คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ภาษิตอีสานบทนี้ กระตุ้นเตือนเจตนาอันแรงกล้าของหลวงพ่ออยู่เสมอ เมื่อท่านกำหนดวิถีชีวิต ลงในเพศบรรพชิตแล้ว จึงคิดสร้างรากฐานให้แก่ตนเอง ด้วยการศึกษาพระธรรมวินัย ให้รู้แจ้งเสียก่อน ครั้นได้พิจารณาเห็นว่า ครูบาอาจารย์ในท้องถิ่นที่แตกฉานและชำนาญในการสอน ปริยัติไม่ค่อยมี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2484 หลวงพ่อจึงตัดสินใจไปแสวงหาความรู้ในต่างถิ่น สำนักแรกที่เข้าพำนัก คือ วัดสวนสวรรค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แต่เนื่องจากวัดนี้ยังไม่มีสำนักเรียน หลวงพ่อจึงต้องใช้วิธีเดินไปเรียนที่ วัดโพธิ์ตาก ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักแล้วกลับมาพักที่ วัดสวนสวรรค์
วัดสวนสวรรค์ในสมัยนั้น มีกุฏิสองหลัง และศาลาโรงธรรมหนึ่งหลัง มีภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด พักเต็มไปหมด ประกอบกับขณะนั้น กำลังอยู่ในระหว่างสงครามเอเชียมหาบูรพา บางครั้ง มีพวกทหารเข้ามาขอพักอาศัยด้วย บรรยากาศของวัดจึงไม่สงบเท่าที่ควร และอาหารขบฉัน รวมทั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ ขาดแคลนมาก แต่หลวงพ่อก็อดทน ตั้งใจเล่าเรียนอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 1 พรรษา
ปี พ.ศ. 2485 หลวงพ่อจึงได้เดินทางไป สำนักเรียนวัดหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมี พระครูอรรคธรรมวิจารณ์ เป็นเจ้าอาวาส
แต่ระยะนั้นเป็นฤดูแล้ง อาหารการขบฉันฝืดเคือง เพื่อนที่ไปด้วยออกความเห็นว่า อยากไปอยู่สำนักอื่น หลวงพ่อไม่อยากขัดใจสหธรรมิก จึงตกลงเห็นด้วย ทั้งที่มีความรู้สึกชอบอัธยาศัย และสนใจในอุบายการสอนของครูอาจารย์ที่วัดหนองหลักมาก ในปีนั้นจึงจำพรรษาและศึกษา นักธรรมชั้นโท รวมทั้งบาลีไวยากรณ์ ที่ วัดบ้านเค็งใหญ่ อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ในขณะนั้น) โดยมี พระมหาแจ้ง เป็นครูสอน ในปีนั้นสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นโท
ปี พ.ศ. 2486 ได้กลับไปวัดบ้านหนองหลักตามที่ตั้งใจไว้ ในพรรษานี้หลวงพ่อพากเพียรทุ่มเท จิตใจให้กับการศึกษาอย่างเต็มที่ เพราะได้พบครูบาอาจารย์ที่มากด้วยความสามารถ บรรยากาศ ในวัดก็เหมาะต่อการพำนักอาศัย พรรษานั้นได้เรียนทั้งนักธรรมเอก และบาลี ไวยากรณ์ ได้รับสาระประโยชน์จากสำนักเรียนนี้มาก หลังออกพรรษาและกรานกฐินผ่านไป หลวงพ่อได้รับข่าวจากทางบ้านว่า โยมพ่อป่วยหนัก จึงเกิดความพะว้าพะวงห่วงทั้งพ่อและการศึกษา แต่เกิดความคิดว่า
โยมพ่อนั้น เป็นผู้มีพระคุณอันใหญ่หลวง ควรที่เราจะตอบแทนพระคุณท่าน ตามฐานะที่จะพึงกระทำได้ ส่วนเรื่องการเรียน หากเราไม่ตายเสียก่อน คงมีโอกาสได้ร่ำเรียนอีกตามที่เราปรารถนา "
ในที่สุดหลวงพ่อจึงตัดสินใจหยุดพักการเรียนและการสอบนักธรรมไว้ แล้วรีบเดินทางกลับบ้าน เพื่อดูแลและช่วยพยาบาลโยมพ่อ
เมื่อมาถึงบ้าน ได้พบเรือนร่างร่วงโรยซีดเซียวของโยมพ่อ นอนแน่นิ่งหายใจรวยรินอยู่บนที่นอน แม้ญาติมิตรและหมอจะเยียวยารักษาอย่างไร อาการป่วยไข้ของพ่อมาก็ไม่ดีขึ้น มีแต่ทีท่าว่าร่างกายที่ถูกบีบคั้นด้วยความชราและพยาธินั้น จะคืนสู่ธรรมชาติเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ โดยส่วนเดียว
ธรรมะบนต้นไม้ มีอยู่ทั่วไปในป่าของวัดหนองป่าพง
วัวควายตาย เหลือไว้ เพียงเขาหนัง ช้างตายยัง เหลืองา เป็นศักดิ์ศรี
คนเราตาย เหลือไว้ แต่ชั่วดี บรรดามี ประดับไว้ ในโลกา "
หลังจากใช้ชีวิตทางโลกอยู่หลายปี วันหนึ่งในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2482 ขณะนั้นนายชา อายุ 21 ปี ได้ตัดสินใจบอกความในใจของตนต่อบุพการี พ่อมาและแม่พิมพ์ ต่างปลาบปลื้มยินดีในเจตจำนงของบุตรชายที่ประสงค์จะออกบวช เพราะชาวพุทธมีคติว่า "การบวชพระให้ลูกชายเป็นบุญกุศลอันประเสริฐยิ่ง" จึงบอกข่าวแก่ญาติมิตรบ้านใกล้เรือนเคียง มาร่วมตระเตรียมงานบวชบุตรชายของตน พร้อมทั้งนำนายชาไปฝากเป็นนาคฝึกหัด และเรียนรู้ความเป็นอยู่ของพระ
ตะวันบ่าย 13.55 นาฬิกา ของวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 นายชา ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็น พระภิกษุชา มีฉายาว่า สุภัทฺโท (ผู้เจริญด้วยดี) โดยมี ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดก่อนอก ถึงสองพรรษา
หลวงพ่อเคยพูดถึงความรู้สึกของท่านตอนบวชใหม่ๆ เพื่อให้เป็นคติแก่บรรดาสานุศิษย์ว่า "เราบวชมา ก็ไม่ได้ปรารถนาว่าจะมาอยู่อย่างนี้ ไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นครูอาจารย์ใคร ไม่ได้นึกจะหนีจากวัฏสงสารอันนี้ ก็บวชธรรมดาไปอย่างนั้นแหละ... แต่พอบวชเข้ามาแล้ว ได้เรียน ได้ปฏิบัติ ก็เกิดศรัทธาขึ้น ครั้งแรกก็เกิดวิตกถึงความเป็นอยู่ของสัตว์โลกทั้งหลาย... น่าสลด สังเวช... คนเราเกิดมาแล้วประเดี๋ยวก็ตายไปทั้งนั้น ทิ้งบ้าน ทิ้งข้าวของให้ลูกหลานแย่งกัน ทะเลาะกัน เมื่อเราเห็นแล้ว ก็เข้าถึงจิตใจเรา เกิดสลดสังเวชในความเป็นอยู่ทั้งของคนจน คนรวย ทั้งคนโง่ คนฉลาด อยู่ในโลกก็เป็นอย่างนี้
ธรรมะหรือความรู้สึกนี้เต็มอยู่ในใจของเรา ไม่รู้จะพูดให้ใครฟัง เมื่อจิตมันตื่นขึ้นมาแล้ว อะไรก็ตื่นตาม พบสิ่งต่างๆ ก็ตื่นอยู่เสมอ เราสำนึกอยู่เสมอว่า เราได้รู้จักธรรมะ เรียกว่ามันสว่างขึ้นแล้ว ทำให้มองเห็นอะไรหลายๆ อย่าง เวลานั้นก็มีธรรมะ มีปิติอิ่มใจ ... และเมื่อยิ่งศึกษาไป.. ปฏิบัติไป ก็ยิ่งมีศรัทธา ยิ่งอิ่มใจยิ่งสงบ และมีปัญหามากขึ้นทุกที
พอออกพรรษา พระเณรที่บวชพร้อมๆ กันก็พากันสึก เรามองเห็นว่า เอ..ไอ้พวกนี้ มันยังไงกันหนอ แต่ก็ไม่ได้พูดกับเขา เพราะยังไม่ไว้ใจความรู้สึกของตัวเอง พวกที่จะสึก พากันตื่นเต้น บางทีก็เอาเครื่องแต่งตัวมาใส่ เราเห็นว่าพวกนี้ บ้าหมดแล้ว แต่เขาว่ามันดี มันสวย สึกแล้วจะต้องไปทำอย่างนั้น อย่างนี้ ตอนนั้นภายในใจเราคิดว่า นี่มันโง่มาก บวชมันบวชยาก สึกมันสึกง่าย พวกนี้บุญน้อยเห็นทางโลกมีประโยชน์มากกว่าทางธรรมะ เราก็เห็นไป แต่ไม่พูด ได้แต่มองจิตของตัวเอง ไม่กล้าพูดให้เพื่อนเขาฟังว่า คิดอย่างนั้น มันผิด ไม่กล้าพูด เพราะว่าตัวเราก็ยังเป็นของไม่แน่เหมือนกัน ไม่รู้ว่าศรัทธาของเราจะ ยั่งยืนยาวไปถึงขนาดไหน...
พอเพื่อนสึกไปแล้วก็ทอดอาลัย ไม่มีใครอยู่ด้วย ก็เอาหนังสือปาฏิโมกข์มาท่องสบาย ไม่มีใครมาล้อเลียนก็ตั้งใจว่า จะพยายามปฏิบัติ ให้มีความนึกคิดเห็นโทษเห็นภัยของโลก อยู่เสมอ ไม่ให้คลายความเพียร ไม่ให้เปลี่ยนศรัทธา จะให้มันสม่ำเสมออย่างนี้....... แต่ การบวช.... ไม่ใช่ทุกข์นะ ยิ่งพรรษาหนึ่งพรรษาสอง หรือเป็นพระหนุ่มเณรน้อยนี่ ยิ่งทุกข์ มาก ผมนี่มันเคยทุกข์มามาก ทุกข์กับอาหารการกิน นี่ก็ยิ่งทุกข์ อยากกินตำส้มมะละกอ อยากกินนั่น กินนี่ อยากกินทุกอย่างนั่นแหละ น้ำลายนี่ไหลยืดเลย คนกำลังกินกำลังนอน กำลังสนุก เอามายึด มาขังเอาไว้ มันก็ทุกข์มาก เหมือนกับน้ำกำลังไหลไปขวางเอาไว้ ยิ่งไปกันใหญ่ เอาได้ก็ดี เอาไว้ไม่ได้ก็พัง
บวชปีแรกไม่คอยได้อะไร มีแต่อยากกินนั่นกินนี่ วุ่นวายไปหมดแย่เหลือเกิน บางครั้ง นั่งคิดอยู่ เหมือนกับได้กินกล้วยจริงๆ รู้สึกเหมือนได้หักกล้วยเข้าปากอยู่อย่างนั้น.. มัน เป็นของมันเอง แต่ถ้าเราพิจารณาดีๆ เรื่องเหล่านี้ คือเรื่องของการปฏิบัติทั้งนั้น ยิ่งยาก ยิ่งลำบาก นั่นแหละดี สิ่งไหนไม่ยากไปทำมันทำไม ใครๆ ก็ทำได้หรอก... สิ่งที่ยากๆ คือการปฏิบัตินี่ต้องทำให้มันได้.. บางคนมาพูดว่า ถ้าออกบวชตั้งแต่อายุน้อยๆ ไม่ได้ สร้างครอบครัวเหมือนหลวงพ่อคงปฏิบัติง่าย ไม่ต้องคิดอะไรมาก ว่าไปนั่น คนพูดอย่างนี้ อย่ามาพูดอยู่ใกล้ๆ นะเดี๋ยวโดนไม้ตะพดหรอก... แหม พูดยังกับว่าเราไม่มีหัวใจ เรื่อง การปฏิบัติฝืนจิตใจตน ไม่ใช่เรื่องย่อยๆ นะ มันเรื่องของชีวิตทั้งชีวิตนั่นแหละ... "
การจำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก หลวงพ่อได้ศึกษาปริยัติธรรม และสอบนักธรรมตรีได้ในปีนั้น การเล่าเรียนทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ศรัทธาในพุทธประวัติและพระธรรมคำสอนยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ท่านตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า จะมอบชีวิตไว้ใต้ร่มโพธิญาณ หลวงพ่อเล่าถึงความรู้สึก ก่อนจะตัดสินใจอย่างนี้ว่า
ก่อนที่ผมจะปฏิบัติ ผมมีความคิดว่า ศาสนาตั้งอยู่ในโลกทำไม ? บางคนทำตาม บางคนไม่ทำ บางคนทำแบบนิดๆ หน่อยๆ แล้วเลิก หรือผู้ไม่เลิกก็ไม่ประพฤติปฏิบัติเต็มที่ นี่เป็นเพราะอะไร ก็ความไม่รู้นั่นเอง....
ผมจึงอธิษฐานในใจว่า เอาละชาตินี้ เราจะมอบกายใจอันนี้ให้มันตายไปชาติหนึ่ง แล้วจะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเลย จะทำให้มันรู้แจ้งในชาตินี้ แม้ว่าจะทุกข์ยากลำบากขนาดไหน ก็ต้องทำ... ไม่เช่นนั้นก็จะสงสัยอยู่เรื่อยไป ทำไมมันยุ่งยากนัก วัฏสงสารนี้... "
เมื่อลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน นายชาผู้ผ่านการบวชเรียนมาสามปี เกิดความซาบซึ้งในพระคุณบิดามารดามากยิ่งขึ้น สิ่งใดจะนำความสุขกายสบายใจมาให้ท่านทั้งสอง ก็พยายามกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจ ได้ปรากฏขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ว่า ชีวิตแบบชาวบ้านนี้ไร้แก่นสาร ท่านเล่าความรู้สึกนั้นให้ศิษย์ฟังในภายหลังว่า
...ตอนนั้น อายุประมาณสิบห้าสิบหกปี เบื่อ.. ไม่อยากอยู่กับครอบครัว คิดอยากจะไปอยู่คนเดียวเรื่อยๆ ไม่รู้ทำไมถึงคิดอย่างนั้น เป็นอยู่หลายปีเหมือนกัน ไม่รู้มันเบื่ออะไร มันอยากไปไหนๆ คนเดียว เป็นอย่างนั้นอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็มาบวช อันนี้มันเป็นนิสัย หรือ บารมี แต่เราไม่รู้จักมัน แต่ก็มีความรู้สึกอย่างนี้ตลอดมา... "
แต่เหมือนโลกต้องการฝากบทเรียนชีวิตให้แก่ผู้จะสละโลกเสียก่อน นายชาจึงยังไม่มีโอกาสทำตามความรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจได้ นายชามีเพื่อนรักคนหนึ่งชื่อ นายพุฒ ทุมมากรณ์ ซึ่งเป็นเพื่อนที่สนิทสนมเคยเล่นกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เมื่อทั้งสองแตกเนื้อหนุ่ม การละเล่นอย่างเด็กๆ ก็จืดจางไร้รสชาติ จึงพากันแสวงหาของเล่นแบบใหม่ที่เหมาะกับวัยของตน
การมีคนรักเป็นเรื่องสนุกตื่นเต้นและท้าทายสำหรับวัยรุ่น แต่มันก็อาจเป็นที่มาของความล้มเหลว หรือความรุ่งโรจน์ของชีวิตในขณะเดียวกันได้ ในที่สุดนายชาได้เกิดสัมพันธ์รักกับ นางสาวจ่าย ซึ่งเป็นลูกติดแม่เลี้ยงของนายพุฒเพื่อนรักนั่นเอง
ความรักของหญิงชายคู่นี้ ญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงไม่มีใครรังเกียจ เพราะเห็นว่า นายชา เป็นคนดีมีคุณสมบัติเพียบพร้อม ทั้งนิสัยใจคอและฐานะทางครอบครัว พ่อแม่ของหญิงสาวถึงกับกีดกันหนุ่มอื่น ไม่ให้มีโอกาสย่างกรายผ่านขึ้นมาบนเรือนเลยทีเดียว เวลานั้นนายชาอายุได้ 19 ปี ส่วนหญิงสาวอายุ 17 ปี ทั้งสองได้สัญญาต่อกันว่า จะรอจนกว่านายชาผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว บวชทดแทนคุณพ่อแม่สักหนึ่งพรรษา เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะแต่งงานกันทันที
ย่างเข้าฤดูฝน ชาวนาต่างตระเตรียมคราด ไถ และวัวควาย รอการปักดำ นายชาก็ง่วนอยู่กับการงานที่กระท่อมกลางนา โดยหารู้ไม่ว่า ความผิดหวังบทเรียนเรื่อง อนิจจัง กำลังจะเกิดขึ้นกับตน "ให้มันแต่งกับไอ้พุฒ ลูกชายของเรานี่แหละ" พ่อของนายพุฒปรารภเรื่องการแต่งงานของนางสาวจ่ายกับภรรยาตน เพราะเห็นว่า นายชากับนางสาวจ่ายถึงจะเหมาะสมกันก็จริง แต่ต้อง รอกันอีกหลายปี ดีไม่ดีนายชาอาจเปลี่ยนใจ ลูกของตนจะมีแต่ทางเสีย และยังมีความเห็นในแง่ เศรษฐศาสตร์อีกว่า "เรือล่มในหนองทองจะไปไหน"
ข่าวการแต่งงานของนายพุฒกับนางสาวจ่าย แพร่กระจายไปทั่วหมู่บ้าน กระทั่งไปไกลถึงกระท่อมกลางนา นายชารู้สึกเสียใจมาก แต่ในที่สุดก็ทำใจได้ ไม่โกรธแค้นเขาทั้งสอง เพราะรู้ว่า เขาจำเป็นต้องทำตามความปรารถนาของพ่อแม่ ความผิดหวังครั้งนี้ จึงกลับกลายเป็นบทเรียน เรื่องอนิจจังบทแรกให้แก่ท่าน
นายชายังคงรักษาความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่ดีกับนายพุฒเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่สำหรับ แม่จ่าย นั้นนายชายังตัดห่วงหาอาลัยไม่ขาด หลวงพ่อเคยเล่าว่า ต้องระวังใจตัวเองมาก แม้บวชเป็นพระแล้ว ถ้าเห็นแม่จ่ายเดินมาต้องรีบหลบเข้าป่าทันที เจ็ดปีแรกที่บวชท่านยอมรับว่า ยังสลัดความอาลัยในสาวจ่ายออกไม่ได้ กระทั่งออกธุดงค์ เจริญกรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจัง ความรู้สึกนั้นจึงค่อยคลายหายไป
เมื่อหลวงพ่ออบรมพระเณรเรื่องกาม ท่านมักพูดถึงพ่อพุฒในฐานะเป็นผู้มีบุญคุณต่อท่านว่า "ถ้าเขาไม่แต่งงานกับแม่จ่าย เราก็คงไม่ได้บวช" หลังจากได้รับบทเรียนแห่งอนิจจังบทแรก ความรู้สึกที่มีต่อโลกในแง่เบื่อหน่ายก็ยิ่งปรากฏขึ้นชัดเจน ทำให้เริ่มมองเห็นความไม่เที่ยงแท้และแน่นอนในชีวิต เกิดความระมัดระวังในเรื่องความรักหรือเพศตรงข้ามมากขึ้น...
สมัยที่บวชเณร นายชาสนิทสนมกับเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นพระ แม้เมื่อลาสิกขาแล้ว ทั้งสองยังคงไปมาหาสู่กัน ด้วยความรักและนับถือเสมือนพี่น้อง ต่อมาเพื่อนคนนั้นป่วยหนัก และถึงแก่กรรม นายชาได้ไปช่วยงานศพตั้งแต่วันแรก จนกระทั่งงานลุล่วงไป และด้วยความคุ้นเคยกับครอบครัวนี้ จึงเกิดความเป็นห่วงว่า ภรรยาและลูกๆ ของผู้ตายจะรู้สึกว้าเหว่ จึงพักค้างคืนอยู่เป็นเพื่อน เพื่อให้กำลังใจแก่กันก่อน คืนแรกผ่านไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พอคืนที่สอง ตกดึกภรรยาของผู้ตายได้เข้ามานอนแอบอิงอยู่แนบข้าง พร้อมทั้งจับมือเพื่อนสามีมาลูบไล้เรือนร่างตน แต่นายชาก็หาได้ตอบสนองตามความต้องการของนางไม่ กลับแสร้งทำเป็นหลับ ไม่รับรู้อะไร เมื่อนางไม่อาจทำในสิ่งที่ปรารถนาได้ จึงลุกหนีไปด้วยความอับอาย
คืนนั้น นายชาได้เอาชนะกามราคะเป็นครั้งแรกในชีวิต ชนะด้วยความอดทน ด้วยจิตสำนึก ในความถูกต้องดีงามและละอายต่อบาป
ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวนาแห่งหนึ่ง "บ้านก่อ" อยู่ในเขตตำบลธาตุ (ปัจจุบันเป็น ตำบลแสนสุข) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ณ หมู่บ้านแห่งนั้น พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทฺโท) ได้ถือกำเนิดในสกุล ช่วงโชติ เมื่อ วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ของพ่อมา แม่พิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 10 คน
ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพกสิกรรม มีฐานะมั่นคง บิดา มารดา มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี มักเอื้อเฟื้อทั้งวัตถุและไมตรีแก่เพื่อนบ้านเสมอ รวมทั้งมีใจบุญสุนทานเข้าวัดฟังธรรมอยู่เป็นประจำ อันเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของชาวชนบทอีสานโดยทั่วไป
หลวงพ่อเติบโตในบรรยากาศอบอุ่นมั่นคงของครอบครัวใหญ่ แวดล้อมด้วยหมู่วงศาคณาญาติ ที่ต่างพึ่งพาอาศัย เคารพรัก นับถือกันและกัน ครอบครัวของท่านจึงเป็นครอบครัวหนึ่งในชนบทที่มีความสงบสุขตามอัตภาพ
ในวัยเด็ก หลวงพ่อมีรูปลักษณ์น่าเอ็นดู ด้วยรูปร่างอ้วนกลม พุงพลุ้ย และปากกว้างที่เชิดขึ้นเล็กน้อย เพื่อนๆ จึงขนานนามท่านว่า "อึ่ง" น้องชายของท่านเล่าถึงลักษณะและอุปนิสัยของ พี่ชายว่า
เป็นคนมีรูปร่างลักษณะแม้ไม่หล่อ แต่ก็ไม่ขี้เหร่ ดูได้ทั้งวันไม่น่าเบื่อ และเป็นคนพูดเก่ง อารมณ์ดี ชอบสนุก รวมทั้งมีอารมณ์ขัน ชอบนำเรื่องตลกมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้หัวเราะครื้นเครงอยู่เสมอ "
หลวงพ่อมีลักษณะของผู้นำมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเล่นกับเพื่อนๆ ชอบเป็นหัวหน้า แต่ก็เป็นผู้นำที่ฝักใฝ่ธรรมาธิปไตย ไม่นิยมความรุนแรง รักสันติ มีความเป็นกลาง มักช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาและความขัดแย้งของเพื่อนๆ
เอกลักษณ์โดดเด่นอีกอย่างคือ เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่ชอบการโกหก มีนิสัยตรงไปตรงมา รักในความเป็นธรรมและเสียสละ เวลาเฉลี่ยแบ่งปันสิ่งของในหมู่เพื่อน มักขอส่วนแบ่งที่น้อยกว่าผู้อื่น และมีนิสัยเช่นนี้เสมอต้นเสมอปลาย
นอกจากมีนิสัยชอบเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมแล้ว บางครั้งยังชอบเล่นเป็น "พระ" อีกด้วย หลวงพ่อ เล่าให้ฟังว่า
ตอนเด็กๆ คิดอยากจะเล่นเป็นพระ ก็เลยตั้งตนเป็นสมภารขึ้นมา เอาผ้าขาวม้ามาห่มเป็นจีวร ถึงเวลาฉันเพลก็ตีระฆังแก๊งๆ ให้เพื่อนๆ ที่เล่นเป็นโยมอุปัฏฐาก เอาน้ำมาให้ฉัน แล้วรับศีลรับพร "
ท่านเล่าถึงอดีตในครั้งกระโน้นและหัวเราะอย่างอารมณ์ดี
ต่อมา หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนบ้านก่อแล้ว เด็กชายชาได้รบเร้าให้พ่อแม่พาตนไปฝากเป็นศิษย์วัด พ่อมาและแม่พิมพ์ก็ไม่ขัดข้อง กลับรู้สึกยินดีที่ลูกใฝ่ใจ เรื่องวัด เรื่องวา จึงนำเด็กชายชาไปฝากฝังกับท่านอาจารย์ลี ที่วัดบ้านก่อนอก
ครั้นได้เป็นเด็กวัดดังปรารถนาแล้ว เด็กชายชาก็มีโอกาสได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชาววัด พร้อมทั้งฝึกหัดไหว้พระ สวดมนต์ และอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์ ท่านอาจารย์ลีเฝ้าจับตามองอยู่หลายเดือน เห็นว่า เป็นเด็กเรียบร้อย และขยันหมั่นเพียรดี จึงจัดการบวชเณรให้พร้อมกับเพื่อนๆ อีกหลายคน โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 ขณะนั้นอายุได้ 13 ปี
เมื่อบรรพชาแล้ว ได้ศึกษาหลักสูตรนักธรรม และเรียนหนังสือพื้นเมืองที่เรียกกันว่า หนังสือตัวธรรม รวมทั้งท่องบ่นบทสวดมนต์ต่างๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญ บวชเณรได้สามปี ก็ลาสิกขาบท กลับไปใช้ชีวิตทางโลกอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ได้ศึกษาบทเรียนชีวิตหลายอย่าง ซึ่งต่อมามันได้กลายเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า ที่ท่านนำมาเป็นหลักพิจารณา ให้เกิดศรัทธาและปัญญาอันเป็นประโยชน์
..ถ้าท่านติดอยู่ในความสงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์เพราะ..
..จิตไม่สงบ.. ฉะนั้นจงปล่อยวางทุกสิ่ง แม้แต่ความสงบ... "หลวงปู่ชา
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)