คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ความสอยนี้ นอกจากจะให้ความสนุกสนานครื้นเครงล้อเลียนและเตือนสติของคนดังกล่าวมาแล้ว ยังเป็นการแสดงที่ใครเอาผิดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ
ขอยกกรณีการสอยบ้างเป็นตัวอย่าง เช่น
สอย สอย พี่น้องฟังสอย
ครูบ้านเผิ่น บ่คือครูบ้านโต
ครูบ้านเผิ่น สอนแต่หนังสือ
บาดห่าครูบ้านโต ล่อสี้แต่ลูกศิษย์
จั่งซี้กะว่าสอย
ลองคิดดูซิว่า มันจะหมายถึงครูบ้านคนสอยหรือหมายถึงครูบ้านคนฟัง มันระบุไม่ได้ แต่ครูผู้มีพฤติกรรมเช่นนั้นหนาวแน่ ถ้ายิ่งไปฟ้องเขา นอกจะเปิดตัวเองว่าเป็นอ้ายโม่งตัวนั้นแล้ว ยังจะแพ้ความเพราะภาษาด้วยเรียกได้ว่าเสียสองต่อ ด้วยความสอยที่ใช้กระเทาะเปลือกคนชั่วและสังคมเลว โดยที่คนชั่วเอาผิดอะไรไม่ได้นี้ ก็แสดงให้เห็นว่า ใครเล่าจะฉลาดไปกว่า "บรรพบุรุษอีสาน"
ความสอยธรรมดาจะไม่มีสร้อย แต่ที่ใส่สร้อยเข้าไปนั้น ก็เพื่อเป็นการเน้นความสนใจ ความสะใจ แก้เก้อ เยาะเย้ย และประชด ความสอยก็จะออกรสจูงใจและสะใจผู้ฟัง ผู้ทำชั่วที่ถุกด่าด้วยความสอย เขาก็จะหยุดทำชั่ว สร้อยความสอยดังกล่าวนั้น มีดังนี้
การสอยนั้นนิยมใช้กันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ไม่มีจำกัดว่าเพศใดเพศหนึ่ง ยกเว้นนักบวช นอกนั้นสอยได้หมด แต่คุณสมบัติของผู้สอยนั้นจะต้องเป็นผู้มีมุขตลกอยู่ในบุคลิกเพราะสอยต้องการความสนุกสนาน ไม่ใช่เป็นวิชาการ ถ้าสอยแล้วไม่สนุก มันก็จืดชืด ถ้ามันจืดชืดแล้วจะใช้สร้อยแก้เก้อว่า "จั่งซี้กะว่าสอย" อยู่เรื่อยๆ คงไม่ไหว
เนื่องจากการสอยเป็นมุขตลก สอยออกมาแล้วต้องเรียกเสียงฮาให้ได้ ดังได้กล่าวมาแล้ว ทำนองสอยก็จะต้องเป็นทำนองตลกซึ่งคนอีสานเรียกทำนองนี้ว่า "แถนหนิ่งหน่อย" (แถนจั๊กกะจี้หรือพระอินทร์ทำให้หัวเราะนั่นเอง) ทำนองนี้จะมีสั้นบ้างยาวบ้าง สลับกันไป
การออกเสียงภาษาของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จะแตกต่างกับภาษากลางในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะที่มีวรรณยุกต์ ภาษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีวรรณยุกต์ ออกเสียงเอาเหมือนภาษาอังกฤษ ถึงจะใส่วรรณยุกต์ก็จะออกเสียงตามภาษาอีสานอยู่นั่นเอง
[ วรรณกรรมคำสอย | ความเป็นมาของความสอย | ข้อดีของความสอย | ความสอยเรียงตามอักษร ]
คนอีสานเป็นเผ่าชนที่มีอารมณ์ศิลปิน ศิลปินอีสานอาจกล่าวได้ว่า ร้องลำทำเพลงได้ทุกประเภทและทุกชาติ บ่อยครั้งที่คนอีสานรับจ้างเล่นงิ้วให้กับคนจีน เขาเล่นได้โดยไม่ต้องฝึกหัดงิ้ว ที่เป็นดังนี้เพราะเป็นไปได้ที่คนอีสานกับคนจีน มีชีวิตความเป็นอยู่สัมพันธ์กันมาตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำฮวงโหแยงซีเจียงแล้ว
ความสอยเป็นมุขตลกนอกเวที ความสอยนี้จะใช้กันในเวลาฟังลำ โดยเฉพาะในจังหวะเดินกลอนและร่ายลำที่เร้าใจที่สุด ความสอยนี้นิยมใช้กับหมอลำเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีการใช้กับการบันเทิงประเภทอื่น เหมือนการแถมสมภารมักจะใช้ขณะที่พระเทศน์ด้วยเสียงไพเราะเท่านั้น
ความสอยนี้ไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด และเกิดขึ้นกับชนเผ่าใด จากการสันนิษฐานตามรูปการณ์ของมัน ก็พอจะเห็นได้ว่า มันเกิดขึ้นจากลุ่มแม่น้ำฮวงโหแยงซีเจียง เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว เกิดกับชนชาติเผ่าอ้ายลาว และเกิดเวลามีอารมณ์สนุกตอนฟังลำเท่านั้น ฟังอย่างอื่นไม่เห็นมีสอยและชนชาติที่สอยได้ ก็คือชนชาติอ้ายลาวเท่านั้น
ความสอยนั้น ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็สอยได้ คนที่สอยได้นั้นจะต้องเป้นคนฉลาดและมีไหวพริบ และมีปฏิภาณดี ความสอยเป็นสำนวนคล้องจอง ใช้หลายภาษาสลับกันได้ แต่ที่เห็นใช้เป็นหลักอยู่ก็คือภาษาไทยอีสาน และมีภาษาไทยกลางบ้าง แต่ก็ใช้เป็นภาษาประกอบเท่านั้น
บรรพบุรุษของคนอีสาน เป็นคนฉลาดคิดค้นความสอยนี้ขึ้นมาใช้อย่างมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการใช้ ใช้ก็ใช้ในเวลามีคนรวมกันมากๆ ด้วย คนจำนวนน้อยไม่ค่อยใช้กันเพราะใช้แล้วไม่สนุก เมื่อมองถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าวแล้ว ความสอยจึงสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 5 รูปแบบดังนี้
คำสอย เป็นการแสดงวาทศิลป์ของคนอีสาน เพื่อความสนุกสนานในขณะที่ฟังหมอลำกลอน และคำสอยนี้มีวิวัฒนาการมาพร้อมๆ กับการลำกลอน จะเห็นว่า คำสอยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านภาษาอันลํ้าค่า ที่บรรพบุรุษได้สร้างสมและถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ครั้งอดีตเคยมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวอีสาน เพราะได้สะท้อนสภาพชีวิตและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่จากถ้อยคำที่ปรากฏ ปัจจุบันคำสอยจะพัฒนาไปตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งเกี่ยวข้องกับวถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อ ทัศนคติ และเหตุการณ์ประทับใจของคนในท้องถิ่นอีสาน แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าคำสอยในอดีตจะขาดความสำคัญไป คำสอยในอดีตยังคงขบขันเสมอ และยังได้รับความนิยมอย่างไม่เปลียนแปลง โดยเฉพาะในด้านรูปแบบนั้นยังคงยึดรูปแบบดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน
การขึ้นต้นในการสอยแต่ละครั้งนิยมขึ้นต้นด้วยคำว่า “สอย.. สอย..” ซึ่งการขึ้นต้นแบบนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และยังมีการขึ้นต้นคำสอยอีกหลายแบบ เช่น ขึ้นต้นด้วยการรัวลิ้น ตรู๊...ตรู๊...ตรู๊ แล้วตามด้วยคำว่า สอย...สอย หรือขึ้นต้นด้วยคำว่า เซิ้ม...เซิ้ม.. หรือคำอื่นๆ แล้วนำธรรมชาติของสัตว์เป็นสิ่งเปรียบเทียบ โดยเฉพาะชื่อของนกชนิดต่างๆ ได้แก่ นกแตดแต้ นกขุ่ม นกขี่ถี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นนกที่มีในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังมีคำว่า “สาวสํ่าน้อย” หรือ “เฒ่าสิตาย” แต่ไม่ใช่เป็นหัวข้อบังคับที่ตายตัว เนื้อหาในคำสอยจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม มีทั้งเสียดสี ล้อเลียน ประชดประชัน กระเซ้าเย้าแหย่เกี่ยวกับโลกีย์วิสัย ซึ่งคำที่ใช้เรียก "อวัยเพศของผู้หญิง หรือผู้ชาย" ก็ปรากฏออกมาตรงๆ ไม่อ้อมค้อม
ฉันทลักษณ์ของคำสอยนั้น มีลักษณะคล้ายกาพย์ แต่ก็ไม่ได้บังคับตายตัวหรือเคร่งครัดแต่ประการใด เพราะคำสอยจะเน้นในเรื่อง คำ ความหมาย และความขบขันเป็นสำคัญ คำที่ใช้เป็นคำที่เรียบง่าย ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที
การศึกษาในสมัยก่อนเป็นการศึกษาในชีวิตประจำวัน ไม่เป็นระบบการเรียนรู้ต่างๆ เป็นการถ่ายทอดโดยมมุขปาฐะและการสาธิต ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ และเกิดความซาบซึ้งไปโดยอัตโนมัติ การให้การศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะข้อห้าม ค่านิยมต่างๆ ตลอดจนการอบรม สั่งสอน
คำสอยทำหน้าที่เป็นสื่อพื้นบ้าน ในการถ่ายทอดข่าวสารทางการเมืองได้เป็นอย่างดี เนื้อหาการสอยเป็นการล้อเลียนพฤติกรรมสังคมทางค่านิยม เรื่องที่สอยมีทั้งที่เป็นจริง และเป็นเรื่องของความคะนองปาก คะนองอารมณ์ บุคคลที่นำมาประกอบคำสอย จะเป็นนักการเมือง ข้าราชการผู้ใหญ่
ในสมัยก่อนระบบเศรษฐกิจของสังคมอีสาน ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ "การพึงตนเองมากกว่าการค้าขาย" การผลิตการบริโภคเป็นไปแบบเพื่อสนองความต้องการในครอบครัว หรือในชุมชนนั้นๆ เพราะสังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรม ต่อมาสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปการผลิตมุ่งเพื่อการค้ามากขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในการสอยจะกล่าวถึงสถานภาพเศรษฐกิจของชาวอีสานในด้านอาชีพต่างๆ ด้วย
สภาพสังคมของชาวอีสาน เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน การประกอบอาชีพส่วนใหญ่คือ ทำนา ทำไร่ หลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว ก็จะทำอาชีพอย่างอื่นเสริม เช่น ทอผ้า จักสาน หรือ จับปลาตามห้วยหนอง คลองบึง เป็นต้น
สอย หรือ คำสอย เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ที่แฝงไปด้วยอารมณ์ขันของคนอีสาน สร้างให้เกิดความสนุกสนาน วรรณกรรมคำสอยมีความเป็นมาพร้อมๆ กับหมอลำกลอน ในปัจจุบันมีคนนำมาใช้กับหมอลำคู่และหมอลำเพลินด้วย ด้วยความมีอิสระเสรีในการสอย แม้คำสอยส่วนมากจะเน้นหนักในเรื่องทางเพศ แต่ชาวบ้านเขาไม่ถือสากัน กลับเห็นเป็นเรื่องขำขันและสนุกสนานมากกว่า คล้ายคลึงกับกลอนเพอะนั่นเอง ขอให้ท่านได้ใช้วิจารณญาณในการศึกษาเรียนรู้ด้วยครับ (ขอให้พยายามอ่านออกเสียง เป็นสำเนียงอีสาน ข้อความทั้งหมดมิได้พิมพ์ผิด แต่พยายามให้ใกล้เคียงกับสำเนียงภาษาพูด) วรรณกรรมคำสอยแยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
คำสอยประเภทนี้จะมีคติสอนใจ แฝงไว้ด้วยความเป็นจริงและสะท้อนให้เห็นชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละชุมชน มีทั้งประเภทที่เป็นคำกลอนสุภาพ และไม่สุภาพ เช่น
คำสอยประเภทนี้เป็นคำสอยที่เหน็บแนม ประชดประชันและเสียดสีสภาพความเป็นอยู่ และพฤติกรรมของสังคม ตลอดจนบุคคลทุกรุ่นทุกวัย เพื่อความสนุกสนานเพื่อสร้างอารมณ์ขัน ทั้งยังเป็นแนวคิดแก่คนในชุมชนนั้นๆ ด้วย คำสอยประเภทนี้แยกได้ดังนี้
คำสอยที่เกี่ยวกับสตรี เป็นคำสอยที่นิยมสอยกันอย่างแพร่หลายมาก ซึ่งผู้ฟังมักจะ ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ซึ่งยังอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คิอ
คำสอยที่เกี่ยวกับบุรุษ คำสอยมักจะเกี่ยวข้องกับเพศหญิงเสียเป็นส่วนมาก อาจเป็นเพราะหมอสอยผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิงก็ได้ หรือเพศหญิงเป็นเพศที่สงบเสงี่ยม คำสอยที่เกี่ยวกับผู้ชายก็มีไม่น้อย ซึ่งแยกได้ดังนี้
คำสอยเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เป็นคำสอยที่อาจจะมีความหมายหยาบคายเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นการเปรียบเทียบกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ อย่างไรก็ตามชาวบ้านเขาไม่ถือ เพราะเป็นเรื่องสนุกสนาน ใครๆ ก็ชอบความขบขัน หรืออารมณ์อันเกิดจากการล้อเลียนในเรื่องเพศ อย่างเช่น ลำตัดของภาคกลาง คำสอยต่างๆ มีดังนี้
คำสอยสมัยใหม่ คำสอยที่พัฒนาขึ้นมาให้เข้ากับเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งสื่อมวลชนแขนงต่างๆ มีอิทธิพลเข้ามาในสังคมไทยอย่างรวดเร็ว วรรณกรรมคำสอยเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ย่อมมีการพัฒนาตามไปด้วย
|
ขอขอบพระคุณ : ผศ.สุระ อุณวงศ์ ผู้รวบรวมไว้เพื่อสืบสานมรดกอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)