คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
อาการไข้ของคนเราจำแนกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งต้องดูอาการที่เป็นแล้วจึงปรุงยา ซึ่งมีกันหลายขนานดังนี้
ให้เอาเปลือกแคน 1 แก่นก้างปลา 1 แก่นกลางน้ำ 1 ย่างไฟ แช่น้ำกิน ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากหมากตูม 1 ฮากก้างปลา 1 ฝนกินดีแล
เอาหมากหนวดแมว 1 หมากข่า ฮากหมากกล่ำตาควาย 1 ผักหวานบ้าน 1 ก้านตง 1 ถั่วสะแดด 1 ข้าวจ้าว 1 อ้อยดำ 1 น้ำไส้เดือน 1 น้ำสร้างน้อย 1 เอาท่อกันแช่น้ำกิน ดีแล
ผิว่า มันถือคอเจ็บฮ้ายหลาย ให้เอา ฮากน้ำแย่ ฝนด้วยน้ำฮากทราย กินดีแล
ผิว่า มันบ่ฮู้เมื้อคิง ให้เอา ฮากเฮื้อนกวาง 1 ฮากน้ำแย 1 ฮากสะโก 1 จันทร์แดง 1 ฝนกินดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาแก่นสะโก แช่อาบดีแล ผิว่าไข้คีงฮ้อนให้เอาหมากตูม 1 ฮากดอกช้อนน้อย 1 ฝนใส่น้ำเหล้าผิวคีง ดีแล
ให้เอาฮากอีเลิศ 1 ฮากสีไค 1 ฮากผีเสื้อ 1 ผักบั่ว 1 ขี้เถ้ากลางคีไฟ 1 เอาพอสมควรตำทาปลายตีนปลายมือ และทาซะหน่อง ดีแล
ให้เอาสาดเฮี้ยน 1 เล็บตีน 1 เล็บมือ 1 มาเผาไฟให้กินเบิ่งก่อน ผิว่ามันแลบลิ้นออกปากแลบๆ นั้นชื่อว่า "ไข้ทำทานแลบลิ้น"
ให้เอาโด้นไฟสุด 1 ด้ามขวานสุด 1 ฝนใส่น้ำให้กินเสียแล้ว จึงเาฮากหมากนัด 1 ฮากหมากม่วย 1 ดองปลาฝา 1 กระดูกกา 1 น้ำเงิน 1 น้ำคำ 1 ฝนให้กินแล
ผิว่า ให้กินยาดังที่กล่าวนี้แล้ว ยังแลบลิ้นอยู่ดังเก่า ชื่อว่า ออกเงา ให้เอา ฮากเดื่อป่อง 1 ยานาง 1 ฝนให้กิน ดีแล
ผิว่า ไข้คีงเย็นซื่อๆ ให้เอาฮากท่อน 1 ไม้เข้าจี่ 1 หัวหมากหนาม 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า ไข้คีงเย็นหนหวย อยู่บ่ได้ อยากให้วีอยู่เรื่อยๆ ให้เอาฮากหมากเขือขื่น ฝนใส่น้ำเหล้าโท กินไล่พิษออกเสียก่อน แล้วจึงเอาฮากสงฝนใส่น้ำข้าวจ้าวกิน ดีแล
ผิว่า บ่ฮู้เมือคีง บ่มืนตา ถามบ่ปาก ให้เอาฮากทัน 1 ฮากสัมมา 1 ฮากถั่วพู 1 ฮากสะคาม 1 ฮากม่วงกะสอ 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า บ่เซา ให้เอาฮากหมากเอิ๊ก 1 หญ้าปากควาย 1 ฮากต้นหมากล่ำ 1 ฮากส้มลม 1 ฝนให้กินดีแล
ผิว่า ไข้ออก ตีนเย็น มือเย็น ชื่อว่า ออกดำ ให้เอา ฮากท่อน 1 ไม้เข้าจี่ 1 ฮากมอน 1 ฝนกินดีแล อีกขนานหนึ่ง เอาแค่ไม้ยมผา ฝนกินดีแล
ผิว่า ไข้บ่อถอย บ่สว่าง คีงเย็น ให้เอา ฮากซาตรี 1 ฮากส้มกบ 1 ฮากเดื่อ 1 ฮากหิ่งหาย 1 ฮากดอกพุทธ 1 ฮากหญ้าโคยงู 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาแก่นบก 1 แก่นแพงพิมาน 1 ต้มกิน ดีแล
ผิว่า ยาไข้ซำเฮื้อและเจ็บขัดหน้าขัดหลัง ให้เอาต้นตูมทั้ง 5 คือ ใบ เปลือก แก่น ฮาก ยอด อย่างละเท่ากันต้มกิน ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาขี้ช้างพลาย 1 แก่นข้าวโคด 1 ขั้น หมากอึ 1 ต้มกินดีแล
ให้เอาฮากหญ้าขัด 1 ฮากหญ้าผากควาย 1 แพงคำร้อย 1 ตาอ้อยคำ 7 ตา 1 แมงมุม 7 โต 1 ขี้แมงไย 1 ฮากลับลืน 1 มือหมากน้ำกำมือ 1 ถั่วสะแดด 1 ข้าวจ้าว 1 เอาท่อกันตำให้แหลก แช่น้ำกินดีแล
ให้เอาฮากเทียน หรือ ฮากหากข้า หรือฮากปสมลม ฝนให้กินดีแล
ผิว่า ไข้มันเส่าไค่คาวไหลออก ให้เอาหมากก้วย 1 ข้าวหมิ้น 1 ท่อกันตำแช่น้ำให้กิน ดีแล หรือ เอาฮากบ้าลาย หรือฮากยอแดง ฝนกินดีแล หรือเอาหัวหญ้าคมปาก 1 ขี้ไส้เดือน แช่น้ำให้กิน ดีแล
ให้เอาฮากชุมแสง หรือฮากยอแดง ฝนให้กินดีแล หรือ ขุดเอาทรายเลิ๊กเพียงศอกมาแช่น้ำกินดีแล
ให้เอาไม้ไผ่ช้างคำ 1 ไม้ไผ่ช้างไพ 1 ไม้ไผ่ใหญ่ 1 ไม้ไผ่ป่า 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า บ่เซา ให้เอาแก่นเดื่อใหญ่ 1 เดื่อป่อง 1 เดื่อดิน 1 ไม้ไผ่บ้าน 1 ฝนกินดีแล
ผิว่า บ่เซา ให้เอาฮากตากวาง 1 ฮากตาไก้ 1 ฮากตานกกด 1 ฮากตาเสือ 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาต้นเหม้าใหญ่ 1 เม้าตาเขียว 1 เม้าคน 1 ฝนกิน ดีแล ผิว่า บ่เซา ให้เอาต้นนมสาว 1 ต้นนมงัว 1 ต้นนมควาย 1 ต้นนมราชสีห์ 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาแก่นหมากเหลื้อม 1 แก่นม่วง 1 แก่นขาม 1 หมากเว่อ 1 ฝนให้กินดีแล ผิว่า บ่เซา ให้เอาปีบปีแดง 1 ฮากลกครก 1 ฮากเต้าแล้ง 1 ฮากพุฒิน้อย 1 ฝนให้กิน ดีแล
ให้เอาหางกวางโตผู้ 1 หางกวางโตแม่ 1 ฮากต้นหมาว้อ 1 ฮากก้างปลา 1 ฝนกิน ดีแล ผิว่า บ่เซา ให้เอาต้นตีนเป็ดน้อย 1 ต้นตีนเป็ดใหญ่ 1 ต้นหว้าขี้นก 1 ต้นชุมพู 1 ฝนให้กิน ดีแล
ให้เอาฮากพร้าว 1 ฮากหมาก 1 ฮากอีตู่ 1 ฮากหัวสิงไค 1 ฮากหมอน้อย 1 ฮากยานาง 1 หัวกล้วยตีบ 1 เอาพอสมควร แช่น้ำกินดีแล
ให้เอาเปลือกต้นพันชาติ 1 ฮากหมากเขือบ้า 1 แมลงวัน 7 โต ไข่แมงสาบ 7 หน่วย 1 ไข่แมลงมุม 7 หน่วย 1 ตำใส่น้ำเหล้ากินดีแล
อาการไข้อีกประเภทหนึ่ง ที่คนโบราณกล่าวถึงกันมาก ยารักษาก็มีกันหลายขนานดังนี้
ให้เอาฮากเฮื้อนกวาง 1 ฮากสะมัด 1 ฮากส่องฟ้า 1 ฮากซาติขาว 1 ฮากหมากเอิก 1 เอาถ่อกันแช่น้ำกินดีแล
ให้เอาฮากท่มพาย 1 ฮากสะคาม 1 ฮากซาซู่น้อย 1 ฮากฝ้ายเอื้อ 1 หินขาว 1 ฮากเหม้าน้อย 1 ฮากสักหลวง 1 ฮากหมากหวดน้อย 1 ฮากหมากแข้งขม 1 ฮากผักกะหย่า 1 ฮากอ้อยช้าง 1 ฮากส้มกบ 1 ฮากแตงแซง 1 ฮากไข่เน่าน้อย 1 ฮากไข่เน่าใหญ่ 1 ฮากหมอน้อย 1 ฮากยานาง 1 ผิว่า ออกตุ่มหลายมันเจ็บจนปากบ่ได้ ให้เอายาฝูงนี้แช่น้ำกินก็ได้ ฝนกินก็ได้ ดีแล
ผิว่า ตุ่มหมากไม้อันอื่นออกแกมตุ่มหมากไม้สุกก็ดี ให้เอา ฮากช้างน้าว 1 ฮากหมากแคขม 1 ฮากหมากหวดข้า 1 ฮากอ้อยช้าง 1 ฝนให้กินเบิ่งก่อน ผิว่า มันฮ้อนแต่หัวเถิงตีนเสมอกัน บ่ฮ้อนและพวนหลาย ยาถึกพยาธิแล ให้ฝนกินเรื่อยๆ จนเซาแล
ให้เอาฮากส้มลม 1 หัวข่าบ้าน 1 ฮากหมากแตก 1 มดแดง 1 ต้มกิน ดีแล
อีกขนานหนึ่ง เอาฮากยานาง 1 บีงูเหลือม 1 หินส้ม 1 ฝนให้กินดีแล
ให้เอาฮากงวงซุ่ม ฝนใส่น้ำเหล้าเด็ด กินดีแล
ให้เอาฮากหย้าลับลืน 1 ฮากหญ้าขัด 1 ฮากหญ้าคา 1 อ้อยดำ 1 เข้าจ้าว 1 แช่น้ำกินดีแล
ให้เอาหอมเงือก 1 นมผา 1 จันทร์แดง 1 จันทร์ขาว 1 เงิน 1 คำ 1 ฮากเสียว 1 เงินเลียง 1 หินแห่งกลางห้วย 1 ตาไม้ไผ่บ้าน 1 ตาไม้ไผ่ช้างไพ 1 ตาไม้บง 1 อ้อยดำ 7 ตา แก่นกอกด่อน 1 ฮากเฟือง 1 แก่นเดื่อป่อง 1 แก่นเดื่อเกลี้ยง 1 น้ำส้างนก 1 น้ำไส้เดือน 1 เป็นน้ำกระสาย แล้วฝนยาฝูงนี้ใส่น้ำกินเทอญ คาย 5 บาท เหล้าก้องไข่หน่วย
ให้เอาฮากนมสาว 1 ฮากน้ำแน้ 1 แพงคำฮ้อน 1 ฮากเอี่ยนด่อน 1 ฮากส้มพ่อ 1 งิ้วคำ 1 งิ้วด่อน 1 จันทร์แดง 1 จันทร์หอม 1 ฮากภังคี 1 ฮากแฮนต้น 1 ฮากแฮนเครือ 1 ฮากดอกทอง 1 ฮากก้างปลา 1 ฮากหญ้ามุ้งกระต่าย 1 เครือแสนปล้อง 1 เครือแสนพัน 1 ข้าวหมิ้นต้น 1 เครือทำทานโตผู้ 1 เครือทำทานโตแม่ 1 ฮากทัน 1 ฮากพิลา 1 ฮากหมากสัก 1 แก่นแหน 1 ฮากหนามขี้แรด 1 ฮากไค้หางนาค 1 แก่นไข่เน่า 1 ฮากตูมกา 1 ฮากช้างน้าว 1 ผักชีช้าง 1 กว้างทะเล 1 ฮากสะมัด 1 ฮากปอเข้าจี่ 1 ฮากยานาง 1 ฮากเดื่อเกลี้ยง 1 ฮากเดื่อดิน 1 ฮากไม้เข้าหลาม 1 ซืนดิบ 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาฮากเฮื้อนกวาง 1 ฮากก้างปลา 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาฮากตีนจำ 1 ไม้เท้าสาน 1 ฮากหมากน้ำ 1 ฮากยานาง 1 ฮากนมผา 1 ฝนกินดีแล
ให้เอาขี้กะเดือน 7 โต มาฟักให้หมุ่นๆ แล้วเอาน้ำหม้อนึ่งแฮมคืนแซ่ ทาตุ่มหายแล
ให้เอาฮากหมากแปบ 1 ฮากขี้อ้นน้อยแคมน้ำ 1 ฝนกิน ดีแล
โอมผู้เฒ่าชุมพูปูนแดง ผู้แฮงซุ่มปูนเบี้ย ปากกูเค็มปานเกลือ 3 ก้อน ปากกูฮู้ฮ้อนปานถ่านไฟแดง ให้หายปานแป้งกะแด้งปานปูน โอม สะหุมติด (ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงเป่าแล)
ผุ สุ คู อุ อะ พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆ อะ นะ โอมสะหุมติด ว่า 7 เทื่อ แลก่อนจะเป่าให้ตั้งคาย ขันธ์ 5 เหล้าก้อง ไข่หน่วย เงินสลึงหนึ่ง แพรมน 1 ข้าวสารและหมากพลู พอสมควรตั้งคายแล
คำว่า “หมากไม้” เป็นภาษาอีสาน หมายถึง ผลไม้ แต่มีไข้ชนิดหนึ่งในทางภาคเหนือและอีสานของไทยที่เรียกว่า “ไข้หมากไม้” โดยเชื่อว่าเกิดจากการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ และพืชต่างๆ ที่อยู่ในโคลนตม คนที่ไม่แข็งแรงเมื่อได้รับพิษเข้าไปก็จะเกิดอาการไข้ มักเกิดในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลหรือช่วงที่ผลไม้ออกมากๆ หรือช่วงเริ่มมีฝนกับปลายฝน กล่าวกันว่าหากรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้ ในบางท้องถิ่นมีความเชื่อว่า หากลูกหลานป่วยด้วยไข้หมากไม้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล และแพทย์ทำการให้น้ำเกลือก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ ชาวบ้านจึงปฏิเสธไม่ยอมให้แพทย์รักษาโดยการให้น้ำเกลือ
ทฤษฎีว่าด้วย ไอพิษ (Miasma) ที่ระเหยจากดินและพืช (Miasmatic Theory) ทำให้เกิดโรค เป็นความคิดความเชื่อที่สืบทอดกันมานาน ดังสมัยก่อน ในสยามประเทศเรียกไอระเหยเหล่านี้ว่า “อายพิศม์” ทฤษฎีดังกล่าวเป็นความเชื่อที่มีร่วมกันในหลายวัฒนธรรมก่อนที่แพทย์จะรู้จักเชื้อโรค เช่น ในยุโรป, จีน และอินเดีย เป็นต้น โดยเชื่อว่า “อายพิศม์” นั้น เป็นที่มาของโรคระบาดอย่าง อหิวาตกโรค และไข้จับสั่น เป็นต้น ในกรณีของไข้จับสั่นหรือที่เราเรียกว่า ไข้ป่า นั้น ในตะวันตก ก่อนที่การแพทย์ตะวันตกจะรู้ว่า โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อปาราสิตที่เรียกว่า plasmodium หรือเชื้อมาเลเรีย โรคนี้เคยถูกอธิบายว่าเกิดจากการหายใจเอาอากาศที่เป็นพิษเข้าไปในร่างกาย ชื่อไข้จับสั่นที่เรียกว่า มาเลเรีย หรือ malaria นั้นมาจากคำว่า 'mal' (แปลว่า เสีย) รวมกับคำว่า 'aria' (แปลว่า อากาศ) นั่นเอง
แนวคิดเรื่อง ไข้หมากไม้ กับเรื่อง Miasma ของตะวันตก จึงมีความคล้ายคลึงกัน แม้จะอยู่ในสังคมที่ห่างไกลและแตกต่างทางวัฒนธรรมกัน
หมายเหตุ : ตำรับยาทั้งหมดเป็นการรวบรวมไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงภูมิปัญญาในการรักษาโรคของคนในท้องถิ่น ยังไม่มีการตรวจสอบและรับรองคุณภาพแต่อย่างใด หากจะนำไปใช้จริงควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางก่อน |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)