คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า "ศาสนาพุทธ มีดีอะไรจึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์มาบวชมากมายเช่นนี้"
เจ้าอาวาส วัดโพธิญานาราม (Bohinyanarama) ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งในชาวตะวันตก ที่เกิดในประเทศแคนาดา ปี พ.ศ. 2492 และในขณะศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็พบว่าไม่ได้ทำให้ท่านมีความสุขที่แท้จริง จึงออกแสวงหาความหมายในชีวิตเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ท่านเคยกล่าวไว้ว่า...
"ขณะเรียนวิชาธรณีวิทยา ตอนนั้น อาตมาเห็นความไม่มั่นคงในอิฐ หิน ดิน ทราย และความเสื่อมที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ทำให้ตัดสินใจละการศึกษาในมหาวิทยาลัย แล้วออกแสวงหาความหมายที่แท้จริงของชีวิต ด้วยการขี่จักรยานจากปากีสถานมายังศรีลังกา ปฏิบัติสมาธิภาวนากับ Bhikkhu Sivoli และศึกษามหาวิทยาลัยชีวิตไปจนถึงประเทศอินเดีย แล้วเดินทางมาบวชอยู่ทางเหนือในประเทศไทย"
กระทั่งได้ยินชื่อ หลวงปู่ชา สุภัทโท จึงออกตามหาไปถึงวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีในปี 2518 หลังจากนั้น ชีวิตใหม่ของท่านก็เริ่มต้นที่นี่ ในช่วง 35 พรรษาแรก ท่านได้รับนิมนต์ไปช่วยงานก่อตั้ง วัดป่าสาขาหนองป่าพง ในประเทศอังกฤษ 5 ปี รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นระยะเวลาประมาณ 18 ปี .ในพรรษาที่ 36 จนถึงปัจจุบัน ท่านได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิญานาราม กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ และเตรียมเกษียณตัวเองในเร็ววันเพื่อที่จะธุดงค์ไปทั่วโลก
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นวันคล้ายวันละสังขารของหลวงปู่ชา ท่านได้กลับมาอาจาริยบูชาที่วัดหนองป่าพง และรับนิมนต์ไปบรรยายธรรมที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน จึงขอน้อมนำธรรมะที่ท่านฝากไว้ให้กับชาวไทยมาแบ่งปันกัน ในวันที่โลกกำลังร้อนรุ่มไปด้วยกิเลสตัณหา และมนุษย์โลกกำลังจะละทิ้งความสุขทางใจไปบูชาเงินยิ่งกว่าสิ่งใด
พระอาจารย์ถิรธัมโม บอกว่า "ลิ้นท่านขึ้นสนิมแล้ว เพราะอยู่ต่างประเทศนาน แต่ธรรมที่ออกมาจากการปฏิบัติของท่านนั้น คมกริบ พร้อมตัดกิเลสอาสวะที่นอนเนื่องในจิตได้อย่างฉับพลันทันที อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ระลึกถึงพระธรรม ขุมทรัพย์ที่เรามีอยู่ และหันกลับมาขุดกันเพื่อดับความร้อนทางใจก่อนที่โลกจะลุกเป็นไฟมากไปกว่านี้"
พระอาจารย์ถิรธัมโม เล่าว่า "ท่านมีประสบการณ์ทางพุทธจากมหาวิทยาลัย จากการอ่านหนังสืออย่างเดียวที่แคนาดา เรื่องฝึกจิต ต้องไปประเทศอื่น ท่านก็ไปอินเดีย แล้วก็มาเมืองไทย มีคนหนึ่งบอกว่า มีอาจารย์กัมมัฏฐานหลายองค์ ปัญหาอันหนึ่งคืออาจารย์กัมมัฏฐาน ท่านไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ พระอาจารย์ต้องอาศัยหนังสืออ่าน ตอนหลังมีข้อสงสัยเกิดขึ้น เมื่อได้อ่านหนังสือของหลวงพ่อชาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ อ่านแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องของศาสนาพุทธ แต่เป็นเรื่องของการฝึกจิต"
การฝึกจิต คือ เราควรจะนอนกี่ชั่วโมงในเวลากลางคืน เมื่อได้พบหลวงพ่อชาในภายหลัง ได้ถามท่านว่า "ในพระไตรปิฎกบอกว่า นอนสี่ชั่วโมง แต่ความจริงแล้วเราควรจะนอนเท่าไร" ท่านตอบว่า "แล้วแต่โยมนะ" อาตมาก็เลยมีกำลังใจในการปฏิบัติคำสั่งสอนของหลวงพ่อชา เป็นคำสั่งสอนที่มีปัญญามาก ไม่ใช่คำสอนที่ออกจากหนังสือ แต่เป็นคำสอนที่ออกมาจากปัญญาจริงๆ ให้รู้กาย รู้ใจ
พระอาจารย์เดินทางมาอยู่ที่เชียงใหม่ 3 ปี แล้วก็ไปอุบลราชธานี เพื่อพบหลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง ตอนที่ไปถึงครั้งแรก มาถึงแล้วมืดแล้ว ก็พยายามถามคนว่า วัดหนองป่าพงอยู่ที่ไหน ทุกคนก็รู้จัก เขาก็บอกว่า ให้ไปทางโน้น พอดีมืด เขาเลยเอาขึ้นรถมาส่งที่วัด มาถึงหน้าประตู มีคนเฝ้าประตู ชื่อพ่อทิพย์ เป็นคนตาบอด
หลวงปู่ชา สุภัทโท ท่านมีอุบายสอนคนหลายอย่าง ให้คนตาบอดมาเฝ้าประตู เขาไม่เห็นรถ เราเข้ามาแล้ว เขาก็พยายามพูดกับอาตมา อย่ามาที่นี่มืดๆ ประตูปิดแล้ว อาตมาก็ขออภัย ไม่รู้ภาษา ก็ถามเขาว่า "หลวงปู่ชาอยู่ไหน" เขาก็ชี้ไปทางนั้น ในป่า อาตมาก็เดินไปชนต้นไม้ ไม่มีไฟฉาย ลืมไปว่า เขาตาบอดไม่ต้องใช้ไฟฉาย
"วันนั้นไม่มีพระฝรั่งสักคนหนึ่ง พอพบหลวงพ่อชา ท่านพูดคำเดียว เป็นภาษาอังกฤษว่า "sleep" แต่ไม่มีที่นอน อาตมาต้องนอนข้างนอกกุฏิ แต่อาตมาก็รู้สึกว่า เข้าวัดป่าพงแล้ว อยู่ตรงไหนก็รู้สึกสบายใจ อย่างหนึ่งอาตมาเคยอ่านพระสูตร ในสมัยพุทธกาล พระก็อยู่ป่า อยู่กุฏิในป่า ที่วัดหนองป่าพงเหมือนในสมัยพุทธกาลเลย"
หลวงพ่อชา พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่รู้จักภาษาธรรมะ ท่านสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่พูดมาก เรื่องพุทธ หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องโบราณ หลวงพ่อชาเป็นตัวอย่างให้เราเห็นความทันสมัย ไม่ใช่สมัยพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ตอนนี้ทั่วโลกกำลังสนใจพุทธศาสนา หลายแนว
บางคน ได้เคยฝึกโยคะ เขาเห็นว่า ทำสมาธิได้สุขภาพที่ดีขึ้น หัวใจสบาย สุขภาพดีขึ้น บางคนเข้าใจปัญหา และมีทางออก สมัยนี้ คนต้องเรียนหนังสือมากๆ เพื่อให้ได้อาชีพ เรียนมากๆ ก็คิดมากๆ ไปเรียนมหาวิทยาลัย เรียนเรื่องคิดมาก ให้ปรุงแต่ง มหาวิทยาลัยเขาไม่ได้สอนวิธีระงับความคิด
"อาตมาก็เหมือนกัน อ่านหนังสือกลางวัน กลางคืนปรุงแต่งไม่หยุดเลย แต่นั่งสมาธิทำให้จิตสบาย ตอนฝึกที่เมืองไทย คิดว่า ฝึกจิตเดือนหนึ่ง ตรัสรู้แล้วจะกลับบ้าน พอฝึกไปเดือนหนึ่ง ยังไม่ตรัสรู้ ก็ขอต่ออีกเดือนหนึ่ง ผ่านไป 9 ปี ก็ต้องเรียนต่อไปอีก อาจจะต้องหลายชาติก็ได้ อยู่เมืองนอกก็พยายามฝึก เพราะอยู่ประเทศไทยฝึกง่าย ไทยเป็นประเทศสวรรค์ของพระ ไปที่ไหน คนไทยถวายปัจจัยสี่ให้เรียบร้อย อยู่ต่างประเทศ คนมองเราแปลก เอาบาตรไปเดินตามถนน เขาคิดว่าเราจะตีกลอง เขาเห็นเราแปลกประหลาด"
หลังจากนั้น ได้รับนิมนต์ไปสวิตเซอร์แลนด์ เดินบิณฑบาต 3 ปี ได้อาหาร 3 ครั้ง ครั้งแรก เป็นคนมาที่วัด อีกคนเป็นชาวฝรั่งเคยบวชที่เมืองลาว อีกคนเป็นชาวอังกฤษ พระอาจารย์เดินบิณฑบาต เขาถามว่าทำอะไร ท่านบอกว่า กำลังขออาหาร เขาบอกว่า เดี๋ยวก่อน รอก่อน แล้วก็ไปเอาแอปเปิลมาใส่บาตรให้ แต่ท่านไม่ได้อดนะ ในสวิตเซอร์แลนด์มีคนไทยหลายคน เขาก็มาวัดเสาร์อาทิตย์ เอาอาหารมาไว้ในวัด แล้วท่านก็ไปบิณฑบาตที่โรงครัว
"อาตมาเคยไปเดินธุดงค์ในประเทศไทย กับชาวเขาที่เชียงใหม่ ไปเดินบิณฑบาต อาตมาพูดกับชาวเขาไม่ได้ ใช้ภาษามือ ทำมือเอาอาหารเข้าปาก เขาเป็นคนฉลาด เขาก็เอาอาหารให้ ในเมืองนอก บางครั้งต้องสู้กับหิมะ บางที่มีพระบิณฑบาตกลางหิมะ ต้องใส่รองเท้าบูต อยู่เมืองไทย ใส่รองเท้าไม่ได้ เราต้องสู้กับสิ่งแวดล้อม ต้องมีความอดทนคือ อยู่เมืองไทยอดทนความร้อน อยู่เมืองนอกอดทนความหนาว แต่ตอนนี้ที่เราต้องต่อสู้มากที่สุดคือวัตถุนิยม"
หลวงปู่ชา สุภัทโท สังเกตเมืองไทยมีวัตถุสิ่งของ มันเจริญมาก ไม่มีที่สิ้นสุด วัตถุนิยม ไม่ได้สอนให้จิตใจสบายที่สุด แต่ให้เราสบายชั่วคราว เพราะมีความสุขจากของต่างๆ แต่ถ้าของต่างๆ พังไปจิตใจจะเป็นอย่างไร
ศาสนาวัตถุนิยมไม่ได้สอนไว้ อย่างตอนนี้มีไอโฟนห้า คนที่มีไอโฟนสี่ ก็ไม่สบายใจแล้ว ต้องเอาเครื่องไปเปลี่ยนใหม่ เมืองนอกไม่มีคำสอนที่ให้จิตใจสบาย นอกจากวัตถุนิยมอย่างเดียว คนไม่รู้จักอย่างอื่น เขาไม่รู้ว่า ความสงบเป็นอย่างไร จะฝึกปฏิบัติอย่างไร ถ้าเราไปตามวัตถุนิยมมากเกินไปจะเจอโทษ เพราะหลายคนไม่รู้จักลักษณะของจิตจริงๆ เวลามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น เช่นไม่สบายใจ ถ้าไม่รู้จักลักษณะของอารมณ์ว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะทุกข์กับมัน
"เราจะสอนกัมมัฏฐานให้ชาวตะวันตกยากหน่อย เพราะเขาติดอารมณ์ เวลานั่งสมาธิสบายหน่อย แล้วพอความสบายหายไป เขาก็ไม่เอาแล้ว"
วิปัสสนากัมมัฏฐานมีหลายแนว มีอุบายมาก อาตมามาอยู่กับหลวงปู่ชา สุภัทโท อยากจะได้อุบายกับท่าน อะไรปฏิบัติแล้ว เร็วที่สุด ดีที่สุด ท่านไม่ให้ บอกว่า ไม่มี (หัวเราะ) ท่านก็มีปัญญารู้ คนสมัยนี้ อยากจะได้อะไรไวๆ มันเป็นกิเลส มันเป็นความโลภ ไม่ใช่เรื่องของพระธรรม
หลวงปู่ชา สุภัทโท ไม่ให้วิธีลัด แต่ท่านมีวิธีที่จะให้มีความสงบ คือปล่อยวางอารมณ์ต่าง และต้องปล่อยวาง ความปล่อยวางด้วย ตอนแรกท่านให้ยึดอารมณ์ความดี ทำความดีก็ให้ยึดอันนี้ไว้ก่อน ให้จิตได้มีอะไรยึด ตอนหลังท่านสอนให้เรารู้จักอารมณ์ในการฝึกจิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดี หรืออารมณ์ไม่ดี เราก็ต้องปล่อยวางทั้งสอง
"การปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง เรามีหน้าที่รดน้ำเท่านั้น ส่วนการเจริญเติบโตเป็นเรื่องของเขา ตอนนี้ สาขาของวัดหนองป่าพง ขยายไปทั่วโลก หลวงพ่อสุเมโธก็ปลดเกษียณแล้ว อาตมาก็จะปลดเกษียณเหมือนกัน แล้วจะธุดงค์ไปทั่วโลก การธุดงค์สมัยนี้ไม่ใช่อาศัยเดินอย่างเดียว อาตมามีมือถือ รู้จักวัดสาขาหนองป่าพงทั่วโลก จะไปออสเตรเลีย แคนาดา ก็คงไม่อดข้าว"
เป็นระยะเวลา 30 กว่าปีแล้วที่ “พระอาจารย์สุมโน ภิกขุ” พระฝรั่งศิษย์หลวงพ่อชา สุภัทโท อดีตชาวเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เคยสุขสบายในชีวิตฆราวาส แล้วหันเหตัวเองสู่เส้นทางแห่งจิตวิญญาณ เพื่อดำเนินชีวิตในวิถีทางที่สันโดษและเรียบง่าย ภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา
สิ่งที่ทำให้อดีตนักศึกษาด้านกฎหมาย และนักธุรกิจด้านตีราคาที่ดินทั้งของรัฐและเอกชน ผู้เคยใช้ชีวิตระดับไฮคลาส เดินทางไปต่างประเทศด้วยเครื่องบินชั้นธุรกิจ (Business Class) พักแต่โรงแรมระดับห้าดาว และมีเงินเหลือเฟือพอที่จะเที่ยวรอบโลก ได้ตัดสินใจทิ้งชีวิตที่หลายคนพยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะไปให้ถึง เหตุเพราะเช้าวันหนึ่งเขาลืมตาตื่นขึ้นพร้อมกับความรู้สึกที่ว่า ชีวิตช่างน่าเบื่อ ไม่มีอะไรที่ทำให้ต้องตื่นเต้นอีกต่อไปแล้ว
พระอาจารย์สุมโน ซึ่งอดีตเคยนับถือศาสนายิว บอกเล่าว่า รู้จักพระพุทธศาสนาครั้งแรก เมื่อตอนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมปลาย ด้วยความที่มีนิสัยเป็นคนชอบอ่านหนังสือ และแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา กระทั่งวันหนึ่งจึงได้ไปเจอหนังสือบางเล่ม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา วางอยู่บนโต๊ะในห้องสมุด แรกเริ่ม พระอาจารย์ให้ความสนใจเรื่อง การนำหลักการฝึกสมาธิของทางพระพุทธศาสนา มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาตัวเองมากกว่า ขณะเดียวกันก็ใช้เวลาศึกษาศาสนาหลายศาสนา และหลายนิกาย โดยเคยเข้าคอร์สที่มีการอบรมด้านพระพุทธศาสนา อยู่หลายคอร์ส และใช้เวลาปลีกวิเวกอยู่แต่ในห้องโดยไม่ไปไหนเลย เป็นเวลานาน 2-3 ปี
ในวัย 32 ปี เมื่อได้ทิ้งชีวิตการเป็นนักธุรกิจแล้ว และเริ่มมีใจลึกซึ้งในพระพุทธศาสนา พระอาจารย์เห็นว่า การฝึกสมาธิอย่างเดียวช่วยอะไรได้น้อยมาก จึงมีความสนใจอยากจะศึกษาพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น แต่เวลานั้นยังไม่ได้มีความคิดที่จะบวช
ช่วงเวลาที่ท่านกำลังจะเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนา ที่ ประเทศอินเดีย นั้น ระหว่างทางได้ไปแวะที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพราะเพื่อนของพระอาจารย์ได้แนะนำให้รู้จักวัดแห่งหนึ่งที่นี่ ซึ่งเมื่อสมัยที่ท่านไปเยือนครั้งแรกนั้นยังไม่ได้เป็นวัด แต่ต่อมาได้กลายมาเป็น วัดจิตตวิเวก (วัดป่าสาขาวัดป่าหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี แห่งแรกในประเทศอังกฤษ) ที่ช่วงเวลานั้นมี พระราชสุเมธาจารย์ (พระอาจารย์โรเบิร์ต สุเมโธ) หรือท่านสุเมโธภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งวัดในปี พ.ศ. 2522
พระอาจารย์ยังจำได้ว่า ทุกๆ เย็น จะต้องนั่งรถลีมูซีนคันหรู เพื่อไปสวดมนต์ที่วัด ก่อนจะตัดสินใจนุ่งขาวห่มขาวอยู่นานถึง 3 ปี จึงทำให้ความตั้งใจที่จะไปอินเดียในครั้งนั้น เป็นอันต้องล้มเลิกไป และในที่สุดจึงตัดสินใจบวชเมื่ออายุได้ 35 ปี
นอกจากวัดจิตตวิเวก พระอาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัดอีกแห่ง คือ วัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ แต่ด้วยสเกลที่มีขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาในการสร้างนาน จึงไม่อยากใช้เวลาให้หมดไปกับการเป็นช่าง แต่อยากศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามากกว่า
วันหนึ่งเมื่อเดินทางสู่ประเทศไทย ทำให้พระอาจารย์ได้มีโอกาสแวะเวียนไปกราบไหว้ และเรียนรู้ธรรมะจากพระชื่อดังหลายรูปในประเทศไทย อาทิ ท่านพุทธทาสภิกขุ, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงพ่อชา สุภัทโท เป็นต้น โดยเฉพาะ หลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ที่พระอาจารย์รู้สึกเลื่อมใสศรัทธามากเป็นพิเศษอยู่แล้ว เพราะเคยบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดสาขาของท่านที่อังกฤษ พระอาจารย์จึงไม่รีรอที่จะเดินทางสู่ภาคอีสาน ไปยังที่พำนักของหลวงพ่อชาเพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์
สิ่งที่พระอาจารย์ได้เรียนรู้จากหลวงพ่อชา และรู้สึกประทับใจ คือ “ในทัศนะของหลวงพ่อ พระอาจารย์ชาเป็นพระที่มีจิตบริสุทธิ์มาก และสามารถระลึกรู้ในสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องคิด ทำให้หลวงพ่อรู้สึกว่าทึ่ง มันจะมีคำว่าดี ถูกต้อง และความเหมาะสมใช่ไหม เวลาที่เราต้องเผชิญกับอะไรสักอย่าง เรามักจะคิดก่อนว่าต้องทำอย่างไรดี ทำอย่างไรถึงจะถูก พอเป็นอย่างนั้นมันจะเกิดการคิด เพราะเราต้องคิดถึงว่า ค่านิยม กาลเทศะ กับบุคคลเหล่านี้เราต้องทำอย่างไร พอมันเกิดการคิด มันต้องคำนึงถึงอดีต ไม่ใช่ปัจจุบันขณะแล้ว เราจึงคิดตัดสินว่า เราต้องทำอย่างไร จากสิ่งที่เราเคยได้ยิน เคยได้เห็น แต่พระอาจารย์ชาท่านไม่ได้เป็นอย่างนั้น การแก้ปัญหาของท่านเป็นการรู้จากปัจจุบันขณะ และใช้คำว่าเหมาะสม”
เมื่อหลวงพ่อชามรณภาพ พระอาจารย์จึงออกธุดงค์ไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ กระทั่งสุดท้ายได้เลือกพำนักอยู่ที่ สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตา ในเขตพื้นที่เขาใหญ่ หลังจากที่เคยธุดงค์ไปพบเพียงแค่คืนเดียว ด้วยเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการปฏิบัติ การเดินทางเข้าออกค่อนข้างลำบากแม้แต่รถยนต์ก็เข้าไม่ได้ จึงทำให้ปลอดความวุ่นวายจากสิ่งต่างๆ นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ เวลาก็ได้ล่วงเลยมากว่า 20 ปีแล้ว
“ตอนนี้แก่แล้ว ไปที่ไหนไม่ได้แล้ว” พระอาจารย์บอกเล่าด้วยอารมณ์ขัน เมื่อถูกตั้งคำถามว่าทำไมจึงเลิกธุดงค์ และเลือกสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตาเป็นที่พำนักสุดท้ายของชีวิต
วัตรปฏิบัติของพระอาจารย์ที่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ทุกวันจะต้องตื่นจากจำวัดตอนตีสี่ เพื่อนั่งสมาธิ อ่านหนังสือ เดินจงกรม และฟังธรรมะ แม้แต่ในยามที่ย่ำเท้าไปบนถนนสายเล็กๆ ที่ทุรกันดารสู่หมู่บ้าน เพื่อไปบิณฑบาต ระหว่างทางก็ยังต้องอาศัยฟังธรรมบรรยายผ่านเครื่องเล่น MP3
ลูกศิษย์บางคนที่ใกล้ชิดพระอาจารย์บอกเล่าว่า “แม้หลวงพ่อจะมีความลึกซึ้งในหลักธรรม จนสามารถนำมาสอนผู้อื่นได้แล้ว แต่หลวงพ่อก็ยังต้องฟังธรรมบรรยายจากพระรูปต่างๆ เพื่อนำมาสอนผู้คนอยู่ และน้อยครั้งมากที่หลวงพ่อจะเดินทางเข้าเมือง ขนาดหมอนิมนต์ให้มาทำฟัน ท่านก็ยังไม่มา”
แต่พระอาจารย์สุมโนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการเขียนหนังสือ เพราะเห็นว่าหน้าที่หนึ่งของพระ คือการสืบทอดพระพุทธศาสนา และเผยแพร่หลักธรรมไปสู่ผู้คนให้มากที่สุด ที่ผ่านมานอกจากท่านจะมีผลงานแปลธรรมเทศนาของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงพ่อชา สุภัทโท แล้ว ยังมีผลงานเขียนชื่อ ธรรมะจากพระภูเขา (Monk in the Mountain), จิตที่สว่างไสว (The Brightened Mind) และพบลิงแค่ครึ่งทาง (Meeting the Monkey Halfway) โดยเป้าหมายที่เหมือนกันของผลงานเขียนทั้งสามเล่ม คือ ต้องการสอนให้ผู้คนรู้จักการเจริญสติ รู้จักการใช้ปัญญา เพราะถ้าคนเราไม่มีปัญญา มีแต่ตัวตนเกิดขึ้น ก็จะเกิดความเห็นแก่ตัว
ส่วนเหตุที่ควรต้อง “พบลิงแค่ครึ่งทาง” ผลงานเขียนเล่มล่าสุดของพระอาจารย์ ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย อานุภาพ ทัดพิทักษ์กุล และจัดพิมพ์โดย บริษัท ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด ได้บอกเอาไว้ว่า
ในปรัชญาธรรมอันเก่าแก่ของเอเชียตะวันออก "ลิง" ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของจิตที่มีลักษณะไม่อยู่นิ่ง ยุกยิก คอยกระโดดจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง ไม่เชื่อฟัง ผันแปรเปลี่ยนแปลงง่าย และด้วย “จิตที่เหมือนลิง” นี้ แนวทางการฝึกฝนจิตของโลกตะวันออก อาทิ การปฏิบัติกรรมฐาน โยคะ และการสวดท่องมนต์ ก็เป็นวิธีการต่างๆ ที่พยายามจัดการกับจิตที่ซุกซน
“ครึ่งทาง” หมายถึง อุบายอันชาญฉลาดในการบริหารจิต เป็นวิธีที่ไม่ตึงหรือแข็งกระด้างจนเกินไป และก็ไม่หย่อนยานจนเกินไป “ครึ่งทาง” เป็นทัศนคติที่ตั้งอยู่บนหลักการของความสมดุลเป็นกลาง ไม่ถูกกระทบโดยอาการไม่อยู่นิ่งของจิตที่กระโดดไปกระโดดมา
“การพบ” แสดงออกถึงความอุตสาหะที่จะบรรลุเป้าหมาย มันหมายถึงความตั้งใจและความกระตือรือร้นในการทำจิตซึ่งเป็นสิ่งที่สงบได้ยาก ให้เกิดความตั้งมั่นและเป็นกลาง และด้วยความพยายามที่มุ่งมั่นนี้ ประกอบกับความพากเพียร ซื่อตรง ภายใต้การกำกับดูแลของปัญญา ทำให้เราสามารถเข้าถึงการเจริญในธรรมที่นำไปสู่หนทางอันถูกต้อง เพื่อที่เราจะได้ “พบลิงที่ครึ่งทาง” นั่นเอง
ในวันที่พระอาจารย์สุมโน ภิกขุ เดินทางออกจากสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตา เพื่อมาบรรยายธรรมและเปิดตัวผลงานเขียน “พบลิงแค่ครึ่งทาง” ณ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ หลังจากที่ละทิ้งความสุขทางโลกมา 30 กว่าปี พระอาจารย์ซึ่งตอนนี้พูดภาษาไทยภาคกลางได้มากแล้ว (แต่เว้าอีสานได้ชัดกว่า) ได้บอกถึงความแท้จริงในทัศนะของพระอาจารย์ให้ผู้คนได้ฟังว่า “ถ้าไม่มีความอยาก จะได้รับความสุขทันทีเลย”
แล้วเราจะระงับซึ่งความอยาก ด้วยวิธีการอย่างไรบ้าง ? พระอาจารย์ได้กล่าวต่อไปว่า
“ให้รู้ว่าความอยากมีแต่ความทุกข์ มากกว่าความสุข เพราะถ้าเรามีความอยาก เราก็ต้องไปดิ้นรนไปหาไปทำมา ตอนที่เรากำลังหากำลังทำอยู่ เรามีความสุข อย่างเช่นการสะสมเงิน เพราะอยากจะได้แหวนเพชรสักวง ตอนที่ใกล้จะได้มา เรารู้สึกดีใจ พอไปที่ร้านถอยมันมาได้ ความสุขก็จบแล้ว เพราะช่วงเวลาที่เราอยากได้มันหมดไปแล้ว ทีนี้ก็จะดิ้นรนไปอยากได้อย่างอื่นต่อ”
และเมื่อถูกถามว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีความอยาก มีแต่การปล่อยวาง โลกจะไม่หยุดพัฒนา หยุดการเจริญรุดหน้าหรืออย่างไร พระอาจารย์ตอบว่า
“เคยมีคนถามหลวงพ่อว่า ถ้าทุกคนบวชเป็นพระกันหมด โลกนี้จะพัฒนาไปอย่างไร หลวงพ่อบอกว่าไม่ต้องห่วง มีคนที่สมัครใจบวชเป็นพระ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน เหมือนกับที่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเป็นช่างเสริมสวย (หัวเราะ) และในความเห็นของหลวงพ่อ โลกนี้ไม่ต้องเจริญ อีสานที่หลวงพ่อเคยอยู่ มีคนบอกว่าความเจริญเป็นสิ่งดี โอ้...อยากให้เมืองนี้เจริญ วารินชำราบเจริญ อุบลฯ เจริญ แต่หลวงพ่อคิดว่า ความเจริญไม่ใช่สิ่งดีเสมอไป เพราะถ้าเจริญแบบไม่มีปัญญาก็จะมีปัญหามากขึ้น อย่างเมืองไทยเจริญขึ้นแต่ความสุขกลับน้อยลงตลอด ไม่เหมือนประเทศภูฏาน ประเทศเขาไม่เจริญ แต่มีความสุข”
แม้พระอาจารย์จะเป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวต่างชาติจากประเทศตะวันตก ที่เดินทางมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศตะวันออก เรียนรู้และศึกษาจิตวิญญาณตะวันออก โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา แต่พระอาจารย์ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่า ตนเองเป็นหนึ่งในคนตะวันตกจำนวนมากที่หันมาสนใจจิตวิญญาณตะวันออก เพราะอาจจะเป็นหนึ่งในคนจำนวนน้อยก็ได้ หรือแม้แต่เวลานี้ก็ตาม ถามว่าคนตะวันตกสนใจจิตวิญญาณตะวันออกมากขึ้นหรือไม่ พระอาจารย์ก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศตะวันตกมานานแล้ว
“หลวงพ่อไม่ได้อยู่ในประเทศตะวันตกมาสามสิบกว่าปีแล้ว หลวงพ่อรู้แต่ว่าเมื่อก่อนคนตะวันตกอยากมาเมืองไทย เพราะสนใจในประเพณี วัฒนธรรม เป็นแบ็คแพ็คเกอร์มาเที่ยว หรือนั่งเครื่องบินไปเที่ยวทะเล เที่ยวเกาะสมุยโน่น แต่ไม่ค่อยมีใครมาวัด มาอีสาน มีแต่มาเอาอย่างเดียว ไม่มีใครอยากให้อะไร”
หลายปีที่ผ่านมา อาจทำให้พระอาจารย์รู้จักประเทศไทย และเห็นความเป็นไปของประเทศไทยในหลายๆ ด้าน แต่พระอาจารย์ก็ออกตัวว่า ไม่อยากจะวิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทย หรือคนไทยมากเท่าใดนัก มีเพียงบางสิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นห่วงคนไทย คือ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังตกอยู่ในวังวนของความอยาก และการโฆษณาชวนเชื่อ ที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้ยังไม่พอ และยังไม่ดีพอเสียที
“ทุกคนอยากมีรถคันใหม่ อยากมีโทรศัพท์ อยากมีโน่นอยากมีนี่ มีความอยากไปในทางโลกเสียมากกว่า และการโฆษณาก็ทำให้พวกเขาคิดว่าชีวิตฉันยังไม่พอ และรู้สึกว่าฉันยังไม่ดีพอ ฉันต้องรวยให้มากกว่านี้ หรือฉันต้องสวย ต้องขาวให้มากกว่านี้”
เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นเพราะมนุษย์นี่เองที่เป็นฝ่ายเบียดเบียนธรรมชาติ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะวิธีที่จะช่วยให้เราเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุดว่า
“ต้องรักษาศีลห้าก่อน เพราะถ้าไม่รักษาศีลห้า เราก็จะเป็นฝ่ายเบียดเบียนธรรมชาติ ปัญหาที่อยากแก้ก็จะไม่สามารถแก้ได้ และอยากให้ทุกคนมีสมาธิ เพราะสิ่งเหล่านี้มันจะทำให้จิตใจของเราสบาย มีความอยากน้อยลง มีสติ แล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้น
ถ้าเราไม่มีปัญญา เราก็จะไม่เข้าใจอดีต และทำในสิ่งที่ผิดพลาดเหมือนเดิมไปตลอด เหมือนเราเคยเสียใจเพราะอกหักจากผู้ชายคนนี้ ถ้าเราไม่ใช้ปัญญาทำความเข้าใจว่าทำไม เราก็จะอกหักได้อีกเรื่อยๆ ดังนั้น ปัญญาช่วยให้เราสามารถพิจารณาได้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว
จริงๆ แล้วจิตเดิมของมนุษย์นั้นประภัสสร นั่นคือบริสุทธิ์ รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่เพราะว่าจิตของเรารับอะไรเข้ามาเยอะ กิเลสมันเลยเข้ามาทำให้จิตใจเราขุ่นมัว เราก็เลยไม่มีปัญญาพอที่จะมองเห็นเหตุของปัญหา แต่ไปหลงและยึดเอาค่านิยมภายนอกมากกว่า ภัยธรรมชาติที่มันเกิด มันเป็นเพราะความอยากของเราที่มันไปเป็นตัวเบียดเบียนธรรมชาติ ถ้าเราไม่อยากเบียดเบียนธรรมชาติ เราต้องถามตัวเราเองก่อนว่าเราพร้อมที่จะเสียสละไหม เช่น ถ้าเราไม่มีโรงงานนิวเคลียร์ เราก็จะไม่มีไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานนิวเคลียร์มาใช้นะ
ทุกวันนี้เราพึ่งพาไฟฟ้าเพราะอะไร เพราะเราต้องการความสะดวกสบาย เวลาเราเบื่อ แทนที่เราจะนั่งสมาธิ เราต้องเปิดไฟ ดูทีวี หรืออ่านหนังสือ ตอบสนองตัวเองด้วยสิ่งบันเทิง แต่ถ้าเราพยายามอยู่กับตัวเองให้ได้บ้าง บางครั้งสิ่งบันเทิงเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เมื่อเราไม่ได้เปิดไฟ ใช้มันน้อยลง เราก็จะเบียดเบียนธรรมชาติน้อยลงไปด้วย”
ดังนั้น พรปีใหม่ที่พระอาจารย์อยากมอบคนไทย ไม่มีอะไรที่มากกว่าการลดความอยาก เพื่อความสุขที่แท้และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา “เพราะปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากตัวเราเอง”
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมพวกเราชาวต่างชาติถึงมาที่นี่ ประเทศไทย เมืองแห่งพุทธศาสนา...
'It is not living' : สุมโนภิกขุ
ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4
ชาวตะวันตก ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา หรือ ออสเตรเลีย ที่เราเรียกรวมๆ ว่า "ฝรั่ง" นั้นคงมีส่วนน้อยหรือน้อยมากๆ ที่รู้จักกับ "พุทธศาสนา" ศาสนาของฝรั่งที่นับถือส่วนใหญ่ก็จะเป็น "คริสต์ศาสนา" ซึ่งมีหลายนิกาย เช่น คาร์ทอลิก, ออทอร์ด็อก, โปแตสแตนส์ และอื่นๆ รวมทั้งที่เรียกตัวเองว่า "ไม่มีศาสนา" หรือ ศาสนาที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า (atheist), ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า (agnostic) แต่ในระยะประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา โลกตะวันตกก็ได้ซึมซับเอาวิถีพุทธไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
โดยในระยะแรกนั้น เป็นเพียงการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับ "พุทธศาสนา" เท่านั้น แต่เมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา จากความนิยมทางหลักวิชาการ ก็กลายมาเป็นที่นิยมในแง่ของการปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธมากขึ้นนั้น เป็นเพราะความน่าเลื่อมใสศรัทธาของพระหรือครูผู้สอน ที่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี และมีความรู้ความสามารถในการทำให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติได้เข้าใจหลักธรรม และวิธีการปฏิบัติ จนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ
ประเด็นสำคัญที่น่าคิด ก็คือ ทำไมที่ผ่านมาชาวตะวันตกจำนวนมากจึงหันมาหาพุทธศาสนา คำตอบก็คือ พวกเขาคิดว่า ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นมาก ในแง่ที่ว่า ชาวพุทธเป็นผู้รักสงบและไม่ใช้ความรุนแรง
ในประเทศอังกฤษเองนั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้วจากข่าวของ พระภาวนาวิเทศ (เขมธมฺโมภิกฺขุ) (พระไทยชาวอังกฤษ ศิษย์ของหลวงพ่อชา) ซึ่งได้เข้าไปสอนปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษ ในเรือนจำของอังกฤษกว่า 26 ปี จนเกิดผลดี ช่วยลดปัญหาของเรือนจำลงได้มาก กระทั่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังมีนักโทษจำนวนมากมายที่หันมานับถือพุทธศาสนา บางรายที่พ้นโทษออกมา ก็ได้มาเป็นอาสาสมัครในการเผยแผ่พุทธธรรมด้วย พุทธศาสนิกชน ชาวอังกฤษเชื่อว่า ศาสนาพุทธจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และจะเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในตะวันตก
มีอยู่หนึ่งข้อความที่ตัวผู้เขียนได้อ่าน และรู้สึกเห็นด้วยมากๆ ว่า “Buddhism is not just religion, Buddhism is the practice” หมายความว่า พุทธศาสนา ไม่ได้เป็นแค่ ศาสนา แต่เป็นการฝึกฝน ปฏิบัติ และทุกๆ คนทุกศาสนาก็สามารถเป็น Buddhism ได้ เพื่อฝึกฝนและปฏิบัติตนให้มีความสงบ สบาย รู้แจ้ง และเห็นธรรม แม้เขาไม่ต้องกราบไหว้พระพุทธรูป หรือ ไม่รู้คำสวดมนต์เลย
มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า
ศาสนาพุทธ มีดีอะไร? จึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งทั้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์ มาบวชในพุทธศาสนามากมายเช่นนี้ "
พระโพธิญาณเถระ หรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นับได้ว่าเป็นพระมหาเถระในฝ่ายมหานิกายที่สามารถต่อหน่อเนื้อแห่งสังฆะได้มีคุณภาพ ไม่ใช่สักแต่ว่าบวชๆ ให้ไปแบบ 'อุปัชฌาย์เป็ด' คือ เช้าบวชวัด บ่ายบวชอีกวัด แต่ไม่เคยได้ให้การอบรมอะไรต่อผู้ที่เข้ามาบวชเลย
มีฝรั่ง (ชาวต่างชาติ) จำนวนมากที่มาอยู่ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อนั้น ต่างต้องผ่านการอบรมอย่างเข้มงวด กับการใช้ชีวิตในรูปแบบวิถีพระป่าจากคณะสงฆ์ของหลวงพ่อชาก่อน ตั้งแต่การเป็น 'ปะขาว' ถือศีลแปด ทำสมาธิ ปฏิบัติกิจต่างๆ รับประทานอาหารมื้อเดียว เมื่อหลวงพ่อเห็นว่าสมควรให้บวช ท่านก็จะทวงถามกับคณะสงฆ์ว่า "สมควรบวชให้ได้หรือไม่" เมื่อคณะสงฆ์ไม่ปฏิเสธหลวงพ่อก็บวชให้ โดยบรรพชาเป็นสามเณรก่อน เมื่อประพฤติปฏิบัติได้อย่างน้อย 1 ปี จึงจะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ (บางรูปเเป็นสามเณรอยู่ 3-5 ปี ก็มี)
ใครเคยไป วัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จะเห็น 'พระฝรั่ง' มากมาย ทั้งพรรษามาก พรรษาน้อย และปะขาว หรือ ผ้าขาว (ผู้สนใจในพุทธศาสนาและต้องการบวช มาทดลองฝึกปฏิบัติอยู่อย่างพระ) ต่างก็ผ่านการอบรมด้วยดีมาแล้วทั้งสิ้น บางรูปฉันจังหัน (อาหารอาสนะเดียว มื้อเดียว หนเดียว) กับแจ่วปลาร้า น้ำพริก กล้วยและส้มตำ แบบไม่มีสิทธิเลือก ฉันตามมีตามเกิด ตามที่ไปบิณฑบาตรมาได้ หรือเท่าที่ญาติโยมนำมาถวาย
แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด ก็ยังมีชาวต่างชาติมาบวชมากมาย และพระฝรั่งเหล่านี้ก็ได้ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วโลก จึงมีวัดสาขาของวัดหนองป่าพงทั้งในและนอกประเทศมากกว่า 200 สาขา โดยมีศิษย์ชาวต่างชาติสำคัญหลายรูปที่เป็นกำลังสำคัญ อาทิเช่น
พระเทพญาณวิเทศ (หลวงพ่อสุเมโธ) ปัจจุบันจำพรรษาที่ วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร
[ อ่านเพิ่มเติม : หลวงพ่อชาสอนฝรั่งอย่างไร? ]
คนไทยมีบุญที่ได้เกิดอยู่ในเมืองพุทธ เมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด แต่คนไทยไม่มีวาสนาที่จะเข้าถึงหลักธรรมหลักการปฏิบัติที่แท้จริง คนไทยส่วนใหญ่จะติดในพิธีกรรมทางศาสนามากเกินไป จนลืมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คนไทยไม่ค่อยเข้าถึงหลักธรรมเท่าไรนัก แต่จะเน้นเรื่องประเพณีและพิธีกรรมมากกว่า แต่ตัวเองเริ่มต้นจากการเรียนรู้คำสอนก่อน ส่วนประเพณีและพิธีกรรมมาเรียนรู้ทีหลัง ถึงไม่ได้เกิดในเมืองพุทธแต่ก็มีวาสนาที่ได้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ”
ศ. ดร. คาโลร่า (CALORA ANDUJO M.D.)
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมพวกเราชาวต่างชาติถึงมาที่นี่ 'ประเทศไทย' เมืองแห่งพุทธศาสนา... เพื่อศึกษาเข้าถึงธรรมกับพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
รายการทันโลก ThaiPBS : พุทธศาสนาหยั่งรากในอิตาลี
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระเถระเข้ารับพระราชทานสถาปนา เลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 เวลา 17.00 น. จำนวน 74 รูป
ซึ่งมีพระเถระ "กิ่งก้านโพธิญาณดอกบัวตะวันตก" ที่เบ่งบานด้วยธรรม (ศิษย์ในองค์หลวงพ่อชา สุภัทโท) รวมอยู่ด้วย ดังนี้
สาธุ สาธุ สาธุ...
ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 พศจิกายน 2563 ได้มีราชกิจจานุเบกษาประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ พระเทพญาณวิเทศ (หลวงพ่อสุเมโธ) วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ วิจิตรธรรมปฏิภาณ วิปัสสนาญาณวงศวิสิฐ ราชมานิตวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป
พระเทพพัชรญาณมุนี, พระธรรมพัชรญาณมุนี, พระอาจารย์วชิโร, พระอาจารย์เขมานันโท
ภาพถ่ายอันเป็นที่ระลึกนึกถึง "ความศรัทธา" ของชาวต่างชาติต่อพระพุทธศาสนา หลวงพ่อทั้ง 4 รูป ได้อุปสมบทในวันเดียวกัน เมื่อ 42 ปีที่ผ่านมา และได้มาเจอพร้อมกันอีกครั้งที่ วัดป่านานาชาติ อุบลราชธานี ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่หลวงพ่อทั้งสี่รูปจะมาเจอหน้าตาพร้อมกัน ได้ร่วมถ่ายภาพพร้อมกันแบบเป็นกันเอง เป็นภาพที่งดงามมากที่สุด
ด้วยหลวงพ่อทั้ง 4 รูป อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภฺทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์บุญชู ฐิตคุโณ (วัดเขื่อนโพธิญาณ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ในวันนั้น มีการอุปสมบทพระภิกษุชาวต่างชาติด้วยกัน 4 รูป ตามลำดับ คือ
พระอาจารย์เขมานันโท, พระอาจารย์วชิโร, พระธรรมพัชรญาณมุนี, พระเทพพัชรญาณมุนี
ถาพถ่าย : ณ วัดป่านานาชาติ : 26 ธันวาคม 2565
ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่ เฉลิมชัย จารุพัฒนเดช KruPim Nittaya
และยังมีพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระฟิลลิป ญาณธัมโม เป็น พระราชวชิรญาณ กรรมฐานนิเทศสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี พระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดป่ารัตนวัน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 4 รูป
โรบิน ฟิลลิปป์ มัวร์ ผู้แปลหนังสือ "พุทธธรรมวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา" ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4
มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า "ศาสนาพุทธ มีดีอะไรจึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์มาบวชมากมายเช่นนี้"
หลวงพ่อชา สุภัทโท เคยกล่าวไว้ว่า “ดอกบัวกำลังบานทางทิศตะวันตก” หลังจากที่ท่านได้เดินทางไปเผยแพร่ธรรมะที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1977 (พ.ศ. 2520)
“พระพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้น เปรียบไปก็เป็นดั่งไม้ใหญ่ที่ไปเกิดอยู่ริมตลิ่ง เป็นไม้ใหญ่ที่ผ่านคืนผ่านวันมานานเหลือแสน เฒ่าชะแรแก่ชรา ถูกแมลงชอนไช วันหนึ่งถ้าเจอน้ำป่าไหลหลั่งถั่งท้นมา แล้วตลิ่งพัง ไม้ใหญ่นั้นก็สามารถทรุด แล้วหล่นโครมไปตามกระแสน้ำ
ส่วนในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นั้น พระพุทธศาสนา เป็นดั่งหน่ออ่อนของต้นไม้ที่กำลังแรกผลิ ดังนั้น ชาวตะวันตกจึงสนใจพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก พระพุทธศาสนากำลังจะมีอนาคตในโลกตะวันตก”
ปัจจุบัน ความรู้และเรื่องราวในพุทธศาสนาได้คืบคลานเข้าสู่สังคมตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลักคำสอนและความรู้สำคัญต่างๆ ที่ทางตะวันตกเองได้มีการริเริ่มการปฏิบัติตามในหมู่ผู้ที่สนใจ และกำลังสะท้อนออกมาผ่านสื่อต่างๆ ให้แก่คนทั่วไปที่ยังไม่ได้สนใจ เช่น เพลง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ตามสไตล์ของสังคมตะวันตก
หลวงปู่ชา ท่านมีความสามารถมากในการถ่ายทอดธรรม แม้แต่ต่างชาติ ต่างภาษา คุยกันไม่รู้เรื่อง ท่านก็ยังทำให้เมล็ดบัวในตัวท่านเหล่านั้น แตกกอ ผลิดอกและเบ่งบานขึ้นมาได้ (ชาวต่างชาติเหล่านี้ มีนิสัยวาสนากับพุทธศาสนามาแล้ว ถึงได้มีศรัทธาในเบื้องต้น มีวาสนาได้พบครูบาอาจารย์ และมีวิริยะในการปฏิบัติ นั่นคือท่านมีเมล็ดบัวฝังอยู่แล้วในตัว)
ดอกบัวบานแล้วทางทิศตะวันตก และนับวันก็จะแตกกอเป็นป่าบัวต่อไป แต่ป่าบัวดั้งเดิมทางทิศตะวันออกกำลังเสื่อมลงตามกาลเวลา ตามหลักอนิจจัง
ขออวยพรให้ทุกท่านที่กำลังเป็นเมล็ดบัวอยู่ ขอให้แตกรากฝังศรัทธาให้มั่นคง งอกแล้วบำรุงด้วยรสแห่งธรรมให้เจริญยิ่งขึ้นไป ดอกตูมก็ให้บาน บานแล้วก็ให้ส่งกลิ่นหอมให้กว้างขวาง เพื่อเร่งเร้า ปลุกผู้หลับอยู่ให้ตื่นขึ้น....เทอญ
--- พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)
หรือ หลวงพ่อโรเบิร์ต สุเมโธ เดิมชื่อ โรเบิร์ต แจ็คแมน เป็นชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ใน ปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) อดีตทหารหน่วยเสนารักษ์แห่งกองทัพเรืออเมริกันในสงครามเกาหลี จบปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยเบิร์คเลย์ แคลิฟอร์เนีย ท่านออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครสันติภาพ เคยสอนภาษาอังกฤษที่ เกาะบอร์เนียว และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจในพระพุทธศาสนา จึงมาบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดหนองคาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย
หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มีโอกาสไปเป็น พระลูกศิษย์ชาวตะวันตกรูปแรก ของ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อพรรษาที่ 8 หลวงพ่อชาได้ส่งท่านให้ไปก่อตั้งวัดป่านานาชาติ ที่บ้านบุ่งหวาย จังหวัดอุบลราชธานี ได้ฝึกปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อชาเป็นเวลาถึง 10 ปี หลังจากนั้นจึงได้รับเชิญจาก มูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษ (The English Sangha Trust) ให้เดินทางไปอยู่ที่ลอนดอน ร่วมกับคณะศิษย์ของหลวงพ่อชา อีก 3 รูป มูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษ มีจุดมุ่งหมายจะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แก่การฝึกพระภิกษุในประเทศตะวันตก
โดยมีสำนักสงฆ์บ้านแฮมสเตด (The Hampstead Buddhist Vihara) ณ เมืองลอนดอน เป็นจุดเริ่มต้น สำนักสงฆ์แห่งนี้มีความเหมาะสมพอสมควร แต่คณะสงฆ์ก็เห็นข้อดีของการมีสิ่งแวดล้อมที่สงบกว่า เช่น บรรยากาศในชนบท จึงพยายามตั้งวัดป่าขึ้นในประเทศอังกฤษ และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2522) โดยดัดแปลงบ้านที่ทรุดโทรมหลังหนึ่งในเวสต์ ซัสเซกซ์ (West Sussex) ในเวลาต่อมาสถานที่นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า Chithurst Buddhist Monastery หรือ วัดป่าจิตตวิเวก (Cittaviveka) นั่นเอง
เมื่อมีวัดที่เหมาะสมขึ้นแล้ว คณะสงฆ์จึงเริ่มเติบโต มีจำนวนพระภิกษุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเริ่มมีการฝึกคณะชี (Siladhara) มีทั้งผู้ที่ต้องการจะมาฝึกมาปฏิบัติในวัด และผู้ที่ต้องการจะถวายปัจจัยสนับสนุนวัด ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ต้องก่อตั้งวัดสาขาเพิ่มอีกหลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ และประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งศูนย์กลางการสอนปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ขึ้น ณ วัดอมราวดี (Amaravati Buddhist Monastery) ประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) วัดแห่งนี้ต่อมาเป็นสถานที่ที่พระอาจารย์สุเมโธพำนักอยู่เป็นส่วนใหญ่
วัดอมราวดีตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้าน Great Gaddesden ใกล้ๆ เมือง Hemel Hempstead ใน Hertfordshire ในวัดมีศูนย์ปฏิบัติกรรมฐานสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้มาเยี่ยมเยียนวัดสามารถขออนุญาตพักอยู่ที่ศูนย์ฯ ในฐานะแขกของวัดได้ ถ้าพร้อมที่จะใช้ชีวิตในชุมชนที่มุ่งฝึกพัฒนาคุณธรรม เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และให้บริการช่วยเหลือผู้อื่น นอกจากนี้ วัดอมราวดียังได้ผลิตหนังสืออีกหลายเล่มจากคำสอนของพระอาจารย์สุเมโธ รวมทั้งเผยแพร่หนังสือเกี่ยวกับหลวงพ่อชา และครูอาจารย์อื่นๆ ทางพุทธศาสนา
อาตมาอยู่กับหลวงพ่อชาหลายปี เมื่อพวกเราลูกศิษย์ของท่านเกิดความเห็นผิด เบื่อการปฏิบัติ บางทีก็เกิดความสนใจทางโลก ท่านจะบอกว่า "ต้องดูใจตัวเองว่า เรายึดถืออะไร ทำไมถึงคิดอย่างนี้ทำอย่างนี้" ท่านไม่ได้สอนอย่างเดียว ท่านเองก็ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ท่านเอาสิ่งที่ประสบในการเป็นอาจารย์ เป็นเจ้าอาวาส มาเป็นธรรมะ เห็นธรรมะในชีวิตประจำวันในทุกสิ่งทุกอย่าง วัดป่าพง (เป็นคำที่หลวงปู่ชาชอบเรียกวัดหนองป่าพง) เสื่อมไปก็เป็นธรรมะ ลูกศิษย์มากก็เป็นธรรมะ ไม่มีลูกศิษย์ก็เป็นธรรมะ ลูกศิษย์ดี ลูกศิษย์ไม่ดี โลกมันเปลี่ยนแปลงอย่างไร ดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร ท่านก็รู้ในสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ตอนหลวงพ่อไปอังกฤษ อาตมาได้อยู่ใกล้ชิดท่าน จึงได้มีโอกาสเห็นหลวงพ่อต่อสู้กับสิ่งแปลกๆ อย่างไร เวลาอยู่เมืองไทยท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ ใครๆ ก็นับถือเคารพอย่างสูง แต่เมื่อไปอยู่เมืองอังกฤษคนไม่รู้จักท่าน ท่านเดินไปบนถนน คนเห็นบางทีเขาก็เยาะเย้ย หัวเราะ เห็นว่าเป็นสิ่งแปลก ทำไมแต่งตัวอย่างนั้น โกนศีรษะ
วันหนึ่งหลวงพ่อและเรากำลังบิณฑบาตในลอนดอน มีนักเลงเป็นเด็กผู้ชายสามสี่คนมาแสดงอาการอยากจะต่อสู้กับพวกเรา หลวงพ่อเดินข้างหน้า อาตมาเดินตามหลังท่าน ตอนนั้นอาตมาก็คิดว่าจะทำอย่างไรดี ถ้านักเลงพวกนั้นจะทำร้ายหรือทำไม่ดีแก่หลวงพ่อ แต่นักเลงทั้งสี่คนนั้น ไม่ทำร้ายแต่แสดงความรังเกียจ เยาะเย้ยแล้วก็หนีไป เมื่อกลับถึงที่พัก อาตมาก็ถามหลวงพ่อว่า "มีความรู้สึกอย่างไร?"
ท่านพูดว่า "โอ้ ดีมากนะ อยู่ที่นี่ก็ได้ผลดีนะ ท่านบอกว่า ไม่เป็นอะไร คนเยาะเย้ยแสดงความรังเกียจต่อท่าน ท่านก็เห็นว่าเป็นธรรมะเท่ากับอยู่ในกรุงเทพฯ ที่มีคนมาเคารพนับถือ สรรเสริญนินทาทั้งสองนี้มีค่าเท่ากัน ทำให้เกิดปัญญามาก ถ้ามีแต่สรรเสริญคงจะไม่มีปัญญา ไม่มีความสามารถ ปัญญาจะเจริญ ต้องมีนินทาด้วย"
หลวงพ่อไม่กลัวนินทา ไม่กลัวดินฟ้าอากาศที่ต่างกันกับประเทศไทย ไม่กลัวว่าอาหารฝรั่งจะเป็นอย่างไร อยากจะชิม อยากจะทดลองดู อยากจะอดทน ท่านไม่ถือเรื่องวัฒนธรรม ท่านอยากจะรู้สิ่งที่ควรทำในประเทศนั้น อยากจะสนทนาธรรมกับชาวอังกฤษเพื่อจะช่วยสอนได้ เพื่อจะชี้ทางไปถึงทางพ้นทุกข์ได้
ท่านเป็นคนอีสาน ชีวิตของท่านส่วนมากก็อยู่ในอีสาน แต่ท่านไปกรุงเทพฯ ท่านก็กลมกลืนกับชาวกรุงเทพฯได้ ไปอังกฤษก็สอดคล้องกับชาวอังกฤษได้ ไปอเมริกาก็เหมือนกัน เพราะจิตใจท่านไม่ได้เป็นคนอีสาน ไม่ได้เป็นคนไทย จิตใจของท่านบริสุทธิ์ ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่ได้เป็นคน ไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นชาวพุทธ ไม่ได้เป็นพระ ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นเจ้าคุณ มีแต่ความรู้ในปัจจุบัน ไปที่ไหนก็มีแต่เมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย
หลวงพ่อท่านมีความกรุณาอย่างสูง แต่เดี๋ยวนี้ท่านมรณภาพแล้ว เราก็เอาความดี ความบริสุทธิ์ของท่านมาเป็นอาจารย์ที่ไม่เกิดไม่ตาย ถ้าเรารักหลวงพ่อ เราก็ต้องทำตามคำสอนของท่าน คำสอนนั้นคือธรรมะ เป็นที่พึ่งของเรา จะได้ระลึกถึงอาจารย์เป็นเครื่องเตือนสติในสิ่งที่บกพร่องในชีวิตเราต้องแก้
ต้องทำให้มันดีขึ้น ตั้งใจปฏิบัติด้วยปัญญามากๆ ทิฏฐิมานะที่มีอยู่ เราต้องรู้จักมัน ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นต่อไป ปล่อยวางความคิดความเห็นที่เรายึดถือและให้อยู่แบบเป็นผู้มีปัญญาในปัจจุบัน ให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างนี้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยก็ดี คนฝรั่งก็ดี ให้ตั้งใจว่าเราจะอยู่เพื่อธรรม เพื่อปฏิบัติธรรมต่อไป
จากหนังสือ : สายธรรมแห่งกัลยาณมิตร
(หนังสือที่ระลึกครบรอบ 20 ปี มรณภาพของหลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง) หน้าที่ 73-76
หลังทำภารกิจที่หลวงพ่อชามอบหมายมานานกว่า 34 ปี ที่ต่างประเทศ หลวงพ่อสุเมโธเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องปล่อยวางหน้าที่การบริหาร จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดอมราวดี กลับมาจำพรรษาอยู่ที่เมืองไทย ณ วัดป่ารัตนวัน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี 2554 สำหรับท่านแล้ว เมืองไทย คือสถานที่ที่ทำให้ได้พบกับครูบาอาจารย์ที่ประเสริฐ พบกับคำตอบของชีวิตที่ช่วยให้มีสติอยู่กับตัวเสมอ
"เราอยากอยู่แบบเรียบง่าย ธรรมดา สบายๆ อย่างพระผู้เฒ่า เพราะเราได้รับภาระหน้าที่มาตลอด ขออยู่แบบหลวงปู่บ้านนอกธรรมดาๆ ตอนแรกคิดจะบวชแค่ 2 ปีเท่านั้น ไม่คิดว่าจะอยู่มานานขนาดนี้ แม้ว่าจะบวชมานาน ก็ยังไม่เบื่อหน่ายในความเป็นพระ ยังยินดีทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า"
หลวงพ่อสุเมโธ มาถวายสักการะสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ก่อนเดินทางกลับอังกฤษ
ในที่สุด เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ) ท่านมีอายุ 87 ปี ก็ได้เดินทางกลับไปปฏิบัติศาสนกิจที่ วัดอมราวดี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นการถาวรแล้วตามคำร้องขอของญาติโยมชาวอังกฤษ
ประวัติหลวงพ่อสุเมโธ : ท่านเล่าเอง
เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษ อุปสมบทในปี พ.ศ. 2515 ก่อนวันวิสาขบูชาเพียงไม่กี่วัน โดยมีหลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2487 ท่านได้ใช้ชีวิตทางโลกอยู่หลายปี และได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยตนเอง จนกระทั่งเกิดความรู้สึกศรัทธาสนใจมากยิ่งขึ้น จึงได้เดินทางเพื่อแสวงบุญไปยังดินแดนที่พุทธศาสนา เคยรุ่งเรืองหลายแห่ง ในที่สุดก็ได้เดินทางเข้าสู่เมืองไทย และบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนธันวาคม 2514
หลังจากนั้นได้เดินทางมาศึกษาธรรมะกับพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และได้อุปสมบทเมื่อปี 2515 ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อชา อีก 5 ปี ก็ได้เดินทางกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี 2520 พร้อมกับได้ก่อตั้งวัดป่าเล็กๆ ขึ้นแห่งหนึ่งที่เกาะไวท์ ชื่อว่า วัดป่าสันติธรรม ซึ่งเป็นสาขาที่ 158 ของวัดหนองป่าพง ได้ดำเนินการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อยมา จนเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทยที่อังกฤษ รวมทั้งชาวอังกฤษ
ผลงานโดดเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อก็คือ การจัดตั้งองค์กรที่ชื่อว่า องคุลิมาล ขึ้น เพื่อเข้าไปให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการฝึกหัดปฏิบัติธรรมแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ ประเทศอังกฤษ ช่วงแรกท่านประสบปัญหามาก เนื่องจากทุกเรือนจำต่างปฏิเสธที่จะให้เข้าไปสอน เพราะเห็นว่าไม่น่าจะมีประโยชน์ และคงไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไรผู้ต้องขังได้ อีกอย่างคือ ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีพระสงฆ์ทางศาสนาพุทธรูปใดได้เข้าไปสอนในเรือนจำเลย
ท่านได้เพียรพยายามขอร้องชี้แจงถึงเหตุผลว่า การปฏิบัติธรรมนั้นจะช่วยลดปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ต้องขังได้มาก อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ต้องขังเอง รวมทั้งเรือนจำที่จะไม่ต้องมาคอย ตามแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพความกดดันทางจิตใจของผู้ต้องหา ในที่สุดท่านก็ได้รับอนุญาต ปรากฏว่าได้ผลเกินคาด จนปัจจุบันมีเรือนจำถึง 2 ใน 3 ของเรือนจำทั้งหมด ในประเทศอังกฤษ ได้นิมนต์ท่านได้เข้าไปสอน โดยมีทีมงานอาสาสมัคร ทั้งพระและฆราวาสอีกประมาณ 40 คน ช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง จนเป็นที่ชื่นชมของทางราชการอังกฤษมาก
ผลงานนี้ทำให้ หลวงพ่อเขมธมฺโม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบ็ธที่ 2 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2546 นับเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปแรก ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดแห่งสหราชอาณาจักร
พระอาจารย์ปสันโน เป็นพระภิกษุชาวแคนาดา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเพลงวิปัสสนา แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2517 ในพรรษาแรกนั่นเอง ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ชา สุภัทโท โดยการแนะนำของพระอุปัชฌาย์ของท่าน ได้พำนักที่ วัดหนองป่าพง และวัดสาขาอื่นๆ ตามโอกาสอันสมควร ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ และได้ปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลา 15 ปี
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2539 ในปี พ.ศ. 2540 พระอาจารย์ปสันโน ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่านานาชาติ เพื่อมาก่อตั้ง วัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาส ร่วมกับ พระอาจารย์อมโรภิกขุ พระอาจารย์ปสันโน ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระโพธิญาณวิเทศ" เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ท่านเล่าว่า "ไม่ได้ตั้งใจบวช เราเพียงแต่ตั้งใจจะศึกษาพระพุทธศาสนา ตั้งใจหาวิธีทำจิตให้สงบ เรามาเมืองไทยในฐานะนักท่องเที่ยว คือเราไม่รู้เลยว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา เราเป็นคนแคนาดาและเพิ่งจบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ และยังหนุ่มก็อยากหาประสบการณ์ เราก็ไปเที่ยวทางยุโรปไปหลายประเทศ กรีซ ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล ก็ไปกันเพื่อหาประสบการณ์ แต่ว่าเมื่อยิ่งมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีความรู้สึกอยากแสวงหาสิ่งที่เป็นแก่นในชีวิตบ้าง มันมีส่วนหนึ่งทีทำให้เราอยากแสวงหาอะไรที่เป็นสาระ
เราไปเช่าบ้านที่ทางเหนือของอินเดียแถบภูเขาหิมาลัย บ้านก็สวย สถานที่ก็สวย เป็นภูเขาสูงๆ อยู่ในสวนแอปเปิ้ล ใกล้ๆ ก็มีน้ำตก 2 แห่ง มีน้ำพุร้อน คือธรรมชาติก็สวยที่สุดที่เราเคยเจอมา คนที่เราอยู่ด้วยเราก็ชอบ แต่ก็ยังรู้สึกว่า เอ๊ะ อันนี้ ทำไมเรามีอะไรทุกอย่างทีเราเคยปรารถนา แต่ยังไม่มีความสุข ก็มีความรู้สึกเช่นนี้มาตลอด แต่ก็มีความรู้สึกค่อนข้างจะชัดเจนที่อินเดีย และรู้สึกมาตลอดว่า ความพร้อมทางด้านวัตถุที่รายล้อมตัวเรานั้น ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขในใจ มีความรู้สึกว่า ยังไงเราก็ต้องไปแสวงหาความสุขทางจิตใจมากกว่า ไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน
เคยได้อ่านหนังสือเกียวกับพระพุทธศาสนาในสมัยเราเป็นนักศึกษา ก็มีความสนใจมากพอสมควร แต่ไม่เคยพบครูบาอาจารย์ มาถึงเมืองไทยก็คงจะเบื่อในการท่องเที่ยวแล้ว แล้วก็พระพุทธศาสนาก็พร้อม คือหันไปทิศไหนก็เห็นวัด ชอบพุทธอยู่ตลอด ก็เลยทำให้เรา เอ๊อะ เราเมื่ออยู่ในทีนี้ เราควรจะถือโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวิธีฝึกสมาธิ ทำกัมมัฏฐาน ก็ได้เริ่มทำ เริ่มทำแล้วก็ทำในวัด อยู่ในวัด ศึกษาในวัด
พระที่อยู่ก็ชวนให้บวช คือเราปฏิบัติมาแล้ว เราฝึกมาแล้ว เราก็เห็นคุณค่าในการปฏิบัติ พระจึงได้ชวนบวช เราก็คิดว่า บวช เราก็ต้องอยู่เป็นนักบวชตลอดชีวิต พระจึงบอกว่า ในประเทศไทยนั้นเรามีประเพณี เราไม่จำเป็นที่จะต้องบวชอยู่ตลอดชีวิตหรอก จะบวชสักพรรษานึง สัก 3-4 เดือนก็ได้ เราก็คิด เอ๊อะ 3 เดือน 4 เดือน เราก็พอไหว คิดว่าจะไม่เกินกำลังของเรา เราก็น่าจะได้สิ่งที่ดีจากประสบการณ์อันนั้น ตอนที่เราบวชใหม่ๆ เราก็คิดแค่นั้น แต่พอบวชแล้ว ก็ยิ่งจะเห็นคุณค่าของการปฏิบัติ และเริ่มที่จะรับความสงบทางจิตใจ เมื่อได้เริ่มรับความสงบเราก็อยากจะปฏิบัติต่อ
ตอนนั้น ที่เราบวชก็บวชที่กรุงเทพฯ และก็ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อชา ซึ่งท่านเป็นพระที่อยู่ป่า และก็อยู่ต่างจังหวัด และปฏิบัติเคร่งครัด ระเบียบเรียบร้อย เราก็ฟังแล้วก็น่าสนใจ ก็ขึ้นไปกราบหลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง คำพูดแรกที่ท่านพูดออกมาว่า "เอ้อ คุณจะมาปฏิบัติกับเรา อยู่กับเรา ต้องอยู่อย่างน้อย 5 ปี" ทีแรกได้ยินถึงกับถอยเลย รู้สึกไม่ไหว แต่ว่าตอนนั้นทำให้เราได้พิจารณานะ เอ๊ะ เราเห็นตัวอย่างของหลวงพ่อชา เราก็ศรัทธา เห็นปฏิปทาของพระ เณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา เราก็ประทับใจและศรัทธา ก็อยากจะศึกษาอยากจะอยู่ด้วย ท่านก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และท่านก็มีเสน่ห์ในตัวท่าน คือท่านสอนก็ดึงใจของคนได้ ก็ทำให้เราก็ยิ่งศรัทธา ก็ยิ่งอยากจะอยู่ ก็เถียงในใจนานพอสมควร ก็เลยตกลง เอ้า 5 ปี ก็ 5 ปี
จากทีแรก ที่ตัดสินใจบวช ไม่คิดว่าจะนานเลย ไม่ได้คิดอะไร เพราะว่าคิดจะสึกอยู่แล้ว (หัวเราะ) คือเราไม่ได้ตั้งใจทีจะอยู่นาน เลยไม่ได้ฝืนใจ ความรู้สึกของอาตมาก็ปฏิบัติไป ยิ่งเห็นคุณค่า ก็ยิ่งพอใจที่จะอยู่ในเพศบรรพชิต เพราะเรารู้สึกว่า เอ้อ ทางนี้เป็นทางที่ถูกต้อง"
ท่านปสันโนอยู่กับหลวงพ่อชาได้ประมาณ 8 ปี หลวงพ่อก็ให้ท่านไปอยู่ที วัดป่านานาชาติ ก็อยู่นานพอสมควร ทั้งหมดท่านอยู่เมืองไทย 23 พรรษา ก่อนที่จะไปอเมริกา ได้ริเริ่มก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี ที่สหรัฐอเมริกา
ก่อนจะมาเป็นพระอาจารย์อมโร ภิกขุ ชื่อเดิมของท่านคือ เจเรมี ชาร์ลส์ จูเลียน ฮอร์เนอร์ ชีวิตของเจเรมี ฮอร์เนอร์ เปรียบเสมือนเม็ดบัวที่ก่อกำเนิด และบ่มเพาะตัวอยู่ที่ท่ามกลางความหนาวเหน็บของ ประเทศอังกฤษ แต่เพราะสภาพแวดล้อมไม่พร้อมให้ผลิบาน เจเรมีผู้ตั้งคำถามถึงปรัชญาศาสนาและอิสรภาพแห่งชีวิต จึงเป็นได้เพียงฮิปปี้หนุ่มผมยาว ดื่มเหล้าเคล้ากัญชาไปวันๆ ก่อนที่จะตกเป็นอาหารปลาและเต่า โชคดีที่วันหนึ่งเมล็ดบัวถูกพัดพามาตกลง ณ วัดป่านานาชาติ ที่นี่ เมล็ดบัวเริ่มแทงยอด แตกใบอ่อน ก่อนจะผลิบานเป็นดอกบัวงาม ณ แดนไกลในวันนี้
ตอนเด็กท่านต้องทำวัตรแบบคริสต์ และท่องคำสอนจากคัมภีร์ไบเบิ้ลที่โรงเรียนทุกวัน พอท่านอายุ 6-7ขวบก็เริ่มสงสัยว่า "จริงหรือเปล่าที่ถ้าเชื่อพระเยซู ใจจะบริสุทธิ์ แล้วทุกสิ่งจะดีเอง" บาทหลวงก็สอนให้ท่านอ้อนวอนแล้วพระเจ้าจะประทานให้ทุกสิ่ง ท่านดีใจมากในวันคริสต์มาส ท่านอยากได้รถดับเพลิงจึงสวดขอพระเจ้า แต่ไม่ได้ ท่านจึงสงสัยหรือพระเจ้าจะไม่มีจริง มีบทสวดอยู่บทหนึ่งขึ้นต้นว่า "I believe in god ฉันเชื่อในพระเจ้า" ท่านจึงถามบาทหลวงว่า ถ้าเราไม่เชื่อแต่สวดว่า "เชื่อ" ถือว่าโกหกจริงไหม นั่นเป็นคำถามของท่านที่มีความหมายต่อท่านมากในตอนนั้น แต่บาทหลวงกลับตอบว่า "Don't be cheeky อย่าลามปาม" และท่านถูกมองว่าท่านกลายเป็นเด็กมีปัญหา ทั้งที่นั้นเป็นคำถามสำคัญ แต่ถูกปัดทิ้ง ศรัทธาจึงเสียไปในครั้งนั้น
ท่านเล่าให้ฟังว่า "ตอนเด็กๆ อาตมาคิดว่าหัวใจของพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อาตมาก็ไม่ทราบว่าคืออะไร หลายศาสนามักอธิบายว่าพระเจ้าเป็นคน เป็น super person แต่อาตมารู้สึกอยู่ลึกๆว่าพระเจ้าเป็น something ไม่ใช่ someone ตอนนั้นคิดว่าปรมัตถธรรมนั้นมีแน่และสำคัญมาก แต่ไม่ใช่เป็นพระเจ้าที่เป็นบุคคลแบบในคัมภีร์ พระเจ้าไม่ได้เป็นผู้ชายอายุมาก ไม่ใช่คนตั้งกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติต่างๆ แต่จริงๆ แล้วพระเจ้าเป็นอย่างไร อาตมาไม่รู้และเมื่อไม่รู้ อาตมาอยากรู้ อยากจะถาม อยากจะเข้าใจ อยากจะเห็นสัจธรรมของชีวิต อยากเห็นปรมัตถธรรม แต่ตอนนั้นอาตมายังเด็กและยังไม่รู้หนทางที่จะพิจารณาให้เห็นความจริง"
ยุคของท่านเป็นยุคฮิปปี้ หนุ่มสาวในยุคนั้นส่วนใหญ่มีการคิดอิสระ (free thinking) คือจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง ปลดปล่อยตัวเองออกจากกฎหมาย กฎเกณฑ์ของสังคม และกฎระเบียบของครอบครัว
ตอนนั้นท่านก็เป็นฮิปปี้คนหนึ่ง เพราะชอบแนวคิด ชอบชีวิตไม่มีกฎ ไว้ผมยาวเฟี้อย ดื่มเหล้า สูบกัญชา ท่านอาจารย์อมโรเล่าถึงพวกฮิปปี้ให้ฟังว่า "พวกนี้ข้างนอกดูว่าอิสระเต็มที่ แต่ข้างในไม่ใช่เลย ฮิปปี้ไ่ม่เคยเป็นอิสระ จากเหล้า ยาเสพติด และเซ็ก แถมยังยึดติดในความคิดของตัวเองอีกด้วย"
ต่อมาท่านสงสัยว่า จิตใจของเราทำงานอย่างไร อยากมีความสงบความสบายใจ ท่านจึงเลือกศึกษา จิตวิทยา (psychology) และสรีรวิทยา (physiology) ที่ University of London แต่พอท่านเรียนๆ ไปก็เห็นว่าต่อให้ศึกษาจนเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา จิตใจก็ยังสับสนและเป็นทุกข์อยู่ดี เลยคิดว่าจิตวิทยาไม่สามารถช่วยให้ใจสงบ เรียนต่อไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่ท่านต้องการแสวงหาความสงบ ก็เพราะจิตท่านมันไม่สงบเอามากๆ มีห่วงมาก กลัวมาก รู้สึกไม่มั่นคง กังวลไปซะทุกอย่าง
ภายนอกไม่มีอะไร ครอบครัวท่านดีมาก บ้านท่านมีสวนดอกไม้ตรงประตูบ้านเหมือนสวรรค์ พ่อแม่มีเงินพอใช้ โรงเรียนก็ดี สังคมก็ดี ภายนอกจึงไม่มีอะไรให้ห่วงแต่ท่านกลับรู้สึกหน่วงๆ อยู่ภายใน นี่คือเหตุผลที่ท่านอยากเข้าใจจิตใจนี้ เพราะสงสัยทำไมจึงเป็นทุกข์ ทั้งที่ทุกอย่างก็มีพร้อมหมด แม้จะมีความสุข แต่มันสั้นๆ ดื่มสุราหรือสูบกัญชาก็มีความสุขแต่มันไม่นานและไม่เคยเต็ม ท่านเรียนดี เรียนจบก่อนเพื่อนท่านสองปี ได้เกียรตินิยมอันดับสอง เป็นนักกีฬาได้รางวัลมากมาย เพียบพร้อมไปหมด แต่ข้างในกลวง ..have a hole in a heart.. ไม่พอ ไม่เคยพอใจ ยากที่จะเข้าใจ
"พี่สาวอาตมาเป็นคนเรียบร้อย แต่อาตมาเป็นคนสุดโต่ง เรียกว่าคนอื่นทำ 100 อาตมาทำ 120 ถ้าลงมือทำอะไร อาตมาก็จะเป็นมากกว่าคนอื่น ตอนแรกอาตมาดื่มสุราหรือสูบกัญชาเพื่อจะมีความสุข ปาร์ตี้สนุกไปเรื่อย ต่อมาก็ดื่มและสูบเพื่อปิดประตูความรู้สึก หยุดคิด จะได้ลืมอะไรๆ ไปให้หมด"
โชคดีที่วันหนึ่งได้เห็นว่า ถ้าใช้ชีวิตอย่างนี้คงตายก่อนอายุยี่สิบห้า ถ้าไม่เปลี่ยนเส้นทางอายุคงจะสั้น "ในช่วงที่ท่านเป็นนักศึกษา ได้มีโอกาสฟังบรรยายของ เทรเวอร์ สเตนคอฟ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) อีกที เทรเวอร์อธิบายเรื่องกรรมและการอบรมจิตได้น่าสนใจมาก และเหมือนเขาจะมีฌานหยั่งรู้และเข้าใจคน วันหนึ่งเขาบอกแก่ท่านว่า ”ผมไม่รู้ว่านี่คือข่าวดีหรือข่าวร้าย แต่คุณไม่มีทางพบความสุขในชีวิตทางโลกได้หรอก และ "ชะตาชีวิตของเธออยู่ที่ตอนเหนือของอินเดีย” พูดจบเขาก็ไม่อธิบายอะไรอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของท่านมาก
ซึ่งคงจะจริง เพราะที่ผ่านมาท่านไม่สนใจความสำเร็จทางโลกเลย แม้ตอนเรียนจะมีโอกาสทำปริญญาโทและเอก เมื่อเรียนจบแล้วก็สามารถเข้าทำงานในธุรกิจ จิเวลลี่ของพ่อทูนหัวได้เลย นอกจากนี้ท่านยังเขียนหนังสือและแสดงละคร เรียกว่ามีช่องทางให้เลือกในชีวิตมากมาย ประตูหลายบานต่างเปิดรับ แต่สุดท้ายท่านกลับไม่ชอบไม่สนใจ ไม่เอาอะไรกับเส้นทางโลกเลย และท่านชอบอ่านวรรณคดีเกี่ยวกับจิตวิญญาณอยู่แล้ว เช่น ปรัชญาอินเดีย จีน จึงพอเข้าใจว่าปรัชญาทางตะวันออกเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และใกล้ชิดธรรมชาติ เมื่อทั้งสองเหตุมารวมกันท่านจึงตัดสินใจจะเดินทางไปตะวันออก ลองไปแบบไม่มีจุดหมาย ดูซิว่าจะค้นพบอะไรบ้าง
และในที่สุด ท่านก็ได้มาพบเจอกับวิถีชีวิต ในร่มเงาพุทธศาสนา เป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งที่ท่านได้พบว่า ธรรมะในพุทธศาสนา ได้เริ่มหยั่งรากลงไปในใจของท่าน ในช่วงเวลาที่ได้ทดลองปฏิบัติธรรมที่วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านกล่าวถึงช่วงชีวิตในตอนนั้นว่า
“ศรัทธาที่ว่านี้ ไม่ได้เกิดจากการอ่านหนังสือ หรือศึกษาแนวคิดที่เป็นนามธรรม แต่เป็นศรัทธาที่เกิดจากการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริง อาตมาศรัทธาวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและงดงามของนักบวชเหล่านั้น และคิดทันทีว่า ไม่ว่าจะต้องแลกกับอะไร เราจะขอใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนเหล่านี้ เพราะวิถีที่ท่านเป็นคือวิถีที่เราอยากเป็นมาโดยตลอด”
ฮิปปี้เจเรมี พักอยู่ที่ วัดป่านานาชาติ เพียง 3 สัปดาห์ ก่อนตัดสินใจบวชเป็นปะขาว มีโอกาสทำหน้าที่อุปัฏฐากหลวงพ่อชา ขณะที่ท่านจำพรรษาที่วัดป่านานาชาติ หลังบวชเป็นอนาคาริกอยู่ 6 เดือน ปะขาวเจเรมีได้รับอนุญาตให้บวชสามเณร และในอีก 9 เดือนต่อมา สามเณรเจเรมีเขียนจดหมายถึงโยมพ่อ โยมแม่เพื่อขออนุญาตบวช ก่อนเข้าอุปสมบทที่วัดหนองป่าพง มีพระโพธิญาณเถระ (หลวงพ่อชา) เป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อมโรภิกขุ" (เมื่อ พ.ศ. 2522) ปัจจุบันท่านได้รับดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดอมราวดี สาขาวัดหนองป่าพง ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
วัดอมราวดี : วิถีพระวัดป่าในโลกตะวันตก | พื้นที่ชีวิต
พระอาจารย์อมโร ได้รับแต่งตั้ง เป็น พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ "พระวิเทศพุทธิคุณ" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558
เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษ ท่านอุปสมบทในปี พ.ศ. 2523 ที่ วัดหนองป่าพง โดยมีหลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันพำนักอยู่ที่สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี ที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
นามเดิมของท่าน ฌอน ชิเวอร์ตัน เป็นชาวอังกฤษ เมื่อบวชพระแล้วได้รับฉายาจาก พระโพธิญาณเถระ (หลวงพ่อชา) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ว่า "ชยสาโร" ท่านอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์มากว่า 33 ปีแล้ว
ชีวิตท่านเกิดมาเพื่อสิ่งนี้โดยตรง เพราะเมื่อคราวหนึ่งบิดาของท่าน ต้องการให้สอบชิงทุนเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อของประเทศอังกฤษ แต่ท่านไม่ปรารถนาสิ่งนั้น กลับเฝ้าคิดเสมอว่าคนเราเกิดมาทำไม เกิดแล้วอะไรมันคือสิ่งที่สูงสุดของการที่ได้มาเป็นมนุษย์ ท่านก็หาหนังสือหลายเล่มมาอ่าน จนกระทั่งได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ "พระพุทธศาสนา" จึงเริ่มเข้าใจว่า "สัจธรรมคือความจริง"
ท่านจึงได้ออกจากบ้าน ร่อนเร่ ไปหาประสบการณ์ในต่างประเทศ ทั้งในอิหร่าน ซึ่งลำบากมาก หรือแม้แต่ไปฝึกตนเป็นฤๅษีที่อินเดีย ท่านก็เคยไปมาแล้ว ท่านใช้เวลาค้นหาสิ่งที่เรียกว่า สัจธรรม ตั้งแต่อายุ 17 ปี จนกระทั่งเมื่อครบ 2 ปีผ่านไป ท่านถึงได้กลับประเทศอังกฤษ และได้มีโอกาสพบกับ พระอาจารย์สุเมโธ พระฝรั่งลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา เมื่อปี 2521 จึงเริ่มศึกษาธรรมะ และถือศีล 10 กับพระอาจารย์สุเมโธ จากนั้นจึงเดินทางมาที่ประเทศไทยเพื่อจะศึกษาธรรมะให้ลึกซึ้งกับหลวงพ่อชา
แม้ว่าจะผ่านการฝึกกับพระอาจารย์สุเมโธมาแล้ว แต่หลวงพ่อชาท่านก็ไม่ยอมบวชให้ ท่านให้มาเรียนรู้เพิ่มเติมอีก และเมื่อท่านถามว่า "อยากบวชไหม" ถ้าตอบว่า "อยากบวช" หลวงพ่อจะไม่บวชให้ แต่ถ้าตอบว่า "แล้วแต่หลวงพ่อจะเห็นสมควร" หลวงพ่อชาท่านก็จะบวชให้ กระทั่งในปี พ.ศ. 2523 หลวงพ่อชาท่านจึงได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบวชให้เอง
แม้บวชแล้วท่านก็ยังต้องฝึกภาษาไทย ทั้งการพูด ทั้งการอ่าน และการเขียน แถมเขียนหนังสือได้สวยมาก ต้องบอกว่า เวลาฟังท่านบรรยายธรรมแล้ว ผมมักจะเกิดความรู้สึกแปลกๆ บางอย่างขึ้นมา ทั้งๆ ที่สิ่งที่ท่านบรรยายนั้นไม่ได้มีศัพท์แสง หรือคำบาลีในพระไตรปิฎกอะไรทั้งสิ้น แต่ฟังแล้วมันจับใจ มันกินลึกไปถึงจิตวิญญาณอย่างมาก อาจจะเป็นไปได้ว่า เพราะท่านใช้หัวใจพูด ไม่ได้ใช้ตำราพูด
หัวใจที่ผ่านการปฏิบัติธรรมมาอย่างเนิ่นนาน หัวใจที่ได้รับการอบรมมามาก บางครั้งคราวดูเหมือนจะอ่านใจผู้คนทั้งหลายออกด้วยซ้ำไป มีคนเคยถามท่านแบบตรงๆ ซึ่งหน้าว่า "ท่านเคยเห็นเทวดาไหม" ท่านมองแล้วเอามือชี้ไปที่ญาติโยมที่อยู่ในศาลา พร้อมกับพูดขึ้นว่า "นี่ไงๆ เทวดาทั้งนั้น... เห็นบ่อยเลยเทวดาแบบนี้" นี่คือ ปัญญาแห่งธรรม
นอกจากนี้ ท่านยังทำโครงการมากมายเพื่อสนับสนุนเยาวชนไทย และคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ในปัจจุบัน ท่านเป็นที่ปรึกษาให้ โรงเรียนปัญญาประทีป เป็นโรงเรียนวิถีพุทธแบบโรงเรียนประจำ อยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นโรงเรียนที่ผู้ปกครองยุคใหม่ปรารถนาจะให้ลูกเข้ามาเล่าเรียนศึกษามากที่สุด แต่ทว่ารับจำนวนจำกัด เพราะที่นี่นอกจากสอนในเชิงวิชาการอย่างดีแล้ว ยังสอนในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรมด้วย
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์ พระชยสาโรภิกขุ (ฌอน ซิเวอร์ตัน) สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี ปากช่อง นครราชสีมา เป็น พระราชพัชรมานิต วิ. และเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า พระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) สัญชาติอังกฤษ สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย แตกฉานในพระธรรมคำสอน มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ธรรมะทั้งในประเทศไทย และนานาชาติ กับเคยดำรงตำแหน่ง "เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ" มาก่อน ถือเป็นผู้ทำคุณประโยชน์เป็นพิเศษต่อประเทศไทยและพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชพัชรมานิต ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2562 ประกอบกับพระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) ได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาแปลงสัญชาติเป็นไทย
โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) แปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2563
[ อ่านประกาศใน ราชกืจจานุเบกษา 9 มีนาคม 2563 ]
ใครที่มีโอกาสเดินทางไป อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไปกราบท่านได้ที่ สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี แล้วจะรู้สึกปีติในหัวใจในเวลาที่ได้กราบพระสงฆ์แท้ๆ ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
Perspective : สนทนาธรรมกับพระอาจารย์ชยสาโร
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมพวกเราชาวต่างชาติถึงมาที่นี่ ประเทศไทย เมืองแห่งพุทธศาสนา...
ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4
พระครูวิเวกพุทธกิจ หรือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย ท่านเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในทางสมถะวิปัสสนา มีความเพียรเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยม กิริยามารยาทเรียบร้อย สุขุม พูดน้อย และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางนั้นด้วย เป็นผู้ใฝ่ใจในธุดงควัตรหนักแน่นในพระธรรมวินัย ชอบวิเวกและไม่ติดถิ่นที่อยู่ เดินธุดงค์ไปหาสถานที่เจริญสมณธรรมตามชายป่าดงพงไพรภูเขาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นามเดิมชื่อ เสาร์ บิดาชื่อ พ่อทา มารดาชื่อ แม่โม่ นามสกุล พันธ์สุรี ท่านเป็นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง 5 คน ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 ณ บ้านข่าโคม เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล ประเทษราช หรือเดิมรู้จักกันในชื่อ บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน ในปัจจุบันคือ บ้านข่าโคม ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ปี พ.ศ. 2417 เมื่ออายุ 15 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดใต้ เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล ประเทษราช ปัจจุบันคือ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านมีความวิริยอุสาหะขยันขันแข็ง ตั้งใจทำกิจการงานของวัด ทั้งการท่องบ่นสาธยายมนต์ เรียนมูลน้อย มูลใหญ่ มูลสังกัจจายน์ ศึกษาทั้งการอ่านการเขียนอักษร ไทยน้อย ไทยใหญ่ และอักษระขอม จนชำนาญคล่องแคล่วทุกอย่าง
ปี พ.ศ. 2422 เมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดใต้ เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล ประเทษราช ปัจจุบันคือ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และพำนักอยู่ที่วัดใต้ ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และเมื่อพรรษา 10 ได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้เป็น ญาคู คือครูสอนหมู่คณะทั้งพระภิกษุและฆราวาส ชาวบ้านเรียกท่านว่า ญาคูเสาร์
ต่อมา หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) พระเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย สำนักวัดศรีทอง (ปัจจุบัน วัดศรีอุบลรัตนาราม) และได้ขอ ทัฬหิกรรม ญัตติบวชใหม่เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุตินิกาย ณ อุโบสถวัดศรีทอง ปัจจุบันคือ วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูทา โชติปาโล ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูสีทันดรคณาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทั้งนี้ยังได้นำคณะสงฆ์พระภิกษุสามเณรใน วัดใต้ ทั้งหมด ญัตติกรรม เป็นคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ด้วยเหตุนี้ วัดใต้ หรือ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ จึงกลายเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายนับแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจาก หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ญัตติเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตแล้ว ท่านได้ศึกษาธรรมและข้อวัตรปฏิบัติจาก ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) พระเถราจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น และได้รีบเร่งประกอบความเพียรในด้านวิปัสสนาธุระ ยึดมั่นในหลักธุดงควัตร 13 บำเพ็ญเพียรสมณธรรม
ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2435 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้สร้างสำนักสงฆ์ วัดเลียบ ขึ้น ซึ่งเดิมเป็นบริเวณป่าด้านหน้าวัดใต้ อันเป็นที่สงบเงียบเหมาะสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนา ได้รับพระทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ 87/303 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2434 ตรงกับ ร.ศ. 115 อันเป็นปีที่ 29 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้สร้าง พระพุทธจอมเมือง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ต่อมา หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกธุงค์ไปพำนักปักกลดที่กุดเม็ก บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เทศนาสั่งสอน พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สมัยยังเป็นฆราวาส จนเกิดศรัทธาเลื่อมใสและได้มอบตัวเป็นศิษย์ อยู่ฝึกสมาธิกัมมัฏฐานและติดตามอุปัฏฐากรับใช้ท่าน
ปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ขณะนั้นบวชเป็นพระภิกษุได้ 14 พรรษา ก็ได้นำศิษย์เอกจากบ้านคำบง ที่ชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุต ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยมี พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย ญาณสโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ได้รับสมณฉายาว่า ภูริทตฺโต หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ไปพำนักฝึกอบรมด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี และจุดนี้เป็นความยิ่งใหญ่ของวงศ์พระกรรมฐานตราบจนถึงปัจจุบัน วงศ์พระกรรมฐานจึงขนานนามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ว่า พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน
ปี พ.ศ. 2440 หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาศิษย์ของท่านคือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งยังเป็นพระนวกะบวชได้ 4 พรรษา ออกเดินธุดงค์จากวัดเลียบ ไปปฏิบัติภาวนาที่ภูหล่น ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียมในขณะนั้น ปัจจุบันคือ วัดภูหล่น อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับฝั่งประเทศลาว และได้ออกธุดงค์ไปตามลำแม่น้ำโขงทั้งฝั่งประเทศไทยและประเทศลาว
ปี พ.ศ. 2443 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ ต่อมาก็คือ พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ได้มาพำนักจำพรรษา ณ พระธาตุพนม ซึ่งพระธาตุพนมในสมัยก่อน ประชาชนไม่รู้ถึงความสำคัญจึงไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก เมื่อคณะของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล มาพำนักจำพรรษา ได้บอกให้ชาวบ้านญาติโยมทราบว่า พระธาตุพนม องค์นี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อชาวบ้านได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงช่วยกันทำความสะอาดบริเวณพระธาตุพนม ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน 3 ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา และกาลต่อมาจึงได้มีการบูรณะขึ้นกลายเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของภาคอีสาน และประเทศไทย ปัจจุบันคือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ปี พ.ศ. 2459 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักจำพรรษาที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ตำบลหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ด้วย วันหนึ่งหลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ในที่สงัดองค์เดียว ท่านพิจารณาถึงอริยสัจ ได้รู้ได้เห็นตามความเป็นจริง ได้ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด จวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ จึงได้บอกกับท่านพระอาจารย์มั่นว่า เราได้เลิกการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ยินดังนั้นก็เกิดปีติเป็นอย่างมากและได้ทราบทางวาระจิตว่าหลวงปู่เสาร์พบวิมุตติธรรมแน่แล้วในอัตภาพนี้ หลังจากนั้นหลวงปู่ใหญ่เสาร์ก็ได้ธุดงค์วิเวกไปตามเขตจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2479 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ปรารภถึงการเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี คณะศิษย์ทั้งหลายจึงได้จัดประชุมคณะสงฆ์และร่วมทำบุญในวันมาฆบูชา ณ วัดป่าอ้อมแก้ว หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นวัดที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2473 ซึ่งการประชุมคณะสงฆ์ครั้งนี้ถือเป็นภารกิจสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ที่จังหวัดนครพนม และถือเป็นการให้โอวาทครั้งสุดท้ายแก่คณะศิษย์ ที่ไม่ได้เดินทางติดตามไปที่จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการประชุมพระธุดงค์กรรมฐานครั้งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น
คณะศิษย์ได้เดินทางติดตาม หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ไปพำนักที่จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนั้นมีพระภิกษุสามเณรไม่น้อยกว่า 70-80 รูป หลวงปู่ใหญ่เสาร์จึงแบ่งคณะศิษย์ออกเป็นหลายกลุ่มหลายคณะ โดยมีศิษย์อาวุโสรับเป็นหัวหน้าแต่ละคณะ พร้อมทั้งกำหนดหมู่บ้านต่างๆ ที่แต่ละคณะจะไปพำนักเพื่อโปรดญาติโยมชาวเมืองอุบลราชธานี เช่น หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ไปพำนักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ศิษย์อาวุโสฝ่ายมหานิกาย ไปตั้งวัดจำพรรษาอยู่ที่บ้านชีทวน พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปุญโญ ไปอยู่บ้านท่าศาลา พระอาจารย์ทอง อโสโก ไปอยู่บ้านสวนงัว และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ไปอยู่บ้านกุดแห่ ซึ่งเป็นบ้านของท่าน เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2480 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์เป็น พระพรหมมุนี และดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร และ เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ด้วย ได้ขอให้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พิจารณาสร้างวัดป่ากรรมฐานขึ้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ด้วยปรากฏว่า ญาติพี่น้องของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้อพยพมาจากบ้านแคน ดอนมดแดง มาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ไปตั้งวัดป่า เพื่ออบรมกรรมฐานให้ลูกหลานชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร เพื่อจะได้รู้และเข้าใจในการศึกษาปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล จึงได้ธุดงค์เดินทางไปยังอำเภอพิบูลมังสาหาร และได้มอบหมายให้ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน และ พระอาจารย์เสงี่ยม -ไม่ทราบฉายา- ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมอบรมจิตภาวนาที่อำเภอพิบูลมังสาหาร บริเวณ ป่าช้าโคกภูดิน ซึ่งเป็นเนินภูเขาสูง โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) และชาวอำเภอพิบูลมังสาหารได้ให้การอุปถัมภ์สนับสนุน ชาวบ้านเรียกสำนักแห่งนี้ว่า วัดป่าภูดิน หรือ วัดป่าภูเขาแก้ว ซึ่งในปัจจุบันก็คือ วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ปี พ.ศ. 2481 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์ดี ฉนฺโน และคณะศิษย์ชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร ได้ธุดงค์สำรวจเกาะแก่งน้อยใหญ่ในลำแม่น้ำมูลทางตอนใต้ของเมืองพิบูลมังสาหาร จนมาถึงเกาะดอนธาตุจึงได้ขึ้นพำนักปักกลดที่เกาะแห่งนี้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ปรารภว่าอยากสร้าง เกาะดอนธาตุ แห่งนี้ขึ้นเป็นวัดป่ากรรมฐานเพราะมีความเหมาะสม จึงมอบหมายให้ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน และคณะศรัทธาญาติโยมชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร รับหน้าที่ดูแลการสร้างวัดและเสนาสนะขึ้น
ปี พ.ศ. 2482 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้กำหนดเอาตรงลานบริเวณศาลาชั่วคราวในขณะนั้น เป็นที่สร้าง พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) โดยให้เหตุผลว่าตรงที่กำหนดจะสร้างพระนั้น เป็นพระธาตุอังคารพระบรมศาสดาแต่เดิมที่ทรุดลงไป และพังทลายแล้ว จึงได้ให้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ครอบเอาไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับกราบไหว้บูชาต่อไป โดยมี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นช่างปั้น พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ในการนี้ และต่อมา หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ตั้งชื่อ เกาะดอนธาตุ แห่งนี้ว่า วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นเรียกสั้นๆ ว่า วัดเกาะแก้ว ต่อมากรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น วัดดอนธาตุ ดังปรากฏในปัจจุบัน
ซึ่งในช่วงปัจฉิมวัยขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้เป็นวัดสุดท้ายก่อนละสังขาร
เมื่อออกพรรษาทุกปี หลวงปู่เสาร์ จะพาคณะสงฆ์ออกธุดงค์ลงไปทางใต้นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศ สปป.ลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีกทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2483 มีอยู่วันหนึ่งตอนบ่าย หลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมา โฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ รวงผึ้งนั้นได้ขาดตกลงมาใกล้ๆ กับที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รุมกัดต่อยหลวงปู่หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลด พวกมันจึงพากันบินหนีไป
ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่เสาร์ ก็อาพาธมาโดยตลอด พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้ไปวิเวกทางด้านปากเซ หลี่ผี จำปาศักดิ์ แต่ไปคราวนี้หลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก ท่านจึงสั่งให้หลวงปู่บัวพา และคณะศิษย์นำท่านกลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศ สปป.ลาว โดยมาทางเรือ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ท่านนอนบนแคร่ในเรือประทุน หลวงปู่เสาร์หลับตานิ่งมาตลอด เพราะตอนนั้นท่านกำลังอาพาธหนัก อันเกิดจากผึ้งที่ได้ต่อยท่านตอนที่อยู่จำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้ว ท่านลืมตาขึ้นพูดว่า
ถึงแล้วใช่ไหม ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น "
หลวงปู่บัวพาจึงได้นำหลวงปู่เสาร์เข้าไปในอุโบสถ แล้วหลวงปู่เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฏิมาใส่ แล้วเตรียมตัวเข้านั่งสมาธิ ท่านกราบพระ 3 ครั้ง พอกราบครั้งที่ 3 ท่านนิ่งงันโดยไม่ขยับเขยื้อน นานเท่านานจนผิดสังเกต หลวงปู่บัวพา และหลวงปู่เจี๊ยะ จนฺโท ซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ เอามือมาแตะที่จมูกท่าน ปรากฏว่าท่านหมดลมหายใจแล้ว ไม่ทราบว่าหลวงปู่เสาร์ท่านมรณภาพไปเวลาใด แต่พอสันนิษฐานได้ว่า ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบ ท่านจึงพูดขึ้นกับหมู่คณะ (ซึ่งตอนนั้นมีพระเถระผู้ใหญ่ และพระเณรมานั่งดูอาการป่วยของหลวงปู่เสาร์) ว่า "หลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว"
ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่เสาร์ ก็แพร่กระจายไปเรื่อยๆ จนทางบ้านเมือง ญาติโยม พระเณร ชาวนครจำปาศักดิ์ขอทำบุญอยู่ 3 วัน เพื่อบูชาคุณขององค์หลวงปู่ พอวันที่ 4 บรรดาพระเถระ ญาติโยมชาวอุบลฯ จึงได้มาอัญเชิญศพขององค์หลวงปู่ไปวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์เคยอยู่มาก่อน ปีที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพคือปี พ.ศ. 2484 (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2484อายุ 82 ปี 3 เดือน 1 วัน)
ออกพรรษาแล้ว ปี พ.ศ. 2486 จึงได้จัดพิธีถวายเพลิงศพของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในงานนี้หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นประธาน แต่ผู้ดำเนินงานคือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ในวันถวายเพลิงศพนอกจากศพของหลวงปู่เสาร์แล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีก 3 รูป ที่มีการฌาปนกิจในวันเดียวกันคือ 1. ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตโสโน) 2. พระมหารัฐ รฏฐปาโล 3. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) รวมเป็น 4 กับองค์หลวงปู่เสาร์ วันเช่นนี้นี่จึงเป็นวันที่มีการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี
แต่นี้จะไกลห่าง เหลือเพียงร่างร้างชีวา สุดสิ้นแห่งสังขาร สลายลับดับตามกาล
สิ้นชีพก็สิ้นห่วง บรรลุล่วงห้วงนิพพาน สุขใดไหนจักปาน เปรียบสุขนี้ไม่มีเลย... "
จากหนังสือฐานิโยวาท
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ในพระอุโบสถ วัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประกอบพิธีฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486
...ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าประโยชน์...
…เขาสิเชื่อความดีที่เฮาเฮ็ด หลายกั่วคำเว้าที่เฮาสอน...
(เขาจะเชื่อความดีที่เราทำ มากกว่าคำพูดที่เราสอน)— หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)