองของสุรินทร์พับครึ่งพาดบ่าปล่อยทิ้งชายทั้งสองชายด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ ประกอบด้วย กลองตะโพน ปี่ในหรือปี่อ้อ ซอด้วง ซอตรัวเอ กรับ สาก 1 คู่และไม้หมอน 2 อัน
เรือมอันเร (รำสาก)
อุปกรณ์การแสดง
เพลงประกอบการรำเรือมอันเร
1. เพลงไหว้ครู เกริ่นครู ทำนอง อายัยพิมพวง | ||
ชตุม มี จัต คเมาบองบัต ชัตเติว์ซทานนา ชัตเติว์ซทานเจ็น รีเติว์ซทานจเวีย ชัตเติว์ซทานนา บองลีชนาตาม ทงัยลเงียจตเจียะ บองแจ็ญเปียะ ตัมแร็ย ทงัยก็วงเมือตเปร็ย ตัมแร็ยบองยูลดัย ยูลตังปีปรึ์ จวนด็อลลุทงัย ตัมแร็ยบองยูลดัย ก็ตซแร็ยซเราะ ชงาย |
อากาศมืดครึ้ม น้องดำของพี่หาย ไปประเทศใด ไปประเทศจีน หรือไปประเทศชวา ไปประเทศใด พี่แบกหน้าไม้ตาม ตะวันเย็นต่ำลง พี่ออกไปคล้องช้าง ตะวันอยู่ระดับป่าไม้ ช้างพี่แกว่งงวง แกว่งตั้งแต่เช้า จนตะวันสาย ช้างพี่แกว่งงวง คิดถึงหญิงบ้านไกล |
|
2. จังหวะ กัตปกา ซาปดาน | ||
ปการี ปการูย เนียะนาเดิรกรอย รืฮปกาบองพอง เนียงรืฮมันรืฮ ก็อมเดินชลอง รืฮปกาบองพอง บองซดายปกานะ บองซูจอลปกาทเม็ย มัลจอลปกาจัฮ บองซดายปกานะ ปกาจัฮบีเดิม ปกัวร์เลือนแอตโปง ชเลอะ โดงกันโจม ซเราะ บองม็อตกโม็ม บองเดิรสิ่งตามจัฮ รือพลูรือซลา บองวิจ เติว็บีปเตียะฮ บองเดิรลีงตามจัฮ ซออ์ตปซ็อฮ |
ดอกไม้บาน ดอกไม้โรย ผู้ใดเดินตามหลัง เก็บดอกไม้ให้พี่ด้วย น้องเก็บไม่เก็บ น้องอย่าเดินข้าม เก็บดอกไม้ให้พี่ด้วย พี่เสียดายดอกไม้นะ พี่สู้ทิ้งดอกไม้ใหม่ ไม่ทิ้งดอกเก่า พี่เสียดายดอกไม้นะ ดอกเก่าแต่เดิม ฟ้าลั่นทางทิศใต้ ใบมะพร้าวร่มรื่น บ้านพี่ไม่มีสาว ที่เดินเล่นตามคนแก่ เรื่องพลูเรื่องหมาก พี่ห่อไปจากบ้าน พี่เดินเล่นตามคนแก่ แก้เหงา |
|
3. จังหวะ จึงมูย | ||
ซแร็ยซเดิงซเลอะ เทอออยบองก็ต ปแดปดัม น็องก็ บองปดัม ซเราะ บีต ก็ มินซเกือล บองปดัมน็องคย็อล มินด็อลซแร็ยเลย มือ มี์ ซตุม มือ พนม ซตูล ซตึงเปรียะ มูล เทอแม็ฮบองเฮียน ชลอง ตี เรียะ ซเมอะพลิว ตึ จริว ซเมอซมอง เทอแม็ฮบองเฮียนชลอง โมรัวซแร็ยซเดิง |
ผู้หญิงบางใบ ทำให้พี่คิด ฝากฝังกับเขา พี่ฝากบ้านใกล้ เขาไม่รู้จัก พี่ฝากกับลม ไม่ถึงน้องเลย ดูเมฆมืดครึ้ม ดูภูเขาสูงใหญ่ ห้วยน้ำมูล ทำอย่างไรพี่กล้าข้าม น้ำตื้นแค่ขา น้ำลึกแค่หน้าแข้ง ทำอย่างไรพี่กล้าข้าม มาหาผู้หญิงบาง |
|
4. จังหวะ มลุปโดง | ||
มลปโดงเอย ตโซลแด็จพนุม มลปโดงซเราะ วิท็ม มลป ซาคา มลปโดงเกรแย็ย รื มลปโดงแย็ยตา มลปโดง ซเราะห์ นา มลปซรวลโอ็ยแบระ ซแร็บ |
ร่มมะพร้าวเอย สูงดุจภูเขา ร่มมะพร้าวใบใหญ่ ร่มมีสาขา ร่มมะพร้าวมรดกยาย หรือร่มมะพร้าวยาตา ร่มมะพร้าวบ้านไหน ร่มสบายดีแท้ๆ จริง |
|
5. จังหวะ จึงบีร | ||
ปกัวร เลือนแอตโปง ตึ แบ ลลูน บองรัว ตรู ดะ บองกัวลรัวเวือล เหมือนเอิรจัมเปรียะ บองรัวตรูดะ นเจ็มซแร็ยซเดิง ตรูบองปรัมเบือน เลือนบองปรัมรวย บองมันออยเนียงปรวย ปบา กัน ชเนียง นเจือต ปกัวน เลือนแอตโปง คยอลเบาะ รัมปวง ซารกรบเม เชอ เบอเนียงน็องบอง ช็อมคเนียเฮยเตอ มินกวรเนียงเซอเวอ เนียงเติว์รัวกูตีต กีซละ กีซเลา กีเดารมจ เนียงเติว์รักกูตีต ด็อลนาน็องบาน |
ฟ้าลั่นทางทิศใต้ น้ำไหลหลาก พี่หาลอบใส่ พี่หาเครือ ไก่บินติด พี่หาลอบใส่ เลี้ยงผู้หญิงบาง ลองพี่ห้าพัน เลือนพี่ห้าร้อย พี่ไม่ให้น้องกังวลใจ ไม่ต้องลำบากถือสวิงช้อน ฟ้าลั่นท างทิศใต้ ลมพัดมาอื้ออึง กระทบกิ่งไม้ ถ้าน้องกับพี่ สมกันแล้ว ไม่ควรน้องซัดเซ น้องไปหาคู่อีก เขาสลักเสลา เขาทาขมิ้น น้องไปหาคู่อีก เมื่อไหร่จะได้ |
|
** ต้องขออภัยหากมีการพิมพ์ผิดพลาดด้วยความไม่ชัดเจนของต้นฉบับโรเนียว
และความไม่รู้ไม่เข้าใจภาษาของผู้ป้อนข้อมูล |
คลิกไปอ่าน ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)