คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
หลังจากออกจากสำนักหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงพ่อกับคณะเดินธุดงค์รอนแรมพักภาวนา ตามป่าเขามาเรื่อยๆ ในขณะนั้นไม่ว่าจะเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิอยู่ที่ใดก็ตาม มีความรู้สึกราวกับว่า หลวงปู่มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำตักเตือนอยู่ตลอดเวลา...
วันหนึ่งหลวงพ่อกับคณะเดินทางถึงวัดโปร่งคลอง ซึ่งเป็นสำนักของพระอาจารย์คำดี ขณะนั้นเป็นฤดูแล้ง พื้นดินแห้ง เหมาะแก่การพักตามโคนไม้ พระบางรูปในสำนักจึงไปอยู่ป่าช้า เพื่อฝึกฝนตนเอง
หลวงพ่อเกิดความสนใจ ใคร่จะศึกษาดูว่า การอยู่ป่าช้าจะช่วยขัดเกลากิเลสได้อย่างไร
หลวงพ่อเล่าถึงประสบการณ์ที่ป่าช้าในครั้งนั้นว่า...
หลังคืนสยองผ่านไป โดยมิรู้ว่าอาคันตุกะลึกลับผู้นั้นคือใคร เหตุใดจึงมาเยี่ยมเยือนด้วย อาการดุร้ายน่ากลัวเช่นนั้น... หลวงพ่อไม่กล่าวถึงมัน ท่านกลับเน้นให้ศิษย์มองเห็นคุณค่าของการต่อสู้ให้ถึงที่สุด... สู้ชนิดเอาชีวิตเข้าแลก แล้วปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงจะเกิดขึ้นตรงนั้น ดังคำที่หลวงพ่อมักใช้ปลุกใจลูกศิษย์ว่า ไม่ดีก็ให้มันตาย... ไม่ตายก็ให้มันดี!
เมื่อหลวงพ่อพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ป่าช้าได้เจ็ดวัน ก็มีอาการป่วยหนัก จึงออกมาพักรักษาตัวที่สำนักท่านอาจารย์คำดี พักอยู่ประมาณ 10 วัน อาการก็ทุเลาลง แม้ร่างกายอ่อนล้าเพราะพิษไข้ แต่จิตใจกลับกล้าแกร่งองอาจยิ่งนัก เพราะได้ฝ่าฟันอุปสรรคคือ ความกลัวตายในคืนนั้นได้ด้วยความอดทนและภูมิปัญญา
หลังจากอาการไข้สร่างซาลง มีพละกำลังกลับคืนมา ก็กราบลาท่านอาจารย์คำดี เดินทางมาพักอยู่ในป่าใกล้บ้านต้อง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พักอยู่ที่นั่นหลายวัน อาการไข้หายเป็นปกติ แต่อาการไข้ใจจากไฟราคะ ที่ถูกควบคุมความร้อนแรงไว้ด้วยการหลีกเร้นและภาวนา กลับถูกจุดให้ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง โดยม่ายสาวผู้รวยรูปลักษณ์และทรัพย์สิน นางมาถวายอาหารและพูดคุยด้วยทุกวัน จนจิตใจหลวงพ่อหวั่นไหวไปตามแรงจริตที่นางแสดงออก ซึ่งส่อถึงความรู้สึกอันพิเศษ เกินขอบเขตที่อุบาสิกาจะพึงมีต่อพระ...
หลวงพ่อชั่งใจว่า จะเอาอย่างไรดีอยู่หลายวัน กระทั่งคืนหนึ่งขณะนั่งภาวนาพิจารณาไป สังเกตเห็นใจตัวเองเอนเอียงไปทางนางมากขึ้นทุกที จึงตัดสินใจลุกขึ้นเก็บบริขารในกลางดึกของคืนนั้น แล้วเดินไปปลุกปะขาวแก้ว ซึ้งกำลังหลับสบายอยู่ในกลด
ปะขาวแก้วสะดุ้งตื่น ลุกขยี้ตา ถามอย่างงัวเงียว่า "ไปพรุ่งนี้ไม่ได้หรือครับ"
"ไม่! จะไปเดี๋ยวนี้แหละ" หลวงพ่อตอบอย่างเด็ดขาด เพราะตรึกตรองดีแล้วว่า ถ้าไม่หนีคืนนี้ คงจะเสียทีแก่นางแน่
หลายปีต่อมา หลังจากหลวงพ่อมาอยู่วัดหนองป่าพงแล้ว ครั้งหนึ่งท่านได้เยี่ยมลูกศิษย์ที่สำนักสาขาแถวบ้านต้อง ระหว่างพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับญาติโยม ท่านปรารภถึงความหลัง และพูดถึงการปฏิบัติของตัวเองในสมัยก่อนอย่างขำๆ ว่า...
การปฏิบัติของอาตมามันยากหลายแนว แต่แนวที่มันยากนำอีหลีก็เรื่องแม่ออก นี่ล่ะ "
(การปฏิบัติของอาตมามันยากหลายอย่าง แต่ที่ยากกับมันจริง ๆ ก็เรื่องผู้หญิง นี่แหละ)
ในระหว่างที่จำพรรษาที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อได้ฟังเรื่องราวของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จากโยมคนหนึ่ง ซึ่งเคยไปนมัสการหลวงปู่มั่น ที่สำนักป่าหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เกิดความรู้สึกเลื่อมใส และตั้งใจว่าจะต้องไปศึกษาแนวทางปฏิบัติจากท่าน เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อพิจารณาเห็นว่า พระถวัลย์มีความสนใจในการศึกษาตำรับตำรา จึงปรารภเรื่องวิถีชีวิตกันระหว่างเพื่อน พระถวัลย์ตกลงใจจะไปเรียนปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ หลวงพ่อกับคณะ พระภาคกลางรวมกันสี่รูป จึงออกเดินทางย้อนกลับมาที่อุบลราชธานี พักอยู่ที่วัดก่อนอกระยะหนึ่ง แล้วจาริกธุดงค์มุ่งหน้าไปจังหวัดสกลนคร
ระหว่างการเดินทางไปสำนักหลวงปู่มั่น ได้แวะสนทนาและศึกษาตามสำนักต่างๆ ที่ จาริกผ่านไปเรื่อย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติของแต่ละสำนัก การเดินทางครั้งนั้น ผู้ร่วมทางบางคนในคณะเกิดท้อถอย เพราะมีความเหน็ดเหนื่อย และยากลำบากมาก ประกอบกับเป็นผู้ไม่คุ้นเคยต่อการเดินทางไกลนัก จึงขอแยกทางกลับคืนถิ่นเดิม หลวงพ่อกับพระอีกสองรูปที่ไม่เลิกล้มความตั้งใจ ได้ออกเดินทางต่อ ในที่สุดก็ถึงสำนักของหลวงปู่มั่น
ก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่สำนักป่าหนองผือนาใน หลวงพ่อรู้สึกประทับใจในบรรยากาศอันสงบ ร่มรื่นของสำนัก มองดูลานวัดสะอาดสะอ้าน กิริยามารยาทของเพื่อนบรรพชิตเป็นที่น่าเลื่อมใส จึงเกิดความพึงพอใจยิ่งกว่าสำนักใดๆ ที่เคยสัมผัสมา ยามเย็นวันแรกที่ไปถึง ได้เข้ากราบนมัสการ หลวงปู่พร้อมศิษย์ของท่านเพื่อฟังธรรมร่วมกัน หลวงปู่มั่น ได้ปฏิสันถาร สอบถามเกี่ยวกับอายุ พรรษา และสำนักที่เคยได้ศึกษาปฏิบัติ จากนั้นท่านก็ให้โอวาทและปรารภถึงเรื่องนิกายทั้งสอง คือ ธรรมยุติและมหานิกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่หลวงพ่อสงสัยอยู่มาก
หลวงปู่มั่นกล่าวว่า "การประพฤติปฏิบัตินั้น หากถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง" เมื่อคลายความสงสัยในเรื่องนิกายแล้ว หลวงพ่อได้กราบเรียน ถามปัญหากับหลวงปู่มั่น ซึ่งหวงพ่อถ่ายทอดบทสนทนาของท่านกับหลวงปู่มั่นให้ศิษย์ฟังว่า
เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นเหตุให้เราเป็นคนมักน้อย และสติก็จะกล้าขึ้น จะยืนเดิน นั่ง นอนอยู่ที่ไหน มันจะตั้งอกตั้งใจมีสติเต็มเปี่ยมเสมอ ความระวัง มันก็เกิดขึ้น...
อะไรทั้งหมดที่ท่านศึกษาในหนังสือน่ะ มันขึ้นต่อจิตทั้งนั้น ถ้าท่านยังไม่อบรมจิตของท่านให้มีความรู้ มีความสะอาดแล้ว ท่านจะมีความสงสัยอยู่เรื่อยไป...
ดังนั้น ท่านจงรวมธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ที่จิต สำรวมอยู่ที่จิต อะไรที่เกิดขึ้นมา ถ้าสงสัย... ถ้ายังไม่รู้แจ้งแล้วอย่าไปทำ... อย่าไปพูด... อย่าไป ละเมิดมัน"
คืนนั้น.. หลวงพ่อนั่งฟังธรรมร่วมกับศิษย์ของหลวงปู่มั่น จนกระทั่งถึงเที่ยงคืน จิตใจเกิดความสงบระงับเป็นสมาธิ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางได้อันตรธานไปสิ้น...
คืนที่สอง... หลวงปู่มั่นได้แสดงปกิณกธรรมต่างๆ ให้ฟังอย่างละเอียดลึกซึ้ง จนหลวงพ่อคลายความลังเลสงสัยในวิถีทางการปฏิบัติ มีความปลาบปลื้มปิติในธรรมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในวันที่สาม... หลวงพ่อได้กราบลาหลวงปู่มั่น แล้วเดินธุดงค์ลงมาทางอำเภอนาแก จังหวัด นครพนม
จากการได้พบ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในครั้งนั้น เป็นประสบการณ์สำคัญที่นำวิถีชีวิตของหลวงพ่อ เข้าสู่กระแสธรรมปฏิบัติอย่างถูกต้องและมั่นคง หลวงพ่อเล่าถึงบรรยากาศของการได้สัมผัสหลวงปู่มั่น และสำนักป่าหนองผือนาใน แก่พระเณรในเวลาต่อมาว่า...
"...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น... ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็สะอาดมาก
พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกลๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน...
พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียงอะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ
บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอสมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก็กลับกุฏิ เอาธรรมะที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณา
เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก
ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ๆ กัน เพื่อนเขาเดินจงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใคร ท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดิน ไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..."
เครื่องบริขารสำหรับการจาริกธุดงค์
ต้นปี พ.ศ. 2489 หลวงพ่อ กับ พระถวัลย์ ญาณจารี ได้จาริกธุดงค์จากอุบลราชธานี มุ่งสู่ภาคกลาง เพื่อสืบเสาะหาครูอาจารย์ด้านการปฏิบัติ ท่านทั้งสองเดินทางรอนแรมมาเรื่อย กระทั่งผ่านดงพญาเย็นเข้าสู่เขตจังหวะสระบุรี ได้หยุดพักอยู่ที่บ้านยางคู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้น หลวงพ่อได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อเภา แห่งวัดเขาวงกฏ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นครูอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมปฏิบัติในเขตนั้น จึงตกลงกับเพื่อนแล้วเดินทางไปยังวัดเขาวงกฏ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลวงพ่อเภาท่านมรณภาพไปเสียแล้ว คงเหลือแต่ท่านอาจารย์วรรณ ซึ่งเป็นศิษย์ดูแลสำนักแทน เมื่อพิจารณาสถานที่วัดเขาวงกฏ ก็พบว่า มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ จึงขอพำนักจำพรรษาที่นั่น
ในพรรษานั้น ได้มีโอกาสศึกษาข้อวัตรปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางแนวทางไว้ หลวงพ่อเคยเล่า ถึงปฏิปทาบางอย่างของหลวงพ่อเภาให้พระเณรฟังว่า... วันหนึ่งขณะหลวงพ่อเภานั่งสนทนาอยู่กับลูกศิษย์รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระมหาเปรียญ มีโยมผู้หญิงมากราบนมัสการและออกปากนิมนต์ ว่า... "หลวงพ่อ.. วันนี้ดิฉันขอนิมนต์หลวงพ่อไปเที่ยวด้วย จะไปไหมคะ" หลวงพ่อเภานิ่งเฉย ไม่พูดอะไร พระมหารูปนั้นก็นึกว่า หลวงพ่อเภาคงไม่รู้เรื่อง หรือคงไม่ได้ยิน จึงบอกว่า "หลวงพ่อๆ โยมถาม ได้ยินไหม? เขาจะนิมนต์ไปเที่ยวที่โน้น"
หลวงพ่อเภาก็ว่า "ได้ยิน" โยมผู้หญิงก็ถามอีกว่า "หลวงพ่อไปหรือเปล่าคะ" ท่านก็เฉย ไม่พูด ไม่ตอบ เลยไม่รู้เรื่องกัน เมื่อโยมผู้หญิงกลับไปแล้ว พระมหาก็ถามว่า.. "หลวงพ่อ โยมเรียนถาม ทำไมหลวงพ่อไม่พูด" หลวงพ่อเภาตอบว่า "โอ้ มหา ท่านรู้หรือเปล่า คนที่มาเมื่อกี้มีแต่ผู้หญิงทั้งนั้น จะชวนพระร่วมเดินทางด้วย.. นี่คุณจะไปรับปากกับเขาทำไม.. ให้เขาชวนข้างเดียวไม่เป็นอะไร เมื่อเราอยากจะไป... ก็ไป เพราะเราไม่ได้ชวนเขา เขาชวนเราข้างเดียว" (พระชวนผู้หญิง ร่วมเดินทางด้วยเป็นอาบัติปาจิตตีย์) ท่านมหาก็เลยนั่งคิด "อือ... เราเสียคนเหลือเกินนะ"
หลวงพ่อเล่าต่ออีกว่า ครั้งนั้นมีคนเอาเงินมาถวายหลวงพ่อเภา พอเขาเอาใส่ถาดมา ท่านก็ปูผ้าเช็ดหน้าไปรับ เมื่อเขาเอาถาดวางลงบนผ้า ท่านก็ปล่อยมือจากผ้าเช็ดหน้า... เงินก็ทิ้งไว้ที่เตียงนั้น ท่านรู้แล้วแต่ไม่สนใจลุกหนีไป คือในพระวินัยกล่าวว่า ถ้าเราไม่ยินดีในเงินนั้น ไม่บอก เขาก็ได้ เสร็จธุระแล้วก็ให้เป็นหน้าที่ของโยม แต่ถ้าหากว่าเรามีความยินดีก็ต้องบอกเขาว่า "โยม สิ่งนี้ไม่สมควรแก่พระ" ต้องห้ามเขาในสิ่งที่มันผิด (ภิกษุรับเอง ให้ผู้อื่นรับ ซึ่งเงินทอง หรือยินดีเงิน ทอง อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์)
และที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อยังได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ชาวกัมพูชารูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระธุดงค์ที่ชอบอยู่อย่างสันโดษตามป่าเขา มีความรู้แตกฉาน เชี่ยวชาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ในวันหนึ่งหลังจากสนทนากันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกลับไปบำเพ็ญภาวนาตามปกติ ตอนกลางคืนหลวงพ่อชอบขึ้นไปเดินจงกรม และนั่งสมาธิที่บนเขา ประมาณสี่ทุ่มกว่าของคืนวันนั้น ขณะหลวงพ่อเดินจงกรมในความมืด ได้ยินเสียงผิดปกติเกิดขึ้นในป่าข้างทางจงกรม ในครั้งแรกหลวงพ่อคิดว่า คงเป็นเสียงงูหรือสัตว์ป่าออกหากิน แต่พอเสียงเดินคล้ายสัตว์ย่ำเท้าหนักๆ บนใบไม้แห้งเข้ามาใกล้ ก็ปรากฏเป็นเงาตะคุ่มดำของคนเดินออกมาจากป่า แล้วหยุดยืนอยู่ที่ เบื้องหน้า หลวงพ่อเพ่งดูจึงรู้ว่าเป็นท่านอาจารย์ชาวกัมพูชา จึงถามขึ้นว่า...
ปฏิปทาอันน่าสรรเสริญของท่านอาจารย์ชาวกัมพูชา ได้ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของหลวงพ่อตลอดมา การปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อที่วัดเขาวงกฏ ท่านพยายามแสวงหาอุบายหลายอย่าง เพื่อหาหลักการภาวนาที่ถูกกับจริตของตน วันหนึ่ง หลวงพ่อรำลึกถึงครั้งยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดก่อนอก เคยเห็นพระบางรูปมีลูกประคำห้อยคอ สำหรับใช้บริกรรมภาวนา จึงคิดอยากจะได้ มาทดลองใช้ดูบ้าง แต่ยังไม่รู้จะไปหาที่ไหน มองไปเห็นลูกตะแบกกลมๆ อยู่บนต้น พอจะใช้แทนกันได้
ครั้นจะปีนขึ้นไปปลิดเอาลงมาเองก็เป็นการผิดวินัยจึงได้แต่เพียงคิด ต่อมาไม่กี่วันลิงฝูงหนึ่งพากันมาหักกิ่งรูดลูกตะแบกเล่น หล่นลงมามากมาย ท่านจึงเก็บมาคิดจะร้อยเป็นพวง แต่ไม่มีด้ายจะร้อย จึงใช้วิธีถือในมือ เมื่อบริกรรมภาวนาจบบทหนึ่ง ก็หย่อนลูกตะแบกลงกระป๋องทีละลูก จนครบร้อยแปดครั้ง ทำอยู่เช่นนั้นสามวัน รู้สึกไม่ถูกจริตตนนัก จึงหยุดทำ พร้อมนึกขำตัวเองอยู่ ในใจว่า "เรานี่เหมือนพ่อค้านับลูกหมากขาย"
การบวชเรียนตั้งแต่วัยหนุ่มฉกรรจ์ ซึ่งเป็นวัยที่สภาพร่างกายมีความสมบูรณ์พร้อมต่อ พฤติกรรมทางธรรมชาติบางอย่าง ดังนั้น การเผชิญหน้ากับสัญชาติญาณอันรุนแรง จึงเป็นสิ่งที่ภิกษุทุกรูปจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอุบายและปัญญาของแต่ละคนว่า จะสามารถฝ่าฟัน อุปสรรคนั้นได้อย่างไร ในพรรษาที่ 8 ที่วัดเขาวงกฏนี้ หลวงพ่อได้ทดลองค้นหาวิธีเอาชนะกาม ราคะหลายวิถีทาง ดังท่านเล่าว่า
นอกจากนั้น หลวงพ่อยังเล่าถึงความรู้สึกของท่าน ที่ถูกกิเลสมารหลอกล่อ จนเกือบถลำเข้าบ่วงของมันว่า...
การพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อได้ศึกษาคำสอนและข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ของหลวงพ่อเภา รวมทั้งได้ศึกษาพระธรรมวินัยจากหนังสือวิสุทธิมรรค และบุพสิกขาวรรณนา และได้รับคำแนะนำด้วยน้ำใจจากภิกษุชาวกัมพูชา ตลอดจนใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ เป็นหลักในการปฏิบัติ และในพรรษานั้น หลวงพ่อยังได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณกับตนเองว่า สิ่งใดที่ไม่บริสุทธิ์ และไม่ถูกต้องตามพระวินัย จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ล่วงละเมิดเป็นอันขาด ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า
บำเพ็ญจิตของตนอยู่เรื่อยไป ไม่ได้สงสัยในอาบัติทั้งหลายทั้งปวง ขนาดที่ว่าจิตของเรามันละอายแล้ว ไม่กล้าทำความผิดแล้ว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ไม่ฆ่าสัตว์แม้แต่ตัวเล็กๆ มดตัวหนึ่ง.. ปลวกตัวหนึ่ง.. ถ้าจะเอามือไปบี้มัน หรือหากจะให้ฆ่าโดยเจตนา ถึงจะให้ตัวหนึ่งราคาหลายๆ หมื่น ก็ฆ่าไม่ได้ "
และเมือมาอยู่วัดหนองป่าพงแล้ว แม้ความเป็นอยู่ในสมัยแรกจะอัตคัดขัดสนมากเพียงใด หลวงพ่อมิเคยออกปากขอต่อผู้ใด (พระขอของจากคนมิใช่ญาติ มิใช่ปวารณาเป็นการผิดวินัย) รวมทั้งการปลูกสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น ศาลา โบสถ์ กุฏิ และอื่นๆ ก็ไม่กระทำในรูปแบบของการเรี่ยไร หรือตั้งตู้รับบริจาค คงปล่อยให้เป็นไปตามมีตามได้ ท่านจะเน้นความบริสุทธิ์ในความเป็นอยู่มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการเกี่ยวข้องกับปัจจัยเงินทอง หลวงพ่อเคร่งครัดต่อพระวินัย ข้อนี้มาก พระเณรในวัดหนองป่าพง จึงไม่มีเงินทองเป็นของส่วนตัว รวมทั้งไม่ให้ผู้อื่นรับหรือเก็บไว้เพื่อตน
นับตั้งแต่ลูกชายอุปสมบทแล้ว พ่อมาภูมิใจในตัวพระลูกชายยิ่งนัก ด้วยสังเกตเห็นว่า มีความเอาใจใส่ต่อการบวชเรียนอย่างจริงจัง ทุกครั้งที่หลวงพ่อมาเยี่ยมเยือนที่บ้าน พ่อมามักกล่าวย้ำเตือน ด้วยความปรารถนาดีว่า "อย่าลาสิกขานะ อยู่เป็นพระอย่างนี้ดีแล้ว โลกภายนอก มันยุ่งยากลำบาก หาความสบายไม่ได้" และในครั้งสุดท้ายของการพบกันระหว่างพ่อลูก พ่อมา ซึ่งนอนป่วยมานานวัน จนร่างกายผ่ายผอมสิ้นเรี่ยวแรง กระทั่งไม่อาจช่วยตัวเองได้ แต่ด้วยความรักลูกสุดใจ อยากให้ลูกเลือกทางเดินสงบ จึงพยายามพูดขอร้องอีกเป็นครั้งสุดท้าย หลวงพ่อได้ให้ คำตอบที่พ่อมาปรารถนาจะได้ยินว่า "ไม่สึกหรอก... จะสึกไปทำไมกัน"
นอกเหนือจากความกังวลว่า พระลูกชายจะลาสิกขาแล้ว พ่อมายังห่วงเรื่อง การเล่าเรียน นักธรรม ของบุตรด้วย เมื่อทราบว่า อีกไม่กี่วันจะถึงกำหนดสอบ จึงกล่าวเตือนให้พระลูกชายกลับวัดเสีย ไม่ต้องเป็นห่วงตน หลวงพ่อพิจารณาอาการป่วยของโยมพ่อแล้ว ก็ปลงใจว่า จะขออยู่ดูใจของผู้มีพระคุณ เพื่อทำหน้าที่ของบุตรจนสุดความสามารถ ต่อมาไม่กี่วัน พ่อมาก็ถึงแก่กรรม ละทิ้งสรรพสิ่งไว้เบื้องหลัง คงเหลือแต่พระคุณที่ฝังแน่นอยู่ในความทรงจำของลูกๆ ตลอดกาล
ระหว่างที่เฝ้าพยาบาลโยมพ่อที่ป่วยหนักกระทั่งถึงแก่กรรม หลวงพ่อก็ได้พิจารณาถึงสภาวธรรมไปด้วย เกิดความสลดใจในความแปรเปลี่ยน และเสื่อมสลายของชีวิต อันเป็นสมบัติสากลที่โลกแบ่งปันให้แก่ทุกคนอย่างเที่ยงธรรม จะยากดีมีจน ก็ล้วนแต่กระเสือกกระสน ไปจนมุมที่ความตาย เมื่องานบำเพ็ญกุศลให้แก่โยมบิดาเสร็จสิ้นลง หลวงพ่อเดินทางกลับวัดบ้านหนองหลัก เพื่อศึกษาปริยัติธรรมต่ออีกครั้งหนึ่ง
บางวันหลังเวลาเรียน เมื่ออยู่คนเดียวหลวงพ่อมักรำลึกถึงภาพโยมพ่อที่นอนป่วย แล้วสิ้นใจไปต่อหน้า จิตใจจึงเกิดความสลดสังเวชต่อความเป็นไปของผู้คนยิ่งนัก ระหว่างพรรษาปี พ.ศ. 2487 หลวงพ่อแปลหนังสือธรรมบทจบไปหลายเล่ม จึงได้ศึกษาพุทธประวัติและพุทธสาวกโดยละเอียด หลวงพ่อได้แง่คิดว่า ระหว่างการประพฤติปฏิบัติของตน กับภิกษุในครั้งพุทธกาลนั้น ช่างห่างไกลกันลิบลับ เปรียบเทียบกันไม่ได้เลย จิตใจเริ่มเบื่อหน่ายต่อการศึกษา คิดว่านี่คงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ทำให้เกิดความสนใจการปฏิบัติธรรมมากขึ้น จึงหยุดการเล่าเรียนแล้วกลับมาวัดก่อนอก
ต่อมา ได้ทราบข่าวว่า มีอาจารย์สอนกรรมฐานอยู่ที่ วัดปีเหล่อ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ศึกษาแนวทางอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นใกล้เข้าพรรษา ก็กลับมาที่วัดก่อนอกอีกครั้ง พรรษานั้น หลวงพ่อมีโอกาสได้ตอบแทนพระคุณครูบาอาจารย์ ด้วยการแบ่งเบาภาระด้านการสอนปริยัติธรรม และท่านสอบได้นักธรรมเอกในปีนั้น
พอออกพรรษา ท่านตัดสินใจหยุดการเรียนการสอนด้านปริยัติธรรม แล้วจัดเตรียมบริขารสำหรับจาริกธุดงค์ เพื่อออกแสวงหาครูอาจารย์ด้านการปฏิบัติธรรม ต่อไป...
ธุดงค์ คือ วัตร หรือ แนวทางการปฏิบัติจำนวน 13 ข้อ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียร เพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลส โดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจและการปฏิบัติธุดงค์ "
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)