foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

art local people

สมาน หงษา

saman 1หมอลำสมาน หงษา

ลมใต้ปีกหงษ์ทอง

ในบรรดาศิลปินหมอลำรุ่นเก่าๆ มิตรหมอแคนแฟนหมอลำคงคุ้นเคยกันดีกับชื่อ สมาน หงษา ที่จัดอยู่ในลำดับต้นๆ ในทำเนียบหมอลำอีสาน แม้แต่ ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม ศิลปินแห่งชาติ ปีล่าสุดก็ยกย่องให้เป็นอาจารย์

หมอลำสมาน หงษา เกิดวันที่ 11 พฤษภาคม 2585 ที่บ้านดงบาก หมู่บ้านเล็กๆ บริเวณชายแดนประเทศไทย ในเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในวัยเด็กได้รับการซึมซับศิลปะการลำจากพี่ชาย ซึ่งเป็นหมอลำเช่นเดียวกัน ในตอนเด็กจะได้ฟังการฝึกลำของพี่ทุกๆ วัน เด็กชายสมานเลียนแบบการลำของพี่อยู่เสมอ เมื่อคราวไปเลี้ยงวัวควายตามทุ่งนา ทำให้เสียงกลอนลำได้ซึมซาบเข้าสู่จิตใจ แล้วจึงมีโอกาสเรียนการลำกับ อาจารย์ทองคำ เพ็งดี

หลังเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หมอลำสมานได้บวชเป็นสามเณร เพื่อเข้าศึกษาต่อในวัดเนื่องจากฐานะยากจน กระทั่งสอบได้นักธรรมโทและบาลีไวยากรณ์ ก่อนจะลาสิกขาตอนอายุ 19 ปีแล้วเข้าทำงานตำแหน่ง พนักงานตรวจสายโทรเลข ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ในจังหวัดศรีสะเกษ ในระหว่างนี้เขาเริ่มเล่นหมอลำไปพร้อมๆ กัน

ต่อมาภายหลังด้วยใจรักในศิลปะหมอลำ เขาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการ หันมาทุ่มเทกับอาชีพหมอลำอย่างจริงจัง โดยตั้งคณะหมอลำหมู่ชื่อ “คณะ ส.สมานศิลป์” รับค่าจ้างแสดงทั้งวงคืนละ 800 - 1,000 บาท ส่วนการลำกลอน 2 คน ได้รับค่างจ้างคืนละ 300-500 บาท

อดีตบุรุษไปรษณีย์หมอลำกลอน มีความโดดเด่นเป็นที่รู้จักในด้านน้ำเสียงอันป็นเอกลักษณ์ มีความสามารถร้องหมอลำได้หลายประเภททั้งหมอลำหมู่ ลำกลอน ลำเต้ย หรือกระทั้งลำซิ่ง ก็ได้ดัดแปลงการลำเพื่อเอาใจตลาด ผลงานที่มีชื่อเสียงประเภทหมอลำหมู่ เช่น เรื่องแม่เฒ่ากับลูกเขย, แม่ฮ้างสามผัวเจ้าหัวสามโบสถ์, สากกะเบือล้างแค้น ฯลฯ ประเภทลำเต้ย เช่น เต้ยหม่าเข้าไป่, เต้ยปลาบู่พี่อ้าย

ด้านผลงานประเภทการลำกลอนหมอลำสมาน มีความสามารถโดดเด่นอาศัยพื้นฐานการศึกษาครั้งบวชเรียน นำมาประยุกต์ใช้ในการประพันธ์กลอนลำ ทั้งรูปแบบตำนาน หรือกลอนลำสอดแทรกคติสอนใจ ทั้งหมดได้สะท้อนระบบวัฒนธรรมคติชนท้องถิ่น เช่น ประวัตินครพนม, ประวัติศาสตร์เมืองเวียงจันทร์, ประวัติศรีโคตร, ประวัติช้างสามเศียร, น้ำเต้าปุ่งเครือเขาขาด, ประวัติขอนแก่น เมืองเลย, ท้าวขุนกลม ฯลฯ

แต่ผลงานที่เป็นที่ชื่นชอบเพราะสร้างความสนุกสนามแก่ผู้ฟัง คือชุดกลอนลำประเภทตลกขำขัน เป็นกลอนลำนิทานที่สะท้อนวิถีชีวิตแนวตลกสัปดนเรื่องเพศ เช่น เฒ่าสาเฝ้าสวน ปอบเข้าเมีย กินหัดหัด ฯลฯ ผลงานในแนวการเล่าเรื่องลักษณะนี้เองที่หมอลำดังรุ่นลูกหลายคน ได้พัฒนาต่อจนเป็นแนวการเขียนเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง

วันนี้ของหมอลำเรืองนาม สมาน หงษา เข้าสู่ปีที่ 64 ที่ผ่านมาแสดงในบ้านเราและต่างแดนร่วม 20 ประเทศ ทั้งอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น ลาว ฯลฯ ได้หันหลังให้วงการหมอลำแล้ว โดยใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในกระท่อมน้อย ตรงข้ามสำนักงานริมถนนใหญ่ ใน จังหวัดอุบลราชธานี

morlum zing 03 morlum zing 04

สมาน ย้อนถึงวัยหนุ่มที่เป็นยุคเฟื่องของหมอลำกลอน ที่ถือเป็นแม่แบบของหมอลำปัจจุบัน "จบเปรียญสามประโยค แล้วมาเรียนหมอลำกับพี่ชาย ตั้งแต่ปี 2508 ครูที่สอน คือ อาจารย์ทองคำ เพ็งดี ส่วน อาจารย์เคน ดาเหลา นั้น พ่อผมไปเรียนวิชากับเขา เริ่มเล่นหมอลำตั้งแต่อายุ 19 ปี มีแคนดวงเดียวเล่นกันยันสว่าง สมัยนั้นมีงานกันเป็นเดือน เล่นกันทั้งกลางวัน กลางคืน จนตัวเหลืองหมด รุ่นเดียวกันมี เสาร์ พงษ์ภาค (พ่อของนพดล ดวงพร) เป็นเพื่อนกัน และก็ ฉวีวรรณ ดำเนิน ส่วนใหญ่จะตายหมดแล้ว ยุคนั้นเล่นกันคืนละ 300 บาท คู่กับ จันทร์แดง โสภา การเดินทางนั้น รถจะมีเป็นช่วงๆ ที่ไหนไม่มีรถต้องเดินกันไป เวทีแสดงไม่ใหญ่ เจ้าภาพจะจัดให้ ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ โลกเจริญแต่เราก็จะดับ"

ครูสมานกล่าวอย่างคนปลงตก หลังจากเลิกลำมาได้ 3 ปี เพราะเส้นเลือดตีบ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ ยืนไม่ได้ "เรื่องความรู้ก็ต่าง แต่ก่อนเล่นกันสดๆ มีกลอนถามไถ่กัน ด่ากันก็ใช้กลอน ต้องเรียนสูงเพื่อต่อสู้ (ในทางวิชา) กัน ถ้าอยากลำเก่งต้องเรียนสูงๆ บาลีก็ต้องเรียน สมัยก่อนมีกลอน เช่น เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ลาว นครเวียงจันทน์ เขาจะตั้งเป็นถาม-ตอบกัน หมอลำยุคนี้ไม่ได้กินหรอก ตอนนี้กลอนเก่าๆ ก็ถ่ายทอดให้ลูกชาย แต่บางอันก็ล้าสมัยไปบ้าง บางกลอนมีค่ากว่ากลอนสมัยใหม่ ปราชญ์สมัยใหม่แต่งไม่ได้อย่างสมัยเก่า พื้นฐานมันต่างกัน ถ้าคนเรียนสูงจะด้นได้สดเลย หมอลำยุคนี้แปรสภาพไปมาก เหมือนต้นไม้ที่ขยายสาขาออกไป แต่ไม่แข็งแรงเหมือนก่อน ทุกวันก็ยังติดตามอยู่ ฟังทางวิทยุ เมื่อคืนเขาเปิดลำกลอนสุนราภิรมย์ ฟังแล้วน้ำตาคลอนึกถึงอดีต" หมอลำฝีปากเฉียบเปรียบเทียบวงการหมอลำสมัยก่อนกับวันนี้

ครูสมาน ได้บันทึกลำกลอนไว้หลายชุด โดยล่าสุดอยู่กับค่ายท็อปไลน์ 3 ชุด ก่อนหน้านั้นสังกัดค่ายกรุงไทย ออดิโอ ที่มีผลงานประมาณ 6 ชุด และที่ค่ายราชบุตร ใน จังหวัดอุบลราชธานี อีกเกือบ 20 ชุด โดยมีลำกลอนที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ "เต้ยหัวหงอกหยอกสาว" ที่ ไวพจน์ เพชรสุรรณ นำมาร้องใหม่ เมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงที่โด่งดัง ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม ก็เคยสะพายกระเป๋า ขึ้นเกวียนไปงานด้วยกัน

ด้านชีวิตส่วนตัวครูสมานมีเมียเป็นหมอลำชื่อ ศรีอุบล (ล่วงลับไปแล้ว) มีลูก 9 คน เจริญรอยตามสายหมอลำสองคน คือ หงษ์ทอง หงษา ส่วนอีกคนเป็นครูเล่นหมอลำไม่เต็มตัว

saman saman cd hongtong

หงษ์ทอง หงษา เจ้าของเสียงเพลง "หนุ่มหมอลำซิ่ง" "หงษ์ทองพาซิ่ง" และเพลง "ชายอิสระ" ที่สร้างชื่อให้ ปัจจุบันเจ้าของวงหมอลำซิ่งวงใหญ่สืบตำนานต่อจากพ่อ กล่าวถึงวงของตนเองว่า "คอนเสิร์ตหมอลำเดี๋ยวนี้ลงทุนเป็นล้าน เล่นสนุกอย่างเดียว ผมเอากลอนสมัยพ่อมาเล่นด้วย เช่น กลอน "ผู้ใหญ่สาเฝ้าสวน" วงหมอลำซิ่งต่างจากวงหมอลำสมัยก่อนตรงที่ เน้นความสนุก มัน เร้าใจ เวทีปรับคล้ายเธค ให้คนเต้นกันสนุก"

กลอนลำตลกๆ "เมียต้มผัว" โดย สมาน หงษา

ทุกวันนี้ ครูสมาน หงษา ยังเป็นครูให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่มาร่ำเรียนกลอนลำกัน และเป็นดั่งลมใต้ปีกที่จะช่วยดันให้หมอลำหนุ่ม "หงษ์ทอง" ได้บินขึ้นสูงต่อไป ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ลูกชายจะพัฒนาฝีมือให้ได้อย่างรุ่นพ่อหรือไม่

"อย่าประมาท พยายามให้สติผ่องใสตลอด อย่ากินน้ำเมา ศัตรูของเรา คือ น้ำเมา ทำให้เราเพี้ยนไป หมอลำในอดีตตก เพราะเหล้ามันทำลาย" หมอลำพญาหงษ์ กล่าวทิ้งท้ายเตือนสติคนรุ่นหลัง

รวมกลอนลำ ของ สมาน หงษา

ถ้าสนใจไปดูกลอนซิ่ง หมอลำกลอนซิ่ง ของ สมาน หงษา กันคลิกเลย หมอลำสมาน หงษา ได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการประกวดมามากมาย และที่ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานต่างๆ เช่น

  • รางวัลชนะเลิศการประกวดกลอนลำ เนื่องในงานประกวดการแสดงพื้นบ้าน ของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติในปี 2536
  • รางวัลโล่เชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นสาขาภาษาและวรรณกรรม (แต่งกลอน) ของสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปี 2537
  • รางวัลเกียรติยศชนะเลิศการประกวดหมอลำกลอนแห่งประเทศไทย ของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติในปี 2539.

พ่อสมาน หงษา ต้องเลิกแสดงลำ เพราะเส้นเลือดตีบ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ ยืนไม่ได้ แต่ก็มีผลงานบันทึกลำกลอนไว้หลายชุด เช่น

  • ค่ายท็อปไลน์ 3 ชุด
  • สังกัดค่ายกรุงไทย ออดิโอ ที่มีผลงานประมาณ 6 ชุด
  • ค่ายราชบุตร ใน จังหวัดอุบลราชธานี อีกเกือบ 20 ชุด

และเมื่อเวลา 03.00 น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา หมอลำสมาน หงษา ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการนอนหลับแล้วสิ้นลมไป ภายหลังที่พักรักษาตัวมานานกว่า 10 ปี ที่บ้านพักเลขที่ 113/3 ถนนวาริน-ศรีสะเกษ ตำบลกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังที่พักรักษาตัวมานานกว่า 10 ปี จากอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ไม่สามารถยืน-เดินได้ จำต้องยุติการเป็นหมอลำในขณะที่มีชื่อเสียงอยู่

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)