foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

LP Dul header

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือ พระราชวุฒาจารย์ เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวสุรินทร์ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระผู้เลิศทางธุดงควัตร อาจารย์ใหญ่สายพระป่า ในอดีต

LP Dul 01ชาติกำเนิด

หลวงปู่ดูลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ เมื่อวันอังคารแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ตรงกับวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2430 เป็นปีที่ 20 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โยมบิดาของท่านชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก หลวงปู่มีพี่น้อง 5 คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ กลิ้ง คนที่สองคือตัวหลวงปู่เอง ชื่อ ดูลย์ คนที่สามเป็นชายชื่อ เคน คนที่สี่และห้าเป็นหญิงชื่อ รัตน์ และ ทอง พี่น้องทั้ง 4 คนของท่านมีชีวิตจนถึงวัยชรา และทุกคนเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปี มีเพียงหลวงปู่เท่านั้นที่ดำรงอายุขัยอยู่จนถึง 96 ปี

ภายหลังท่านได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล “เกษมสินธุ์” ด้วยเหตุที่นายพร้อม หลานชายของท่านได้ขอให้ตั้งนามสกุลให้ ท่านจึงตั้งว่า “เกษมสินธุ์” แล้วท่านก็เลยได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลนี้ด้วย

ในวัยเด็ก การศึกษาเล่าเรียนของพระอาจารย์ดูลย์ อาศัยวัดเป็นสถานศึกษา โดยมีพระในวัดเป็นผู้อบรมสั่งสอน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับการศึกษาในสมัยนั้น วิชาที่เล่าเรียนก็ประกอบไปด้วย การเรียนการสอนเรื่องทางโลก ที่พอให้อ่านออกเขียนได้ และศีลธรรมจรรยามารยาทอันควรประพฤติปฏิบัติ โดยจะมุ่งเน้นที่การฝึกอบรมจิตใจเป็นหลักพื้นฐาน เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจของคน ส่วนในเรื่องของวิชาการนั้นจะมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเอาเสียเลย เพราะในสมัยนั้นระบบการศึกษาของประเทศยังไม่ดีพอ เด็กชายดูลย์ก็ได้เจริญเติบโตและได้รับการศึกษาอบรมมาแบบนั้นเช่นกัน

เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม นายดูลย์ได้เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของครอบครัว ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่บุตรคนหัวปี แต่ก็ถือว่าท่านเป็นลูกชายคนโตของบ้าน ในช่วงแรกท่านก็ช่วยพี่สาวทำงานบ้าน ต่อเมื่อโตขึ้นต้องแบกรับภาระมากมายทั้งในบ้านและนอกบ้าน ตั้งแต่หาบน้ำ ตำข้าว หุงข้าว เลี้ยงดูน้องๆ และช่วยบิดามารดาทำไร่ไถนา เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น ซึ่งท่านก็สามารถทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องแต่ประการใด

ในบรรดาคนหนุ่มรุ่นเดียวกันแห่งบ้านปราสาท นายดูลย์จัดว่าเป็นหนุ่มหน้าตาดี ได้เปรียบเพื่อนๆ ทั้งด้านรูปสมบัติที่นอกจากจะมีร่างกายแข็งแรง และสุขภาพอนามัยดีแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีผิวพรรณหมดจด รูปร่างโปร่ง ได้สัดส่วนสมทรง น่ารักน่าเอ็นดู และมีท่าทางคล่องแคล่ว ว่องไว นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้มีอุปนิสัยที่อ่อนโยนเยือกเย็น ความประพฤติเรียบร้อยซึ่งติดมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงได้รับคำยกย่องชมเชยจากบรรดาญาติพี่น้องและผู้ที่ได้พบเห็นโดยทั่วไป

LP Dul 06

ด้วยเหตุที่ท่านมีรูปร่างดังกล่าวนั้นเอง พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) เจ้าเมืองสุรินทร์ในสมัยนั้น จึงมีบัญชาให้นำตัวนายดูลย์มาร่วมแสดงละครนอกโดยให้เล่นเป็นตัวนางเอก พระอาจารย์ดูลย์เมื่อครั้งรับบทเป็นนางเอกละครนั้น เป็นที่ชื่นชอบของผู้ดูมาก ละครที่ท่านแสดงมีหลายเรื่อง อาทิ ไชยเชษฐ์ จันทรกุมาร ลักษณวงศ์ เป็นต้น อยู่กับคณะละครถึง 4 ปีเศษ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพที่น่าลุ่มหลง และเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นนักแสดงที่ชื่นชอบของผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่ท่านมิได้หลงใหลไปกับสิ่งนั้น กลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงเข้าหาพระศาสนา และชอบเข้าวัดฟังธรรม ซึ่งแตกต่างจากเด็กหนุ่มทั่วๆ ไป

อุปสมบท

เนื่องจากมีจิตใจฝักใฝ่โน้มเอียงไปในทางธรรม ทำให้นายดูลย์คิดจะออกบวชมาหลายครั้ง แต่ด้วยความที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว และบิดามารดาก็ไม่ยินยอมให้บวชเรียนอย่างง่ายดายนัก ในครั้งแรก เมื่อคิดจะบวชจึงถูกคัดค้านจากพ่อแดงด้วยเหตุผลว่า "เมื่อท่านไปบวชแล้ว ครอบครัวอาจจะต้องลำบาก เพราะท่านเป็นบุตรชายคนโต เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว"

LP Dul 05

นายดูลย์เฝ้าอ้อนวอนบิดามารดาอยู่หลายครั้ง แต่ก็ถูกคัดค้านเรื่อยมา แต่นายดูลย์ก็ยังมิได้ละความคิดในการบวชเรียนแต่ประการใด จนในที่สุดบิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ จึงยินยอมอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนา แต่มีข้อแม้ว่า "เมื่อบวชแล้วต้องไม่สึก หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาสเสียก่อน"

ครั้นเมื่อนายดูลย์ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวช ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 22 ปี ตระกูลเจ้าเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่าน ได้เป็นผู้จัดแจงเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2435 นายดูลย์ก็เข้าพิธีอุปสมบทก่อนเข้าพรรษา ณ พัทธสีมาวัดจุมพลสุทธาวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในกำแพงเมืองรอบนอก ของจังหวัดสุรินทร์ในสมัยนั้น โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อตุโล” อันหมายถึง ผู้ไม่มีใครเทียบได้ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หลวงปู่ดูลย์ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่ดูลย์จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรก ของจังหวัดอุบลราชธานี และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้

เนื่องจากวัดสุปัฏนาราม เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตินิกาย หลวงปู่ดูลย์จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกายใน พ.ศ. 2461วัดสุปัฏนาราม โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในพรรษาต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียวจากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติ แล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่าหลวงปู่ดูลย์เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก

LP Dul 02

ครั้นออกพรรษา เมื่อพระอาจารย์มั่นออกจาริกธุดงค์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์ดูลย์ได้ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปด้วยทุกหนทุกแห่งตลอดกาลออกพรรษานั้น ในการร่วมออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นในพรรษานี้ยังไม่มีอะไรมาก เพียงแต่เป็นการฝึกใช้ชีวิตแบบพระป่า และใช้หลักความรู้ในการฝึกปฏิบัติเบื้องต้น เพื่อสร้างฐานความรู้ให้มั่นคง พระอาจารย์ดูลย์ผู้มีความตั้งใจแน่วแน่และจริงจัง ก็มิได้ปล่อยเวลาในพรรษานั้นให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้เร่งการฝึกปฏิบัติความเพียรอย่างเคร่งครัด โดยมีความเชื่อมั่นและศรัทธาที่จะเกิดขึ้นในตัวของท่านอย่างแน่นอน

อนึ่ง การที่ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติในครั้งนั้น ก็ยิ่งทำให้ พระอาจารย์ดูลย์ มีความเลื่อมใสในทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2463 พระอาจารย์ดูลย์และสหธรรมิกอีก 5 รูป คือ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม , พระอาจารย์บุญ , พระอาจารย์สีเทา และพระอาจารย์หนู จึงได้แยกออกจากคณะของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดินธุดงค์แสวงหาที่สงบวิเวกเพื่อบำเพ็ญเพียรในกาลเข้าพรรษาได้เดินธุดงค์เลียบเทือกเขาภูพานมาจนกระทั่งถึง ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นป่ารกชัฏ ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย และยุงก้นป่องอันเป็นพาหะของไข้มาลาเรีย

และในระหว่างพรรษานั้นคณะของพระอาจารย์ดูลย์ ยกเว้นพระอารย์หนูรูปเดียว ต่างก็เป็นไข้มาลาเรีย ได้รับความเจ็บปวด และทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ยาที่จะรักษาก็ไม่มี จนกระทั่งพระรูปหนึ่งมรณภาพไปต่อหน้าต่อตา ยังความสลดสังเวชให้กับผู้ที่ยังคงอยู่เป็นอย่างยิ่ง

แต่ความตายก็มิอาจทำให้พระทั้ง 4 รูป ที่เหลืออยู่เกิดความหวั่นไหวรวนเร พระอาจารย์ดูลย์เมื่อประสบชะตากรรมเช่นนี้ ท่านได้อาศัยความสำเหนียกรู้เผชิญกับความตายอย่างเยือกเย็น และเกิดความคิดในใจว่า สิ่งที่จะพึ่งได้ในยามนี้มีแต่อำนาจพุทธคุณเท่านั้น แม้ท่านจะได้รับพิษไข้อย่างแสนสาหัส ท่านได้รำลึกถึงพระพุทธคุณ และตั้งสัจจะว่า “ถึงอย่างไร ตัวเราคงไม่พ้นเงื้อมมือแห่งความตายในพรรษานี้แน่แล้ว แม้เราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด”

จากนั้น ท่านก็รีบเร่งทำความเพียร ตั้งสติให้สมบูรณ์เฉพาะหน้า ดำรงจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ และพร้อมทั้งพิจารณาความตายโดยมีมรณสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ โดยมิได้พรั่งพรึ่งต่อมรณภัยที่กำลังจะมาถึงตัว นับเป็นบททดสอบอันสำคัญยิ่ง ที่ต้องเผชิญกับชะตากรรมเช่นนี้ของพระอาจารย์ดูลย์

LP Dul 04

ต่อมาท่านได้จาริกมาจำพรรษา ณ วัดม่วงไข่ บ้านกุดก้อม จังหวัดสกลนคร ท่านได้ใช้แบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติของ พระอาจารย์มั่นอย่างเคร่งครัดและครบถ้วนทุกประการ อาทิเช่น เดินบิณฑบาตเป็นวัตร ฉันแต่ในบาตรวันละมื้อ หมั่นปัดกวาดบริเวณที่อยู่อาศัย และเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง มีความสำรวมระวังเป็นอย่างดี การมาพักจำพรรษาที่วัดม่วงไข่ของพระอาจารย์ดูลย์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในหลายๆ ด้าน ด้านหนึ่งก็คือ ทำให้เกิดพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่มีชื่อเสียงขึ้นมาอีก 2 รูป คือ

1. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ สำนักวัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสามเณรอยู่ เมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของท่านก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามแนวที่ท่านสอน เป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้าในธรรมปฏิบัติ ได้เจริญรุ่งเรืองในพระศาสนา จนต่อมากลายเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระผู้มีชื่อเสียง เป็นที่เคารพนับถือและศรัทธาอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง

2. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งสำนักวัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งขณะนั้นท่านได้พำนักอยู่วัดใกล้ๆ กับวัดม่วงไข่ เมื่อได้ทราบถึงวัตรปฏิบัติอันงดงามของพระอาจารย์ดูลย์ จึงเกิดความสนใจเป็นยิ่งนัก เดินทางเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ ฟังพระธรรมเทศนา และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์ดูลย์ตลอดพรรษา จนกระทั่งท่านได้จาริกจากวัดม่วงไข่ พร้อมภิกษุสามเณรวัดม่วงไข่ทั้งวัด พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก็ได้ติดตามไปด้วยเช่นกันต่อมาภายหลัง พระอาจารย์ฝั้นได้กลายเป็นศิษย์คนสำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกรูปหนึ่ง คุณงามความดีของท่านได้แผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง เป็นที่เคารพนับถือและศรัทธาอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

เมื่อกล่าวถึงพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ดูลย์ได้กล่าวยกย่องว่า

ท่านอาจารย์ฝั้นนั้นทำกัมมัฏฐานได้ผลดีมาก เป็นนักปฏิบัติที่เอาจริงเอาจัง มีน้ำใจเป็นนักสู้ที่สู้เสมอตาย ไม่มีการลดละท้อถอย เข้าถึงผลการปฏิบัติได้โดยเร็ว นอกจากนั้นยังมีรูปสมบัติและคุณสมบัติพร้อม ”

พระอาจารย์ดูลย์นึกอยู่ในใจว่า ในอนาคตพระอาจารย์ฝั้นจะมีความสำคัญใหญ่หลวง จะเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอย่างแน่นอน ซึ่งต่อมาความคิดของท่านก็กลายเป็นความจริง ในช่วงที่ออกธุดงค์จากวัดม่วงไข่นั้น ท่านก็คิดเสมอว่า จะต้องพาพระอาจารย์ฝั้นไปพบและมอบถวายให้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นให้จงได้ ด้วยเหตุที่ท่านชอบอัธยาศัยของพระอาจารย์ฝั้นเป็นอย่างมากนั่นเอง

ในภายหลังท่านได้พบและสนทนาธรรมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลายครั้ง นับตั้งแต่พระอาจารย์ดูลย์เดินทางออกจาก จังหวัดสุรินทร์ เพื่อไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนถึงปี พ.ศ. 2466 ท่านจึงได้เดินทางกลับไปยัง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาแก่ผู้ที่สนใจ

การเดินทางกลับมายังบ้านเกิดครั้งนี้ เป็นการมาแบบพระธุดงค์อย่างสมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาที่แก่กล้า และจริยาวัตรที่งดงาม ได้เข้าพำนักอยู่ ณ วัดนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร การมาครั้งถือได้ว่า "กรุแห่งพระธรรม" ได้เปิดขึ้นแก่ชาวสุรินทร์แล้ว ได้สร้างความปีติให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ใน ตำบลนาบัว และ ตำบลเฉนียง ที่พากันแตกตื่นพระธุดงค์ ต่างก็ชักชวนกันไปฟังท่านแสดงพระธรรมเทศนา และร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านกันอย่างล้นหลาม

LP Dul 07

พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล คงพำนักที่สำนักสงฆ์ป่าหนองเสม็ด เพื่อโปรดญาติโยมอีกระยะหนึ่ง แต่ด้วยจิตใจที่โน้มเอียงในการปฏิบัติมากกว่า ท่านจึงดำริที่จะออกธุดงค์กัมมัฏฐาน เพื่อบำเพ็ญเพียรอีกครั้ง เมื่อตัดสินใจดังนั้นแล้ว จึงได้ลาญาติโยมออกจาริกธุดงค์ โดยตั้งใจว่าจะเดินทางไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเดินทางไปถึงวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นวัดที่ท่านเคยมาพำนัก เมื่อครั้งมาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม และเป็นวัดที่ท่านญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย ก็ได้พบกับพระอุปัชฌาย์ของท่าน

ท่านขอร้องให้ช่วยกันสร้างโบสถ์วัดสุทัศนารามให้เสร็จเสียก่อน แล้วค่อยเดินธุดงค์ต่อ ด้วยในขณะนั้น ทางวัดมีทุนทรัพย์ที่จะใช้ในการก่อสร้างเพียง 300 บาทเท่านั้น เมื่อได้รับการขอร้องเช่นนั้น พระอาจารย์ดูลย์ก็ไม่อาจขัดพระอุปัชฌาย์ได้ ท่านจึงตกลงใจพำนักอยู่ที่วัดสุทัศนาราม เพื่อคุมการสร้างโบสถ์ให้เสร็จก่อน ซึ่งต้องใช้เวลา 6 ปี นับว่าเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดของ จังหวัดอุบลราชธานี

ระหว่างที่พำนักอยู่ที่วัดสุทัศนารามนั้น นอกเหนือจากการควบคุมดูแลการก่อสร้างโบสถ์แล้ว พระอาจารย์ดูลย์ยังได้รับมอบหมายจากพระอุปัชฌาย์ ห้ท่านรับผิดชอบงานอย่างอื่นควบคู่กันไปอีกด้วย กล่าวคือ ปกครองพระภิกษุสามเณรในวัดสุทัศนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เป็นต้น

ในระหว่างนี้เอง ท่านก็ได้ศิษย์เพิ่มขึ้นมาอีกผู้หนึ่ง ซึ่งภายหลังมีตำแหน่งเป็นถึงระดับอธิบดี ท่านผู้นั้นคือ พันเอกปิ่น มุทุกันต์ ซึ่งในขณะนั้นได้บวชเป็นสามเณรอยู่ ศิษย์ของพระอาจารย์ดูลย์คนนี้ เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดยิ่งนัก สนใจใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ และต้องการไปศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ

ครั้นเมื่อพระอาจารย์ดูลย์ทราบเรื่อง จึงได้นำสามเณรปิ่นไปฝากไว้กับพระมหาเฉย (พระเทพกวี) ที่วัดสัมพันธวงศาวาส กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามที่ต้องการ จนสามเณรปิ่นสอบได้เปรียญ 9 ประโยค และลาสิกขาเพื่อออกไปรับราชการเป็น "อนุสาสนาจารย์ในกองทัพบก" จนได้เป็นอธิบดีกรมการศาสนา ท่านเป็นนักปาฐกฝีปากกล้า ซึ่งท่านให้ความเคารพนับถือพระอาจารย์ดูลย์เป็นอาจารย์ตลอดมา ท่านได้กล่าวถึงพระอาจารย์ดูลย์ว่า เป็นอาจารย์กัมมัฏฐานที่พูดน้อย แต่ทำงานมากกว่า

ปี พ.ศ. 2476 พระธรรมปาโมกข์ (อ้วน ติสฺโส) ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ร่วมกับคณะสงฆ์ ดำริที่จะสถาปนา "วัดบูรพาราม" ขึ้นเป็น "วัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรก" ของ จังหวัดสุรินทร์ ได้มีบัญชาให้พระมหาพลอย จากวัดสัมพันธวงศาวาส กรุงเทพฯ เดินทางมาจัดการฟื้นฟูด้านการศึกษา ขณะเดียวกันก็มีบัญชามาถึงพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ให้เดินทางกลับไปจังหวัดสุรินทร์ เพื่อช่วยทางด้านวิปัสสนาธุระ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดบูรพารามให้กลับคืนสู่สภาพที่ดี และเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ ซึ่งขณะนั้นกำลังทรุดโทรมอย่างหนัก เพราะก่อสร้างมาเกือบ 200 ปีแล้ว ทำให้ท่านต้องกลับจังหวัดสุรินทร์ ตามคำบัญชาของคณะสงฆ์ดังกล่าว

LP Dul 08

การบูรณะฟื้นฟูวัดบูรพารามนี้ งานด้านพระศาสนานับเป็นงานที่หนักมาก ด้วยในขณะนั้นยังล้าหลังในทุกๆ อย่าง เมื่อพระอาจารย์ดูลย์มาพำนักอยู่ที่วัดนี้ ท่านต้องริเริ่มใหม่ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาด้านปริยัติ การปฏิบัติ การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด และการเผยแผ่พระศาสนา ซึ่งต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม ด้วยการศึกษาในสมัยก่อนเป็นเพียงการทำสืบต่อกันมา จังหวัดสุรินทร์ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใกล้กับประเทศกัมพูชานั้น มักจะมีภาษาพื้นเมืองหรือตัวอักขระ และพยัญชนะที่ใช้ในการเรียน การเทศน์ การสวด หรือพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนคัมภีร์ก็โน้มเอียงไปทางเขมรอยู่มาก

ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์ดูลย์เริ่มพัฒนาในด้านพระปริยัติ ท่านก็เริ่มใช้อักษรไทยและภาษาไทยมากขึ้น ซึ่งนับเป็นภารกิจที่หนักมากทีเดียว จึงกล่าวได้ว่าเป็นยุคเริ่มแรกของการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมแผนใหม่ หากมีพระภิกษุสามเณรองค์ใดสนใจในการศึกษาปริยัติ หลังจากศึกษาเบื้องต้นที่วัดแล้ว ท่านก็ส่งไปศึกษาในระดับสูงต่อที่กรุงเทพฯ

สำหรับการปฏิบัตินั้น ท่านยึดแนวทางที่ท่านเคยศึกษามาในทางกัมมัฏฐานเป็นหลักสำคัญ ในส่วนของท่านเองท่านก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันก็แบ่งเวลาสอนพระภิกษุสามเณรและญาติโยมที่สนใจในการปฏิบัติเป็นประจำเสมอมา พระภิกษุสามเณรองค์ใดที่สนใจในการธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างจริงจัง หลังจากที่ได้รับการฝึกอบรมจากท่านแล้ว ท่านก็จะส่งไปอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรบ้าง พระอาจารย์บัว ญาณสัมปันโนบ้าง เป็นต้น

การพัฒนาด้านปริยัติและปฏิบัติของพระอาจารย์ดูลย์ นับเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงของการศึกษาพระศาสนาทั้งสองด้านมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

LP Dul 09

ครั้นปี พ.ศ. 2479 หลังจากที่พำนักอยู่วัดบูรพารามได้ระยะหนึ่ง ท่านก็เริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบูรพารามทันที โดยเริ่มจากการสร้างโบสถ์แบบคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นเป็นแห่งแรก และเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ โดยมุ่งที่จะใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด แต่ใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด แรงงานส่วนใหญ่ได้จากชาวบ้าน และพระภิกษุสามเณรในวัด โดยมีท่านเป็นผู้เขียนแบบเอง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2493 ใช้เวลาก่อสร้าง 14 ปี เหตุเพราะการเรี่ยไรเงินในสมัยนั้นทำได้ยาก ต้องขอบริจาคเป็นข้าวเปลือกเพื่อนำไปขายเพื่อซื้อปูนซีเมนต์ ส่วนก้อนอิฐนั้นใช้แรงงานพระ-เณร และชาวบ้านช่วยกัน หลังจากสร้างโบสถ์เสร็จได้สร้างพระประธานเป็น "พระพุทธชินราชจำลอง" หล่อด้วยโลหะทองเหลือง

การมาพำนักอยู่ที่วัดนี้ของท่าน ด้วยความเสียสละทุ่มเทต่อพระศาสนาและสังคม ได้สร้างความเจริญให้เกิดขึ้นแก่วัดบูรพารามเป็นอันมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 วัดบูรพาราม ได้รับการยกย่องจากกรมศาสนาให้เป็น "วัดพัฒนาตัวอย่าง" และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยก "วัดบูรพาราม" ขึ้นเป็น "พระอารามหลวง"

LP Dul 03

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดบูรพาราม ก็กลายเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป มีประชาชนเข้ามาศึกษาธรรมะ ด้วยความเลื่อมใสในคำสอนและวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เป็นจำนวนมาก

พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่หาได้ยากอย่างยิ่ง ท่านได้อุทิศชีวิตรับใช้พระศาสนา ด้วยแรงกายแรงใจอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยที่มิได้หวังในลาภสักการะ และยศฐาบรรดาศักดิ์แต่ประการใด แต่ด้วยคุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับสมณศักด์เป็นลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2478 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะแขวงรัตนบุรี ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
  • 1 มีนาคม 2479 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะแขวงรัตนบุรี
  • 24 พฤษภาคม 2480 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์สามัญ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
  • 1 พฤษภาคม 2501 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
  • พ.ศ. 2504 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ (เจ้าคุณ) ที่ พระรัตนากรวิสุทธิ์ วินยานุยุตธรรมิกคณิสสร (พระรัตนากรวิสุทธิ์)
  • 2 ธันวาคม 2522 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวุฒาจารย์ ศาสนาภารธุรกิจยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (พระราชวุฒาจารย์) อันเป็นสมณศักดิ์สุดท้ายของท่าน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 เป็นต้นมา พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล พำนักอยู่ที่ วัดบูรพาราม เพียงแห่งเดียวเท่านั้น จนกระทั่งมรณภาพลงในปี พ.ศ. 2526 รวมเวลาที่ท่านพำนักอยู่ที่วัดบูรพารามแห่งนี้ได้ทั้งสิ้น 50 ปีเศษ

LP Dul 11

หลังจากอาพาธหนักมาแล้ว ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2508 แม้ต่อมาท่านจะมีอาการอาพาธขึ้นบ้าง ตามประสาของผู้ชราภาพ แต่อาการก็ไม่หนักหนาสาหัสมากนัก หลังจากนั้นอีก 18 ปี เมื่อท่านเจริญขันธ์มาถึง 95 ปี จึงมีอาการผิดปกติด้านสุขภาพอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2526

อาการอาพาธครั้งนี้ เริ่มมีอาการปวดชาตั้งแต่บั้นเองลงไปถึงปลายเท้า เริ่มเป็นด้านซ้ายข้างเดียวก่อน ต่อมาอาการอย่างนี้ก็ลามมาที่ขาข้างขวา รู้สึกเหมือนจะปวดหนักปวดเบาอยู่ตลอดเวลา แต่เวลาถ่ายกลับถ่ายไม่ออก และมีอาการหนาวๆ ร้อนๆ และกระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ถึงกระนั้นท่านก็อดทนเป็นอย่างมาก ท่านไม่เคยต้องการหมอ หรือไม่เคยพูดถึงโรงพยาบาลเลย ทุกครั้งที่จะต้องนำหมอมารักษา หรือพาท่านไปที่โรงพยาบาล จะต้องขอร้องทุกครั้ง

พระอาจารย์ดูลย์ได้ไปพำนักรักษาอาการอาพาธ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน อาการอาพาธของท่านดีขึ้นเป็นลำดับ คณะแพทย์จึงลงความเห็นว่าให้ออกจากโรงพยาบาลกลับวัดบูรพารามได้

ครั้นถึงเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 30 ตุลาคม 2526 พระอาจารย์ดูลย์ได้แสดงธรรม ให้แก่ลูกศิษย์ที่อยู่ในห้องพักกุฎีนั้นได้รับฟัง โดยท่านอยู่ในอิริยาบถนอนหงาย ข้อธรรมที่ท่านมักจะแสดงบ่อยๆ ในระยะนี้นั้นก็คือ ธรรมอันว่าด้วยลักษณาการแห่งพุทธปรินิพพาน ครั้งนั้นเมื่อแสดงธรรมจบแล้ว พระอาจารย์ดูลย์ก็ไม่ได้กล่าวอะไรอีกเลย

ขณะที่พระอาจารย์ดูลย์แสดงพระธรรมเทศนาจบลง เป็นเวลาประมาณ 03.00 น. ท่านอยู่ในอิริยาบถนอนสงบนิ่ง หายใจเบาๆ ดูอาการเป็นปกติคล้ายกับคนนอนหลับตามธรรมดา แต่ลมหายใจท่านเบาลงมาก นับเป็นลักษณาการมรณภาพที่ไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็นเลย เป็นความงดงามบริสุทธิ์ และสงบเย็นอย่างสิ้นเชิง

ท่านได้ละทิ้งสังขาร มรณภาพเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2526 เวลา 04.13 น. รวมอายุได้ 96 ปี 26 วัน พรรษา 74

สังขารของพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีศิษย์จากทุกสารทิศหลั่งไหลมานมัสการ และสรงน้ำสรีระเป็นจำนวนมาก ทางจังหวัดสุรินทร์ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงศพ พร้อมกับทั้งได้พระราชทานโกศโถฉัตรเบญจาตั้งประดับ และทรงพระมหากรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน, 50 วัน และ 100 วัน ตามลำดับ

วันที่ 8 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิง ที่จัดให้มีขึ้น ณ วนอุทยานแห่งชาติ เขาพนมสวาย ซึ่งห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศใต้ประมาณ 22 กิโลเมตร ทั้งพระและฆราวาสต่างมาร่วมแสดงกตัญญูกตเวทิตา ต่อพระอาจารย์ดูลย์เป็นจำนวนมาก

LP Dul 10

คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์และฆราวาส ได้มีมติให้จัดสร้างอนุสรณ์ขึ้นภายในบริเวณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อันเป็นวัดที่ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์และพำนักตลอดมา ตราบจนกระทั่งท่านได้สิ้นอายุขัย รวมเวลาประมาณ 50 ปี อาคารดังกล่าวดำเนินการก่อสร้าง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐานหลวงปู่ดูลย์ อตุโล” ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วย รูปเหมือนของพระอาจารย์ดูลย์ ในอิริยาบถนั่งห้อยเท้า หล่อด้วยโลหะ ขนาด 2 เท่าครึ่งขององค์จริง พร้อมเครื่องอัฐบริขารของท่าน

แม้ปัจจุบันพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล จะละสังขารไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้เคารพบูชาและเลื่อมใสศรัทธาในแนวทางคำสอนและวัตรปฏิปทา ต่างพากันเดินทางไปวัดบูรพารามอยู่เช่นเดิม

redline

backled1

LP jamm header

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เป็นบุตรของ นายกา ผิวขำ กับ นางมะแง้ ผิวขำ เมื่อกำเนิดมาบิดา-มารดาได้ตั้งชื่อว่า เด็กชายจาม ผิวขำ เกิดวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ที่บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันคือ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร) ในปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ช่วงก่อนเสด็จสวรรคต (23 ตุลาคม 2453)

LP Jamm 02เมื่อ เด็กชายจาม อายุได้ 6 ปี พ.ศ. 2459 พ่อแม่ได้พาไปกราบ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้าน ที่ภูผากูด คำชะอี ต่อมา พ.ศ 2469 อายุได้ 16 ปี พ่อแม่พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จังหวัดอุบลราชธานี นุ่งขาวห่มขาว เป็นเวลา 9 เดือน พ.ศ. 2470 อายุได้ 17 ปี บรรพชาเป็นสามเณร จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น 1 พรรษา ที่บ้านหนองขอน อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) ได้รับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร หลวงปู่สิงห์ ขันยาคโม หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเป็นสหธรรมิกเพื่อนสามเณร กับสามเณรสิม (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) อีกด้วย

พ.ศ. 2472 อายุได้ 19 ปี สามเณรจาม ออกธุดงค์ไปยังขอนแก่น กับหลวงปู่อ่อน หลวงปู่กงมา และป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคเหน็บชา จึงจำเป็นต้องลาสิกขา กลับไปรักษาตัวที่บ้านห้วยทราย คำชะอี ครั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บก็ใช้ชีวิตฆราวาส ทำไร่ ทำนา ค้าขาย ต่อมาจนถึงอายุ 28 ปี ครั้งเมื่อคราวที่นายจาม ผิวขำ มีอายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพในปี 2486) ส่วน แม่มะแง้ (โยมแม่) ก็ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จึงถึงแก่กรรม) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2480 นายจาม ผิวขำ ไปไหว้พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา

แต่เมื่อไปซื้อเครื่องบวชที่ร้านขายสังฆภัณฑ์ ในตลาดบ้านผือ นายจามได้พบนางสาวนาง ลูกสาวเจ้าของร้าน เกิดความรักใคร่ทันทีเมื่อแรกพบ แม่ชีมะแง้ (ผู้เป็นแม่) กับแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ จึงพานายจามไปบวชเป็นสามเณรไว้ก่อน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2481 ที่วัดป่าโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เพื่อหนีผู้หญิง แล้วจึงเดินเท้าต่อไปไหว้พระพุทธบาทบัวบก หอนางอุษา และมุ่งหน้าไป วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

LP Jamm 01

ปีต่อมา นายจาม อายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 เมื่อบวชเสร็จพระจาม มหาปุญโญ ได้ออกธุดงค์องค์เดียวไปภาวนาที่พระบาทคอแก้ง บริเวณวัดพุทธบาท ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ขณะภาวนาเกิดนิมิตเห็นพญานาคขึ้นมาแล้วบอกว่า ที่นี่เป็นพระพุทธบาทจริง พวกตนได้ขอไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จ ผ่านมา

ต่อมา พระจามได้ธุดงค์ไปภาวนาอยู่ ที่ถ้ำพระพุทธบาทบัวบก ตั้งใจปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวก จนได้รู้ว่า เจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของ พระอาจารย์ หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุโธ (พระอาจารย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร) อัฐิได้กลายเป็นพระธาตุแล้ว ซึ่งพระจามไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ขณะภาวนาอยู่ได้เกิดแสงสว่างเป็นลำพุ่งลงมาจากท้องฟ้า สว่างเฉพาะบริเวณเจดีย์ พอรุ่งเช้าจึงไปค้นดู ปรากฏหลักฐานที่สลักไว้ที่ฐานเจดีย์จึงทราบความจริง จากนั้นพระจามจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย คำชะอี เป็นพรรษาที่ 1

พ.ศ. 2483 พระจามอายุ 30 ปี เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงเดินทางไปอยู่ที่ภูเก้า กับหลวงพ่อกา (โยมพ่อ) ระยะหนึ่ง จึงไปอยู่ภูจ้อก้อ ได้เดินทางต่อไปบ้านห้วยยาง อำเภอชุมแพ ไปบ้านกกเกลือ และถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ที่ถ้ำผาบิ้ง ในคืนสุดท้าย เวลาใกล้รุ่งพระจามได้นั่งภาวนา จนเกิดจิตแจ้งสว่าง เห็นทุกทิศทางสว่างไสว จิตตั้งอยู่ในความสว่างประมาณ 20 นาที เหมือนจุดเทียนแล้วความสว่างก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสว่างรอบทิศ แล้วค่อยๆ ลดความสว่างลงไปๆจนดับมืด ขณะสว่างนั้น ได้ยินคนคุยกันซึ่งเป็นอาโลกกสิณ และในตอนท้ายของการภาวนานั้น ได้ทราบว่าถ้ำผาบิ้งแห่งนี้ เป็นสถานที่นิพพานของพระอุบาลีมหาเถระ ตั้งแต่ พ.ศ.4 หลังจากนั้นจึงได้ออกจากถ้ำผาบิ้ง มุ่งไปเพชรบูรณ์

LP Jamm 03

พ.ศ. 2485 อายุ 32 ปี พรรษาที่ 4 ได้พบกับอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งเป็นสหธรรมิกกันในสมัยที่เป็นสามเณร แม้ว่าจะเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่ขณะนั้นก็ต่างพรรษากัน เป็นระดับครูบาอาจารย์แล้ว ความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็ยังเป็นเชื้อ ให้มีการถกแถลงด้านธรรมะกันอย่างออกรสในธรรม ในปีนั้น หลวงปู่จามได้เคยโต้วาทีกับบาทหลวงคริสต์ ที่บ้านพุงต้อม ตำบลยุวา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงนั้น มีหญิงสาวหลายคนพยายามที่จะได้ตัวหลวงปู่จามไปเป็นสามี หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เทศนาภัย 4 อย่างของนักบวช ได้แก่ มาตุคาม, ทนคำสอนไม่ได้, ทนต่อปากท้อง ทนลำบากไม่ได้ และกามคุณ 5

ในปี 2489 หลวงปู่จาม ไปพักที่วัดบ้านนาในกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งหลวงปู่หลุย พาหลวงปู่จามเข้ากราบหลวงปู่มั่น แล้วกราบเรียนว่า "สามเณรจาม ตอนนี้บวชเป็นพระแล้วครับกระผม" หลวงปู่มั่นกล่าวว่า "บวชแล้ว เพราะท่านมีนิสัยนักบวช" หลวงปู่มั่นจึงให้โอวาทแก่หลวงปู่จามว่า "เมื่อก้าวมาสู่หนทางแห่งความดี ต้องเดินหน้าสู้ทน ตายเป็นว่า (ตายเป็นตาย) อยู่เป็นว่า (อยู่เป็นอยู่) เหตุเพราะทางอื่นนั้นปราศจากความร่มเย็น ไม่เป็นความสุข อันนี้ความดีจะเป็นผลของตน ผู้เดินอยู่ในทางนี้ได้ตลอดไปนั้น จิตใจก็อยู่ใกล้ธรรมอยู่กับธรรมะไม่ละทิ้งความดี ตนก็จะเป็นผู้ราบรื่น ร่มเย็น ผาสุกอยู่ได้ในปฏิปทาแห่งตน" เมื่อให้ธรรมะจบ หลวงปู่มั่นถามว่า "เข้าใจไหม จำไว้ให้ดี" หลวงปู่จาม ซาบซึ้งในคำสอนนี้ ด้วยความปีติสุขใจยิ่ง

พ.ศ. 2494 อายุ 41 ปี (พรรษาที่ 13) หลวงปู่จามได้ธุดงค์ต่อไป ขณะที่ได้บำเพ็ญภาวนาบริเวณริมแม่น้ำกก ไม่ไกลจากเมืองเชียงรายมากนัก ได้ภาวนาแต่จิตไม่สงบ ก็ได้มีพญานาคโผล่ขึ้นมาจากแม่น้ำกกบอกว่า ”จิตสงบหรือไม่สงบไม่เกี่ยวกับพญานาค อยู่ที่จิตของท่านเอง” หลวงปู่จามถามว่า ”ถ้าไม่เกี่ยวแล้วขึ้นมาทำไป” พญานาคตอบว่า ”ได้ยินเสียงสนั่นหวั่นไหว เหมือนดินจะถล่ม มีอะไรเกิดขึ้นจึงโผล่ขึ้นมาดู ก็เห็นว่าพระผู้เป็นเจ้านั่งสมาธิถาวนา จึงขออนุโมทนาแสดงความยินดีต่อการบำเพ็ญสมณธรรมของท่านพระผู้เป็นเจ้าด้วย” หลวงปู่จามเล่าว่า เห็นภาพนาคปรากฏในสมาธิโผล่ขึ้นเหมือน้ำสูงประมาณ 3 เมตร ลำตัวใหญ่ประมาณเท่ากระบุงข้าว ตัวขนาดเท่าลำต้นตาล สีเลื่อมพราย มีหงอนแดง ต่อมาในภายหลังหลวงปู่ได้ภาวนา จึงได้ทราบต่อมาว่า พญานาคตนนี้ได้ปรารถนาจะเป็นพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตเบื้องหน้า

LP Jamm 04

พ.ศ. 2506 อายุ 54 ปี กลับเยี่ยมบ้านครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2506 เป็นปีแรก ที่หลวงปู่จามยินยอมเดินทางกลับมาที่บ้านห้วยทราย หลังจากไปอยู่ทางภาคเหนือกว่า 22 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484–2506) ขณะนั้นแม่ชีมะแง้ โยมแม่ของหลวงปู่จาม ซึ่งบวชเป็นแม่ชี และพำนักที่สำนักชีบ้านห้วยทราย ส่วนหลวงปู่จาม พำนักอยู่กับสามเณรอินทร์ (พระอาจารย์อินทร์ถวาย) ที่ป่าช้าบ้านห้วยทราย คำชะอี ในปี พ.ศ. 2506 เป็นปีแรกที่คณะญาติโยมบ้านห้วยทรายได้ไปรับ คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ กลับจากวัดป่าบ้านตาด เมื่อพักอยู่พอสมควรแล้ว หลวงปู่จาม ได้เดินทางกลับไปภาคเหนืออีกครั้ง และเปิดโอกาสให้คณะญาติไปเยี่ยมเยียนที่ภาคเหนือได้เป็นครั้งคราว และพร้อมจะเดินทางกลับมาโปรด หากคณะญาติมีความจำเป็น

พ.ศ. 2512 อายุ 59 ปี พรรษาที่ 31 หลวงปู่จามเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด โดยไม่บอกให้ใครทราบล่วงหน้าก่อนเลย และได้อยู่พำนักที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี นับแต่นั้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่จามเล่าว่า สถานที่ต่างๆ ที่ภาวนาเจริญก้าวหน้าทางจิตดีนั้น เพราะอดีตกาลเป็นสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าในอดีตได้มาตรัสรู้บ้าง ตั้งพระพุทธศาสนาบ้าง เสด็จดับขันธปรินิพพานบ้าง ถือว่าเป็นเขตมงคล แม้ต่อไปภายภาคหน้า ก็จะเป็นถิ่นมงคลสำหรับพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกด้วย เช่น บริเวณวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เคยเป็นสถานที่จำพรรษาของพระอัครสาวก คือ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร จำนวน 1 พรรษา ในถ้ำตับเต่า อำเภอฝาง และเคยเป็นที่นิพพานของพระกิมพิละเถระ หลวงปู่มั่นเคยจำพรรษาอยู่ที่นี่ 1 พรรษา

LP Jamm 05

ต่อมา หลวงปู่จาม ได้มีโอกาสฟังธรรมจาก หลวงปู่มั่น ในวาระสำคัญหลายครั้ง โดยที่หลวงปู่จาม ได้ อธิฐานจิตถามหลวงปู่มั่นล่วงหน้าไว้ทั้ง 4 ครั้ง ปรากฏว่าหลวงปู่มั่นทราบได้ด้วยญาณทัศนะ และเทศนาในเรื่องที่หลวงปู่จามต้องการทราบทุกครั้ง

ครั้งที่ 1 หลวงปู่จาม มีความสงสัยว่า ”คนที่ได้ธรรมะเป็นอย่างไร ทำไมถึงได้ธรรมะปฏิบัติอย่างไร“ จึงอธิษฐานถามหลวงปู่มั่น คืนวันนั้น หลวงปู่มั่นยก "หิริ โอตฺตปฺป” ขึ้นมาเป็นหัวข้อแสดงพระธรรมเทศนา พระสงฆ์ที่พักอย่าตามสถานที่ต่างๆ จะมารวมกันฟังธรรมเสมอ เมื่อหลวงปู่มั่น เทศนาจบลงก็หันหน้ามามองไปที่หลวงปู่จาม แล้วถามเป็นเชิงปรารภว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม ผู้ได้ธรรมเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จามตอบว่า ”เข้าใจครับกระผม” บรรดาพระสงฆ์ที่นั่งฟังก็หันมามอง หลวงปู่จาม ก้นทั้งหมด เมื่อหลวงปู่จามมกลับไปที่พัก ก็รีบนั่งภาวนาเพื่อทบทวนคำสอนของหลวงปู่มั่น เพื่อให้จำได้อย่างขึ้นใจ

ครั้งที่ 2 หลวงปู่จาม อยากรู้เรื่อง ”พระธรรมวินัยว่า ธรรมอย่างหยาบ ธรรมอย่างกลาง ธรรมอย่างละเอียด เป็นอย่างไร” จึงได้กำหนดจิต อธิษฐานถามหลวงปู่มั่น และหลวงปู่จาม ก็คิดนึกในใจต่อไปว่า “อยากรู้ถึงปฏิปทาภพชาติของตนเองด้วย” ในคืนนั้นหลวงปู่มั่น ได้เทศนา โดยยกหัวข้อธรรมขึ้นว่า “หีนา ธมฺมา มชฺฌิมา ธมฺมา ปณีตา ธมฺมา” แล้วอธิบายธรรมและวินัยควบคู่กันไป ให้รู้เข้าใจกระจ่าง และได้แจกแจงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนพอดี ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่นก็เทศนาต่อไปว่า

ให้ตั้งใจเจริญพุทธคุณ ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธเนตฺติ ด้วยการประพฤติเพื่อความหนักแน่นในธรรม ผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจ เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัยอยู่ได้…” 

ครั้งที่ 3 หลวงปู่จาม อยากรู้เรื่อง "พระอภิธรรม" จึงอธิษฐานจิตถามไว้ พอตอนกลางคืน หลวงปู่มั่นก็เทศนาเริ่มต้นที่ "มูลกัจจายนะ" ตรงตามที่หลวงปู่จาม ตั้งอธิษฐานไว้

ครั้งที่ 4 หลวงปู่จาม เกิดข้อสงสัยว่า "เราเองก็ทำความเพียรอย่างจริงจังมาก แต่ไม่ค่อยได้ผลดีตามที่ปรารถนา พระองค์อื่นก็คงเป็นเช่นเดียวกันกับเรา เราเองก็คงมีอีกไม่น้อย" จึงอธิษฐานจิตถามไว้ล่วงหน้า เมื่อหลวงปู่มั่น ได้เทศนากัณฑ์แรกจบไป ก็เทศนาเตือนสติในตอนท้ายว่า “เอาจริงเอาจังเกินไป หรือขวนขวายพยายามพากเพียรมากไป แต่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้ใจดิ้นรนอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากบรรลุธรรม โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ ความอยากของตนจึงเป็นอุปสรรคของตน จึงให้ดูใจดูตนของตนด้วยสติปัญญา“ เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่นก็หันหน้ามาทางหลวงปู่จาม แล้วถามว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม ความโลภเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จาม ตอบอย่างเคารพและเกรงกลัวเป็นที่สุดว่า “เข้าใจซาบซึ้งเป็นที่สุดครับกระผม”

LP Jamm 06

หลวงปู่จามเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทั้งศีลของพระสงฆ์ 227 ข้อ และศีลอภิสมาจาร 3,500 ข้อ ท่านอยู่อย่างสมถะ ไม่เคยขอเงินบริจาค ไม่มีการจำหน่ายวัตถุมงคล ในวัดป่าวิเวกวัฒนารามไม่มีตู้รับบริจาค ท่านตั้งใจปฏิบัติอย่างหนักแน่นในธรรม แม้ระยะหลังสุขภาพไม่ดี ท่านยังออกบิณฑบาตทุกเช้า ไม่เบื่อหน่ายในความเพียร ท่านเทศนาสั่งสอนผู้ไปกราบไหว้ด้วยใบหน้ายิ้มละไมเสมอว่า

คนเรา เมื่อประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม อยู่ในความไม่ประมาท หมั่นบำเพ็ญบุญ สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน แล้วก็ไม่ต้องวิ่งไปหาพระที่ไหนชีวิตก็เป็นสุข "

เมื่อชาวบ้านห้วยทราย หรือคนในอำเภอคำชะอีไปกราบท่าน ก็ได้รับคำสอนเป็นภาษาพื้นเมืองหรือภาษาภูไท เช่น

...อันเลอเจ๋อ มันฮับมิไหว มันต้านทานมิได๊ กะวางเฉยเสียเน้อ..."
(อะไรก็ตามที่จิตใจเราต้านทานไม่ได้ ก็ให้ละวางเสียนะ)

LP Jamm 07

คำสอนที่สำคัญแก่ญาติโยมที่เข้ากราบนมัสการในช่วงเทศกาลปีใหม่

ทานที่ไม่มีศีล เป็นทานผลใหญ่มิได้ สมาธิที่ไม่มีศีล เป็นสมาธิผลใหญ่มิได้ สมาธิเมื่อเราเจริญดีแล้ว ปัญญาก็ใหญ่ ปัญญานี้แหละ เป็นเครื่องแยกใจกับความชั่วใดๆออกจากกันไปได้ " และ

อย่าประมาทเน้อ ลูกหลานเน้อ ประมาทไม่ได้ความอะไรสักอย่างนะ ชีวิตได้เกิดมาแล้ว ให้รู้สำนึกในตนว่า ดี ชั่ว บุญ บาป เป็นอย่างใด ตนเจ้าของชอบพออย่างใด ให้ไหว้พระสวดมนต์ ภาวนาหาความดีใส่ตน คำว่า อย่าประมาท ความไม่ประมาทเป็นพรของชีวิต "

หลวงปู่จาม เน้นให้สวดมนต์ภาวนา ทำจิตให้สะอาด เกรงกลัวบาปกรรม เพื่อให้ได้ถึงพระนิพพานกันทุกคน

สำหรับผลงานของหลวงปู่จามที่ประจักษ์ชัด แก่พุทธศาสนิกชน มีดังนี้

  • เทศนาสั่งสอน ญาติโยมที่มานมัสการหลวงปู่ ทุกวันพระ และวันสำคัญจะมีประชาชนมาเป็นจำนวน 100-200 คนขึ้นไป
  • หลักธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่ ได้มีคนบันทึกเทปไว้เป็นจำนวนมาก
  • หลวงปู่จาม มีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ธรรมชาติให้เป็นที่นั่งวิปัสสนา ได้อย่างกลมกลืนร่มรื่น ปราศจากสิ่งรบกวน
  • สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • สร้างกุฏิเสาเดียว จำนวน 11 หลัง
  • สร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 09.00 น. ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร สิริอายุรวม 104 ปี พรรษา 75

LP Jamm 08

ศิษยานุศิษย์ได้ตั้งสรีระสังขารหลวงปู่ เพื่อบำเพ็ญกุศลที่ ศาลาการเปรียญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2556 ทุกวัน จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นวันพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร บนเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ มรณานุสติสุดท้ายที่หลวงปู่ฝากไว้คือ "อย่าเมาเถ้าเมากระดูก"

...มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต ขอน้อมกราบส่งองค์หลวงปู่จามด้วยเศียรเกล้า...

redline

backled1

LP koon header

หลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ เป็นชื่อที่ติดหู และได้รับความสนใจของคนไทยมานานหลายสิบปี ด้วยความที่หลวงพ่อท่านเป็นพระที่มากด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งยอง หรือการพูดจากภาษาโคราชแบบพ่อขุนรามคำแหง (กู, มึง) แต่สิ่งที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนมักนึกถึงหลวงพ่อคูณ คงหนีไม่พ้นเครื่องรางของขลัง และหลักคำสอนแบบตรงไปตรงมา ที่แฝงไว้ด้วยหลักธรรมอันลึกซึ้งให้ผู้คนนำไปยึดเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และชีวประวัติอันเต็มไปเรื่องราวอันน่าสนใจมากมาย มีฉายาว่า "เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด"

LP Koon 01ชาติกำเนิด

หลวงพ่อคูณ เกิดในชื่อและนามสกุลทางโลกคือ คูณ ฉัตร์พลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายคนโตของนายบุญ (บิดา) และนางทองขาว (มารดา) ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาสามคน

มารดาของหลวงพ่อคูณ เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนการตั้งครรภ์ ในกลางดึกของคืนวันหนึ่ง เวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็น "เทพองค์หนึ่ง" มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า

“เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป”

และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วอันใสสะอาดวางให้แก่นางด้วย

ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง ”

โยมบิดามารดาของหลวงพ่อคูณ เสียชีวิตลงขณะที่ลูกทั้งสามยังเด็ก เด็กชายคูณกับน้องสาวทั้งสอง จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่เด็กชายคูณมีอายุราว 6-7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ, พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้งสาม ยังอบรมสั่งสอนคาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ให้ด้วย เด็กชายคูณจึงมีความรู้ในวิชาไสยศาสตร์ คาถาอาคม มาแต่บัดนั้น

LP Koon 02

การอุปสมบท

นายคูณ ฉัตร์พลกรัง อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ปีวอก (หนังสือบางแห่งระบุว่าเป็นปี 2486) โดยมีพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ ก็คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ อุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า "ปริสุทฺโธ" หลังจากนั้น หลวงพ่อคูณฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หลวงพ่อแดง ท่านเป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระอย่างเคร่งครัด ทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คน และลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

LP Koon 03

หลวงพ่อคูณอยู่ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้เป็นเพื่อนกัน ต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะมักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ จากนั้น หลวงพ่อคง ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ ก็ได้สอนวิชาต่างๆ ให้กับหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ด้วยความรักใคร่มิได้ปิดบังอำพรางแต่อย่างใด โดยใช้วิธีการสอนโดยการศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เน้นการมี "สติ" ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทันในอารมณ์นั้น

เวลาล่วงเลยมานานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริก ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป ระยะแรกหลวงพ่อคูณธุดงค์จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกไกลออกไป กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา และอุปาทานทั้งปวง

LP Koon 04

หลังจากที่พิจารณา เห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางกลับสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตแดนทางจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับสู่ถิ่นเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำริให้ก่อสร้างวัด ให้เป็นถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2496 นอกจากนั้น หลวงพ่อคูณยังดำริให้สร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค ทั้งจัดสร้างโรงเรียนวัดบ้านไร่ เพื่อการศึกษาของเยาวชนละแวกนี้อีกด้วย

ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อคูณเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องการสร้างวัตถุมงคล โดยตามประวัติพบว่าท่านเคยสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกตั้งแต่สมัยบวชได้ประมาณ 7 พรรษา โดยเริ่มจากตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ. 2493 โดยท่านบอกกับผู้มาขอเสมอว่า "ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน"

เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ ท่านตอบว่า “กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม….”

ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง… ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก ”

LP Koon 06

ปัจจุบัน พระเครื่องหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นั้นเป็นที่นิยมและต้องการของลูกศิษย์ และนักสะสมพระเครื่องอย่างมาก หลายๆ รุ่นมีราคาแพงมาก โดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อคูณรุ่นแรก ส่วนเรื่อง "เครื่องรางของขลัง" ของหลวงพ่อคูณคงต้องยกให้ ตะกรุดทองคำหลวงพ่อคูณ ซึ่งจะเป็นตะกรุดทองคำฝังแขน ซึ่งท่านจะมีข้อห้าม 2 ข้อ คือ 1. ห้ามด่าแม่ 2. ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น นับว่าเป็นเครื่องรางของขลังหลวงพ่อคูณ ที่น่าสนใจมาก

อย่างไรก็ดี จากประวัติอันน่าสนใจทั้งเรื่องของความแก่กล้าในวิชาอาคม และความแตกฉานในความรู้ด้านพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ ทำให้ท่านได้รับฉายาว่า "ปราชญ์แห่งที่ราบสูง" แม้จะมีท่าทีการแสดงออกที่ตรงไปตรงมา พูดจา "มึง กู" แต่ผู้ใกล้ชิดทุกคนกลับทราบดีว่า หลวงพ่อคูณนั้นมีจิตเมตตาเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยมีใครพบเห็นหลวงพ่อคูณกราดเกรี้ยว หรือทุกขเวทนากับเหตุการณ์ต่างๆ สิ่งที่หลวงพ่อคูณแสดงออกมาทุกครั้งในการให้สัมภาษณ์ หรือสนทนาธรรม ได้แสดงให้เห็นว่า ท่านนั้นมีจิตที่แจ่มใส หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส เป็นที่พึ่งทางธรรมให้แก่ญาติโยมทุกคนอย่างแท้จริง

LP Koon 08

กับท่านั่งยอง อันเป็นเอกลักษณ์ หลวงพ่อให้เหตุผลว่า "เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็นลักษณะของคนเตรียมพร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจับอะไรก็ง่ายและสะดวกในการทำงาน"

การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ

หลวงพ่อคูณได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท ท่านกล่าวว่า

หลวงพ่อเป็นคนยากจนมาโดยกำเนิด จึงอยากคิดช่วยเหลือคนอื่น การนำเงินออกไปช่วยคนอื่น ก็จะมีคนบริจาคเรื่อยๆ ถ้าเก็บไว้จะทำให้ตนตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ ”

สมณศักดิ์

  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 : เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิทยาคมเถร
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 : เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชวิทยาคม อุดมกิจจานุกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 : เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพวิทยาคม อุดมธรรมสุนทร ปสาทกรวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

LP Koon 09

อาพาธ

ในช่วงวัยชราของท่าน ท่านมีอาการเจ็บป่วยต้องเข้า-ออกโรงพยาบาลมาโดยตลอด โดยหลวงพ่อคูณเริ่มมีอาการอาพาธตั้งแต่ปี 2543 ด้วยโรคหัวใจ ซึ่งแพทย์ได้ผ่าตัดทำบายพาสหัวใจให้ท่าน จนอาการดีขึ้นตามลำดับ ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ท่านมีอาการอาพาธอีกครั้งด้วยอาการเลือดคั่งในสมอง ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลศิริราชกรุงเทพมหานคร ให้แพทย์ผ่าตัดสมองเพื่อเอาลิ่มเลือดออก จนอาการปลอดภัย

จากนั้น วันที่ 26 เมษายน 2552 ท่านอาพาธด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ส่งผลให้มีอาการซึมเศร้า และต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาหลายวัน จนกระทั่งอาการดีขึ้น และสามารถกลับวัดบ้านไร่ได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 หลังจากนั้นสุขภาพร่างกายของท่านก็อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่อง

LP Koon 05

เมื่อถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ท่านก็มีอาการอาพาธด้วยวัณโรคปอด ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอีกกว่า 4 เดือน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2556 ท่านก็มีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และมีอาการแทรกคือ หลอดลมอักเสบรวมทั้งเกิดภาวะเสมหะลงคอ ทำให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ คณะศิษย์ต้องนำตัวส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จนกระทั่งอาการท่านเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ก่อนที่คณะแพทย์จะได้นำตัวหลวงพ่อคูณกลับวัดบ้านไร่ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 เพื่อพักรักษาตัวอยู่ภายในห้องกระจก ที่มีแพทย์และพยาบาลเฝ้าดูแลอาการอย่างใกล้ชิด โดยไม่อนุญาตให้ญาติโยมเข้าเยี่ยมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งตลอดเวลาที่พักรักษาตัวก็มีอาการดีขึ้นตามลำดับ

จนกระทั่งเมื่อเวลา 05.40 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ท่านมีอาการหัวใจหยุดเต้น แพทย์ต้องนำตัวส่งมารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอีกครั้ง โดยคณะแพทย์ได้ทำการรักษาอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่อาจยื้อชีวิตได้ ท่านได้ละสังขารไปเมื่อเวลา 11.45 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 สิริอายุ 92 ปี

LP Koon 07

จากนั้นมีการเปิดเผยพินัยกรรม ซึ่งหลวงพ่อคูณทำไว้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2543 มีใจความสำคัญระบุ "ให้มอบสังขาร แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่มรณภาพ แล้วให้ทางมหาวิทยาลัยมอบให้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้นำไปศึกษาค้นคว้า ตามวัตถุประสงค์ของภาควิชา"

สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และการสวดพระอภิธรรม ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีขึ้นที่คณะเป็นเวลา 7 วัน ส่วนการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เมื่อสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้า ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดอย่างเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชใดๆ ทั้งห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกศ และพระราชพิธีอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีเช่นเดียวกับที่จัดให้แก่ อาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ประจำปี ร่วมกับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผาที่ฌาปนสถานวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (หรือวัดแห่งอื่น) และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำอัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ไปลอยที่แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม

LP Koon 11

เมรุหลวงพ่อคูณจะจัดสร้างเป็นรูปนกหัสดีลิงค์เทินบุษบกสีขาวทั้งหลัง สูง 22.6 เมตร ฐานกว้าง 16 เมตร

นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดแถลงข่าวพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) โดยกำหนดจะจัดพิธีบำเพ็ญกุศล ในวันที่ 22-28 มกราคม 2562ศูนย์ประชุมเอนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น และพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 29 มกราคม 2562พุทธมณฑลอิสาน จังหวัดขอนแก่น

LP Koon 10

อนุสรณ์สถานที่จะสร้างครอบบริเวณเมรุนกหัสดีลิงค์ แบบสถาปัตยกรรมอีสาน

ดาวน์โหลด : หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ (40 หน้า)

หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ฉบับเต็ม (100 หน้า)

เมรุลอยที่ใช้ในการพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่ "หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ"
ถูกออกแบบเป็นรูป "นกหัสดีลิงค์"อย่างงดงามวิจิตร แต่คงไว้ด้วยความเรียบง่ายตามพินัยกรรมที่หลวงพ่อคูณเขียนไว้
และสะท้อนความผูกพันของหลวงพ่อคูณต่อดินแดนอีสาน

redline

backled1

LP Put header

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หรือ พระราชสังวรญาณ เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา บิดาชื่อ นายพร มารดาชื่อ นางสอน อินหา ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ บิดา-มารดาได้ถึงแก่กรรม ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก ท่านจึงย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

LP Put 01ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2472 อายุท่านได้ 8 ขวบ จึงได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จนจบชั้นประถมปีที่ 6 เมื่อมีอายุได้ 14 ปี ในสมัยนั้นถ้าย้อนหลังไป 60-70 ปี การได้เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 6 ได้ ต้องถือว่าเป็นการเรียนที่สูงพอสมควรแล้ว เมื่อเรียนจบแล้วครูบาอาจารย์ได้ชักชวนท่านให้เป็น "ครู" สอนนักเรียนในโรงเรียนที่ท่านเรียนนั้นต่อ หากทว่าจิตของท่านมุ่งมั่นสนใจที่จะบวชมากกว่า

ต่อมา เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านจึงได้ขอร้องให้ญาติซึ่งเป็นผู้ปกครองของท่านพาไปบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีท่านพระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์เป็นพระบรรพชาจารย์ และสามเณรพุธได้อาศัยอยู่จำพรรษากับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์นั่นเอง ท่านได้รับเมตตาจากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

ปี พ.ศ. 2480 หลังจากออกพรรษา เป็นเหตุบังเอิญให้ในขณะนั้นที่ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) ได้เดินธุดงค์มายังจังหวัดสกลนคร ในฐานะเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค 4 แทนพระอาจารย์ของสามเณรพุธ อันได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ได้เกิดความเมตตาต่อสามเณรพุธเป็นอย่างมาก สามเณรพุธจึงมีโอกาสได้ติดตาม ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ธุดงค์ออกจากอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้นทางคมนาคมยังไม่สะดวก ต้องเดินด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าเขาต่างๆ ท่านเล่าว่า "ต้องใช้เวลาถึง 31 วัน จึงเดินเท้ามาถึง จังหวัดอุบลราชธานี" ในระหว่างทาง บางทีเหนื่อยนักเมื่อยนักก็พักค้างแห่งละ 2 - 3 วัน บางช่วงในขณะที่เดินรอนแรมในป่า ก็หลงดงหลงป่าบ้าง บางวันไม่ได้ฉันข้าว เพราะหมู่บ้านห่างกันมาก เดินทางออกจากหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เช้าจนค่ำก็ยังไม่เจอหมู่บ้านอีกที่หนึ่งเลย ป่าดงในสมัยนั้นก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุม บางครั้งได้ยินเสียงเสือเสียงสัตว์ต่างๆ ร้อง บางครั้งเสือมันก็กระโดดข้ามทางที่จะเดินไปก็มี

LP Put 10

เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส) ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาด้วย สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และเริ่มรับการอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรก แต่เดิมทีในสมัยแรก ที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้บรรพชาในสังกัดมหานิกายคณะ

LP Put 02

ที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้ นอกจากจะได้รับการอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้ศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมอีกด้วย และสามารถสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง 18 ปี

ต่อมา ปี พ.ศ. 2483 พระอาจารย์พรได้ส่งสามเณรพุธ ไปยังกรุงเทพฯ พร้อมกับมีหนังสือฝากสามเณรพุธกับท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ให้ช่วยอบรมสั่งสอน สามเณรพุธจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสามารถสอบได้เปรียญ 4 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรนั่นเอง

สามเณรพุธได้จำพรรษาเรื่อยมา ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ จนอายุได้ครบบวช ในปี พ.ศ. 2485 ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "ฐานิโย"

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2487 เป็นสมัยสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพกลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษา ที่วัดนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2489 ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนักเป็นวัณโรคอย่างแรง มีหมอมารักษาตั้งหลายคน แต่แล้วก็สู้ไม่ไหว ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบูรพา ตามคำสั่งของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เช่นกัน ท่านพระอาจารย์ฝั้นสอนให้ ท่านตั้งใจเพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยังคอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา

LP Put 03

หลวงพ่อพุธ ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคนั้น ท่านต้องรักษาพยาบาลตัวเอง ตั้งหน้าตั้งตามุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา โดยมุ่งที่จะพิจารณาดูความตายเท่านั้น โดยคิดว่า "ก่อนที่เราจะตายนั้น ควรจะได้รู้ว่า ความตายคืออะไร" จึงได้ตั้งอกตั้งใจพิจารณาดูความตาย อยู่เป็นเวลาหลายวัน ในวันสุดท้ายได้ค้นคว้าพิจารณาดูความตายอยู่ถึง 7 ชั่วโมง ในตอนแรกที่พิจารณา เพราะความอยากรู้อยากเห็นว่า ความตาย คืออะไร ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เป็นอาการของกิเลส กิเลสจึงปิดบังดวงใจ ทำให้ความสงบใจที่เป็นสมาธิก็ไม่มี ความรู้แจ้งเห็นจริงก็ไม่มี ท่านเริ่มนั่งสมาธิตั้งแต่ 3 ทุ่ม จนกระทั่งเวลาตี 3 จนเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยแทบจะทนไม่ไหว ในขณะนั้นความรู้สึกทางจิตมันผุดขึ้นมาว่า

ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งหลายเขานอนตายกันทั้งนั้น ท่านจะมานั่งตาย มันจะตายได้อย่างไร"

ท่านจึงเอนกายลงพร้อมกับกำหนดจิตตามไปด้วย เมื่อเกิดความหลับขึ้น จิตกลายเป็นสมาธิแล้ว จิตก็แสดงอาการตาย คือวิญญาณออกจากร่างกายไปลอยอยู่ เบื้องบนเหนือร่างกายประมาณ 2 เมตร แล้วส่งกระแสออกมา รู้กายที่นอน เหยียดยาวอยู่ แสดงว่าได้รู้เห็นความตาย ลักษณะแห่งความตาย ในเมื่อตายแล้ว ร่างกายก็ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังไปตามขั้นตอน ในเมื่อร่างกายที่มองเห็น อยู่นั้นสลายตัวไปหมดแล้ว ก็ยังเหลือแต่จิตว่าง จิตว่างแล้วก็ยังมองเห็นโลก คือแผ่นดิน ในอันดับต่อมาโลกคือแผ่นดินก็หายไป คงเหลือแต่จิตดวงเดียว ที่สว่างไสวอยู่ มองหาอะไรก็ไม่พบ พอจิตมีอาการไหว เกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความนึกคิดขึ้นมาว่า "นี่หรือคือความตาย" อีกจิตหนึ่งก็ผุดขึ้นมารับว่า "ใช่แล้ว" ก็เป็นอันว่าได้รู้จริงเห็นจริงในเรื่องของความตายด้วยประการฉะนี้

LP Put 04

ในเรื่องของจิตที่เป็นสมาธินั้น ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า "สมาธินั้นมีอยู่ในตัว ของเราอยู่แล้ว แต่เรามักไม่ได้นำเอาออกมาใช้ฝึกฝนให้เป็นประโยชน์" สำหรับเรื่องจิตเป็นสมาธิของหลวงพ่อพุธ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ในตอนเด็กๆ มีเกิดขึ้นโดยท่านไม่ทราบ ไม่รู้จักมาก่อนเช่นกัน กล่าวคือ สมัยที่ท่านเป็นสามเณร ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์ของท่านไม่อยู่ และสั่งให้ท่านคอยเฝ้ากุฏิไว้ ท่านจึงลงนั่งอยู่ที่หน้าประตูกุฏิ ในระหว่างที่คอยอยู่นั้น จิตของท่านก็เข้าภวังค์ ลงสู่สมาธิ นิ่งสงบอยู่นานมาก นานจนพระอาจารย์ของท่านกลับมา พระอาจารย์และชาวบ้านที่ติดตามมาด้วยเรียกท่านอยู่นาน เรียกอย่างไร...อย่างไร ท่านก็ไม่ไหวติง จนชาวบ้านผู้นั้นมาผลักท่านกระเด็นออกไป นั่นแหละท่านจึงรู้สึกตัว ออกจากสมาธิ

ชาวบ้านผู้นั้นว่ากล่าวท่าน... ว่าหลับไม่รู้เรื่อง เรียกอย่างไร เรียกเท่าใดก็ไม่ตื่น ท่านปฏิเสธว่าไม่ได้หลับ ชาวบ้านผู้นั้นก็ไม่ยอมเชื่อ หลวงพ่อพุธท่านเล่าว่า ในขณะที่คอยนั้น ท่านรู้สึกตัวตลอดเวลาและไม่ได้หลับ หลังจากปฏิเสธหลายครั้งและไม่มีใครเชื่อ ท่านจึงตัดความรำคาญด้วยการรับสมอ้างว่าหลับ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อท่านย้อนกลับไปพิจารณาอีกครั้ง จึงได้ทราบแน่ชัดว่า เหตุการณ์ในครั้งเป็นสามเณรนั้น ก็คือจิตเป็นสมาธินั่นเอง

ในปี พ.ศ. 2490 หลวงพ่อพุธ ได้มาจำพรรษาที่วัดเขาสวนกวาง จังหวัด ขอนแก่น อาการป่วยด้วยโรควัณโรคยังไม่หายขาด ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร จึงได้เร่งเตือนท่านว่า "คุณอย่าประมาท รีบเร่งปฏิบัติเข้าให้มันได้ภูมิจิตภูมิใจ อนาคตคุณจะไปนั่งเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง"

อาการป่วยของท่านเป็นๆ หายๆ เรื่อยมาเป็นระยะเวลานานถึง 10 ปี จึงได้หายอย่างเด็ดขาดในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2491 ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัด อุบลราชธานี อีกจนถึง พ.ศ. 2495 และในปีนี้เอง ท่านได้รับการแต่งตั้งให้ช่วยงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ กล่าวคือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ซึ่งภายหลังได้เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ในปี พ.ศ. 2500

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2496 ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2510

LP Put 05

ในปี พ.ศ. 2500 นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูพุทธิสารสุนทร และ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในนามเดิม และในปีถัดมา พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในนามเดิม

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2511 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ท่านจึงมาจำพรรษาที่วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ท่านดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะจังหวัดอยู่เป็นเวลา 2 ปี ในปี พ.ศ. 2511 นี้เอง ท่านยังได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในนามเดิมอีกด้วย ท่านจำพรรษา ณ วัดหลวง แห่งนี้ เป็นเวลา 2 ปี และในปี พ.ศ. 2512 ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์อีกครั้ง เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระชินวงศาจารย์

ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการขึ้นที่ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทางเจ้าคณะภาคฯ ได้ขอให้ท่านมาเป็น กรรมการบริหารโรงเรียนพระสังฆาธิการในส่วนภูมิภาค ท่านจึงย้ายมาเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

LP Put 06

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้ทำประโยชน์ทั้งต่อพระบวรพุทธศาสนา และต่อสังคมเป็นอเนกอนันต์ โดยสม่ำเสมอเรื่อยมาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2527 ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ มูลนิธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านรับเป็นประธานและวิทยากรในการอบรมสมาธิครูและนักเรียนของเขต การศึกษาที่ 11 อันได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัด บุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักและน่าเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างยิ่ง และในปี พ.ศ. 2527 นี้เอง ท่านได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระภาวนาพิศาลเถร

ในปี พ.ศ. 2529 ท่านรับเป็นผู้อำนวยการศูนย์อบรมสมาธิภาวนา วัดป่าสาลวัน ในปีถัดมา พ.ศ. 2530 ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ทุนมูลนิธิคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครราชสีมา และในปีต่อมา พ.ศ. 2531 ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ กองทุนพระภาวนา พิศาลเถร เพื่อการพัฒนาคุณธรรมในเขตการศึกษาที่ 11 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กองทุนสายธารธรรม ในความอุปถัมภ์ของพระราชสังวรญาณ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ) แม้ว่าหลวงพ่อพุธ ท่านจะมีภารกิจทางศาสนาและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมมากมาย แล้วก็ตาม เมื่อมีผู้ขอให้ท่านช่วยในกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อ สังคมอีก ท่านก็เมตตารับเป็นธุระให้ ทำให้ภารกิจของท่านมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

และในปี พ.ศ. 2535 นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสังวรญาณ

LP Put 07

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513 เรื่อยมา หลวงพ่อพุธท่านจะจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บ้าง หรือที่วัดวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา บ้าง หรือที่วัดป่าชินรังสี อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้าง สลับกันไป-มา

และตลอดมา หลวงพ่อพุธมิได้เคยหยุดที่จะทำประโยชน์ต่อพระบวร พุทธศาสนาและต่อสังคมไทย ท่านยังคงรับเป็นองค์บรรยายธรรม และ อบรมสมาธิภาวนาให้กับพุทธบริษัทในสถานที่ต่างๆมาตลอด อาทิเช่น

  • อบรมธรรมปฏิบัติแก่ข้าราชการทหารบก กองทัพภาคที่ 2
  • เป็นองค์บรรยายในการอบรมแก่ข้าราชการทหารอากาศกองบินที่ 1
  • ให้การอบรมแก่ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ให้การอบรมแก่ผู้ที่เข้าปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2530 
  • บรรยายธรรมในงานวันวิสาขบูชา ในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ที่ท้องสนามหลวง เป็นต้น

และในปี พ.ศ. 2535 นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานรางวัล เสมาธรรมจักรทองคำ ในด้านส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในปี พ.ศ. 2535 นี้เช่นกัน ท่านได้ดำริที่จะก่อตั้งมูลนิธิคณะสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา มหานิกายและธรรมยุตขึ้น

LP Put 08

นอกจากท่านจะเอาใจใส่ในเรื่องอบรมธรรมปฏิบัติแล้ว ท่านยังสร้างประโยชน์ต่างๆ ให้กับสังคมไทยมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กนักเรียน โรงเรียน และโรงพยาบาล อาทิเช่น

  • จัดสร้างโรงเรียนชินวงศ์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนในระดับประถม ศึกษา ที่บ้านวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ทั้งในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
  • มอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างอาคารโรงเรียนต่างๆ ทั้งในเขต จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดต่างๆ
  • มอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงาน ราชการต่างๆ
  • นอกจากนี้ท่านยังช่วยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเสมอๆ
  • อีกทั้งยังมอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาล มหาราช จังหวัดนครราชสีมา
  • รวมทั้งมอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆ อีกด้วย

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมุ่งมั่นในเรื่อง การอบรมธรรมปฏิบัติให้กับพระภิกษุสามเณร ศรัทธาญาติโยม และพุทธบริษัททั้งหลายเสมอมา ท่านหวังให้ทุกผู้ทุกคนได้เข้าใจถ่องแท้ถึงแก่นแห่งพระพุทธศาสนา สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกทางและถูกต้อง จะเห็นได้ว่า ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เอาใจใส่ในอันที่จะชี้นำทางแห่งความสงบ สว่าง และหลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวงในทุกๆ วิถีทาง และในทุกๆ โอกาส โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เหนื่อยยาก แม้ว่าวัยของท่านจะสูงขึ้น สุขภาพของท่านเริ่มถดถอย แต่ภารกิจของท่านก็ยังคงมีมากมาย และดูเหมือนจะทยอยมีมาเพิ่มขึ้นเสมอๆ การดั่งนี้จึงเป็นที่เคารพบูชายกย่อง สรรเสริญ จากพระภิกษุสามเณร และบรรดาศิษยานุศิษย์ทุกถ้วนหน้า สมดัง พระหัตถเลขาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ในธรรมโมทนาเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2536 จาก หนังสือ ฐานิยปูชา ฉบับครบ 6 รอบ ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่ว่า....

"ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ เป็นพระเถราจารย์ผู้ทำประโยชน์แก่ พระศาสนาและประชาชนมามาก เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน ธรรมะแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดถึงสาธุชนผู้มาสู่สำนักด้วยเมตตา เป็นผู้ชี้นำในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติสำรวมตนในพระธรรมวินัย เป็นแบบอย่างอันดีแก่ศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด กล่าวได้ว่าเป็นผู้ทรง เถรธรรมตามนัยแห่งพระพุทธภาษิต ที่ว่า...

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญฺโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ "

สัจจะ (ความจริง) 1 ธรรม 1 ความไม่เบียดเบียน 1 ความสำรวม 1 ความข่มใจ 1 มีในผู้ใดผู้นั้นแล ท่านเรียกว่า ผู้มีปัญญา มีมลทินอัน คลายแล้วเป็นเถระ ดังนี้"

จากหนังสือ พระธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย โดย ธรรมสภา

LP Put 09

redline

backled1

Subcategories

ประวัติหลวงพ่อชา

พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อ

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)