foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

huad kao neaw

นอีสานนิยมในการบริโภคข้าวเหนียวกันมานาน มีอุปกรณ์ในครัวเรือนที่ใช้ในการนึ่ง บรรจุ ข้าวเหนียวให้มีความเหนียวนุ่ม ร้อนอยู่ได้นาน ผ่านการคิดใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการจัดทำอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นมาใช้งานในชีวิตประจำวัน ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ เช่น ก่องข้าว กระติ๊บข้าวเหนียว แต่อุปกรณ์บางชิ้นก็เริ่มสูญหายไปตามยุคสมัย เพราะวัสดุในการจัดทำหายาก ราคาแพงขึ้น หรือใช้เวลานานในการทำ อย่างเช่น โบมส่ายข้าว ไม้ค้อนด้าม ก็แทนที่ด้วยกระด้งไม้ไผ่ และถาดสังกะสีในปัจจุบัน แต่ยังมีอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่ยังคงอยู่และใช้งานในปัจจุบัน คือ หวด มวย ไหนึ่งข้าวเหนียว

หวดนึ่งข้าวเหนียว

หวด ก็เป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวบ้านทุกวัน จะต้องใช้หวดนึ่งข้าวเป็นประจำ การนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวดนั้น นับว่าเป็นวิธีง่ายและสะดวกที่สุด ดังนั้น หวดนึ่งข้าว จึงเป็นเครื่องใช้ที่ชาวบ้าน (ผู้ผลิต) สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวโดยทำเป็นอาชีพเสริมได้ เพราะนอกจากจะใช้หวดนึ่งข้าวแล้ว ยังสามารถดัดแปลงหวดเป็นเครื่องใช้อย่างอื่นได้ด้วย เช่น นำไปประดิษฐ์ตกแต่งเป็นโคมไฟตกแต่งร้านค้า ประดิษฐ์เป็นหน้ากากแสดงในการแห่ผีตาโขน และอื่นๆ ได้อีกมากมาย

หวดนึ่งข้าวเหนียว วิถีชาวอีสาน

หวด เป็นภาชนะที่ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียว ที่พบเห็นได้ทั่วไปใน ภาคเหนือ ภาคอีสานของไทย และในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา ทำจากไม้หรือไม้ไผ่ ที่มีชื่อเรียกต่างๆ กันดังนี้

huad kao neaw 01

ไหข้าว ทำมาจากการขุดไม้ทั้งท่อนให้กลวง (รองส่วนล่างด้วยไม้ไผ่ฝาขัดแตะ)

1. ไหข้าว ทำจากการขุดไม้ทั้งลำต้นให้เป็นตัวหวดและฝาปิด (ท่อนบน) สำหรับใส่ข้าวในการนึ่ง ท่อนล่างเป็นไม้เนื้อแข็งหนา เพื่อบรรจุน้ำสำหรับต้มให้ร้อน ใช้กับเตาฟืน ข้าวที่นึ่งสุกจะได้กลิ่นหอมจากไม้ที่ใช้ทำหวด และกลิ่นควันไฟจากฟืนด้วย สมัยผู้เขียนยังเป็นเด็กพบว่า มีการใช้หม้อดินเผาในท่อนล่างที่ทนการไหม้ไฟได้ดีกว่า แต่ก็เปราะแตกง่าย การใช้งานต้องระวังมากกว่าแบบเป็นไม้ (ดินเผาถ้าทำให้หนาก็จะหนัก แม่บ้านยกลำบากอีก) ยังมีใช้กันในภาคเหนือ ตัวหวดทำด้วยไม้สัก สมัยต่อมาก็พัฒนาจากไม้มาเป็นเหล็กและอลูมิเนียมที่เบากว่า (ผู้เขียนพบว่า มีขายและนิยมใช้กันมากใน สปป. ลาว) และคงพัฒนามาเป็น "ซึง" เพื่อนึ่งสิ่งต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ไม่นิยมนำมานึ่งข้าวเหนียวแล้ว

การนึ่งข้าวโดยใช้ไหข้าว ของ ชาวล้านนา

huad kao neaw 02

มวยนึ่งข้าว สานด้วยไม้ไผ่ 2-3 ชั้น หนาทนทานมาก

2. มวยนึ่งข้าว จะสานจากไม้ไผ่สองถึงสามชั้น ด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง มีขอบไม้ไผ่โดยรอบเพื่อทำให้แข็งแรง ไม่ขาดง่ายในการยกหวดขึ้นลง ส่วนล่างที่เล็กกว่าจะมีวงรัศมีน้อยกว่าปากหม้อ มีแผ่นลิ้นสานด้วยไม่ไผ่ลายขัดรอง เพื่อกันไม่ให้ข้าวเหนียวร่วงลงน้ำ และจะมีรูจากการสานที่ไอน้ำสามารถลอดผ่านขึ้นมาให้ข้าวเหนียวสุกได้โดยทั่วถึง สามารถเปลี่ยนแผ่นลิ้นได้ถ้าขาดหรือชำรุด มวยจึงใช้งานได้นาน (แต่ราคาแพงเพราะทำยากกว่าหวด จึงไม่ค่อยเห็นกันมากนักในปัจจุบัน เว้นแต่หมู่บ้านที่ยังสามารถสานมวยได้เอง)

วิธีทำมวยนึ่งข้าวเหนียว

huad kao neaw 03

3. หวดนึ่งข้าว สานด้วยไม้ไผ่เช่นเดียวกับมวย แต่สานเพียง 1-2 ชั้น ขึ้นรูปจากด้านล่างไปด้านบน แล้วเก็บขอบให้ดูเรียบร้อย ไม่ค่อยทนมากนัก ใช้ไปนานๆ ขอบด้านบนจะชำรุดขาดวิ่น ส่วนก้นหวดที่เป็นรอยพับก็มักจะทะลุ อันเนื่องมาจากตอกไม้ไผ่ที่ใช้สานส่วนนั้นถูกหักงอให้มีรูปทรงเฉพาะ เมื่อใช้งานโดนความร้อนมากๆ นานเข้าก็จะขาด และอาจเป็นเพราะการใช้งานเมื่ออุ่นข้าวเหนียวอีกครั้ง ข้าวเหนียวมักจะติดที่ก้นหวดหากไม่พรมน้ำให่ชุ่มก่อน เมื่อตอนเทข้าวเหนียวออกจากหวดใส่โบม เพื่อสว่ายให้คลายความร้อนและลดปรืมาณไอน้ำ จะยังมีข้าวเหนียวบางส่วนที่ติดอยู่ก้นหวด ก็จะถูกไม่ค้อนด้าม (ไม้ส่ายข้าว) ขูดเอาข้าวออกจากหวดทำให้ก้นหวดบริเวณนั้นทะลุได้ ยิ่งสมัยหลังๆ เห็นสาวๆ เอาช้อนสแตนเลสขูดข้าวก้นหวดก็ยิ่งขาดเร็วไปอีก

huad kao neaw 04

หวดนึ่งข้าวเหนียว สานจากไม้ไผ่ชั้นเดียวจึงไม่ค่อยทนทานนัก

วิธีการทำหวดนึ่งข้าว

อุปกรณ์ในการทำหวด ประกอบด้วย ไม้ไผ่ พร้า มีดตอก และเศษผ้า (พันมือในการเหลาเส้นตอก กันเสี้ยนไม้ตำมือ)

วัตถุดิบ คือ ไม้ไผ่ ในอดีตใช้ไม้ไผ่พุงที่ขึ้นอยู่ตามเชิงเขา เพราะมีข้อที่ยาวเหมาะกับการสานหวด ตอนหลังมีการกำหนดเขตอุทยานที่มีการห้ามตัดไม้ในเขตสงวน จึงมีการนำมาปลูกในที่นา สวน ปลูกเองในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง ใช้ไม้ไผ่บ้านอายุประมาณ 3 ปี มีข้อยาวซึ่งจะทำให้ได้ตอกที่ไม่มีข้อตรงกลาง เป็นไม้ไผ่ที่แก่พอดี ไม่หดตัว มอดไม่กิน (อาจใช้วิธีการรมควันช่วยกำจัดมอด) สานด้วยไม่ไผ่ 2 ชั้น 3 ชั้น เพื่อเสริมความแข็งแรง คงทนถาวร ด้วยการสานเย็บติดก้นหวดอีกชั้นหนึ่ง เน้นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ปลอดสารเคมี

ใช้เลื่อยตัดไม้ไผ่ออกให้เป็นปล้องๆ โดยทิ้งส่วนที่เป็นข้อ ความยาวของไม้ไผ่ที่เลื่อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหวด เช่น ถ้าสานหวดใหญ่จะตัดไม้ให้ยาว 35 นิ้ว หวดขนาดกลาง 30 นิ้ว หวดขนาดเล็ก 25 นิ้ว เป็นต้น

ใช้พร้าผ่าไม้ไผ่เป็นซีก (ชาวบ้านเรียก กีบ) ขนาดความกว้างของซีกไม้ไผ่ ถ้าหวดขนาดใหญ่ กว้าง 0.8 ซม. หวดขนาดกลาง กว้าง 0.6 ซม. หวดขนาดเล็ก กว้าง 0.5 ซม.

การจักส่วยตอก คือ การเหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบคมของซีกไม้ตรงกลางออก แล้วเหลาหัวท้ายของซีกไม้ให้เรียวลง โดยใช้มีดตอก (ส่วย ภาษาอีสานคือ การทำปลายให้แหลม)

การจักตอก คือ การเอาส่วนที่เป็นเนื้อไม้และเปลือกไม้ไผ่ (ติวไม้) แยกออกจากกันซีกหนึ่งจะจักเป็นเส้นตอกได้ ประมาณ 8 - 10 เส้น การจักตอกสำหรับสานหวด ควรหาไม้ไผ่ที่ค่อนข้างอ่อน ความยาวของเส้นตอก ทำตามขนาดที่กล่าวข้างต้น

นำเส้นตอกที่จักเสร็จแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าเป็นฤดูฝนก็ใช้วิธีรมควัน จะทำให้ไม่มีราขึ้นและกำจัดมอดด้วย การผึ่งแดดใช้เวลา 2 - 3 วันถ้ารมควันก็ให้สังเกตดูสีของเส้นตอกว่าเป็นสีน้ำตาล ก็ถือว่าใช้ได้ เมื่อเส้นตอกผึ่งแดดหรือรมควันได้ที่แล้วมัดตอกเป็นมัดๆ ตามความยาวของเส้นตอกแต่ละขนาดไว้ 

รายการที่นี่บ้านเรา : คอแลน แดนหวด

FAQ : คำถามที่มีการสอบถามผู้เขียนบ่อยๆ คือ ต้องการติดต่อสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ หวดนึ่งข้าวเหนียว โปรดติดต่อโดยตรงตามที่อยู่ดังนี้

  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสานหวดบ้านแสงอุดม เลขที่ 12 หมู่ที่ 12 ถนน - ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ : 045-334007

ขั้นตอนการสานหวด

การก่อตัวหวด นำเส้นตอกที่ผ่านกระบวนการผึ่งแดดและแช่น้ำจนได้ที่แล้วมาสานหวด โดยเริ่มต้นจากการสานส่วนที่เป็นก้นหวดก่อน วางเส้นตอกในแนวตั้ง 4 เส้น แนวนอน 8 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลาง สานไปข้างละ 13 ขัด ซึ่งความยาวหรือสั้นของเส้นตอกขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สาน การสานจะนับเป็นบี (การนับช่วงลายตอกในระหว่างการสานที่มีการยกตอกขึ้น 3 เส้นและสานทับเส้นตอก 3 เส้น) ในแต่ละบีจะมีเส้นตอกอยู่สามเส้น

การไป่หวด เมื่อสานส่วนของก้นหวดได้ตามขนาดแล้วก็ทำการหักมุมเป็น 2 มุม จากนั้นก็ทำ การไป่หวด การไป่ หมายถึง การสานเปลี่ยนลายจากลายของส่วนก้นหวดเป็นลายตัวหวด ซึ่งการไป่นี้จะเป็นช่วงของการกำหนดขนาดของหวดให้ได้ขนาดตามต้องการด้วยการยกตอก 3 เส้นขึ้น แล้วคว่ำตอก 3 เส้นลง แต่จะไม่เป็นวิธีการที่ตายตัวนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดและทักษะผู้สานว่าจะสานไปในแนวเดียวกันหรือไม่

การใส่ลายตัวหวด การใส่ลายตัวหวดเป็นขั้นตอนการสานตัวหวดต่อจาการไป่หวด ซึ่งการใส่ลายตัวหวดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือขนาดของหวด ส่วนมากนิยมใช้เส้นตอก จำนวน 10 เส้น จะได้หวดที่มีขนาดพอดี ซึ่งในขั้นตอนนี้ขณะที่กำลังสานหวดควรจะพรมน้ำเป็นระยะ เพื่อให้เส้นตอกมีความอ่อนตัว นุ่ม สานง่าย ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์หวดไม้ไผ่ที่มีความแน่นแข็งแรงและคงทน

การใส่ไพกาวหวด เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากสานตัวหวดจนได้ขนาด และความสูงของหวดตามที่ต้องการ และความเหมาะสมแล้ว โดยขึ้นอยู่กับความถนัดและทักษะของผู้สานแต่ละคนว่า จะใส่ไพกาวในลักษณะแบบใด (ไพกาว คือการทำขอบหวดด้านบนให้แข็งแรงนั่นเอง) ซึ่งลักษณะของเส้นตอกที่นำมาสานไพกาวมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ กลมๆ โดยผู้สานจะจักตอกให้มีลักษณะกลมเรียบเนียนเส้นเล็กๆ หวด 1 ใบ จะใช้ตอกชนิดนี้ประมาณ 6 เส้น ขนาดเท่าๆ กันนำมาสานแบบยก 3 คว่ำ 3 ไปเรื่อยๆ จนรอบตัวหวด เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นตอกที่สานตัวหวดหลุดออกจากกันได้ง่าย เพิ่มความแข็งแรงให้กับผลิตภัณฑ์หวดไม้ไผ่และเพื่อความสวยงาม

การม้วนหวด เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานหวด โดยตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้งก่อน แล้วจึงม้วนเก็บส่วนของเส้นตอกที่ยังคงเหลือจากการสานตัวหวด ให้เกิดความเรียบร้อยและสวยงามของหวด จะทำในลักษณะการแบ่งกึ่งกลางของตัวหวดออกเป็นสองข้างตามลายสาน โดยรวบตอกแต่ข้างรวมกันแล้วบิดให้แน่น จากนั้นจึงทำการม้วนหรือเก็บตอกให้ดูเรียบร้อยสวยงาม และปลอดภัยจากเสี้ยนไม้ หรือความคมของปลายตอกในระหว่างการใช้งานของผู้บริโภค

huad kao neaw 05

เมื่อ "หวดคลาสสิก" มาพบกับ "เทคโนโลยี"

huad rachapat 01"หวดนึ่งข้าวเหนียว" ทำมาจากไม้ไผ่ นอกจากความคลาสสิกที่เกิดมาเนิ่นนานจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ทำให้ข้าวเหนียวมีความหอมจากกลิ่นไม้ไผ่ เหนียวนุ่มนาน ไม่เปียกแฉะด้วยไอน้ำ ถ้าเราสามารถใช้หม้อหุงข้าวยุคใหม่มาใช้หุงข้าวเหนียวได้คงจะดีไม่น้อยใช่ไหมครับ แล้วก็มีนวัตกรรมใหม่เช่นนี้จริงๆ ในชื่อว่า "หวดรัชภัฏ"

สำหรับคนเมือง หรือ คนรุ่นใหม่ การนึ่งข้าวเหนียวกินเอง คงเป็นเรื่องลำบากไม่น้อย เพราะขั้นตอนยุ่งยากและต้องชำนาญจึงจะนึ่งได้สุกกำลังดี แต่ด้วยความคิดและผลงานของคนภาคตะวันออก ที่ต้องไปใช้ชีวิตเป็น "เขย" อยู่ที่อุบลราชธานี ได้ยกระดับ "หวดนึ่งข้าว" เครื่องจักสานเป็น “หวดอัตโนมัติ” สามารถนึ่งข้าวเหนียวได้ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทั่วไป ช่วยเพิ่มความสะดวก ง่ายดาย แถมยังได้กลิ่นหอมของไม้ไผ่เหมือนใช้หวดแบบในอดีต ถือเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับ "เครื่องใช้ไฟฟ้า" ยุคปัจจุบัน ตอบความต้องการคนเมืองได้เป็นอย่างดี

นายรัชภัฏ พรพันธุ์ เจ้าของไอเดีย เล่าแรงบันดาลใจมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แม้จะมาใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี นานหลายปี แต่ไม่สามารถหุงข้าวเหนียวที่อร่อยเองได้ เพราะขั้นตอนยุ่งยาก “ผมเป็นคนภาคตะวันออก ย้ายมาอยู่อุบลฯ บ้านภรรยา ลูกชายคนเล็กบอก "พ่อหุงข้าวเหนียวให้ทานหน่อย" แต่ผมหุงไม่เป็น เลยไปสอบถามคนรู้จักในหมู่บ้านว่า เขาหุงข้าวเหนียวกันยังไง ใช้เวลา หรือสัดส่วนข้าวกับนํ้าเท่าไหร่ แต่ไม่มีใครตอบชัดเจนได้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการพลิกข้าวเหนียว เมื่อถึงเวลาที่ข้าวด้านล่างสุกแล้วต้องทำการพลิกข้าวให้ด้านบนลงไปแทนด้านล่าง รูปทรงที่ออกแบบมาของหวดนั้นเป็นทรงกรวย ซึ่งเป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญ”

เริ่มจากต้องติดไฟเตาถ่าน โดยใช้อุปกรณ์หุง คือ “หม้อนึ่ง” กับ “หวด” (ภาชนะอย่างหนึ่งสําหรับนึ่งของ) ก่อนการนึ่งต้องมีการแช่ข้าวเหนียวไว้ก่อน ซึ่งใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 1-3 ชั่วโมง (แล้วแต่เป็นข้าวเหนียวใหม่ หรือเก่า)  ขณะนึ่งยังต้องพลิกข้าวด้านบนลงมาอยู่ด้านล่าง เพื่อให้ข้าวเหนียวสุกเสมอกัน ถ้าไม่ชำนาญ ข้าวเหนียวอาจดิบ แฉะหรือไหม้ได้ ในขณะที่หากจะนึ่งโดยใช้หม้อนึ่งข้าวเหนียวไฟฟ้าที่มีขายตามท้องตลาด แม้จะสะดวก แต่ข้าวเหนียวจะไม่มีกลิ่นหอมของไผ่เหมือนการนึ่งด้วยหวดแบบต้นตำรับ

huad rachapat 02

หวดไม้ไผ่ "รัชภัฏ" ใช้นึ่งข้าวเหนียวได้ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

“ผมเชื่อว่า คนเมืองส่วนใหญ่ หุงข้าวเหนียวไม่เป็น อีกทั้งผมเห็นว่า คนภาคอีสานและภาคเหนือ จำนวนประชากรรวมกันเกินครึ่งของประเทศ ซึ่งคนกลุ่มนี้นิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ดังนั้น ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์นี้น่าจะมีสูง โอกาสประสบความสำเร็จทางการตลาดจึงมีความเป็นไปได้” รัชภัฏ กล่าวและเล่าต่อว่า หวดอัตโนมัติ เป็นงานจักสานเชิงนวัตกรรม ได้รับความช่วยเหลือและปรึกษาจากหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ โดย ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีลักษณะคล้ายมวยนึ่งข้าวในอดีต แต่ปรับรูปทรงใหม่ให้ขนาดเตี้ย และเล็กกว่า เพื่อวางในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้เหมาะสม ส่วนฐานทำจากก้านตาล เหมือนฐานของกระติบ มีประโยชน์ช่วยยกข้าวให้มีระดับสูงเหนือระดับน้ำที่ใช้นึ่ง และด้านพื้นหวด สานไผ่เป็นแบบก้นหอย มีช่องให้ไอน้ำสามารถผ่านขึ้นมาได้ สำหรับการใช้งาน

คุณรัชภัฏ อธิบายว่า เพียงแค่นำข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 1-3 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับว่า เป็นข้าวใหม่หรือข้าวเก่า) จากนั้น นำข้าวเหนียวใส่ลงในหวดอัตโนมัติ แล้วนำไปวางลงในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เติมน้ำประมาณ 2 ถ้วยตวง หรือประมาณ 1 ข้อนิ้ว จากนั้นปิดฝา กดปุ่มหุงเหมือนการหุงข้าวสวยในหม้อไฟฟ้าปกติ ประมาณ 20-25 นาที จะได้ข้าวเหนียวที่สุกเสมอกัน และมีกลิ่นหอมไม้ไผ่เหมือนแบบดั้งเดิมด้วย

“การหุงด้วยหม้อไฟฟ้า เป็นระบบปิด ดังนั้น ไอน้ำจะวนเวียนจากทุกทิศทุกทางอยู่ภายในตัวหม้อ ช่วยให้ข้าวเหนียวสุกเสมอกันทั้งหมด โดยไม่ต้องพลิกข้าวไปมาขณะนึ่ง อีกทั้ง ไม่มีการปนเปื้อนจากภายนอก ด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่ให้กลิ่นหอม และยังช่วยดูดซับความชื้น ทำให้ข้าวเหนียวไม่เปียกแฉะ เรียงเป็นเม็ดมันวาว” เจ้าของไอเดียเสริม

huad rachapat 03

ในด้านการผลิต ยังมีส่วนช่วยสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น โดยว่าจ้างชาวบ้านใน “บ้านหนองขอน” จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเดิมยึดอาชีพสานกระติบ แต่ต่อมาถูกกดราคา จนต้องห่างหายจากอาชีพนี้ไป กระทั่งทุกวันนี้ ได้กลับมามีรายได้จากการรับจ้างสานหวดอัตโนมัติ

สำหรับวัสดุที่ใช้สาน คือ ไม้ไผ่สีสุก อายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้มีความเหนียวกำลังดี นำมาเหลาเป็นเส้นบางๆ หรือที่เรียกกว่า “จักตอก” แล้วนำมาต้มกับสารส้ม เพื่อทำความสะอาด และยังช่วยป้องกันมอดและรา อีกทั้ง ช่วยให้ไม้ไผ่สีสันสวยขึ้น จากนั้นนำไปเก็บในตู้เย็นเพื่อรักษาความชื้น เตรียมไว้สานต่อไป

หวดอัตโนมัติได้จดสิทธิบัตร รวมถึงจดเครื่องหมายการค้า ชื่อ “รัชภัฏ” ไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้มีจำหน่าย 3 ขนาด ได้แก่ 1) ขนาดเล็ก ราคา 120 บาท เหมาะกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาด 1 ลิตร 2) ขนาดกลาง ราคา 140 บาท เหมาะกับหม้อขนาด 1.8 ลิตร และ 3) ขนาดใหญ่ ราคา 200 บาท เหมาะกับหม้อขนาด 2.2 ลิตร สามารถใช้ได้กับหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ อายุการใช้งานประมาณ 1 ปี สามารถสั่งซื้อได้ที่ คุณรัชภัฏ พรพันธุ์ โทร 06-2927-3126

 

ดูรายละเอียดจากคลิบบนจากรายการ "สมรภูมิไอเดีย" และปิดท้ายด้วยสารคดีจาก ค่ายทีวีบูรพา ชุด อาโนเวชั่น ช่วยชาติ ตอน ยอดมนุษย์พลังข้าวเหนียว (หวดรัชภัฏ) ด้านล่างอีก 4 ตอน เชิญทัศนาได้เลย

ยอดมนุษย์พลังข้าวเหนียว (หวดรัชภัฏ) ตอนที่ 1

ยอดมนุษย์พลังข้าวเหนียว (หวดรัชภัฏ) ตอนที่ 2

ยอดมนุษย์พลังข้าวเหนียว (หวดรัชภัฏ) ตอนที่ 3

ยอดมนุษย์พลังข้าวเหนียว (หวดรัชภัฏ) ตอนที่ 4

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : วิญญาณ ๕ ชาวอีสาน | กระติบข้าว-ก่องข้าว | โบมส่ายข้าวเหนียว |

redline

backled1

attalak isan

เชี่ยนหมาก (2)

chian mak 06เชี่ยนหมาก หรือ ขันหมาก ของภาคอีสานมีเอกลักษณ์โดดเด่นจากภาคอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง ไม่พียงแต่ใช้เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือน แต่ยังสื่อความหมายเชิงวัฒนธรรม กล่าวคือ แสดงถึงความสามารถในเชิงช่างฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ของชายชาวอีสาน หากประดิษฐ์เชี่ยนหมากได้งดงามจะได้รับการยกย่อง ทำนองเดียวกับฝ่ายหญิงที่มีฝีมือในการทอผ้า

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม มีช่างไม้คนหนึ่งมีความพึงใจในลูกสาวหมอยากลางบ้าน จึงทำ "เชี่ยนหมาก" อย่างสุดฝีมือเพื่อเป็นของกำนัลในการสู่ขอ เชี่ยนหมาก ดังกล่าวมีความงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วหมู่บ้าน ในที่สุดช่างไม้ก็ได้แต่งงานสมตามความปรารถนา เรื่องราวดังกล่าวเป็นที่ประทับใจ จนกลายเป็นธรรมเนียมที่ฝ่ายชายนิยมทำเชี่ยนหมากเอง เพื่อมอบให้แก่สาวผู้เป็นที่รัก หรือคู่หมั้นหมายของตนเอง อันเป็นการแสดงถึงฐานะและถือเป็นการให้เกียรติต่อฝ่ายหญิงด้วย ต่อมาในภายหลังจึงมีการจ้างทำเชี่ยนหมากเกิดขึ้น

ลักษณะ "เชี่ยนหมากอีสาน" เป็นกล่องไม้ไม่พบในภูมิภาคอื่น อาจเนื่องมาจากช่างส่วนใหญ่มีความถนัดเชิงช่าง ด้านการทำเครื่องไม้มากกว่าวัสดุอื่นๆ อีกทั้งยังหาไม้ในท้องถิ่นได้ง่าย ราคาถูก และมีความทนทานสูง ไม้ที่ใช้มักมีขนาดความกว้างใกล้เคียงกับขนาดของฝาบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเชี่ยนหมากจะทำด้วยไม้แทบทั้งสิ้น มักใช้ไม้มงคลในท้องถิ่น เช่น ไม้ยอป่า รวมถึงไม้อื่นๆ อาทิ ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้จำปา ไม้โมกมัน ไม้กะบาก ไม้เนื้อแข็งเพื่อความทนทาน เช่น ไม้มะค่า ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ ไม้จิก เป็นต้น

chian mak 07

แม้ว่าเชี่ยนหมากไม้พื้นบ้านอีสาน ส่วนใหญ่จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันตรงที่ความประณีต และการตกแต่งลวดลาย สามารถบ่งบอกฐานะของเจ้าของได้ คือ เชี่ยนหมากของชาวบ้านทั่วไป มักทำด้วยฝีมือที่ไม่ประณีตมากนัก เพราะมุ่งที่การใช้สอยเป็นสำคัญ ตรงกันข้ามกับเชี่ยนหมากของผู้มีสถานภาพทางสังคมสูง อย่างคหบดี หรือเสนาบดี ก็มักจะมีความประณีตวิจิตรงดงามกว่าของชาวบ้านทั่วไป เช่น มีการลงรัก และเขียนลายทองเพิ่มเติม เป็นต้น

ส่วนประกอบของเชี่ยนหมาก

ส่วนประกอบของเชี่ยนหมากแบ่งได้เป็น 4 ส่วนได้แก่

1. ปาก หรือ ส่วนบนสุด มักแบ่งเป็น 3 ช่อง มากหรือน้อยกว่านี้ก็มี ด้านบนของช่องกั้นส่วนมากจะมีความโค้ง และบางตัวมีกระดูกงูหรือคิ้วไม้ หรือกระดูกสัตว์เดินบนขอบปากเพื่อความงามและความทนทาน

2. ลำตัว มักเป็นจุดเด่นในการแสดงลวดลาย เป็นแผ่นไม้สูงประมาณ 12 เซนติเมตร อาจแกะลายเหมือนกันทั้งสี่ด้าน หรืออาจแตกต่างกันในแต่ละด้าน

3. ส่วนเอว คือ ส่วนที่เชื่อมส่วนลำตัวและส่วนขา โดยมากส่วนเอวนี้จะไม่มีการตกแต่ง พบว่าบางตัวมีการใส่คิ้วเดินรอบ และบางตัวมีการเจาะช่องใส่ลิ้นชักด้วย

4. ส่วนขา มีการเจาะเป็นช่อง ฉลุเป็นรูปขาหรือแค่สลักลายเป็นรูปขาเท่านั้น

chian mak 08

รูปแบบของเชี่ยนหมากอีสานมี 2 แบบ คือ ทรงกล่องสี่เหลี่ยม และทรงคางหมูหรือทรงแอวขันปากพาน พบว่า ช่างนิยมทำทรงกล่องสี่เหลี่ยมมากกว่าทรงแอวขันปากพาน มีขนาดเฉลี่ย 25 x 25 x 20 เซนติเมตร ขณะที่ทรงกล่องสี่เหลี่ยมมีขนาดเฉลี่ยที่ 22 x 22 x 21 เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับวัฒนธรรมการนั่งพื้น ด้านนอกมักทาสีดำหรือทาผิวไม้ด้วยน้ำมันให้มีสีเข้ม แล้วแกะเป็นลายขิดหรือลายอื่นๆ อาจพบการระบายสีตกแต่งเพิ่มเติมด้วย

ลวดลายที่พบบนเชี่ยนหมากส่วนมากมักเป็นลายที่แกะเป็นเส้นลายรขาคณิต เช่น ลายฟันปลา สามเหลี่ยม เส้นกากบาท ข้าวหลามตัด เส้นทแยง รองลงมา คือ ลายประแจจีน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เครื่องหมายสวัสดิกะ อันมีความหมายแสดงถึงความเป็นอยู่ที่ดี ลายก้านขดหรือลายขอ ซ่อนอยู่ในลายเส้นสานไขว้กันคล้ายเครื่องจักสาน ส่วนลายอื่นๆ ที่นิยมสลักได้แก่ ลายดอกไม้ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังพบลายเส้นอิสระคล้ายฮูปแต้มอีกด้วย หากต้องการให้ลายมีความชัดเจน จะถมลายด้วยปูนขาวผสมยางไม้ ถมลงในช่องที่แกะไว้ ปูนขาวจะช่วยให้เห็นลวดลายชัดเจนยิ่งขึ้น

chian mak 09

สีที่พบบนตัวเชี่ยนหมากส่วนมากเป็นสีดำที่ทำจากรักน้ำเกลี้ยง พบสีอื่นๆ บ้าง หรือไม่ก็ไม่ทาสีเลย ส่วนสีของลวดลายมักใช้สีที่ตัดกับสีดำ ที่นิยมมากที่สุดคือ สีขาว รองลงมา คือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงินตามลำดับ

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงรูปธรรม

เชี่ยนหมากสะท้อนถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิตของชาวอีสาน เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมีรูปแบบลอยตัว แกะสลักบนไม้มงคล ไม้เนื้อแข็ง และไม้เนื้ออ่อน มีการร่างแบบลงบนไม้และฉลุ เจาะรู เป็นส่วนๆ แล้วจึงนำมาประกอบกัน ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายเรขาคณิต มีการจัดองค์ประกอบแบบสมมาตร การจัดเรียงและตกแต่งลวดลาย เช่น ลายฟันปลา สามเหลี่ยม เส้นกากบาท ข้าวหลามตัด เส้นทแยง ลายประแจจีน ลายสวัสดิกะ ลายก้านขดหรือลายขอ ส่วนลายอื่นๆ ที่นิยม เช่น ลายดอกไม้ ซึ่งเกิดจากจินตนาการในพืชพรรณสิ่งแวดล้อของชาวอีสาน

chian mak 10

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงนามธรรม

รูปทรง ลวดลาย ตลอดจนวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชี่ยนหมากไม้มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัว ที่ไม่พบในภูมิภาคอื่นของประเทศ มีลวดลายประดับด้านบน เป็นลายเรขาคณิตคล้ายลายที่ปรากฏบนเครื่องจักสานหรือคล้ายผ้าทอ บางชิ้นมีการแกะลายพร้อมการระบายสี บางชิ้นไม่ทาสี ส่วนฐานหรือด้านล่างมักออกแบบเป็นขา มีความคล้ายคลึงกับตู้พระธรรมและหีบที่ใช้กันโดยทั่วไปในภาคอีสาน คล้ายกับรังผึ้งที่ประดับอยู่ใต้จั่วของโบสถ์ และคล้ายกับแอวขันซึ่งเป็นฐานของโบสถ์และพระธาตุอีกด้วย

เชี่ยนหมากยังสามารถสื่อความหมายเชิงวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ กล่าวคือ แสดงออกถึงฐานะทางสังคมของเจ้าครองที่ครอบครอง แสดงออกถึงความรักที่ผู้ทำเชี่ยนหมากมอบให้คนรัก แสดงออกถึงน้ำใจไมตรียามมีแขกมาเยี่ยมเยียน เป็นต้น

คุณค่าและการนำไปประยุกต์ใช้งาน

ด้วยรูปทรงอันมีเอกลักษณ์ สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ ได้มากมาย เป็นที่นิยมในการนำไปใช้ตกแต่งสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โรงแรม หอประชุม ฯลฯ

chian mak 12

เชี่ยนหมาก กับการออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งสถานที่

เชี่ยนหมาก ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP

ชี่ยนหมากแกะสลักไม้ติดลายลงรัก อำเภอม่วงสามสิบ อุบลราชธานี

ผลิตภัณฑ์เชี่ยนหาก บ้านดอนขวาง จังหวัดอุบลราชธานี เสถียร บุตรน้อย ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพ กลุ่มท่าเชี่ยนหมาก 31 หมู่ 4 บ้านดอนขวาง ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วางสานสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 084-538-5026, 045-385-026

หมายเหตุ : เว็บไซต์แห่งนี้รวบรวมเรื่องราวของหัตถกรรมพื้นถิ่นอีสานที่น่ารู้ บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่าย จ่ายแจกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ หัตถกรรมบางชิ้นได้อ้างอิงแหล่งผลิต จัดทำไว้ หากท่านสนใจโปรดติดต่อกันได้โดยตรงตามชื่อ/ที่อยู่ที่ปรากฏในท้ายบทความครับ

redline

backled1

attalak isan

ผ้าทออีสาน (2)

วัฒนธรรมการทอผ้า ผูกพันกับชาวอีสานมาอย่างยาวนาน จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำให้ทราบว่า มีการทอผ้าใช้ในภาคอีสานตั้งแต่ช่วงต้นของยุคโลหะหรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว การทอผ้าถือเป็นชีวิตของหญิงชาวอีสานที่ทอไว้ใช้ในครัวเรือนมาแต่อดีต โดยถือว่าเป็นงานจำเป็นของผู้หญิงอีสานที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้ชำนาญ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีการทางศาสนา และเป็นเครื่องบ่งบอกว่าผู้หญิงคนนั้นมีความเหมาะสม มีคุณสมบัติความพร้อมที่จะสามารถออกเรือนได้

ยามว่างจากงานในนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน ”

pa tor isan 01

วัฒนธรรมการทอผ้าของชาวอีสาน ได้รับอิทธิพลมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนจากหลายพื้นที่ เข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคอีสานปัจจุบัน แต่ละกลุ่มชนจะมีลักษณะและลวดลาย กรรมวิธีการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยในอีสานเหนือเป็นแหล่งทอผ้าฝ้าย ได้แก่ ผ้าขิด อีสานกลางเป็นแหล่งทอผ้าไหม ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าหางกระรอก เป็นต้น ทางตะวันออกที่เป็นชาวผู้ไท ทอผ้าไหมแพรวา ที่ทอด้วยเทคนิคจกและขิด อีสานใต้ทอผ้าไหมมัดหมี่ เส้นพุ่งตามแบบเขมร เป็นต้น

ปัจจุบัน ผ้าทอ กลายเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของอีสาน ที่ถูกผลิตเพื่อการค้าเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา ถึงแม้รูปแบบผ้าจะถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการใช้งาน และตลาดผู้บริโภคในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีรากเหง้ามาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างกันของรูปแบบและวิธีการผลิตผ้าในแต่ละท้องถิ่น

ประเภทของผ้าอีสานแบ่งตามเทคนิคการผลิต

1. ผ้าขิด

ผ้าขิด เกิดจากการใช้ด้ายพุ่งพิเศษเพื่อใส่สีและลวดลายต่างจากสีพื้น โดยใช้ไม้ค้ำสำหรับทอลายขัดเรียกว่า "การเก็บขิด" มีหน้าที่ยกด้ายเส้นยืนให้สลับกันเป็นลวดลาย โดยลวดลายขิดมีลักษณะเหมือนกันตลอดหน้าผ้า ผ้าขิดมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่นจากลวดลายประกอบกับกรรมวิธีผลิต มีวิธีการที่ซับซ้อน ใช้ความพยายามและความอดทนในการทอให้เป็นผืนผ้า จึงถือว่าผ้าขิดเป็นของสูง ไม่นิยมใช้ผ้าขิดเป็นผ้านุ่งที่ต่ำกว่าเอว

pa tor isan 02

2. ผ้ามัดหมี่

ผ้ามัดหมี่ เป็นการสร้างลวดลายโดยวิธีย้อมสี โดยออกแบบลวดลายก่อนย้อมสีด้วยเส้นพุ่ง เตรียมลายกรอบไม้หน้ากว้างเท่ากับหน้ากว้างผ้า ออกแบบโดยใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการสีไว้ แล้วนำมาย้อมสีก่อนนำมาทอ ลายผ้าของชาวผู้ไทมักทำเป็นลายหยักแหลมหรือเป็นลายคมๆ เหมือนฟันปลา เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "หมี่กาบ" ได้แก่ ลายกาบหลวง ลายตุ้ม ลายตุ่มมะจีบ ลายนาค และลายปราสาท เป็นต้น

pa tor isan 03

3. ผ้าไหมแพรวา

ผ้าไหมแพรวา แต่เดิมหมายถึง ผ้าไหมที่มีความยาวขนาด 1 วา ชาวกาฬสินธุ์นิยมใช้เป็นผ้าสไบ ผ้าโพกหัว หรือผ้าพันคอ เฉพาะในโอกาสสำคัญเท่านั้น ซึ่งอาจจะแสดงถึงฐานะทางสังคมในแง่การมีผ้าสวยงาม มีคุณค่าเป็นสมบัติติดกาย เฉพาะผ้าแพรวาของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น มีลวดลายวิจิตรงดงาม ต้องใช้ความสามารถและเวลาในการทอมาก ด้วยเป็นลายผสมระหว่างลายขิดและลายจก บางผืนอาจต้องใช้เวลาทอมากกว่า 3 เดือน เช่น ลายนาค ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกาฬสินธุ์มีความวิจิตรงดงามมากและละเอียดกว่าลายอื่นๆ

pa tor isan 04

4. ผ้ายก

ผ้ายก (ผ้าไหมยกทอง จังหวัดสุรินทร์) เกิดจากการรวมกลุ่มนักออกแบบโดยการนำของ อาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย ซึ่งนำความรู้จากการออกแบบลวดลายไทยและลายชั้นสูงแบบราชสำนักโบราณ เมื่อครั้งศึกษาที่วิทยาลัยอาชีวะศึกษา วิทยาเขตพาะช่าง มาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาการทอผ้าแบบพื้นเมือง รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมาทอผ้ายามว่างจากการทำไร่ไถนา จัดตั้งกลุ่มทอผ้ายกทอง "จันทร์โสมา" งานที่สร้างชื่อสียงคือ การทอผ้ายกทองทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 รวมถึงการทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำ 21 ประเทศ และผ้าคลุมไหล่ภริยาผู้นำที่เข้าร่วมประชุม APEC 2003

pa tor isan 05

5. ผ้าย้อมคราม

ผ้าย้อมคราม ครามเป็นวัสดุย้อมสีเส้นใยผ้าทั้งฝ้ายและไหมที่ได้จากต้นครามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมเฉพาะตน สีครามที่ได้จากธรรมชาติเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ นำมาเปลี่ยนคุณสมบัติให้เป็นสีที่ละลายน้ำได้ตามกรรมวิธีโบราณ โดยไม่ใช้สารเคมี แล้วทำการย้อมเย็นโดยการจุ่มลงในหม้อคราม แล้วผ่านออกซิเจนเปลี่ยนคุณสมบัติกลับคืนเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ จุ่มลงย้อมหลายๆ ครั้งจนกว่าจะได้โทนสีเข้มตามต้องการ นิยมใช้ย้อมฝ้ายและทอด้วยทคนิคมัดหมี่ และขิด ลวดลายบนผืนผ้าแสดงถึงวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรม

pa tor isan 06

ลายผ้าอีสาน

ลักษณะเด่นของผ้าอีสาน ได้แก่ ลวดลายบนผืนผ้า ลายผ้าอีสานตามที่ได้ทอกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ มีลวดลายที่คล้ายคลึงกันในแต่ละเทคนิค มีแม่ลายที่ใกล้เคียงกันที่เกิดจากเทคนิคหลักดั้งเดิม ได้แก่ ขิดและมัดหมี่ ส่วนการยกทองป็นผ้าที่กิดขึ้นในภายหลัง โดยมีรูปแบบลายจากภาคกลางและราชสำนัก อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งลวดลายได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ลายสัตว์ เช่น ลายนาค ลายนาคเชิงเทียน ลายนาคสองหัว ลายนาคสองแขน ลายนาคเกี้ยว ลายอึ่ง เป็นต้น
  • ลายพันธุ์ไม้ เช่น ลายดอกแก้ว ลายขอ ลายบัวคำ ลายขอไต่เครืออุ้มแบด ลายขอพระเทพ เป็นต้น
  • ลายสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ลายโคมเก้า ลายกงเก้าหมากจับ ลายนกเชิงเทียน ลายจี้เพชร ลายกง ลายอัก เป็นต้น
  • ลายจากความเชื่อ ความศรัทธา และจินตนาการ เช่น ลายร้อยดวงใจ ลายใบเสมา ลายหัวใจ ลายปราสาท ลายหมากเบ็ง เป็นต้น

pa tor isan 07

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงรูปธรรม

ลายผ้าอีสาน มีลักษณะเป็นลวดลายกราฟิกเรขาคณิต ซึ่งเกิดจากวิธีการทอที่เกิดจากการขัดกันของเส้นพุ่งและเส้นยืน โดยมีรูปแบบลวดลายเกิดจากจินตนาการของผู้ทอ ในการประยุกต์จากสิ่งรอบตัว ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ได้แก่ สัตว์ พันธุ์ไม้ สิ่งของเครื่องใช้ ความเชื่อและศาสนา ใช้ทคนิคการทอแบบต่างๆ ทั้งการก็บขิดและมัดหมี่ซึ่งเป็นเทคนิคหลักที่ใช้ โดยวัสดุที่ใช้แต่ดั้งดิมมี 2 ชนิด คือ ไหม ที่ให้ผิวสัมผัสเงามัน และฝ้าย ที่ให้ผิวสัมผัสด้านหรือเป็นลายนูนที่เกิดจากการเพิ่มเส้นพุ่งของการขิด การใช้สีแต่ดั้งเดิมมาจากการย้อมสีธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ แก่นไม้ เมล็ด ดอก หรือจากสัตว์ ได้แก่ ครั่ง จึงมีสีหลักเป็นโทนธรรมชาติ เช่น สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากต้นเข สีดำจากมะเกลือ เป็นต้น

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงนามธรรม 

ผ้าอีสานมีความสัมพันธ์กับประเพณี ความเชื่อในการดำรงชีวิต เป็นสิ่งที่ใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ผ้าผูกเปล ผ้าห่ม เสื้อผ้า ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทอดกฐิน การแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ ใช้ห่อคัมภีร์ใบลาน ผ้าคุมหัวนาคในงานบวช ผ้าคลุมศพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังถือว่า การทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงอีสานที่ใช้เวลาว่างจากการทำนาและการเก็บเกี่ยว มาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือทอผ้าเอาไว้ใช้ในงานประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความพร้อมของหญิงสาวในการออกเรือน เพราะต้องใช้ความพยายามและความอดทนเป็นอย่างมาก จึงจะสามารถทอให้เป็นผืนผ้าได้

คนล่าฝัน (DreamChaser) ผ้าไหมบ้านคำปุน ครูศิลป์ของแผ่นดิน

แจ้งเพื่อทราบ : มีหลายท่านที่สนใจอยากได้ อยากซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นบ้านต่างๆ ผลผลิตจากชุมชนที่เรานำเสนอ ขอเรียนให้ทราบว่า ทางเว็บไซต์ประตูสู่อีสานของเราไม่ได้ทำการจำหน่าย หรือทำการตลาดนะครับ ถ้าท่านสนใจก็ไม่ยาก เปิดเว็บไซต์ OtopToday.com แล้วช็อปกันได้เลยครับ

 

[ อ่านความรู้เพิ่มเติม : คุณค่าผ้าทออีสาน | ผ้ากาบบัวเมืองอุบล | การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม | ผ้าไหมสุรินทร์ | เครื่องมือทอผ้า ]

redline

backled1

attalak isan

ศิลปะถ้ำ (2)

การเขียนสีและภาพสลักภายในถ้ำเพิงหิน เพิงผา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ศิลปะถ้ำ" นั้น ในประเทศไทยพบมากที่สุดในภาคอีสาน มีมากถึง 151 แห่ง พบมากบริเวณแถบเทือกเขาภูพานตอนที่พาดผ่านและกระจายอยู่ทั่วไป ภาพเขียนหรือศิลปะถ้ำเหล่านี้อาจแสดงโดดๆ มีเนื้อความเล่าเรื่องในตัวเอง หรือภาพประกอบกันเป็นเรื่องราว โดยแสดงให้เห็นถึงการเล่าเรื่องการล่าสัตว์ การทำการเกษตรกรรม การละเล่นงานรื่นเริง การประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม

ศิลปะถ้ำในอีสานที่เก่าแก่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนมาถึงยุคหินใหม่ ซึ่งปรากฏภาพเขียนผนังถ้ำมากที่สุด นอกจากการเขียนภาพแล้ว ยังมีการนำเอาโลหะมาตอกให้เกิดร่องเป็นเส้นเป็นภาพ เครื่องมือโลหะนี้เป็นการบ่งบอกว่า เป็นยุคหินใหม่ ส่วนภาพเขียนสีนั้นแสดงการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจักสาน เป็นการบ่งบอกว่าเป็นยุคที่ก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์

silapa tam 02

กลุ่มภาพเขียนที่อำภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นกลุ่มภาพขนดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มี 3 แห่ง คือ ผาขาม พบภาพลายเส้นสีแดงมีรูปร่างคล้ายปลา ผาแต้ม พบภาพสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ภาพฝ่ามือ ภาพคน ภาพเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ภาพลายเรขาคณิต ซึ่งเขียนด้วยสีแดง ผาหมอนและผาหมอนน้อย ภาพเขียนที่ปรากฏมีสีแดงเข้ม อาทิ ภาพคน ภาพมือ ภาพสัตว์และภาพลายเรขาคณิต มีกลุ่มภาพสัตว์และคนถือธนู และข้างๆ กันมีภาพสัตว์มีเขา สันนิษฐานว่า เป็นควาย และรอบๆ มีต้นข้าวล้อมอยู่ สันนิษฐานว่า กำลังทำนา ภาพที่โขงเจียมสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น อาทิ การล่าสัตว์ การปลูกข้าว การจับสัตว์ การจักสาน ป็นต้น

สถานที่เขียนภาพมักเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับที่ผาแต้มที่ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ประการแรก เป็นผาที่มีทางเดินยาวเหยียดหันหน้าลงสู่แม่น้ำโขง เหมาะกับการที่ผู้คนจะมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก บนหลังเขาเป็นที่ราบ มีโขดหินเพิงผาหินงดงามเหมาะกับการที่จะมาพักอาศัยและประกอบพิธีกรรม ประการที่สอง ทิวทัศน์โดยรอบงดงาม อยู่ในตำแหน่งที่ไม่อับในเรื่องลม ก่อให้เกิดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ประการที่สาม ผาแต้มแสดงความสัมพันธ์ 3 สิ่ง คือ ภูเขา ที่ราบ และแม่น้ำโขง เหมาะแก่การทำพิธีกรรมเนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่า ผาแต้มเป็นเพิงผาแห่งความอุดมสมบูรณ์

silapa tam 05

เทคนิคการเขียนภาพศิลปะถ้ำ

เทคนิคการเขียนภาพศิลปะถ้ำในอีสาน มี 4 ลักษณะ คือ

1. การพ่นสีรอบตัวแบบ (Stencil) โดยเอามือวางทาบกับผนังถ้ำแล้วพ่นสีด้วยปากทับรอบๆ มือ เช่น ถ้ำพระอานนท์ อำภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ถ้ำฝ่ามือแดง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

silapa tam 06

2. การชุบสีหรือเอาสีทาบนมือแล้วทาบลงไป (Print, Stamp) ภาพมือคนบางแห่งมีภาพเดียว บางแห่งมีเป็นร้อยๆ ภาพ ทำอยู่เป็นกลุ่มเดียวในแหล่งเดียว ไม่มีภาพอื่นเลยก็มี เช่น ถ้ำพระ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย แบบทาบสีและขูดสีบางส่วน เช่น ผาหมอนน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

3. ภาพวาดด้วยสิ่งที่คล้ายพู่กัน (Painting) ลักษณะการวาดมี 3 แบบ คือ แบบเงาทึบ (Silhouette) ได้แก่ ภาพคนที่แสดงสัดส่วนและสรีระของคนอย่างชัดเจน แสดงลักษณะกล้ามเนื้อที่แขนขา และภาพคนที่ไม่แสดงลักษณะทางสรีระชัดเจน หรือลักษณะของกล้ามเนื้อแต่มีอวัยวะทุกส่วน บางครั้งดูคล้ายประเภทลิง ค่าง แบบเส้นรอบนอก (Outline) ได้แก่ภาพคนเขียนด้วยลายเส้นเดี่ยวและเส้นคู่ ใช้เส้นแบบง่ายๆ คือ เส้นตรง เส้นโค้ง ลักษณะคล้ายกิ่งไม้ ไม่เน้นสรีระของตัวคน แต่แสดงลีลาของภาพ ส่วนภาพสัตว์ที่เขียนเป็นเส้นทึบ แสดงลักษณะทางสรีระได้อย่างชัดเจน มีการเน้นลักษณะเด่นของสัตว์และแบบไม่แสดงลักษณะทางสรีระชัดเจน และแบบโครงร่างที่ต้องการให้เห็นภาพใน (X-ray Style)

silapa tam 07

4. การขูดให้เป็นรอย (Carving) โดยใช้โลหะฝนเซาะร่อง จาร ขูดขีด ตอก แกะ ให้หินเป็นรอย แหล่งที่พบภาพประเภทนี้ เช่น ถ้ำผาแดง เขากระดานเลข อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีตอกให้เป็นรูปร่างแล้วขัดผิวหินให้เรียบ ถ้าผาลาย ภูผายนต์ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการฝนเซาะร่อง การสลัก เป็นภาพลายเรขาคณิตคนและสัตว์ เป็นต้น

สีที่ใช้เขียนภาพ

สีแดงได้จากฮีมาไทด์ (Haematite) สีขาวได้มาจากชอล์กหรือดินขาว (Kaolin) สีดำได้จากถ่านกราไฟต์ (Graphite) สีเหลืองได้มาจากลิโมไนต์ (Limonite) เป็นต้น สันนิษฐานว่า การนำสีมาใช้ต้องนำแร่มาบดผสมกับกาวหรือยางไม้และไขสัตว์ก่อนเพื่อให้สีติดทนนาน

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงรูปธรรม

ลักษณะเด่นของภาพเขียนบนผนังถ้ำคือรูปร่างของภาพเขียนสี มีทั้งแบบทึบ (Silhouette) แบบโปร่งที่เห็นเฉพาะเส้นรอบนอก (Outline) และแบบที่วาดโครงร่างที่ต้องการให้เห็นภายใน (X-ray Style) มักเขียนด้วยสีแดงจากแร่เฮมาไทต์หรือดินเทศ นำมาฝนให้เป็นผงแล้วผสมกับกาวหรือยางไม้และไขสัตว์ สีแดงเป็นสีที่ใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายใยสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ เทคนิคการเขียนที่เด่นๆ มี 4 วิธี คือ 1) การพ่นสีรอบตัวแบบ (Stencil) 2) การชุบสีหรือเอาสีทาบนมือแล้วทาบลงไป (Print, Stamp) 3) การวาดด้วยสิ่งที่คล้ายพู่กัน และ 4) การขูดให้เป็นรอย (Carving) ลักษณะภาพแบ่งเป็นกลุ่มที่ด่นๆ คือ คน สัตว์ เครื่องมือ และสัญลักษณ์

silapa tam 08

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงนามธรรม

ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำนั้นบ่งบอกเรื่องราววิถีชีวิตของคนในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ภาพการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจักสานเครื่องมือดำรงชีวิต และการสื่อความหมายหรือการบันทึกบางอย่างเป็นภาพสัญลักษณ์ นักวิชาการเชื่อว่า ภาพเขียนสีเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีสองแนวคิด คือ แนวคิดแรกเป็นวิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย เพราะสีแดงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสีแห่งความตาย จากหลักฐานทางโบราณคดี การฝังศพของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มักโรยด้วยฝุ่นสีแดง และไหที่บ้านเชียงที่เขียนด้วยสีแดงก็เพื่อฝังให้กับคนตาย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งเชื่อว่าภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเขียนเพื่อพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์

การประยุกต์เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม

ตัวอย่างนี้เป็นการนำเอาฮูปแต้มผนังถ้ำ "ภาพเขียนที่ผาแต้ม" นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม เพื่อรับใช้ชุมชน เป็นผลงานการออกแบบ อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า อุบลราชธานี ที่ได้นำเอาอัตลักษณ์จาก "ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม" มาเป็นแนวคิดในการออกแบบ ทั้งส่วนตกแต่งอาคาร เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ของส่วนบริการสาธารณะ เป็นต้น

silapa tam 09 silapa tam 10
silapa tam 11 silapa tam 12

อัตลักษ์ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำที่ผาแต้ม มาใช้ตกแต่งอาคาร และสัญลักษณ์ห้องน้ำชาย-หญิง

การนำเอาศิลปะถ้ำ มาใช้ในการออกแบบศูนย์บริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลเด็กสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ด้วยความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากท้องทะเล ภายใต้อารยธรรมอันทรงคุณค่าอายุกว่าสามพันปีของ "ผาแต้ม" สัญลักษณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของจังหวัดอุบลราชธานี ผสมผสานความร่วมสมัยของการก่อสร้างและวัสดุที่เหมาะสม ถ่ายทอดผ่านการออกแบบที่สวยงาม สนุกสนาน สื่อสารกับเด็กๆ อย่างผ่อนคลาย เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความเชื่อมั่นและประะทับใจ สู่การเป็น "โรงพยาบาลเด็กแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี" ดังภาพข้างล่างนี้

silapa tam 13

ภาพ Perspective รั้วบริเวณด้านหน้าของโรงพยาบาลเด็กสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

silapa tam 14

ดูใกล้ๆ ชัดๆ กับเอกลักษณ์ศิลปะถ้ำที่ผาแต้ม

silapa tam 15

การตกแต่งภายในกับรรยากาศทะเลที่แสนผ่อนคลายสำหรับเด็กๆ และผู้ปกครอง

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)