คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
อ่ำถ่ำ-คันยู-ฮ่ม-คันจ้อง-ป้อย-ปุน-โอย-กะโพก-หมื่น-มื่น-มืน
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "อ่ำถ่ำ"
มีคำถามมาจากจากสาวน้อยทางนครปฐมบอกมาว่า มีหนุ่มอีสานเข้ามาจีบเอ่ยเป็นกลอนเสียงดังว่า "ฮักน้องหลาย ฮักน้องสาวแก้มอ่ำถ่ำ อยากเมือบ้านนำเด้หล้า" อ้ายแอดมินบอกน้องแหน่ว่า "แก้มอ่ำถ่ำ" นี่มันเป็นจั่งใด๋น้ออ้าย
อ่ำถ่ำ ว. สีคล้ำ เรียก สีอ่ำถ่ำ อย่างว่า แก้มอ่ำถ่ำแก้มเจ้าอ่ำถ่ำ หักดอกไม้ยามค่ำเอาไปบูชาธรรม คุณครูบาอาจารย์ให้มาฮับเอาพรข้าน้อยไว้ (กลอน) อ่ำถ่ำเนื้อเกลี้ยงกล่อมกันหลับ สีใสสันตื่นยามยังผ้า เหมือยฮวายไม้ลมบนเบยเมฆ สูรย์ส่องขึ้นเฮืองฟ้าเฮื่อแสง (ฮุ่ง). dusky, dark-colored.
อาวทิดหมูพิจารณาแล้วเห็นว่า น้องสาวหล้าผู้นี้คือสิมีความงาม แต่งตัวปัดแก้มออกสีคล้ำนิดๆ พองาม บ่แม่นขาววอกแบบใช้ครีมปรอทนั่นแหล่วนางเอย จนผู้บ่าวอดชื่นชมบ่ได้จั่งได้กล่าววาจาออกมาเช่นนี้
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "คันยู"
"ฝนตกรินจั่งซี้ สิเดินทางไปไสมาไสกะอย่าลืมเอาคันยูไปนำเด้อ" เสียงย่าบอกหลานก่อนจะไปโรงเรียน ตายๆๆ เว้าแบบนี้หลานกะงงตี้ล่ะ แม่นหยังคือ "คันยู" อ้ายแอดมินบอกแหน่...
คันยู น. ร่มกระดาษ ชื่อร่มกระดาษชนิดหนึ่ง ใช้กั้นแดดและฝน เรียก คันยู คันฮ่ม ฮ่มกระดาษ ก็ว่า. paper-covered parasol or umbrella.
ฮ่ม น. ร่ม ร่มที่ทำด้วยผ้า เรียก ฮ่ม ทำด้วยกระดาษเรียก ฮ่มกระดาษ คันยู อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ม้าอย่ากั้งฮ่มแพรแถม ย้านเจ้าเพพังตกถืกตอตำต้อง (กลอน) ร่มภูเขา เรียก ฮ่มผา เงาของต้นไม้ เรียก ฮ่มไม้. shade, place out of direct sun, umbrella, parasol.
ยังมีคำหนึ่งที่ความหมายเดียวกันคือ
คันจ้อง น. ชื่อร่มกั้นแดดชนิดหนึ่งทำด้วยผ้า เรียก ฮ่มจ้อง อย่างว่า เชื้อชาติจ้องคันก่องกะยังหุบ บาดห่าชาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง บาดห่าชะตาขึ้นขวางคือขอนก้เลยล่อง คาดชิล้มหยุมหญ้าบ่ฟัง (กลอน). cloth-covered parasol or umbrella.
คือสิเข้าใจแจ้งจ่างป่างล่ะน้อบาดนี้ ถือติดไม้ติดมือไปอย่าสิลืมเด้อ เปียกฝนกลับบ้านมา ย่าสิป้อยเอาเด้อ!
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ป้อย"
จากเรื่องของ "คันยู, ฮ่ม" และ "คันจ้อง" ที่ย่าบอกหลานให้ถือติดตัวไปยามมีฝนตก ถ้าลืมเอาไปเมื่อกลับบ้านมาตัวเปียกก็จะโดนย่า "ป้อย" อีกดอก
ป้อย ว. แช่ง ด่า อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มปุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีเผด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์). to curse, swear.
ปุน ก. ด่า แช่ง อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มปุนป้อย (สังข์). to curse, swear.
คำว่า "ป้อย" นั้นเป็นคำค่อนข้างเก่าโบราณอาจจะไม่ค่อยไดยินว่ามีใช้กันในปัจจุบันนัก และมักจะใช้ร่วมกันทั้งสองคำเป็น "ปุนป้อย" ซึ่งมีความหมายหนักเข้าไปมากกว่าใช้ "ป้อย" คำเดียว เพราะนั่นหมายความว่า ผู้พูดมีความโกรธมาก ในขั้นที่เรียกว่า สูญแฮง ภาษาปัจจุบันคงจะใช้คำว่า "โกรธจนควันออกหู" มาใช้บรรยายจึงจะเห็นภาพได้ชัดเจน
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "โอย"
โอย น. เสียงที่เปล่งแสดงความรู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกแปลกประหลาดอัศจรรย์ว่า โอย โอ๊ย ก็ว่า. ouch!, wow!, exclamation of pain or amazement.
โอย ก. น้อมรับ เมื่อผู้ใหญ่สั่งให้ทำก็ยินดีรับทำตามที่สั่ง อย่างว่า บัดนี้เมืองค่ำค้อยเป็นป่าแปนขุน แล้วท่าน ลุงค่อยชมชิงแปลงแต่งมุงเมืองบ้าน เมื่อนั้นวัณนุราก้มโอยพรพร้อมไพร่ ข้าเถ้าหลับบ่ฮู้นอนคู้บ่ฝัน แท้นา (สังข์). to bend or bow and submit to a command.
โอย ก. ให้ทาน เรียก โอยทาน อย่างว่า ผ่อดูซว่าซว่าพร้อมพันส่ำแสนสัตว์ สกุณานกฮอกหอนแหนอ้ม บาหากโอยทานแท้ยายปันเป็นคู่ สัตว์สิ่งเค้าคณาพร้อมเพิ่งบุญ (สังข์) ของฝากล้วนขันอาจดูตระการ ยอมวลไปกล่าวนายในห้อง มันก็ชมคุณเจ้าโอยทานทูลขม่อม ฮู้ว่ามีเครื่องย้องเมือฟ้าสู่สาว แลซาม (ฮุ่ง). to give (alms).
อาวทิดหมูก็ฮู้จักความหมายเดียวคือ โอย = เจ็บปวด บ่นึกว่าสิมีความหมายอื่นอีก ต้องยอมรับว่าเกิดช้ากว่าคำเก่าๆ เหล่านี้มากมายทีเดียวเลย
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "กะโพก"
แม่ใหญ่เฒ่าบอกว่า "มื้อวันก่อนได้ยินเสียงตีฆ้อง ตีกลอง ตีเกราะเคาะไม้ เคาะกาละมัง ฝาหม้อ ทั้งเสียงปืน เสียงกะโพก ดังสนั่นหวั่นไหว นอนกะบ่หลับ หนวกหูหลาย" อ้ายแอดมินบอกแหน่ว่า "กะโพก" คืออีหยังน้อน้องบ่ฮู้จัก
กะโพก น. ประทัด สิ่งที่จุดหรือเผาไฟแล้วมีเสียงดัง เรียก กะโพก มีหลายชนิด ชนิดที่ห่อดินปืนด้วยกระดาษเรียก กะโพกเจี้ย ชนิดห่อดินปืนด้วยใบลานเรียก กะโพกใบลาน ชนิดที่ใช้ดินปืนในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟ เรียก กะโพกน้ำ. firecracker.
กะโพก ก็คือ ประทัด นั่นเอง ระวังฟืนไฟเด้อ ถ้ายิงปืนขึ้นฟ้านั่นผิดกฏหมายทั้งปรับทั้งจำ ลูกปืนอาจจะหล่นลงมาถืกคนตายได้ เป็นคดีอาญา
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอตำว่า "มื่น"
อาวทิดหมูผู้น่ารักช่วยบอกน้องหน่อยนะคะ ไปเที่ยวอีสานมาเมื่อช่วงวันหยุดยาว มีป้ายติดบอกในที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งซึ่งสร้างด้วยไม่ไผ่สวยงามเชียว แต่หนูก็ไม่เข้าใจตามภาพข้างล่างนี่เลยค๊า บอกหน่อยนะคะ รักนะจุ๊บๆ
หมื่น ว. จำนวนนับเท่ากับ 10 พัน. ten thousand.
หมื่น น. ชื่อตำแหน่งในราชการ เหนือพันขึ้นไป เช่น หมื่นโสมสงัดพาล หมื่นประหารวรเดช หมื่นวิเศษนรสีห์ เป็นต้น. title for high-ranking official (archaic).
หมื่น น. ชื่อมาตราชั่งตวง 10 ชั่งหรือ 12 กิโลกรัมเป็น หนึ่งหมื่น. unit of weight equal to 12 kg.
แต่มีคำภาษาอีสานอีกคำคือ "มื่น" ที่เวลาออกเสียงจะคล้ายคลึงกับ หมื่น หรือ 10,000 ซึ่งมีความหมายแปลว่า ลื่น ไถล ดังนี้
มื่่น ก. ลื่น ไถล ลื่นโคลน เรียก มื่นตม อย่างว่า ช่างมาติแถลงล่มตมบ่มีกะติมื่น ติคาดล้มเดือนห้าก่อนฝน (ผญา) ช่างมาติแถลงหล้มตมบ่มีกะติลื่น ตั๋วให้กลืนกินก้างคาค้างอยู่ลักลาน ยามจาต้านนำกันว่าแต่มัก มักอยู่นี้หนีแล้วเล่าลืม (ผญา). to be slippery.
ความหมายจากป้ายในภาพบน "ระวัง!!! 10,000 หัวสัก" ก็คือ ระวังลื่นหัวทิ่ม นั่นเอง เช่นเดียวกับการเขียนที่พื้นลานซีเมนต์ที่มีราหรือตะไคร้น้ำจับเขียวๆ ดังในภาพล่าง ก็มีคำอธิบายให้เป็นภาพก็แล้วกันนะน้องสาว (อย่ามาตั๋วอ้ายหลายว่า รักๆ บ่จริงใจเลยน้อง)
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "มึน, มืน"
จากคำว่า "มื่น" หรือลื่นล้มข้างบนนั้น ยังมีคำที่ออกเสียงคล้ายคลึงกันอีกหลายคำ ที่มีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นำมาเสนอเพื่อให้แฟนนานุแฟนได้ทราบกันครับ คือ มึน (สระ อึ) และ มืน (สระอือ)
มึน น. โรคเหน็บชา ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการชาตามผิวหนัง เรียก โรคมึน มึนเซีย ก็ว่า. beriberi, vitamin B deficiency disease causing numbness.
มึน ว. ดื้อดึง ไม่อาย คนที่ดื้อดึงไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนมึน อย่างว่า อันว่าพราหมโณเถ้าชุยชะโกผีเผด ปากก็กล้าทังหน้าเล่ามึน (เวส-กลอน). obstinate, unabashed.
การใช้คำนี้ในการพูดจาเช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไปวัดนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระสงฆ์นานๆ ก็จะบอกว่า "มื้อนี้ฟังญาท่านเทศน์ดน จนขา 'มึน' ลุกเกือบบ่ได้" หรือเมื่อมีเด็กในบ้านที่ดื้อด้าน พูดไม่ฟังคำสั่งสอนก็จะบอกว่า "โอย ลูกหลานพวกนี้จั่งแหม่นมัน 'มึน' หลาย บอกอีหยังกะบ่เคยฟัง จักมันได้ไผมา"
มืน ว. ลืม เปิด แย้ม ลืมตาเรียก มืนตา อย่างว่า ใผอยากเห็นใจอ้ายให้มืนตาใส่น้ำแจ่ว คันมันแสบแจ้วแจ้วใจอ้ายก็ดั่งเดียว นั้นแล้ว (ผญา) มืนตาหลิงล่ำนางจวนค้าง (กาไก) ก็ท่อมืนตาเห็นป่าไพรดงด้าว (สังข์). to open (eyes).
การใช้คำว่า มืน ในการพูดจาก็เช่น "จั่งแหม่นมึงหย่างบ่มืนตาน้อ ตำซะตำซายไปทั่วทีป จนหัวร้างข้างแตก" หมายถึง "เอ็งมันเดินไม่ลืมตาหรือ ถึงได้ชนไปทั่วจนหัวแตก"
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ชู-ซู-ตาบฮ้าง-ตาบหม้าย-ดังแหมบ-หมึน-ฉุน-หลุบ-แลง
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ชู" หรือ "ซู"
เสนอเรื่อง "ประเพณีแต่งงาน" ติดต่อกันมาในช่วงเดือนแห่งความรัก ก็เลยมีคำถามมาจากผู้บ่าวทางไกล (นครปฐม) ไปทำงานอยู่ไทดนสงสัยเรื่องแต่งงานถามมาว่า "อาวทิดหมู ผมมักผู้สาวมาเฮ็ดงานอยู่ทางนี้สามปีแล้วกะยังเก็บเงินบ่พอค่าดอง จ่มให้ลุงทางบ้านฟัง เพิ่นบอกว่า 'ถ้าสูฮักแพงกันอีหลี กะคือบ่ "ชู" เอาโลด' น้องกะเลยสงสัยว่า อั่น "ชู" ผู้สาวนี่แม่นเฮ็ดจั่งใด๋ครับ อาว บอกแหน่เด้อครับอยากมีคู่แต่เงินค่าดองบ่พอ
ชู ก. การที่ชายไปสมสู่อยู่ร่วมกับหญิงโดยที่พ่อแม่ของฝ่ายหญิงไม่รู้เรียก ชูสาว อย่างว่า กูบ่ยอมยังจักชีล่วงชูเอาน้อย (กา). to have sexual intercourse secretly without permission of girl's parents.
ชายหญิงที่รักกัน ตั้งใจจะเลี้ยงดูกันเป็นคู่อยู่กิน คลองธรรมไม่หย่าร้างกัน แต่ฝ่ายชายไม่มีเงินค่าดองหรือพ่อ-แม่(ฝ่ายหญิง)ไม่เห็นดีเห็นชอบด้วย ชายหญิงมักจะตกลงแต่งกันเองซึ่งเรียกว่า “ชู” คือ ผู้ชายไปตกลงกับหญิงว่า คืนนั้น เวลาเท่านั้นจะมาหาที่บ้าน ขอให้พาดบันไดไขประตูให้
ตอนนี้หญิงจะต้องระวังชายให้มาก เพราะเคยปรากฎว่า ฝ่ายชายแอบหนีก็มี จนกระทั่งรุ่งสางสว่างแจ้ง ฝ่ายหญิงจะต้องไปบอกพ่อแม่ให้รู้ว่า "มีผู้ชายมาซู" พ่อ-แม่จะจัดให้คนไปบอกญาติพี่น้องของตน และพ่อแม่ของชายมาพูดเจรจากันเป็นหลักฐาน รับรองว่าจะทำตามจารีตประเพณีบ้านเมือง จึงปล่อยให้ผู้ชายออกมาจากห้องได้ (คุณพ่อตาก็อย่าเพิ่ง อาละวาดแบกปืนไปถล่มคุณลูกเขยเด้อครับ มันผิดกฏหมาย คุณพ่อตาอาจสิได้ไอคุกๆ ได้ เห็นใจว่าที่ลูกเขยแหน่) ถ้าใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง "ลูกอีสาน" คงจำได้ว่ามีบทชูสาวด้วย
ในกรณีผู้หญิงไปชูผู้ชาย เรียกว่า ไปชูผู้บ่าว หรือแล่นนำผู้บ่าว ก็จัดการให้เรียบร้อยเหมือนกันกับฝ่ายชายทำ (บางท้องถิ่นอาจออกเสียงว่า ซู ก็มี)
ส่วนทางอีสานใต้ (สุรินทร์ บุรีรัมย์) คำว่า "ซูร์" จะหมายถึง การหมั้นหมายเด้อน้อง ต่างกัน (อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่เลย)
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ตาบฮ้าง ตาบหม้าย"
จากเรื่อง "พิธีการแต่งงาน" ที่ผ่านมาในช่วงเดือนแห่งความรัก และจะมีมากขึ้นในช่วงเดือนสี่ กับเดือนหกนี้ อาวทิดหมูก็เลยขอนำเสนอเพิ่มเติมอีกจักหน่อย จากเสียงเตือนดังตึ๋งของอีเมล์ tidmoo.mm @ gmail.com ตอนตีหนึ่งเมื่อคืน (อดเอามาตอบยามเซ้า ย้อนง่วงนอน โอ๊ะ! หาข้อมูลอยู่เด้อ)
อันว่า "หญิงที่ผัวตาย" โบราณเพิ่นเอิ้นว่า "แม่หม้าย" แต่ถ้า "ผัวหย่าร้าง" หนีไปมีผู้ใหม่ สิเอิ้นกันว่า "แม่ฮ้าง" ส่วนทางผู้ชายนั้นกะสิเอิ้น "พ่อฮ้าง พ่อหม้าย" คือกันนั่นหละ
ในการจัดงานแต่งงานนั้น ถ้าเป็นคู่ที่ "บ่สดซิ่งๆ" (เคยมีคู่ครองมาก่อน) กล่าวคือ ถ้าหญิงเป็นแม่ฮ้าง หรือแม่หม้าย ราคาค่าดอง (สินสอด) ก็จะต้องลดลงจากปกติ (ชายหนุ่มโสด บ่ต้องเสียค่าครูหลายดอก เพิ่นว่า)
แต่ถ้าฝ่ายผู้ชายกลายเป็นพ่อฮ้าง หรือพ่อหม้ายบ้างละ ค่าดองจะผกผันกันกับแม่ฮ้าง ก็จะต้องเพิ่มราคาค่าตัวเจ้าสาวขึ้นอีกตามสมควร (เสียค่าดองแพงขึ้น เพราะฝ่ายหญิงเป็นสาวเอ๊าะๆ ซั่นตั่ว)
แต่ถ้า "ต่างฝ่าย ต่างฮ้าง ต่างหม้าย" มาพ้อผูกพันกัน ตกลงปลงใจอยู่ร่วมกันเป็นคู่ชีวิต "ค่าดอง" จะธรรมดา (ไม่เรียกเป็นพิเศษแต่อย่างใด บางทีอาจจะเพียงหัวหมู หรือไก่ตัว สู่ขวัญ ผูกแขน จากญาติผู้ใหญ่ก็เพียงพอแล้ว) การแต่งงานของคนคู่นี้จะเรียกว่า “ตาบฮ้าง ตาบหม้าย”
คือสิเข้าใจแล้วนอ ส่วนอาวทิดหมูนี้ยังโสดซิงๆ แม่ฮ้าง แม่หม้าย ที่เหงาใจไร้คู่ อยากได้คนดูแลไปตลอดชีวิตก็จดหมายน้อยมาเด้อ ค่าดองกะมีบ่หลายแต่บ่ให้ขายหน้า สิล้มงัว บายศรีสูขวัญ ฮักแพง ให้ญาติผู้ใหญ่รับรู้ เถิงสิมีเฮือพ่วงมากะสิฮักหอมเป็นลูกอยู่เสมอ สนใจบ่น้อ!
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ดังแหมบ"
มีสาวหล่าสอบถามมาว่า "ถืกผู้บ่าวบอกเลิกฮักเพราะว่าหนูดังแหมบ" น้องบ่เข้าใจ "ดังแหมบ" คือจั่งใด๋
ดัง น. จมูก จมูก เรียก "ดัง" จมูกบี้ เรียก "ดังแหมบ" จมูกบานหรือรูจมูกกว้างเรียก "ดังปึ่ง" จมูกโด่งจมูกใหญ่เรียก "ดังโม" จมูกแหว่งมาก เรียก "ดังวืก" จมุกแหว่งขนาดกลาง เรียก "ดังวาก" จมูกแหว่งนิดหน่อย เรียก "ดังวีก". nose.
แตบแหมบ ว. มีลักษณะเตี้ย เช่น หลังคาเตี้ยๆ และแบน เรียก หลังคาแตบแหมบ. low and with little slope (of roof).
เฉลย : ดังแหมบ มาจากคำ 2 คำคือ ดัง + แตบแหมบ ซึ่งหมายถึง คนดั้งหลบใน จมูกไม่โด่งนั่นเอง บ้างก็ว่า เพราะข้าวเหนียวดูดดั้งซึ่งไม่จริงเลย เพราะเป็นกรรมพันธุ์โดยแท้แม้จะกินข้าวเจ้าตั้งแต่เกิดก็ "ดังแหมบ" ได้
อย่าไปน้อยอกน้อยใจ สมัยนี้มันเสริมดั้งได้ถ้ามีเงิน ความสวยจากศัลยกรรมมีมากมายเด้อหล้า แต่อ้ายทิดหมูว่า จิตใจงามก็ได้เปรียบเกินร้อยกว่าดังโด่งแต่ใจหยาบช้าเด้อ เป็นกำลังใจให้พบพ้อคนที่รักจริงที่หัวใจใช่ดังแหมบ
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "หมึน"
อันนี้กะเป็นคำถามจากแฟนานุแฟนเจนแซด (Gen Z) ลูกอีสานแต่เว้าอีสานบ่ถ่อง ถามมาว่า พ่อจ่มให้บอกว่า "จั่งแหม่นกูหมึนหลาย ลูกชายคูนเอ้ย" แม่นหมายความว่าจั่งใด๋
หมึน ก. ฉุน โกรธ คนโกรธแสดงอาการหน้าบึ้งตึง เรียก คนหมึน. to be or become cross, angry.
สิมาพร้อมกันกับคำว่า ฉุน หรือ สูญ
ฉุน ก. โกรธ โกรธเรียก ฉุน โกรธจัดเรียก ฉุนแฮง สูญแฮง ก็ว่า. to become angry, go into a rage.
แหม่นไปเฮ็ดอีหยังให้เพิ่นผิดใจน้อบักหล้าเอย หลบไปให้เพิ่นใจเย็นก่อนเด้อ อย่าไปเถียงพ่อแม่ ใจเพิ่นเย็นลงจั่งมาบอกเหตุผลทีหลัง
Cr. ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "หลุบ"
จากเรื่องการแต่งงานที่นำเสนอมาข้างต้น พ่อ-แม่ฝ่ายหญิงบางคนที่ถูกผู้บ่าวมาซูลูกสาวอาจจะตะโกนออกมาดังๆ ว่า "โอย! กูหลุบแล้วบาดนี้ มีลูกสาวบ่ได้ค่าดอง" อย่าฟ้าวว่าจั่งซั้นเด้ออีพ่อ อีแม่ ถึงจั่งใด๋ลูกเขยก็มีความฮักจริง บ่ทอดทิ้งลูกสาวพ่อกับแม่แน่นอน
หลุบ ก. ขาดทุน เรียก หลุบทึน มุดเข้าในโพรง เรียก หลุบเข้าโกน อย่างว่า ลำเบิดคืนบ่ลำความเก่า พี่ชิเล่ากับแก้เข้าโกน กับแก้เข้าโกนโพนโลนหัวออก กำปั้นกูตอกมันหลุบเข้าไป ปุ้มแพยัดมันกัดแพรออก กำปั้นกูตอกมันหลุบเข้าไป (กลอน). to get no profit, lose money in business, pull head back in (of lizard in hole).
หลุบ ก. ยุบ ล่ม ทรุด อย่างว่า พังผาม้างดงดอนหลุบหล่ม (กาไก) เมืองหลวงกว้างเป็นวังหลุบหล่ม (ผาแดง). to cave in, fall down, collapse, sink downwards.
ความหมายของพ่อตากล่าวก็คือ "หวังจะได้ค่าดอง (สินสอด) ราคาแพง แต่กลับได้แค่การสมมา บายศรีสู่ขวัญเท่านั้น เลย 'หลุบทึน' ไม่ได้ดังใจนั่นเอง"
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "แลง"
อ้ายทิดหมูส่อยบอกน้องแหน่ว่า "กินเข้าแลง" ทางภาคอีสานหมายความว่าจั่งใด๋ นางเมื่อบ้าน(บ่ได้มาดน)พ่อปู่ถามว่า "กินเข้าแลงมาล่ะบ้อ"
แลง น. เวลาเย็น เวลาตะวันจวนจะตกดิน เรียก เวลาแลง หรือ ยามแลง อย่างว่า ชมลูกไม้ยามแล้งเมื่อแลง (กา) ผ่อเห็นวันสอดไม้ลับเหลี่ยมเมื่อแลง (กาไก) พี่ก็อดอยู่แล้งลืมเข้าขาดแลง (ฮุ่ง) ดาแลงตั้งทุกขุนครบคู่ (สังข์). evening, late afternoon and early evening.
ยามแลง น. เวลากินอาหารค่ำ เรียก ยามแลง อย่างว่า วันปลอดแจ้งมื้อใหม่ยามแลง ควรที่ปุนพิมมะบานฮีบเมือแหนถ้อย นางเมืองผู้แพงศรีจักฮอด แม่ท่านเจ้าติ่วสร้อยต้านสั่งทุกประการ (ฮุ่ง). time of evening meal.
คนอีสานนั้นเรียกเวลารับประทานอาหารแตกต่างกันตามเวลา การกินอาหารวันหนึ่งมีสามครั้ง เรียก กินสามคาบ(เวลา) ตอนเช้าเรียก "คาบงาย" ตอนเที่ยงเรียก "คาบสวย" ตอนค่ำเรียก "คาบแลง" นั่นเอง ดังนั้นถ้าสาวใดโดนถามว่า "เจ้าคือมาสวยแท้" กะอย่าสิได้ยิ้มเป้ยๆ ว่าเจ้าของงามเด้อ เขาถามว่า "ทำไมจึงมาสาย" ต่างหากล่ะ!
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ไง-ฝาละไง-บ่วง-ส้างฮ้าง-เกื่อย-เฟือด-จั้น-แส่ง-เถียง-ไท้-แถน
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ไง"
อ้ายแอดมินให้น้องถามแหน่ "อีแม่เลาชวนไปหากบเข้าไง" น้องอยากฮู้ว่า "เข้าไง" มันเป็นจั่งใด๋น้ออ้าย
ไง น. ฝาปิดปากหอย เรียก ไงหอย กบซ่อนอยู่ในดินในฤดูแล้ง เรียก กบเข้าไง กบจำศีล ก็ว่า. hard "door" of snail shell, also: estivation (of frog in burrow).
ฝาละไง น. ฝาปิด เครื่องปิดหม้อ เรียก ฝาละไงหม้อ ปิดไห เรียก ฝาละไงไห ปิดปากหอย เรียก ฝาละไงหอย. lid (of pot), hard pad on snail with which it closes itself in its shell.
กบเข้าไง กะคือ กบจำศีล นั่นหล่ะ คำว่า "ไง" คือฝาปิด การที่กบไปขุดหลุมริมหนองน้ำในหน้าแล้งแล้วเอาดินมาปิดกลบ เพื่อหลบจำศีลในหน้าแล้ง ฝาปิดนี่คือ "ไง"
เช่นเดียวกับหอย ฝาปิดก็เรียกว่า ไง เหมือนกัน อย่างหอยจูบเวลาตัดก้นหอยเอามาอ่อม ตอนกินก็ดูดที่ปากหอยที่เขี่ยไงออกแล้วทำการดูดจ๊วบอย่างแรง และเนื้อหอยก็หลุดออกมาให้เคี้ยวกรุบๆ เลยเรียกว่ากิน แกงบักหอยจูบ (ทางภาคกลางเรียกว่า หอยขม)
คนอีสานสมัยก่อนเวลาเอาหอยกาบมาต้มกินเนื้อแล้ว ก็นำเอาเปลือกหอยกาบมาทำเป็น ช้อน เรียกว่า "บ่วงหอย"
บ่วง น. ช้อนสำหรับตักอาหาร เรียก บ่วง ทำด้วยหอยเรียก บ่วงหอย ทำด้วยหอยกีบกี้เรียก บ่วงหอยกีบกี้ ทำด้วยกะลามะพร้าว เรียก บ่วงกะโป๋หมากพร้าว อย่างว่า มีจองบ่มีด้ามชิเป็นบ่วงตักแกง (ภาษิต). spoon, dipper.
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ส้างฮ้าง"
มีคำถามจากแฟนานุแฟนฅนอีสานบอกว่าได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่ว่า "โอ๊ย หลุบปานตกส้างฮ้าง" หมายความว่าจั่งใด๋น้อพี่หมู
ส้าง น. บ่อน้ำ บ่อที่ขุดลึกลงไปในดินมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี เรียก น้ำส้าง. well (water).
ฮ้าง ก. ทอดทิ้ง จากไป เมียที่ผัวทอดทิ้ง เรียก แม่ฮ้าง ผัวที่เมียทอดทิ้ง เรียก พ่อฮ้าง หนุ่มสาวที่รักกันแล้วทอดทิ้งกันไป เรียก ฮ้างชู้ บ้านที่คนทอดทิ้ง เรียก บ้านฮ้าง เรือนที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เรียก เฮือนฮ้าง วัดที่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ เรียก วัดฮ้าง อย่างว่า ญิงชายฮู้เฮียงกลการย่อยโชค ส่ำฮ้างฮามหม้ายหมู่สะเทิน (สังข์) คันหากมีผัวแล้วบ่กลัวใผอย่าฟ้าวว่า บาดห่าเป็นฮ้างหม้ายชิมาโอ้ใส่เขา (ผญา). to be abandoned, discarded, divorced.
เมื่อรวมกัน "ส้าง + ฮ้าง" เป็น "ส้างฮ้าง" จึงหมายถึง บ่อน้ำที่ถูกทอดทิ้งไม่ดูแล จนมีหญ้ารกปกคลุม ใช้การไม่ได้ เมื่อเดินไปไม่สังเกตจึงตกลงไปในบ่อน้ำร้างนั่น อีกนัยหนึ่งคือการเล่นการพนันจนหมดตัว ไม่มีแม้น้ำจะกรอกปากจึงตะโกนออกมา "หลุบปานส้างฮ้าง" หลุบ คือหมดตัว เหมือนบ่อน้ำร้างที่ไม่มีน้ำกินได้
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เกื่อย"
จากเพลง "มนต์ฮักทางหินแห่" ของเอกพล มนต์ตระการ ที่นำลงในเว็บไซต์ของเรา ในเนื้อเพลงมีการกล่าวถึงการ "เกื่อยน้ำส้าง" ก็เลยมีคำถามตามมาว่า ทำยังไงหรือ ไม่เก็ตเลย เพราะสมัยนี้มันสมัยน้ำขวดแช่เย็นเสียแล้ว
เกื่อย ก. ตักน้ำ เรียก เกื่อยน้ำ แก้ไขเหตุร้ายให้กลายเป็นดีเรียก เกื่อย อย่างว่า รือจักปุนเกื่อยให้หายบ้าบ่เป็นแลเด (สังข์) แม้นว่าบาปหมื่นชั้นเชิญให้เกื่อยไกล แต่ถ้อน (กา). to dip water, offer a libation to avert disaster.
ส้าง น. บ่อน้ำ บ่อที่ขุดลึกลงไปในดิน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี เรียก น้ำส้าง. well (water).
เกื่อยน้ำส้าง ก็คือ การลงไปในบ่อน้ำในหน้าแล้งที่น้ำมีปริมาณน้อย ค่อยๆ ไหลซึมออกมา แล้วใช้ขัน หรือกะลามะพร้าวบรรจงตักน้ำ (ไม่ให้ขุ่น) ถ่ายลงครุไม้ไผ่ หาบกลับบ้านนั่นเอง
การเกื่อยน้ำใส่ครุน้ำหากใส่เต็มเกินไปเมื่อหาบกลับบ้าน อาจทำให้น้ำ "เฟือด" ทิ้งได้ จึงมักจะใช้ผ้าขาวม้ามัดปิดปากครุ หรือใช้ใบไม้สะอาดวางบนปากครุเพื่อกันน้ำกระฉอก
เฟือด ก. น้ำล้น เรียก น้ำเฟือด อย่างว่า ยั่งยั่งน้ำหน้าเฟือดฟูมแครง อุณโหเวรฮีบฮอมฮมฮ้อน นางจิ่งแจงดูสร้อยสังวาลมุกมาศ แหวนขอดล้อมคำเข้มขอบลาย (ฮุ่ง). to overflow (of liquid).
อธิบายมาแล้วก็เอาให้จบไปเลย เรื่อง "น้ำส้าง" หรือบ่อน้ำ จะมี 2 แบบ ดังนี้
จั้น น. น้ำบ่อที่ไหลออกตามชายฝั่งเรียก น้ำจั้น น้ำส้างจั้น ก็ว่า. spring (water) in river bank.
แส่ง น. คอกไม้รูปสี่เหลี่ยมกั้นในบ่อน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ดินพัง บ่อที่กั้นด้วยคอกไม้นี้ เรียก น้ำส้างแส่ง แคว่งสร้าง ก็ว่า. square-holed well with wood retaining walls, wood walls of square-holed well.
น้ำส่างแส่ง บ่อน้ำที่มีขอบไม้กั้นกันดินพังลงในบ่อ
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "เถียง"
ได้รับอีแมว เอ้ย! อีเมล์จากบ่าวใต้ถามมาว่า "กอดเสาเถียง" นั่นมีความหมายว่าอย่างไร ตามมิวสิกวีดิโอดูแล้วก็ยังไม่มั่นใจ เพราะเห็นแต่นั่งบนหลังคา
เถียง น. โรงเรือนที่ปลูกไว้เพื่อเฝ้าพืชผลเรียก "เถียง" ปลูกไว้ที่นาเรียก เถียงนา ปลูกไว้ป่า เรียก เถียงไฮ่. hut to live in while watching fields or garden.
ในเพลงนี้ "เถียง" คือ กระท่อมปลายนา ถ้าทางใต้น่าจะความหมายเดียวกันกับ "ขนำ" เมื่อสาวไปแต่งงานกับคนอื่น จึงได้แต่กินเหล้าเมานั่งกอดเสาเถียง (ตามรูปประกอบทางฝั่งขวา) ไม่ได้กอดสาวด้วยความช้ำใจนั่นเอง เป็นตาหลูโตนแท้น้อ
เถียง ก. พูดโต้แย้งเรียก เถียงกัน หรือ ถกเถียง อย่างว่า ตาบอดคลำช้างมักเถียงกัน (ภาษิต) คือดั่งเสือลวงได้มิคาลูกมั่ง จริงแล้ว รือจักเถียงท่านแพ้กรรมข้องครอบคีง แลเด (สังข์). to argue.
เถียง ในความหมายที่สองนี่คือ การทะเลาะทุ่มเถียงกัน ซึ่งเป็นอันตรายอาจถึงเลือดตกยางออกได้ และการเถียงนั้นถ้าไปเถียงเมีย (บังเกิดเกล้า) อันตรายก็จะเพิ่มเป็นทวี คูณสองเลยทีเดียว ดังเพลงลาวของ อ้ายบุญยู้ ลูกแม่ของ ข้างล่างนี้
ຖຽງເມຍບໍ່ຄືຖຽງນາ-ບຸນຍູ້ เถียงเมียบ่อคือเถียงนา-บุญยู้ ลูกแม่ของ (ดูความหมายเพลงคลิกเลย)
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "แถน"
มื้อนี้มีบุญบั้งไฟที่เมืองยศนคร (ยโสธร) เป็นการจุดถวายไท้ถวายแถน กะเลยมีคำถามว่า "ไท้ แถน" คือหยังน้อ
ไท้ น. ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า อย่างว่า เสด็จล่วงขึ้นเถิงไท้ขาบทูล (กา) ดอกหนึ่งฟ้าสนั่นก้องเวหา ดอกหนึ่งสถานกงญายอดไท้ ดอกหนึ่งซอมแซมหยาหลายกาบ ดวงดาดดวงละไล้ลูบไล้ลืมวาง (ฮุ่ง). the great one, god, leader.
แถน น. เทวดา ผีฟ้า อย่างว่า ถวายแก่เจ้าแถนเถ้าเบิ่งแนน ท่านเอย (ขูลู) แต่นั้นแถนเล็งพร้อมแถนลอแถนหล่อ แถนทอกพร้อมแถนตื้อหลั่งโฮม (หน้าผาก). angel(s), celestial spirit(s).
"บุญบั้งไฟ" มีตำนานเล่าขานมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ เรื่องพระยาคันคาก ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน (เทวดา) ได้บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ออนซอน-นาตูห่ง-อึน-ชุ่มอึน-โจกโพก-โจกโหลก-งาบงาบ-ชะงาบ-สะงาบ-พูด
ภาษาอีสานวันละคำ 2 คำเลย มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ออนชอน" และ "สะออน"
มีคำถามมาว่า มีความสงสัยในภาษาอีสาน 2 คำข้างต้นว่า เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ถามมาหลายคนแล้วก็ตอบไม่ตรงกัน ก็ขอเฉลยดังนี้ครับ
ออนชอน ว. เพราะพริ้ง สวย งาม น่ารัก อย่างว่า ออนชอนเสียงไก่ขันเนืองข้อน (กา) ใกล้ฮุ่งเค้าครางอั่นออนชอน ขัวนัวเหมือยหมอกฮวายลงข้อน ไฟฟืนใต้ทุกเตาเฮืองฮุ่ง ซว่าซว่าข้าดาตั้งแต่งงาย (สังข์). melodious, beautiful, lovely.
สะออน ก. เป็นภาษาพูด (ควมเว้า) ของชาวอีสาน มีความหมายว่า ชอบใจ, พอใจ, ติดใจ อย่างว่า เนื้ออ่อนเพี้ยงกุทลีกลมไหว คือคู่หงส์คำเหินเมื่อลีลาย้าย สะออนใจเจ้าชายชมสมิ้งเมื่อย หลับบ่ได้ตาพลั้งเพื่อแล (สังข์). to like, be pleased, be satisfied, be enamored with.
คำเรกเป็นคำวิเศษณ์ ขยายให้เห็นความหมายที่แท้จริง เช่น น้องจั่งแม่นงามเป็นตาออนชอนเนาะ บางครั้งสำเนียงและการออกเสียงอาจจะเพี้ยนๆ ไป เช่น ออนชอน ก็ออกเสียงเป็น ออนซอน (เสียง ช. เป็น ซ. ได้) มีหลายอักษรที่คนอีสานออกเสียงต่างกัน เช่น ร. รัก เป็น ฮ. ฮัก เป็นต้น ส่วนคำหลังเป็นกริยาในการพูด เช่น ผัวใหม่เมียสาวคุยกันในห้องนอน ชายหนุ่มเอ่ยขึ้นว่า โอย... จั่งแหม่นข่อยสะออนของเจ้าหลายเด้อ (สะออนหยังน้อ คือ บ่บอกมาโลด)
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "นาตูห่ง"
ฝนตกเมื่อเช้าวันนี้ สงสัยจะฟังเพลง "ฝนเทลงมา" ไปด้วย เลยมีแฟนนานุแฟนถามอาวทิดหมูมาว่า "คำว่า 'นาตูห่ง' นี่มันหมายถึงอีหยังอาวทิดหมู" แล้วอาวทิดหมูก็โยนยคำถามต่อมาให้ช่วยอธิบายให้เพิ่นแหน่ เลยขอแยกออกเป็น 3 คำเลย ดังนี้
นา ก็คือ ที่นา ที่ชาวนาใช้ทำนาปลูกข้าวนี่แหละน้อ
ตู ก็คือ กู ข้า ข้อย ผม นี่แหละ ซึ่งหมายถึงตัวผู้พูดหรือผู้ร้องเพลง
ห่ง ก็คือ ลักษณะของน้ำที่เจิ่ง นอง ท่วม นั่นแหละ
เมื่อนำมารวมกันจึงมีความหมายว่า "ให้ฝนตกลงมาท่วมนากูแหน่" นั่นเอง แต่แถวในเมืองบ้านอาวทิดหมูเช้าวันนี้ ชาวบ้านบอกว่าเรือเล็กห้ามออกจากฝั่งเด้อ ทั้งฝั่งอำเภอวารินชำราบ และฝั่งมืองอุบลฯ ท่วมอีกแล้วพี่น้องเอย
มีคนบอกว่า "สาเหตุที่ฝนตกหนักในเขตเมือง เพราะ โฉนดที่นา มันพากันมาอยู่ในธนาคารเบิด พ่ะนะ" แหม่นอยู่บ้ออาว....????
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "อึน"
บ่ได้เสนอคำภาษาลาวอีสานมานานแล้ว พอดีมีพายุ "โนอึล" เข้ามาถล่ม ก็เลยนึกถึงคำว่า "อึน" ในภา๋ษาอีสานของเฮากะมี แต่ความหมายไม่เหมือนกับ "โนอึล" ภาษาเกาหลีเด้อ (เกาหลี: 노을, อักษรโรมัน: Noul) เป็นชื่อในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในชุดที่ 3 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ส่งชื่อโดยประเทศเกาหลีเหนือ คำว่า "โนอึล" ในภาษาเกาหลี หมายถึง แสงเรืองในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก
อึน ว. เปียก ชื้น ผ้าที่ตากแห้งไม่สนิท ผ้ายังชุ่มอยู่เรียก ผ้าอึน อย่างว่า ทุกข์ใช่น้อยฝนเร่งฮวายฮำ สองค่อยเพียรเพลาแพงห่มอึนเอาตุ้ม ผ่อดูวันสูรย์ซ้ายเมโฆเค้าฮ่ม พุ้นเยอ ฟ้าหลั่งเหลื้อมเสียงก้องคื่นเค็ง (สังข์) ผายแครงปั้นผืนอึนเอาตาก แล้วแต่งตุ้มหอมให้ดูดนม ทุกข์ยิ่งล้ำมีท่อสองศรี ในไพรเขียวบ่มีพงศ์เชื้อ เมื่อนั้นสองกษัตริย์ไท้เดินดงหิวหอด เลี้ยงลูกน้อยนานช้ายากแคลน (สังข์). moist, damp, wet.
ชุ่มอึน ว. เปียกชุ่ม ชื้นแฉะ ผ้าที่เปียกถึงตากก็ชุ่มอยู่เรียก ผ้าชุ่มอึน อย่างว่า ผายแครงปั้นผืนอึนเอาตาก แล้วแต่งตุ้มหอมให้ดูดนม (สังข์) ทวายมือเช้ดชุ่มสะใบปุนปั้น (กา). damp.
ความหมายเป๊ะกับพายุเลยทีเดียว เพราะตอนนี้แถวกระท่อมน้อยอาวทิดหมูกะยังอึนๆ จื้นๆ แฉะๆ อยู่ย้อนมีฝนมาเป็นระยะ บ่ได้ขาดเลย
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "โจกโพก"
มีคำถามมาจากหลานๆ นักเรียนจากทางภาคใต้สอบถามมาว่า "คุณครูสอนภาษาไทยให้นักเรียนหาคำภาษาถิ่นภาคต่างๆ ที่มีความหมายเดียวกันมาเสนอ ผมได้คำว่า "ผมหงอก" อยากทราบว่า คนอีสานเรียกว่าอะไร" (ขอสงวนนาม และชื่อโรงเรียนไว้ เดี๋ยวจะไม่ได้คะแนน รับทราบครับ)
โจกโพก ว. เส้นผมบนศรีษะขาวทุกเส้นเรียก หัวขาวโจกโพก. completely (white, ref. to hair).
คนผมหงอกนั้นทางอีสานจะบอกว่า "โอ.. อ้าย เจ้าคือมาผมขาวโจกโพกแท้หล่ะ" หรือตอนน้ำท่วม (ไม่ว่าอีสาน กลาง ใต้) เหลียวไปทางใดมีแต่น้ำก็จะพูดกันว่า "น้ำท่วมหลาย แนมไปทางใด๋กะขาวโจกโพก" (น้ำท่วมมาก มองไปไกลสุดสายตาก็มีแต่น้ำขาว(สะท้อนแสง)ไปหมด)
ส่วน "แอ่งน้ำ" ในธรรมชาติที่กว้างใหญ่ไพศาล สุดสายตานักจะเรียกกันว่าว่า "โจกโหลก"
โจกโหลก ว. ที่ลุ่มซึ่งเป็นแอ่งใหญ่ เรียก ขุมโจกโหลก. large (of hole or pond).
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "งาบงาบ"
เป็นคำถามที่ทันยุคมากทีเดียวครับ ตอนนี้คนไทยในเมืองกรุงกำลัง "หันใจงาบงาบ" จากสาเหตุฝุ่น PM 2.5 และโคโรนาไวรัส ที่ประเดประดังเข้ามาในช่วงนี้ มารู้จับความหมายกันหน่อย
งาบงาบ ว. อาการอ้าปากหายใจช้าๆ ของคนเหนื่อยหอบ หรือหายใจของคนกำลังจะตาย เรียก "หันใจงาบงาบ". feebly gasping for breath.
ชะงาบ ว. อ้าปากงาบๆ เหมือนคนกำลังจะตาย เรียกว่า หันใจชะงาบ ชาบงาบ งาบงาบ ก็ว่า. gasping weakly.
สะงาบ ว. หายใจทางปาก คนเจ็บป่วยมีอาการหนักจวนจะสิ้นใจ ต้องหายใจทางปาก หรือปลาในหนองน้ำที่งวดลงจนต้องหายใจทางปาก อย่างว่า ฝูงหมู่ปลาน้อยมังกรแกมนาค ฟองฟาดเต้นตายข้อนสะงาบเงย (สังข์). to breathe through ones mount, gasp.
ปัญหานี้นับวันจะรุนแรงขึ้นทุกวัน ทั้งจากการก่อสร้างอาคารใหญ่สูงในเมืองที่ความเจริญมีมากมาย การคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเก่าๆ ควันขโมง และจากการเผาขยะ พืชผลการเกษตรเพื่อการทำไร่นาทั่วๆ ไป อย่าเผาเลยครับไถกลบฝังดินให้เป็นปุ๋ยดีกว่า การเผานอกจากจะทำร้ายสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยในบริเวณนั้น ขี้เถ้าที่เกิดจากการเผายังเป็นด่างที่ทำร้ายดินไม่เกิดประโยชน์สักนิดนะครับพี่น้อง
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "พูด"
จากแฟนานุแฟนหนุ่มน้อยแห่งเมืองน้ำดำ(กาฬสินธุ์) ส่งจดหมายน้อยมาถามว่า "พ่อใหญ่บ้านมาชวนพ่อไปฆ่างัวตกพูดกัน" คำว่า "ตกพูด" นี่หมายความว่าจั่งใด๋น้อครับ "พูด" คือกันกับ "เว้า" บ่ครับ
คำว่า "พูด" ในความหมายของชาวอีสานมี 3 ความหมายตามบริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้
พูด ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำ เรียก พูด, เว้า ก็ว่า. to speak.
พูด ก. พ่นน้ำออกจากปาก เรียก พูด อย่างว่า มณีกาบฮู้อมน้ำพูดพลัน เสด็จผ่านแผ้วผายน้ำพูดพรม (สังข์). to spray water out of mouth.
พูด ก. แบ่งของออกเป็นส่วนๆ เพื่อแบ่งปันกัน เรียก พูด เช่น พูดปลา พูดกบ พูดเขียด พูดซี้น อย่างว่า เสี่ยวเฮาปันพูดน้อยบ่สมส่วนกับขน (ผาแดง). portion, share (of meat from hunting or fishing).
จากคำถามที่ถามมานั่นก็หมายถึง ผู้ใหญ่บ้านมาชวนลงขันซื้อวัวมาฆ่าชำแหละปันส่วนกัน โดยการแบ่งเป็นกองๆ เท่าๆ กัน สมัยแต่ก่อนใช้ตอกไม้ไผ่ร้อยเป็นพวงดังภาพประกอบ แต่สมัยนี้ใช้ถุงก็อปแก๊บสะดวกกว่า อ่านเพิ่มเติมจาก การลงแขก-ตกพูด-แบ่งปัน นะหลาน
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
รวมผญา สุภาษิต และคำสอย
กลอนลำ
เพลงลูกทุ่งอีสาน มาเข้าใจความหมายของคำภาษาอีสานในเพลงลูกทุ่ง
ภาษาอีสานแยกตามหมวดอักษร
กลอน ภาษิตโบราณอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)