คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ยาฮากไม้ ก็คือ ยา หรือ สมุนไพร อันได้มาจากพืชพันธุ์ชนิดต่างๆ รวมทั้งส่วนสำคัญที่ได้จากสัตว์ที่มีฤทธิ์เป็นยามาผสมเข้าด้วยกันนั่นเอง คนที่มีความร้ในการนำเอายาสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ปัว (รักษา) คน เรียกว่า หมอยาพื้นบ้าน การรักษาด้วยสมุนไพรของชาวอิสานมีวิธีสกัดตัวยาออกมาจากสมุนไพรแบบง่ายๆ คือ การฝนยา เป็นการนำสมุนไพรมาฝนหรือถูกับแผ่นหิน แผ่นเท่าฝ่ามือ เมื่อฝนแล้วก็เอาแผ่นหินนั้นจุ่มน้ำ ตัวยาที่ฝนออกจากละลายในน้ำเป็นน้ำยาที่สกัดออกมา สมุนไพรที่นำมาฝนประกอบด้วยรากไม้ แร่ธาตุหลายชนิด บางทีชาวบ้านเรียกว่า “ยาซุม” ยังมี การต้มยา คือการนำเอาสมุนไพรต่างๆ ไปต้มในน้ำ เพื่อสกัดเอาฤทธิ์ยาออกมาก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมี การพอกยา ด้วยการเอาไปตำผสมน้ำเล็กน้อยนำมาพอกบาดแผล และ การรม ด้วยไอร้อนหรือควันให้สูดดมอีกด้วย
เมื่อพูดถึง หมอยาพื้นบ้าน ในสมัยโบราณก็มีการแบ่งออกไปตามความชำนาญในการรักษาอาการเจ็บป่วย เหมือนกับแพทย์แผนปัจจุบันที่แบ่งตามการดูแลรักษาคนป่วยเป็น อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารแพทย์ ฯลฯ ในส่วนของหมอยาแบบโบราณก็เช่นกัน แบ่งออกได้เป็น 8 ประเภทคือ
ตำรายาฮากไม้ ที่นำมาเสนอต่อไปนี้ ผู้เขียนได้มาจาก หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุบลเดชคณาจารย์ (ต่วน นิทฺเทสโก) วัดศรีทอง เมืองอุบลราชธานี หรือ วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน
ตำรา : | ได้แก่ แบบแผน หรือ หนังสือ หรือใบลาน ที่ว่าด้วยวิชาการต่างๆ บันทึกไว้ให้ลูกหลานได้นำไปใช้ประโยชน์ |
ยา : | ได้แก่ ของสำหรับปัวพยาธิ หรือของบรรเทาความเจ็บปวดต่างๆ (ปัว=รักษา) ให้อยู่ดีมีสุข ร่างกายแข็งแรง ประกอบสัมมาอาชีพได้เป็นปกติสุข |
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน หรือ ตำรายาฮากไม้ เป็นหนังสือใบลานมีหลายคัมภีร์ด้วยกัน เอิ้นว่า "คัมภีร์อภัยสันดา, คัมภีร์มหาโชตะรส" และ "คัมภีร์ปฐมจินดา" เป็นต้น เป็นของเก่าแก่ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล ยาปัวพยาธิทุกชนิดบ่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณหรือยาแผนปัจจุบันก็ตาม โดยส่วนหลายแล้วเค้าเดิมแม่นเอามาจากฮากไม้หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ การออกไปเก็บยาในป่าของคนโบราณนั่นย่อมต้องมีพิธีรีตรองต่างๆ กัน บางคนก็ใช้กล บางคนก็ใช้เวทย์มนต์และคาถา ตลอดจนต้องหาฤกษ์ หายาม เวลาไปเอายา จึงจะสัมฤทธิผล ดังตำรากล่าวไว้ว่า
วันอาทิตย์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ลำต้น พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก |
วันจันทร์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่แก่น พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก |
วันอังคาร | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก พิษยาอยู่ลำต้น พิษยาอยู่ราก |
วันพุธ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่เปลือก พิษยาอยู่แก่น |
วันพฤหัสบดี | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่แก่น พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่ลำต้น |
วันศุกร์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่เปลือก พิษยาอยู่ลำต้น |
วันเสาร์ | ยามเช้า ยามสาย ยามเที่ยง ยามค่ำ |
พิษยาอยู่ราก พิษยาอยู่ลำต้น พิษยาอยู่ใบ พิษยาอยู่แก่น |
เมื่อไปถึงป่าตามฤกษ์ยามแล้ว ยังจะต้องมีกรรมวิธีในการเอายาอีก เพราะคนโบราณถือว่า สรรพสิ่งใดๆ ในโลกล้วนมีเจ้าของ ต้นไม้ก็มีเทพารักษ์ การจะเก็บยาจึงต้องมีการขอด้วยหลากหลายกรรมวิธีเช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
โอม กมฺมะเกมะมะ ว่า 3 เทื่อแล้วให้ทืบต้น 3 เทื่อ จึงว่า มนต์ยามพระยาธรผู้รักษาต้นยา ว่า "โอม ทิพย์พระยาธร ขี่ม้าจรมาจอกพอกๆ ฆ้อนกูจักตอกหัวพระยาธร ขี่ม้าจรลอดเมฆ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงกล่าวมนต์ปลุกยา ว่า "โอม ขะลุกๆ กูจักปลุกฮากยาก็ตื่น พญายาไปอยู่แห่งอื่นก็ให้เสด็จเข้ามาสู่ต้นไม้อยู่ลีลา เสด็จเข้ามาอยู่ต้นยาอยู่ลีล้าย เชื้อลูกท้าวฝูงหมู่พญายา โอม สวาหับ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงเอามือสั่นต้นยา 3 เทื่อ แล้ว ขุด หรือ ฟันเอาเทอญ
"โอม ทิพมนต์ มนต์เจ้าพญายา พระฤาษีสั่งมาให้กูเอาต้นนี้ไปใส่...... (คนไข้ผู้ชื่อว่า...) ให้ซ่วง ให้เซา โอม สวาหายะ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงขุด หรือฟันเอาเทอญ
"คับปัง คับระงับ คูบาสิทธิยะ ให้กูทงๆ ชินะ สวาหะ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงขุด หรือฟันเอาเทอญ
เป็นการเรียนรู้เพื่อเป็นหมอยา จะต้องมีการแต่งขันธ์ 5 เพื่อการบูชา ประกอบด้วย พานหรือขัน 5 บรรจุ เทียนเล่มบาท 4 เล่ม เทียนน้อย 4 คู่ เทียนกิ่ง 4 คู่ ซวยกลม 4 ซวย ซวยเป 4 ซวย (ซวย=การม้วนใบตองลักษณะเป็นกรวย) ดอกไม้ขาว ซิ่นผืน แพรวา เหล้าก้อง ไข่หน่วย และเงิน 24 บาท
แต่งเครื่องครบแล้วให้ใต้เทียนติดขันธ์ 5 ยกขึ้นใส่หัว แล้วจึงว่า พิษณุยา ดังนี้
โอมสิท โอมทง โอมสิท โอมทง
โอมสิท โอมทง กูทงแล้วกูบ่ได้ทงอาสน์ กูทงแล้วกูบ่ได้ประมาทครู โอมสิท โอมจับ โอมสิท โอมจับ โอม พิษณุจับกกยา โอม พิษณุจับฮากยา โอมสิทธิ โอมจับ โอม พิษณุจับ โอม พิษณุจับ โอม พิษณุจับ ว่า 3 เทื่อแล
|
"โอม ขะลุกๆ พ่อครูกูปลุกๆ ลุกแล้วอย่านั่ง พ่อครูกูสั่นๆ ลุกแล้วอย่านอน โอมสวหายะ" ให้ฝนยาแล้วจึงว่ามนต์ปลุกเศกยานี้ 3 เทื่อ จึงให้กินเทอญ
สกฺกตฺวา พุทฺธรตฺนํ หิตํ เทวมนุสฺสานํ นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ สกฺกตฺวา ธมฺมรตฺนํ ปริฬาหูปสมนํ นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ สกฺกตฺวา สงฺฆรตฺนํ อาหุเนยฺยํ ปาหุเนยฺยํ นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ |
โอสถํ อุตฺตมํ วรํ พุทฺธเตเชน โสตฺถินา ทุกฺขา วูปสเมนฺตุ เต โอสถํ อุตฺตมํ วรํ ธมฺมเตเชน โสตฺถินา ภยา วูปสเมนฺตุ เต โอสถํ อุตฺตมํ วรํ สงฺฆเตเชน โสตฺถินา โรคา วูปสเมนฺตุ เต (ว่า 3 เทื่อ แล)
|
อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มํสํ นหารู อฏฐิ อฏฐิมิญชํ วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺคานิกา ลสิกา มุตฺตํ มตฺถเกมตฺถลุงฺคํ (ว่า 3 เทื่อ แล)
|
หมายเหตุปิดท้าย ตำรายาทั้งหมดนี้ เป็นของโบราณ ชื่อเรียกที่ปรากฏเป็นชื่อเรียกตามท้องถิ่น (อุบลราชธานี) ซึ่งอาจจะมีชื่ออื่นๆ แตกต่างออกไปตามแต่ละพื้นถิ่น คำบางคำก็มีความหมายเป็นการเฉพาะของหมอยาที่เข้าใจกันได้ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำไม่อาจอธิบายออกมาให้ชัดเจนกว่านี้ได้ ท่านผู้ใดทราบความหมายที่แน่ชัดโปรดได้ชี้แนะด้วย รวมทั้งชื่อของโรคที่เป็นภาษากลาง และสรรพคุณทางยาที่ได้เคยทดลองแล้ว ทีมงาน IsanGate.com
|
ดูเหมือนว่า ผู้หญิง จะมีโรคภัยไข้เจ็บมารบกวนมากหลาย ด้วยความเป็นแม่ที่อาจมีผลกระทบต่อลูกน้อย ตำรายาที่เกี่ยวกับผู้หญิงจึงมีจำนวนมาก มีหลายขนานดังนี้
ให้เอาเปลือกต้นยานางแดง 1 เปลือกยางดำ 1 หัวยีบา 1 ฮากไม้ส้มเสี่ยว 1 ฮากจวงหอม 1 ฮากตูมกาขาว 1 ฮากตูมกาดำ 1 ฮากตูมกาแดง 1 ฮากเอี่ยนด่อน 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาผากตูมบ้าน 1 ผากตูมกา 1 ผากตูมตัง 1 ผากสัง 1 ผากพิมาน 1 ผากกุง 1 ผากสะแบง 1 ผากจำปา 1 ผากเขียบ 1 ผากบก 1 ผากแดง 1 ผากหนามคอม 1 ผากเหลื่อม 1 ผากซาดเคลือ 1 ผากลุมพุก 1 ผากกะโดน 1 ผากงิ้วผา 1 ผากจานต้น 1 ผากจานเคลือ 1 ฮากพังคีน้อย 1 พายเสลียง 1 พายสะเบา 1 ฮากเจียงปืน 1 ฮากดูกใส 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาพริกไทย 7 เมล็ด ดีปลี 7 เมล็ด ขิง 7 ฝาน กะเทียม 7 กลีบ หญ้าแห้วหมู 7 หัว ในหมากฝ้าย 7 ใน หญ้าห่อมแก่ว 1 บาท หญ้าปากควาย 1 บาท เปลือกท่อน 1 บาท ใบหว้านชน 1 บาท ซอยตากแดดให้แห้งแล้วตำให้ละเอียด ดองน้ำเหล้า 7 แก้ว ไว้ 7 คืน แล้วกินมื้อหนึ่ง 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง มื้อแลง เทื่อละจอกน้ำชา ซู่วันดีแล
ให้เอาฮากพีพ่วน 1 ฮากแขม 1 ฮากคอนหมา 1 บาชาดต้น 1 ตาไม้ไผ่ช้างไพ 1 ตาไม้ไผ่เหลือง 1 จันทร์หอม 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาฮากพังคีน้อย 1 ฮากช่องฟ้า 1 ฮากเอ็นอ้าข้าว 1 ฮากก้นครก 1 ฝนกินดีแล
อีกขนานหนึ่งให้เอาฮากพังคี 1 ฮากสมัด 1 ฮากดีนตังเปี้ย 1 ฮากเอ็นอ้า 1 ฮากคางฮุ่ง 1 ฝนกินบ่ต้องอยู่ไฟก็ได้ และเอาฮากเฮื้อนกวางเป็นยาต้มกินดีแล
ให้เอาฮากพังคีน้อย 1 ฮากช่องฟ้า 1 ฮากเอ็นอ้าข้าว 1 ฮากก้นครก 1 ฮากเข็มแดง 1 ฮากหมอน้อย 1 ฮากยานาง 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาแก่นแคฝอยแช่น้ำอาบ ดีแล
ให้เอาเครือกะแมด 1 แก่นต้นหมากหล่ำใหญ่ 1 ฮากหมากเขือบ้าใส่ 2 ข้อกลาง 1 ต้มกินดี กินแล้วผิว่ามันคอแห้ง บ่เป็นหยัง
ให้เอาหมากทัน 1 บาท ซาดขาว 1 บาท ฮากเกล็ดหลิ่นน้อย 1 บาท ฮากเกล็ดหลิ่นใหญ่ 1 บาท ฮากเอ็นอ้า 1 บาท แก่นตานกกด 1 บาท ฮากตานา 1 บาท ฮากหนามแท่ง 1 บาท ฮากหมากแข้งขม 1 บาท ฮากตับเต่า 1 บาท ต้มกินดีแล
ให้เอาพริกไทย 1 บาท ดีปรี 1 บาท หว้านไฟ 1 บาท ขิง 1 บาท กระเทียม 1 บาท น้ำอ้อย 1 บาท ตำเข้ากันให้ละเอียดดีแล้วจึงเอาหมากนาวกำลังมีน้ำฝานเปลือกเอาเมล็ดในออก แล้วผสมยานี้กินระบายถ่ายเลือดออกแล หรือจะกินยานี้กับข้าวเวลาอยู่กรรมก็ได้ ดีแล
ให้เอาแก่นบก 1 สะโนโคก 1 แก่นกะเดา 1 หัวหวายเตี้ย 1 หัวผักหนาม 1 ฮากเขียงใหญ่ 1 ยาหัว 5 บาท ต้มกินดีแล
ให้เอามหาหิง 1 บาท ขิง 1 บาท กะเทียม 1 บาท พริกไทย 1 บาท พริกขี้หนู 1 บาท ฮากพังคีน้อย 1 บาท หมากกล้วยทะนี 1 หน่วย หมากกล้วยตีบน้อย 1 หน่วย หมากกล้วยตีบใหญ่ 1 หน่วย ตำผสมกันปั้นเป็นลูกกลอน ตากแดดไว้ 7 แดด 7 หมอก ถ้าเป็นกะบูนเลือดกะบูนลม ให้เอายานี้ผสมน้ำ ซ้ำเหล้า กินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากแก 1 ฮากขี้เหล็กสาน 1 ฮากหมากเกลือ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาพริกไทย 1 บาท ดีปรี 1 บาท กะเทียม 1 บาท ผ้าเสื้อดำเผาไฟ 1 บาท ตำบดละลายใส่น้ำร้อนพอสมควร ถ้าเลือดออกหลาย ให้เอาน้ำปูนใสตัดหน่อยหนึ่งดีแล
ให้เอาฮากครุฑขาวทั้ง 5 ต้นลำดวน 1 พริกไทย 7 ดีปรี 7 เมล็ด ตำบดปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำเหล้า ดีแล
ให้เอาฮากผักอีฮุม 1 ฮากกูดส้อย 1 ฝนกินดีแล เถิงแม่นว่าตายแล้ว ก็ให้กินก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาแล
ให้เอาคาบงู 3 โต มาแช่ใส่น้ำผักกาดกินแด่ ทาท้องน้อยแด่ ลูกออกแล
อีกขนานหนึ่ง ให้เอายอดผีเสื้อ 7 ยอด ตำใส่น้ำธรรมดา กินแด่ ทาแด่ ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาหมากน้ำเต้าขมทั้งหน่วย 1 คาบงู 1 ใบผักกาด 1 ตำใส่น้ำทาท้องลูกออกแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหย้าคัดมอน ต้มใส่น้ำเผิ้ง กินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหญ้าโคยงู 1 ในผักกาด 1 ตำทาตีนซ้าย มือซ้าย ดีแล
ผิว่า ลูกคาท้อง ให้เอาคาบงู 1 ในผักกาด 1 ใบผักกาด 1 ใบส้มป่อย 1 ตำใส่น้ำทาลูบท้องออกแล
หรือ เอาต้นเดื่อป่อง 1 เกษรดอกคำ 1 ต้ม 3 บวย เอาบวย 1 กินดีแล
ให้เอาฮากหนามพรม 1 ฮากหญ้าโคยงู 1 ในผักกาด 1 เอาสิ่งละท่อกันตำให้แหลกละเอียดทาท้องแล
หรือ เอาต้นหุ่งแดง 1 ฮากปีปปีแดง 1 ฝนทาใจตีนใจมือ ดีแล
ให้เอาฮากกระโดนเบี้ย 1 ฮากนมราชสีห์ 1 แก่นบบก 1 ฮากเฮื้อนกวาง 1 แก่นชายเด็น 1 ฮากพังคี 1 ฮากนางแช่ง 1 ฮากเป้า 1 เคลือตาปา 1 ฮากเพ็ก 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาผากขาม 1 ผากเล็บแมว 1 ผากก่ามโคก 1 ยาหัว 1 อ้อยคำ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาแก่นแหน 1 แก่นแคดง 1 แก่นขี้หนู 1 แก่นเฟือง 1 แก่นเฮื้อนกวาง 1 รากแขม 1 แก่นส้มกบ 1 แก่นเหม้าน้อย 1 ฮากเลา 1 เอาท่อกัน แช่ใส่ไหไว้แล้วให้เอาฮากยานางปนกิน 3 คืนเสียก่อน จึงกินยาที่แช่ไว้นั้น กินแล้วให้ห่มผ้า ดีแล
ให้เอาสะค้าน 1 ผักอีเลิศ 1 เปลือกอีฮุม 1 ต้นอีทือ 1 หว้านไฟ 1 ขิง 1 ใบผีเสื้อ 1 หนักอย่างละ 10 บาท ปีปปีแดง หนัก 10 สลึง มาซอยตำให้แหลกละเอียดละลายน้ำร้อนกิน ดีแล
ให้เอายานี้กินกัดออก คือ ฮากปีบปีแดง 10 บาท ฮากปีบปีขาว 10 บาท ผักแพวแดง 10 บาท ขี้เจีย 10 บาท มาด 5 บาท มาตำบดเป็นฝุ่นแล้วเอาไข่ไก่ดำเอาเฉพาะไข่แดงผสมปั้นเป็นลูกกลอน กินดีแล
ให้เอาเอ็นอ่อน 1 ข่า ใบกุ่ม ใบก่าม 1 สะค้าน 1 ใบหว้านชน 1 ใบหว้านไฟ 1 หน่วยผักอีฮุม 1 เครือปูมเป้า 1 ต้นอีทือ 1 ต้นฮุ่นไฮ 1 หว้านตูบหมูบ 1 ข้าวมิ้นขึ้น 1 ใบหมากนาว 1 เอาพอสมควรตำผ้าห่อนึ่ง ตั้งท้องหายแล
อีกขนานหนึ่ง ถ้ามันเป็นหวิ่ง วิน เวียน ให้เอา เปลือกลิ้นไม้ 1 ภังคีน้อย 1 หัวหวายนั่ง 1 เขียง 1 เกล้านางนี 1 เครือง้านหมู 1 จันทร์แดง 1 แก่นฝาง 1 ฝนกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากช้องแมว 1 ยาหัว 1 อ้อยคำ 1 เอาอย่างละท่อกัน ต้มกินหม้อหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงเอาฮากช้องแมว 1 ฮากตีนนก 1 ฮากหนามพรม 1 ต้มกินอีก ดีแล
ให้เอาฮากตัดเค้า 1 ฮากเล็บแมวตัวผู้ 1 ต้มกินหายแล
ให้เอาฮากก้นถ้วย 1 ฮากเจียงปืน 1 ฮากกำยาน 1 ฮากขี้หนู 1 ต้มกินดีแล
หมายเหตุ : ตำรับยาทั้งหมดเป็นการรวบรวมไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงภูมิปัญญาในการรักษาโรคของคนในท้องถิ่น ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองคุณภาพแต่อย่างใด หากจะนำไปใช้จริงควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางก่อน |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)