คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้
ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้
พยัญชนะของอักษรธรรมอีสานแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ คือ
ลักษณะของตัวอักษรธรรมดังภาพด้านล่างนี้ เป็นฟอนต์ที่อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบสร้างขึ้น มี 2 แบบสำหรับการพิมพ์บนโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป (word) เรียกชื่อฟอนต์ว่า UbWManut และอักษรสำหรับโปรแกรมกราฟิก (PhotoShop) เรียก UbPManut ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อัษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่
อยากได้ฟอนต์อักษรธรรมโบราณอีสานดาวน์โหลดได้เลย [ Download Font Dhamma here! ]
อักษรธรรมอีสาน-ไทยน้อย
รายละเอียดเกี่ยวกับการอ่านและเขียนตัวอักษรธรรมมีเนื้อหาค่อนข้างมาก อาจารย์มนัส สุขสาย ท่านได้ทำตำราไว้ค่อนข้างละเอียด และตอนนี้ผู้ทำเนื้อหาเว็บไซต์กำลังพยายามศึกษาตำแหน่งของฟอนต์อักขระบนแป้นพิมพ์อยู่ครับ เมื่อช่ำชองแล้วจะนำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามปณิธานของท่านอาจารย์มนัส สุขสาย ครับ
การเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น วรรคกะ (ก ข ค ฆ ง)
ในช่วงที่ทำการอัพเดทข้อมูลไปเจอ ฟอนต์ตัวอักษรธรรมไทย หรือ ขอมไทย ซึ่งน่าสนใจมากทีเดียว ได้มาจากสำนักเรียนวัดพระเชตุพน เลยนำเอาเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ดพร้อมไฟล์ฟอนต์ดังกล่าวมาให้ดาวน์โหลดกันครับ สนใจคลิกดาวน์โหลดในลิงก์ด้านล่างของภาพคีย์บอร์ดเลย์เอาท์นะครับ
ดาวน์โหลดฟอนต์อักษรธรรมไทยได้ที่นี่ [ Download TumThai here! ]
การเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น วรรคจะ (จะ ฉะ ชะ ฌะ ญะ)
การเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น เศษวรรค (ยะ ระ ละ วะ สะ หะ ฬะ อะ ฮะ ออยอ)
คำควบกล้ำและการประสมคำควบกล้ำในอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น
เครื่องหมายและวรรณยุกต์ในอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น
อักษรขอม | อักษรธรรมโบราณอีสาน | อักษรไทยน้อย | วรรณกรรมอีสาน
อักษรขอม พัฒนามาจาก อักษรหลังปัลลวะ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ ภายหลังได้มาติดต่อกับภูมิภาคอุษาคเนย์ จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงตัวอักษรไว้ให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อีกด้วย ต่อมาอักษรชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ มีวิวัฒนาการต่อไปจากอักษรปัลลวะ เป็นอักษรหลังปัลลวะ หลังจากนั้นก็แตกแขนงเป็นสองสาขาใหญ่ๆ คืออักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ
อักษรขอมโบราณ ใช้ในอาณาจักรต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็น ต้นแบบของอักษรไทย และ อักษรเขมร ในปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของอักษรขอม คือ เปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศก หรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี)
พบหลักฐานการใช้อักษรขอมโบราณเขียน ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ในบริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทยปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 - 16 แต่จะไม่พบเอกสารโบราณประเภทจารึกที่ใช้อักษรขอมโบราณ ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดตากขึ้นไป หลักฐานทำนองนี้รวมไปถึงโบราณสถาน ที่เรียกว่า ปราสาทหิน ปราสาทอิฐ และพระปรางค์แบบขอม หรือลพบุรี ที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ แต่ไม่เคยปรากฏอยู่ทางภาคเหนือ
ในประเทศไทย อักษรขอม ถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ ต่อมา อักษรขอมไทยถูกแทนที่ด้วยอักษรไทย ส่วนอักษรขอมบาลียังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม อักษรขอมบาลีถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
อักษรขอม ที่ใช้จารในใบลานที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 2 แบบ คือ
ลักษณะอักษรขอมที่นิยมจารลงในใบลานมีอยู่ 3 ลักษณะ 3 ส่วน คือ ตัวอักษรหนามเตย และเชิงอักษรขอมทุกตัว จะมีเครื่องหมายเขียนหยักไว้ข้างบนที่เรียกว่า หนามเตย
หนามเตยโดยปกติแล้วจะเขียนติดกับสระ ยกเว้นตัวที่เขียนประสมกับสระอา อิ อี ส่วนเชิงอักษรนั้นเป็นเครื่องหมายแทนตัวอักษรที่เป็นตัวตาม ตัวสะกดจะเขียนไว้ข้างบนเชิงที่เป็นตามนั้นจะเขียนไว้ข้างล่างถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาบาลี แต่ถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาไทยเชิงอาจเป็นตัวสะกด ซึ่งจะแนะนำวิธีการเขียนอักษรขอมต่อไป
เรียนอักษรขอมเบื้องต้น EP.1
อักษรขอมมี 41 ตัว แบ่งเป็น สระ 8 ตัว พยัญชนะ 33 ตัว
ตั้งแต่โบราณมา การเรียนอักษรโบราณอีสาน ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรธรรม บทปัญญาบารมี เป็นบทใช้สอนฝึกหัดอ่านเขียน และถือว่าถ้าใครสามารถอ่านเขียนปัญญาบารมีได้แล้ว ถือว่ามีความรู้เรื่องอักษรโบราณแล้ว ครูผู้สอนจะให้หาประสบการณ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป
เรียนอักษรขอมเบื้องต้น EP.2
อักษรขอม | อักษรธรรมโบราณอีสาน | อักษรไทยน้อย | วรรณกรรมอีสาน
เรียบเรียงโดย : มนัส สุขสาย
คำว่า อักษร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า ตัวหนังสือ วิชาหนังสือ คำ เสียง พยัญชนะ
อักษรธรรม เป็นอักษรที่คนโบราณอีสานใช้จารึกหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา สรรพวิชา ขนบธรรมเนียมและประเพณีต่างๆ ของชาวอีสานเป็นเวลาช้านาน อักษรโบราณอีสานเป็นมรดกทางปัญญา ที่ปราชญ์โบราณวางเกณฑ์อักษรวิธีเอาไว้เป็นกลางๆ เป็นหนังสือหนังหาเสร็จอยู่ในตัวเอง แม้จะไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์ไว้ครบถ้วน เหมาะสมกับผู้ใช้สามารถผันเอาเองตามต้องการ
ประวัติของอักษรโบราณอีสานนั้น นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ในการทำสังฆายนาครั้งที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ณ ชมพูทวีป เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 ได้มีการจารึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นลายลักษณ์ครั้งแรก อักษรที่ใช้จารึกในครั้งนั้นเรียกว่า อักษรพรหมี และอักษรนี้เป็นแม่บทของอักษรเทวนาคี และอักษรปัลลวะ
นักปราชญ์ทั้งไทยและต่างประเทศยอมรับว่า อักษรปัลลวะ เป็นต้นแบบของอักษรชาติต่างๆ ในแหลมทอง โดยเฉพาะในภาคอีสานมีวรรณกรรมเกี่ยวกับการเดินทางไปสืบเอาพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดียเรื่องหนึ่งคือ "เซตะพน" หรือ "เสถพน" ในเรื่องมีว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทราบข่าวว่า วัดพระเชตุพน เมืองสาวัตถีเจริญรุ่งเรืองมาก ประสงค์จะทราบความจริง และจะได้คัมภีร์พระอภิธรรม พระองค์จึงทรงแต่งตั้งราชทูตคณะหนึ่งไปสืบดู ซึ่งคณะราชทูตมี ขุนไท ผู้เป็นหลานของพระเจ้าแผ่นดินเป็นหัวหน้า พร้อมด้วย ขุนพาย ขุนพล ขุนลิงล้ำ เป็นรอง นายกรวิก เป็นองครักษ์ และมีคนโบราณใหญ่สูง 8 ศอก เป็นคนนำทางพร้อมไพร่พล 500 คน เป็นชาย 400 หญิง 100 คน ในการเดินทางครั้งนั้นใช้ช้างและม้าเป็นพาหนะ
คณะราชทูตออกเดินทางประมาณเดือนอ้าย เดินทาง 3 เดือน ถึงเมืองหงสาวดีเข้าเฝ้าเจ้าเมือง และพักอยู่ที่นั่น 3 คืน แล้วเดินทางไปอีก 3 เดือน 14 วัน ถึงปลายแดนเมืองหงสาวดี พบเจดีย์ใหญ่ชื่อพระธาตุชะกุ้ง (ชเวดากอง) พากันบูชาแล้วเดินทางเข้าป่าหิมพานต์ พบสิงสาราสัตว์ ภูตผีปีศาจ และธรรมชาติต่างๆ มากมายเป็นเวลา 7 ปี จึงถึงแม่น้ำมหิง ไพร่หนุ่มสาวที่เดินทางไปด้วยได้แต่งงานให้กำเนิดเด็กประมาณ 300 คน
คณะทูตได้เดินทางไปอีก 1 ปี จึงพบพระฤาษีไตคำ ได้ทราบข่าวเรื่องมาลัยเจดีย์ วัดพระเชตุพน เมืองสาวัตถี ซึ่งอยู่บนเขาเนมินธร ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี คณะเดินทางขึ้นเขาเนมินธร ผู้คนในคณะเป็นโรคท้องตาย 205 คน ที่เหลือจึงเดินทางไปอีก 8 วัน จึงถึงเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าถวายราชบรรณาการแก่พระมหากษัตริย์เมืองสาวัตถี พักอยู่ที่นั่น 1 คืน รุ่งขึ้นเดินทางไปวัดพระเชตุพน เข้าเฝ้าถวายสักการะสมเด็จพระสังฆราชแล้วบูชามาลัยเจดีย์ ได้ทำการวัดเอาสัดส่วนต่างๆ ของเจดีย์เอาไว้
คณะทูตได้ขอพระอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์ สมเด็จพระสังฆราชก็พระราชทานให้ดังประสงค์ ชายที่ไปด้วยในคณะมีความเลื่อมใสขอบวชเป็นพระภิกษุที่วัดพระเชตุพน 15 คน นอกนั้นพักอยู่ที่นั่น 1 เดือน แล้วได้เดินทางกลับ ขากลับได้ชมหมู่บ้านหิมพานต์ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาก แล้วเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา การกลับมาในครั้งนั้นได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างดี และพระอภิธรรมที่ได้มาทั้ง 7 คัมภีร์นั้นได้สร้างหอคำบรรจุเอาไว้ ปราชญ์โบราณชาวอีสานได้อ่าน ได้ศึกษาจารึกที่ได้สืบเอามานี้ใช้สั่งสอนอบรมประชาชนสืบมา
ชาวอีสานโบราณใช้อักษรประจำถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ที่นิยมกันมากมี 3 ชนิด คือ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหัวเมืองชายแดนที่เป็นประเทศราช ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เข้าเป็นประเทศสยามอันเดียวกัน และอิทธิพลของอักษรไทยแพร่เข้ามาในหัวเมืองอีสาน เริ่มแรกนั้นอักษรไทยก็ใช้เฉพาะงานในหน้าที่ราชการเท่านั้น ส่วนชาววัดและชาวบ้านทั่วไป ยังคงใช้อักษรพื้นเมือง
ครั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้มีการจัดพิมพ์หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วย อักษรไทยปัจจุบันในใบลานสำเร็จ และเผยแพร่ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา การจาร (เขียน) อักษรโบราณอีสาน ทั้งอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย ก็ลดความนิยมลงเรื่อยๆ หนังสือเหล่านี้ส่วนมากไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่สรรพวิชาการ มรดกทางปัญญาที่ล้ำค่าของปราชญ์โบราณอีสานต้องสูญเสียไป
ณ บัดนี้ ด้วยความร่วมมือของ อาจารย์มนตรี โคตรคันทา ผู้สร้างสรรค์เว็บไซต์ "สะออน" (ชื่อเดิม Sa-On : สะออนอีสาน ก่อนจะจดโดเมนใหม่ในชื่อ IsanGate.com) แห่งนี้ จะได้นำผลงานการค้นคว้าของข้าพเจ้ามานำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยมุ่งหวังที่จะให้เป็นแหล่งสืบสานภูมิปัญญา ของหมู่เฮาชาวอีสาน ไว้ให้ลูกหลานได้ค้นคว้าต่อไป
สำหรับท่านที่สนใจอยากจะได้หนังสือวรรณกรรมอีสาน ตำราเรียนอักษรโบราณอีสาน โปรดติดต่อโดยตรงที่ อาจารย์มนัส สุขสาย สำนักพิมพ์มูนมังไทยอีสาน 299 หมู่ 11 (บ้านนิคมจัดสรร) ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ 045-241716 (ส่งธณานัติสั่งจ่าย ปณ.แจ้งสนิท จำนวน 175 บาท [ค่าหนังสือ + ค่าส่ง] ได้เลยครับ) |
และเป็นข่าวดีอีกข่าวหนึ่งคือ ตัวอักษรไทยน้อย ไทยอีสาน นั้น กำลังจะถูกสร้างสรรค์ให้เป็นอักขระบนระบบคอมพิวเตอร์ มีแป้นพิมพ์เปลี่ยนได้เหมือนกับภาษาอื่นๆ เช่น ไทย-อังกฤษ เราก็จะมี ไทยอีสาน-อังกฤษ เป็นต้น การดำเนินการดังกล่าวนี้กำลังดำเนินการโดย คุณเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่บล็อกคุณเทพพิทักษ์ โครงการอักษรอีสาน เลยครับ และตอนนี้ยังมีการทดลองเอาไปใช้กับเพลงคาราโอเกะเพื่อการศึกษา โดยอาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์
อักษรธรรม และอักษรไทยน้อย, Dhamma - Thainoi script
คะลำ เป็นลักษณะความผิดบาป ผิดจารีต ไม่เหมาะ ไม่ควร อาจมีโทษมากหรือน้อย หรือไม่มีโทษ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม คะลำจึงเป็นหลักคำสอนที่ปฏิบัติกันมาจนเป็นขนมธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็นข้อห้าม
ข้อคะลำที่สัมพันธ์กันกับเวลานั้น มีหลายข้อที่สัมพันธ์กับบุคคลและสถานที่ด้วย ซึ่งแยกออกจากกันลำบาก แต่เพื่อให้เห็นภาพกว้างๆ โดยรวม และไม่ต้องแบ่งซอยลงไปมากจนเกินไป จึงขอยกตัวอย่างดังที่แบ่งข้างต้น ซึ่งข้อคะลำที่สัมพันธ์กับเวลานั้น น่าจะหมายถึงเวลาที่เป็นงานเทศกาล ประเพณีประจำปี หรือเวลาของการประกอบอาชีพประจำฤดูกาล โดยเฉพาะการทำนา รวมทั้งประเพณีเฉพาะกิจในระดับส่วนบุคคลที่เกี่ยวพันกับสังคม ตัวบุคคลและสถานที่ด้วย รวมทั้งกิจวัตรประจำที่อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน แต่ในที่นี้จะเอาเวลาเป็นตัวตั้งเพื่อให้สอดคล้องกับที่แบ่งหัวข้อไว้ เช่น
เวลา หรือ ขั้นตอนในการทำนา ซึ่งจะต้องดำเนินการสอดคล้องตามระยะเวลา เนื่องจากต้องอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมที่ยังควบคุมธรรมชาติไม่ได้ ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะต้องคะลำ ผิดประเพณี "กินไม่บกจกไม่ลง" นอกจากนั้นยังมีข้อปฏิบัติที่สัมพันธ์กับข้าว เช่น
นอกจากนี้ยังมีข้อคะลำที่สัมพันธ์กับเวลา เช่น บุญหรืองานประเพณี พิธีกรรมต่างๆ อาทิ
การแต่งงาน ถือว่าเป็นงานมงคลในช่วงชีวิตของคน ดังนั้นจึงมีข้อคะลำเพื่อให้เกิดความมั่นใจในชีวิตคู่ สร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป รวมทั้งข้อคะลำที่ควรทราบในระหว่างมีชีวิตคู่ด้วย เช่น
วันสงกรานต์ หรือ วันเนา เชื่อกันว่ามาจากคำว่า "เน่า" หมายความว่าถ้าใครกระทำผิดคะลำในวันนี้แล้ว เวลาตายไปจะเน่าเหม็น สำหรับในวันนี้ของสังคมอีสานในอดีตถือว่า เป็นวันหนึ่งในรอบปีที่ต้องผ่อนคลาย สนุกสนานให้เต็มที่ การเตรียมการเตรียมงานหรือเวียกงานต่างๆ ต้องกระทำก่อนหน้านั้นให้เสร็จสิ้น หากมีบุคคลใดฝ่าฝืนทำสิ่งใดในวันนี้ถือว่าคะลำ ไม่เจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขายไม่ขึ้น จะต้องตายเน่าตายเหม็นอย่างไม่มีศักดิ์ศรี ซึ่งคล้ายกับข้อห้ามของวันว่างในประเพณีของคนใต้
สำหรับข้อคะลำที่ห้ามประพฤติปฏิบัติในวันเนาตามความเชื่อของคนอีสานมีดังนี้
สรุปคือห้ามทำการงานทุกอย่างในวันดังกล่าว ให้สนุกสนานร่วมงานของเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ ถือว่าเป็นการผ่อนคลายความเคร่งเครียดตรากตรำทำงานตลอดปีอีกวันหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีข้อคะลำอื่นๆที่สอดคล้องกับเวลา เช่น
ยังมีเพิ่มเติมสำหรับการกระทำที่ถือว่า "คะลำ" ไม่ควรทำ เป็นการรวมอริยาบถของคนในลักษณะต่างๆ
คะลำเกี่ยวกับการยืน
คะลำเกี่ยวกับการย่าง (เดิน)
คะลำเกี่ยวกับการนั่ง
คะลำเกี่ยวกับการนอน
คะลำเกี่ยวกับการกิน
คะลำเกี่ยวกับการไปการมา
คะลำทั่วไป
กลับไปที่ คะลำ ขะลำ หน้าที่ 1
รวมผญา สุภาษิต และคำสอย
กลอนลำ
เพลงลูกทุ่งอีสาน มาเข้าใจความหมายของคำภาษาอีสานในเพลงลูกทุ่ง
ภาษาอีสานแยกตามหมวดอักษร
กลอน ภาษิตโบราณอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)