![]()
|
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก-เปิด-เอ้-โหยด-โปด-หอยขัว-แปนเอิดเติด
ภาษาการเลือกตั้งวันละประโยค ขอเสนอคำว่า "พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก"
เมื่อ ว่าที่ "ส.ส." หรือ "สจ." หรือ "สท." หรือ "ส.อบต." ไปหาเสียงแถวหมู่บ้านในภาคอีสาน ได้แนะนำตัวต่อพ่อใหญ่แม่ใหญ่ ไหว้งามๆ พร้อมน้อมส่งใบแนะนำตัวและซองผ้าป่าใส่มือพ่อใหญ่ พร้อมเอ่ยวาจาว่า "ผมอาสามาเป็นตัวแทนครับ เลือกผมแหน่เด้อครับ"
พ่อใหญ่ยิ้มกว้างพร้อมก้มหน้าแง้มดูในซอง แล้วยิ้มที่มุมปาก เอ่ยตอบว่า "พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก" ว่าที่ ส.ส. คนนั้นก็ยิ้มโค้งคำนับด้วยความมั่นอกมั่นใจ
คำพูดของพ่อใหญ่ที่ว่า "พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก" (พ่อไม่ทิ้งลูกดอก) มีความหมายเป็น 2 นัยยะ
ภาษาอีสานนี่สุดๆ ไปเลยพี่น้อง บ่ฮู้ว่ามื้อหย่อนบัตรลงคะแนนพ่อใหญ่เลาใช้ความหมายในข้อแรก หรือข้อที่สอง เอาไว้มื้อวันที่พ่อแม่พี่น้องไปกาบัตรแล้วนี่ละ สิได้ฮู้ว่า ไผเป็นหมู่หรือจ่า กันแน่ (หนาวๆ แบบนี้ ในมือถือแก้วเบียร์เย็นๆ แต่เหงื่อแตกพลั่กๆ กันทุกรายแน่นอน)
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เปิด"
เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ทั้งในสภา-นอกสภา ช่างวุ่นวายกันเหลือเกิน จนชาวบ้านที่ทำมาหากินกันตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน็อต ต่างเกิดอาการแหนงหน่าย เกิดอาการ "เปิด" การเมือง
เปิด ก. เบื่อหน่าย ระอา การระอาเบื่อหน่าย เรียก เปิด อย่างว่า เอี่ยนเปิดน้ำหนีจากวังตม มันไปแปลงฮวงฮังอยู่เทิงปลายไม้ (ปัสเสน) นกเขาเปิดเข้า นกกาเวาเปิดไข่ นกใส่เปิดด้วง โงเงี้ยวตอดโกน (ภาษิต). to get sick and tired of.
แบบว่า ทิดหมูกะเบื่อหลายคือกันกับข่าวสารจากบรรดาเกรียนคีย์บอร์ดที่พ่นสำรอกคำออกมา ให้คนไทยผิดใจกัน แบ่งพรรคแบ่งพวก
แม่นไผสิได้เป็นนายก พวกสูกะสิ 'งกงกหากิน' ด้วยลำแข้งเจ้าของ คือเก่านั่นหล่ะ "
ผิดใจเจ้าของกะว่าเขาโกง ถืกใจกะว่าเพิ่นยุติธรรมแฮง คันฮู้ว่า "เขาโกง" กะฟ้าวไปแจ้งความเอาหลักฐานไปจัดการกับคนผิด อย่าสิจ่มสื่อๆ กูขิว กูเปิด กูหน่ายหลาย ว่าแหม่นบักลาอิ่มข้าวหลามเอาโลด [ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ ]
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เอ้"
เป็นคำถามของเพื่อนทางภาคกลาง ที่จะมาเที่ยวงาน บุญบั้งไฟ ที่เมืองบั้งไฟโก้-ยโสธร ซึ่งได้ดูคลิปโฆษณษทาง Youtube มาเจอคำบรรยายว่า "ให้ไปดูขบวนแห่อันสวยงามก่อนวันจุดบั้งไฟหนึ่งวัน ท่านจะได้พบขบวนฟ้อนรำอันสวยงาม การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ 'บั้งไฟเอ้' อันสวยงาม" เลยสงสัยว่า "บั้งไฟเอ้" นี่มันต่างจากบั้งไฟอื่นๆ อย่างไรกัน
เอ้ ก. ประดับตกแต่งให้สวยงาม เรียก เอ้ เช่น จะไปในงานก็ตกแต่งด้วยเสื้อผ้าที่ใหม่ อย่างว่า ยามหนึ่งสาวหนุ่มพร้อมงดอยู่ฟังถวิล เขาก็เชิญภูมีแกว่งแพนประสงค์หลิ้น ฝูงข้าขอดูน้อยนงเยาว์เอ้อาดดูถ้อน ปุนดั่งผลแผ่ยู้ฝูงข้าเพิ่งบุญ เจ้าเอย (สังข์) มาแต่งเอ้ย้องหยั่นยูถนิม ยามเมื่อลีลาคือคู่หงษ์ยัวรย้าย นางแสนสร้อยบุญโฮมเฮียงพ่อ ใจฉลาดฮู้ทังค้ายย่อมยำ (ฮุ่ง). to decorate, adorn, dress up.
โนนสาวเอ้ น. สถานที่ที่ชายหนุ่มหญิงสาวหยุดพักแต่งตัวให้สวยงาม ก่อนจะถึงบริเวณงาน เรียก โนนสาวเอ้ ที่อีสานมีโนนสาวเอ้อยู่หลายแห่ง ซึ่งก็แสดงว่าที่ที่นั่นเป็นสถานที่ที่ชายหนุ่มหญิงสาวหยุดพักแต่งตัวนั่นเอง. place where young people stop to dress up before arriving at a festival.
บั้งไฟเอ้ คือ บั้งไฟที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเพื่อนำมาใช้ประกอบในขบวนแห่เท่านั้น ไม่ได้นำไปจุดให้ทะยานขึ้นท้องฟ้าแต่อย่างใด เพราะถึงจะจุดได้ก็คงไม่ขึ้นทะยานด้วยแรงต้าน หนักที่หัวขนาดใหญ่ และหนักหางมากนั่นเอง ส่วนบั้งไฟที่ใช้จุดขึ้นฟ้าจะเป็นบั้งไฟที่ไม่ได้ตกแต่งให้สวยงามแต่อย่างใด มีเพียงตัวกระบอกบั้งไฟที่บรรจุดินประสิว (อีสานเรียกว่า ดินหมื่อ) มัดเข้ากับหางไม้ไผ่ที่ทำมาถ่วงให้สมดุลย์ให้แน่นหนาไม่หลุดออกเท่านั้นเอง
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "โหยด"
ดูข่าวโทรทัศน์ "รายการช่วยชาวบ้าน" ของโทรทัศน์ช่องหนึ่ง มีนักข่าวสาวไปสัมภาษณ์คุณยายเรื่อง "รถบรรทุกดินขนาดใหญ่ที่วิ่งผ่ากลางหมู่บ้าน" ว่ามีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
คุณยายตอบว่า "เดือดฮ้อนหลาย รถกายมาดินกะโหยดลงเต็มถนน ไหง่ง่อง ทางดีๆ กะเปดเบิด รัฐบาลส่อยยายแหน่"
นักข่าวสาวคงจะเป็นคนภาคอื่นถึงกับทำหน้าเลิ่กลักไปไม่เป็นเลยทีเดียว มาดูกันว่าที่ยายพูดนั้นหมายถึงอะไรบ้าง
โหยด ว. หลั่งไป ไหลไป เช่น คนหลั่งไหลกันไปฟังลำ หรือฟังเทศน์ เรียก โตดโหยด อย่างว่า นะโมโตดโหยดแม่ออกโปดแล่นมาฟัง แกะขี้ดังให้ผู้ละก้อน ผู้มาก่อนได้หลาย ผู้มาลุนได้น้อย แม่เถ้าจ้อยนำก้นบ่ได้สัง (กลอน). streaming together.
โปด ก. หลั่งไหลไปเรียก โปด อย่างว่า นโมโตดโหยดแม่ออกโปดมาฟัง แกะขี้ดังให้ผู้ละก้อน ผู้มาก่อนได้หลาย ผู้มาลุนได้น้อย แม่เถ้าจ้อยนำก้นบ่ได้สัง (บ.). to flock together.
ในคำตอบยายมีหลายคำที่เป็นภาษาอีสาน เช่น กาย = ผ่าน, เคลื่อนผ่าน, ผ่านมา ไหง่ง่อง = ฟุ้งกระจาย (คำนี้นำไปเขียนเป็นเพลงร้องสนุกกันเลยทีเดียว) เปด = ไหล, พังทลาย, ขยายออก การที่ถนนชำรุดพังดินหินไหลออกด้านข้างเป็นร่องลึก (คำอธิบาย ดูในภาพเลยครับ)
รถกายมาไหงง่อง = รถวิ่งผ่านมาฝุ่นฟุ้งกระจาย
ถนนเปเปด = ถนนทรุด ดินไหล พังทลาย กระจายออกไป
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "หอยขัว"
วันนี้ได้คำถามมาจากคุณหมอ (คนภาคกลาง) ที่มาทำงานอยู่โรงพยาบาลในอีสานบ้านเฮา ถามคนไข้ด้วยความเป็นห่วงว่า "เมื่อเช้า ทานข้าวมาหรือยัง ทานกับอะไรครับ" คนไข้ตอบว่า "กินแล้วครับ กับอ่อมหอยขัว" ทำเอาคุณหมอถึงกับอึ้งคิดไม่ออกว่าคือ "หอยอะไรน๊า" ไม่เคยได้ยินมาก่อน นึกถึงรูปร่างมันก็ไม่เคยเห็นมาก่อน อาวทิดหมูเฉลยด่วนเลย...
ทิดหมูก็เลยบอกว่า "มันบ่มีดอกหอยขัว มันคือหอยขมนั่นเอง แต่ชาวบ้านเขาได้มาจากการไปหา (ขัว) ในริมหนอง คลองบึงที่น้ำแล้ง" มาจากคำนามว่า "หอย" และกริยา "ขัว" ซึ่งจริงๆ ต้องออกเสียงว่า "ขัวะ" ดังนี้
ขัวะ ก. แกะ เช่นเอามีดแกะเปลือกไม้เรียก ขัวะเปลือกไม้ เอาเสียมแคะหาหอยที่ฝังอยู่ในดิน เรียก ขัวะหอย เอามีดกระเทาะเกล็ดปลา เรียก ขัวะเกล็ดปลา. to peel.
ขัว น. สะพาน สะพานที่ทำด้วยไม้ ด้วยเหล็กหรือปูน พอที่จะข้ามน้ำข้ามเหวได้ เรียก ขัว สะพาน ตะพาน ก็ว่า อย่างว่า ขอพ่อแปลงขัวข้ามสะเภาทองเทียวทีป เมืองใหญ่สองฝ่ายฟ้ากะไดแก้วก่ายกัน แท้แล้ว (สังข์). bridge.
ขัว น. ไก่ฟ้า ไก่ป่าชนิดหนึ่ง เรียก ไก่ขัว นกขัว ก็ว่า อย่างว่า ขัวข่อขุ้มกะทากี้ก่างตอง (สังข์). wild chicken.
หอย น. ชื่อสัตว์จำพวกหนึ่ง ไม่มีกระดูก มีเปลือกแข็งหุ้มห่อตัว มักอาศัยอยู่ในน้ำ มีหลายชนิด เช่น หอยจูบ หอยกีบกี้ หอยกว้าง หอยโข่ง หอยคัน หอยเดื่อ หอยปัง หอยทาก หอยเล็บม้า หอยหอม หอยนา เรียก หอย. snail, shellfish: oyster, clam, etc..
คุณหมอคงจะกระจ่างนะครับ ถ้าไปเที่ยวทาง สปป.ลาว ก็จะต้องข้ามขัวมิตรภาพเสียก่อนเด้อ ส่วนหอยขมนั้นอาวทิดหมูมักคักคือ เอามาตัดก้นออก อ่อมใส่ผักอีเลิด ผักชีลาว ใส่ข้าวคั่วและปลาแดกนัวๆ เอิ้นว่า "อ่อมหอยจูบ" จูบปากหอยนี่แซบหลายครับ มาลองกินเด้อหมอ แซบลืมตายพุ้นได๋ 😀🤣😁🤫
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "แปนเอิดเติด"
มีปี้ (จดหมาย) น้อยๆ ฝากส่งมาถามว่า "แปนเอิดเติด" นี่มันคืออีหยัง ใช้จั่งใด๋น้อ อ้ายทิดหมูเฉลยด่วน...
"แปนเอิดเติด" มาจาก 2 คำซ้อนกัน ขยายความได้ว่ามันเกลี้ยงเกลาหลาย คือ แปน + เอิดเติด
แปน ว. โล่ง เตียน อย่างว่า มันก็ดั่นดั่นดิ้นศรคลาดคลาหนี ฟางตายหนีผ่อเห็นแปนข้าง (สังข์). flat, wide open, clean and empty.
เอิดเติด ว. ราบ เรียบ โล่ง เรียก ที่นาที่น้ำแก่งท่วม ว่า แปนเอิดเติด เรียกหัวที่ไม่มีเส้นผมแม้แต่เส้นเดียวว่า แปนเอิดเติด. completely flat, smooth, wide-open (space), covered with floodwaters, hairless.
อย่างว่า "ป๊าด! คือหัวแปนเอิดเติดแท้ล่ะอ้าย" แสดงว่า หัวล้านเหลื่อมหม่องๆ บ่มีผมจักเส้นเทิงหัว นั่นเอง 🤣😀😁🤫
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
น้ำแก่ง-อ้อง-ดัง-กล้า-ซูนคีง-มอดยอด-เสิ่น
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "น้ำแก่ง"
เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์น้ำท่วมไหลหลากทางภาคใต้ปีนี้ที่รุนแรงในรอบหลายสิบปี ส่วนทางบ้านทิดหมูถืก "น้ำแก่ง" ไหลมาท่วมเฮือนช่วงปีที่แล้ว กะเลยเลือกเอาคำนี้มาบอก เพราะลูกหลานสมัยใหม่ "บ่ฮู้จัก" คำนี้กันแล้ว
แก่ง น. น้ำนองท่วมไปหมด เรียก "น้ำแก่ง" อย่างว่า อุ่มทุ่มเจ้าผู้เข้านาทาม ปีบ่แล้งหมายชิเอาเกวียนแก่ ถืกปีน้ำท่วมหัวล้านกะบ่ปาน (บ.) ลานน้ำในแม่น้าหรือทะเลเรียก แก่งหรือแปว อย่างว่า ท้าวเผ่นเท้ากลางแก่งแปวสมุทร (กา.) floodwaters, rapids, surf.
น้ำมาก น. น้ำขึ้นหรือน้ำหลาก เรียก น้ำมาก น้ำแก่ง ก็ว่า. rising water level, floodwaters.
ขอบคุณทุกกำลังใจที่ไหลหลั่งท่วมท้นช่วยเหลือกันมาอย่างมากมาย ยามเมื่อคนไทยด้วยกันพบความยากลำบาก ทิดหมูอยากขอความช่วยเหลืออีกครั้ง ตอนน้ำลด ขอความช่วยเหลือด้านวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา มอบให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยน้ำท่วม เพราะเสียหายมากมายเหลือเกินครับ สงสารเด็กๆ ที่ขาดอุปกรณ์การศึกษา
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "อ้อง"
อ้อง น. เปลือกไม้เปลือยหรือเปลือกอะไรก็ได้เอามาเจาะรูทั้งสองข้าง ข้างละสองรูเอาเชือกร้อยเข้ากับแอกเวลาไถนาหรือคราดนา เรียก "อ้องฮัดคอควาย" เรียกผ้าคาดอกทารกว่า "ผ้าอ้อง ผ้าเอี้ยม" ก็ว่า. collar usually made of bark used to fasten yoke on neck of draft animal, cloth tied about chest of infant knotted at the chest.
คนสมัยนี้สิหาเบิ่ง "อ้อง" ได้ยากเพราะใช้ควายเหล็กไถนา บ่ได้ใช้ไถ ใช้คราดไม้ เอาควายลากคือสมัยเก่าก่อน และพอความทันสมัยเข้ามา เปลือกไม้นี่ก็เริ่มหายาก หันไปใช้ "สายพานโรงสีเก่า" มาทำแทน เพราะมีความทนทานกว่า นั่นเอง
ส่วน ผ้าอ้อง ผ้าเอี้ยม สำหรับเด็กน้อยกะบ่มีให้เห็นแล้วสมัยนี้ เพราะมีเสื้อผ้าเด็กน้อยนุ่มใส่สบายขายราคาถูกเยอะแยะนั่นเอง
ภาษาอีสานวันละคำมื้อนี้ ขอเสนอคำว่า "ดัง"
เคยมีคนถามเรื่อง "ดังแหมบ" ได้อธิบายและให้ความหมายไปแล้ว แต่วันนี้มีคนเอารูปภาพข้างล่างนี้มาถาม แล้วสำทับมาด้วยว่า "ถ้าอาวทิดหมูเป็นคนอีสานอีหลีอีหลอ ต้องให้คำตอบที่กระจ่างแจ้งได้แน่นอน แม่นบ่?" แสดงว่าบ่ตอบนี่มีปัญหาแน่นอน เอ้า! มาเบิ่งรูปประกอบกันก่อนเลย
ดัง น. จมุก จมูกเรียก ดัง จมูกบี้ เรียก ดังแหมบ จมูกบานหรือรูจมูกกว้าง เรียก ดังปึ่ง จมูกโด่งจมูกใหญ่ เรียก ดังโม จมุกแหว่งมาก เรียก ดังวืก จมุกแหว่งขนาดกลาง เรียก ดังวาก จมูกแหว่งนิดหน่อย เรียก ดังวีก จมูกเชิดหรือดังเหิน เรียก ดังเบิด อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ช้างอย่างดังเบิดดังเหิน อย่าได้เสินเสินหัวแหย่งชิพานพาฮ้าย (ย่า) ลอนท่อปั้นเข้าจ้ำชิตำขึ้นถืกดัง (ขุนทึง). nose.
ดัง ว. เสียงดัง ก้อง กึกก้อง เสียงดัง เรียก ดัง อย่างว่า ดังแม่นขอ อิ่มท้องแม่นควาย (ภาษิต) เสียงกึกก้อง เรียก เสียงดัง อย่างว่า เคืองคุงสวรรค์ดั่งดินดาซ้าย เสียงสูรก้องตุริยาเค็งคื่น เสบลูกเจ้าหมื่นม้าวดังก้องกระเดื่องดิน (สังข์). to be loud, noisy, audible.
ดัง ก. ก่อ ก่อไฟเรียก ดังไฟ ก่อไฟรอเรียก ดังไฟถ้า อย่างว่า พระพ่อเจ้าเข้าป่าไพรหนา ไปแสวงหาของฉันเผือกมันในด้าว เดินดงดั้นตยเดียวในเถื่อน ลูกหากตกแต่งไว้ดังถ้าซู่วัน (กา). to build (a fire).
ในรูปภาพข้างบนนั้น "ดัง" เป็นคำกริยา แปลว่า ก่อไฟ นั่นเอง "ใครอยากดัง" ความหมายคือ ใครอยากก่อไฟรีบมาเอาไปได้เลยถุงละ 25 บาทเท่านั้น แต่ ยัง ยังไม่จบแค่นี้ยังมีต่ออีก "บ่กล้า บ่ขาย" ส่วนใหญ่เรารู้จักคำว่า "กล้า" คือ
กล้า น. ข้าวเปลือกที่เพาะไว้สำหรับนำไปปลูก เรียก กล้า อย่างว่า นาไฮ่หล้งประสงค์หาแต่กล้าอ่อน กล้าแก่มีบ่แพ้นาหล้งบ่ประสงค์ (ผญา) ข้าวเปลือกที่เพาะไว้นานจนขึ้นเป็นปล้อง เรียก กล้าบั้ง อย่างว่า ชาติกล้าบั้งดำได้กะบ่งาม (กา). seedling (esp. rice).
กล้า ว. แข็ง เหล็กที่ชุบไฟแรงเกินไป เรียก เหล็กกล้า อย่างว่า กล้าหลายมันบ่าน (ภาษิต) แนวเหล็กกล้ามันถืกหีนชา (ภาษิต) แดดแก่ เรียก แดดกล้า อย่างว่า พอเมื่อวันสูรย์กล้างายงามชัยโชค คราญเกี่ยวช้างเชิญท้าวสู่พลาย (สังข์). hardened, tempered(steel), harsh (sunlight).
กล้า ก. ไม่กลัว, ไม่ครั้นคร้าม คนที่ไม่กลัว เรียก คนกล้า อย่างว่า เอาคนกล้าครองเมืองมันจั่งฮุ่ง เอาคนขี้ย้านครองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง (กลอน) ท้าต่อสู้เรียก กล้าหาญ อย่างว่า ใผชิขันมาสู้กับกูย้านมันมุ่น ตั้งแต่สำเด็จลุนกะยังสู้บ่ได้ โตนฮ้านแล่นหนี (บ.). to be brave, to dare.
สำหรับ "กล้า" ในความหมายตามภาพหมายถึง ความร้อนแรง เป็นคำวิเศษณ์แสดงถึง ความแข็ง แกร่ง ถ่านที่ติดไฟดี ให้ความร้อนสูง มีขี้เถ้าน้อย เรียก "ถ่านกล้า" จึงได้ประกาศว่า "ถ้าถ่านไม่ดี ไม่กล้าให้ไฟแรง ไม่ขายนะจ๊ะ"
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ซูนคีง"
มีจดหมายก้อมจากสาวน้อยผู้ไปอยู่ไทดน (อยู่ กทม. นาน) สอบถามมาว่า "ได้ยินเพลงหนึ่งจำชื่อไม่ได้ มีเนื้อว่า อยากซูนคีงเด้ หนูบ่เข้าใจ 'ซูนคีง' คืออีหยัง อาวทิดหมู"
ซูน ก. ถูก ต้อง กระทบ เช่น วิ่งไปกระทบตอ เรียก แล่นซูนตอ อย่างว่า ย้านผอกพ้นมาแล่นซูนตอ เพิ่นบ่ขอโตซ้ำผัดให้บาดได้แล้วค้างอยู่เอิมเยิม (กาพย์ปู่) ผีสิงเรียก ผีซูน ผีต้อง ก็ว่า. to touch, brush against, sub against, (demon) possess.
คีง น. ร่างกาย ตัว ตน ร่างกายหมดทั้งร่างเรียก คีง เลาคีง ก็ว่า อย่างว่า คีงกลมกลิ้งนำแปวน้ำทั่ง ภูวนาถกลั้นใจน้อยมอดมัว (สังข์). body.
"ซูนคีง" ถ้าภาษากลางก็ "แต๊ะอั่ง ถูกเนื้อต้องตัว" นั่นแหละอีหล่าเอย อย่าสิไว้ใจผู้บ่าวมือไว ต้อยปั๊บโลดตั่วคันแม่นเผลอนั่น อย่าสิไปให้เขาต้อยง่ายๆ เด้อหล้าเอย 😁😂🤣🤫
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "มอดยอด"
ได้รับคำถามมาจากสาวน้อยลูกอีสานมาอยูไทดน (เป็นคน กทม.) ได้ยินพ่อ-กับแม่คุยกันว่า "มื้อนี้ฝนตกแฮงจนเปียกมอดยอด" อ้ายทิดหมูบอกน้องแหน่ว่า "เปียกมอดยอด" มันเป็นแนวใด๋น้ออ้าย...
มอดยอด ว. เปียกปอน ผ้าที่เปียกทั้งผืน เรียก เปียกมอดยอด ยอดย้อย ก็ว่า. soaking wet, all soaked.
อธิบายด้วยรูประกอบน้ออีหล่าคำแพง 😁😀🤣😘
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เสิ่น"
จากเพลงลูกทุ่งชื่อ "เสิ่น" ของ 2 ศรีพี่น้อง ดอกอ้อ ทุ่งทอง และก้านตอง ทุ่งเงิน มีคนอยากรู้ว่าหมายคว่าอย่างไร (เวลาเขียนให้ออกเสียงเป็นคำแบบอีสาน เขียนได้ทั้ง เสิ่น และ เซิ่น)
เซิ่น ก. บินร่อน นกที่บินร่อนเรียก นกบินเซิ่น เสิ่น ก็ว่า อย่างว่า แหลวหลวงเค้าหัวแดงเดียระดาษ ซูดเซิ่นได้งูน้อยฮ่อนบน (สังข์). to swoop or glide.
ฮ่อน ก. บินถลา นกที่บินถลาเรียก นกฮ่อน อย่างว่า คื่นคื่นเค้านครนาคในสมุทร ชาวนาคาตื่นฮนเฮย้าน แหลวหลวงเค้าหัวแดงเดียระดาษ ซูดเซิ่นได้งูน้อยฮ่อนบน (สังข์). to swoop and soar.
เวิ่น ก. ร่อนถลา นกที่บินร่อนถลาไปมาในอากาศ เรียก นกเวิ่น นกเซิ่น นกเสิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื้อชาติแฮ้งบ่ห่อนเวิ่นนำแหลว แนวหงส์คำบ่ห่อนบินนำฮุ้ง (ผญา). to swoop or glide.
ความหมายของเพลงโดยรวมของเพลงก็คือ ผู้หญิงถูกผู้ชายทอดทิ้งไปมีหญิงอื่น สาวแทนที่จะเสียใจระทมทุกข์ กลับสุขใจที่ได้มีโอกาสไปฉลองกับกับกลุ่มเพื่อนได้อย่างอิสระ เพื่อมองหารักใหม่ เมื่อเข้าพวกได้กรึ๊บและเต้นหน้าฮ้านฟ้อนแอ่น จึงเกิดอาการของนกน้อยที่ถูกปล่อยออกจากกรง แล้วบิน "เสิ่น" หาอิสรภาพ ดังว่า
"เสิ่น" จึงเป็นอาการดีใจเหมือนนกที่ถูกปล่อยออกจากกรง โบยบินไปหาอิสระภาพนั่นเอง 😁😂🤣
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ส่วย-แจก-ล้าหล่อย-จ่อค่อ-งักงัก-กระด้าง-งกงก-ตุ้ยพี-อึ่งลึ่ง
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ส่วย"
ได้รับปี้น้อยจากทางบ้าน (บ่บอกชื่อเสียงเรียงนาม ถิ่นที่อยู่) ถามมาว่า "ได้ยินยายทวดเว้าให้ว่า 'บ่ทันส่วยหน้า ตื่นมากะกินโลดน้อ' อาวทิดหมูบอกนางแหน่ว่า "ส่วยหน้า" ของยายคืออีหยัง? นางบ่เข้าใจอีหลี" อาวทิดหมูบ่เคยใจร้ายต่อไผ ขอบอกอีหล่าดังนี้
ส่วย ก. ชำระ ล้าง ล้างหน้า เรียก ส่วยหน้า ชำระร่างกาย เรียก ส่วยคีง สว่าย ก็ว่า อย่างว่า แล้วเลิกเมี้ยนสีล้างสว่ายมือ (กาไก) เมี้ยนสว่ายหน้าแครงแล้วเล่าจา (ฮุ่ง). to clean, wash.
ส่วย น. ข้าวของ หรือเงินทอง ที่คนเมืองขึ้นจะต้องส่งให้แก่เมืองที่ตนขึ้น เรียก เงินส่วย อย่างว่า ทุกเทศใต้ลุ่มฟ้าขนเข้าส่วยสิน (กาไก) พันเมืองมาส่วยทองทังค้าย (สังข์). tribute money or goods in kind paid by subject states.
ส่วย น. ชนชาติที่พูดภาษามอญเขมรพวกหนึ่ง ซึ่งลาวเกณฑ์ให้ส่งส่วย เรียก ชนชาติส่วย. Suai: a Mon-Khmer ethnic group.
ที่ยายบอกสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ "หน้ายังไม่ล้าง ก็มากินแล้ว" นั่นเองแหละนางเอย แสดงว่าตื่นสายแล้วจมูกได้กลิ่นยั่วยวนเลยรีบมาร่วมวง จนลืมล้างหน้าล้างตา ดีที่ยายบ่บอกว่า "ให้พระสิแตกก่อน มึงจั่งฉัน" โอ๊ะๆๆ เว้าปิ้น(ผิด) ต้องเป็น "ให้พระฉันก่อน มึงจั่งสิแตก" ซั่นดอกวา
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "แจก"
ได้รับข้อความมาทาง inbox ใน Facebook จากแฟนนานุแฟนทางบ้านถามมาว่า "ได้ยินผู้เฒ่าเพิ่นว่า มื้อนี้ไปเพลอยู่ 'หอแจก' สงสัยว่า มันอยู่บ่อนใด๋อาวทิดหมู บอกข่อยแหน่"
หอแจก น. ศาลาโรงธรรม ศาลาวัดเป็นที่ประชุมทำบุญให้ทานและแจกศีลธรรม แจกสิ่งของ เรียก หอแจก. sermon hall of temple.
ซึ่งคำว่า "แจก" นี้ยังมีใช้ในภาษาพูดของฅนอีสานอีกมาก มีหลายความหมาย ดังนี้
แจก ก. แบ่ง ปัน ให้ จ่าย แบ่งสิ่งของให้แก่ญาติมิตร เรียก แจกของ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว เรียก "แจกเข้า". to share, give out.
แจก ก. ตัดเฉียง ตัดใบตองห่อหรือมวนใบยาสูบ เรียก แจกใบตอง แกกใบตอง ก็ว่า. to trim.
เพื่อความรู้ที่ละเอียดมากขึ้น แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมเรือง "หอแจกอัตลักษณ์อีสาน" ได้เลยครับ
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ล้าหล่อย"
เป็นคำถามมาจากพี่น้องไท กทม. เพิ่นฟังเพลงของอ้ายมนต์แคน แก่นคูน เพลง "คำว่าฮักกัน มันเหี่ยถิ่มใส" แล้วบ่เข้าใจคำว่า "ล้าหล่อย" มันเป็นจั่งใด๋น้ออาวทิดหมู ตามคำขอจัดให้เลยทันที ขอให้ความหมายแยกเป็น 2 คำ คือ
ล้า ว. เมื่อย เหนื่อย อ่อนล้า หมดกำลัง หมดแรง อย่างว่า พันครุฑเข้าไหลมามัวมืด นาคตื่นเต้นหนีล้าบ่าเบา (สังข์) บาก็ยินแคลนล้าเซานอนในตาด (กาไก). fatigued, exhausted.
หล่อย ว. อาการมึนชา เป็นตะคริว หมดกำลังวังชายกแขนขาไม่ขึ้น ขาลีบขาไม่มีกำลังเรียก ขาหล่อย.
เมื่อนำ 2 คำนี้มารวมกันเป็น "ล้าหล่อย" ในเพลงนี้จึงหมายถึง อาการหมดแรงทรุดตัวลงกับพื้น สิ้นหวังจากการถูกทอดทิ้งนั้นเอง คนที่ผิดหวังมากๆ คงพอเดาอาการออกนะ ส่วนอาวทิดหมูนั้น "ล้าหล่อย" จนชินจากผู้สาวหลายใจมาตั๋วต้มให็ฮักแล้วก็จากไป
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "จ่อค่อ"
ลมหนาวมาจั่งซี้หลายๆ คนกะนั่งเฝ้ากองไฟ เอาไออุ่นคลายหนาว ถ้าได้ข้าวใหม่ปั้นจี่หอมๆ กะสิคักหลาย ได้หัวมันมาเผาไฟคลุกขี้เถ้ากะแห่งแซบ แต่ผู้ลางคนนั้น หนาวขาดไออุ่นจากสาวมาให้กอด แนมไปกะแม่นนั่ง "จ่อค่อ" เป็นคำถามของบ่าวส่ำน้อยทางยโสธรถามมาว่า เขาว่า "นั่งจ่อค่อ" นั่งจั่งใด๋น้ออาวทิดหมู เฉลยให้บ่าวผู้ฮ้ายฟังแหน่
จ่อค่อ ว. อาการที่สัตว์ตัวเล็กนั่งจับเจ่าเรียก นั่งจ่อค่อ ถ้าเป็นสัตว์ตัวใหญ่เช่น เสือ เรียก นั่งโจ่โค่ จ่อค่อ แจ่แค่ โจ่โค่ เจ่เค่ ก็ว่า. (sitting) looking subdued or defeated.
สิบอกว่าจั่งใด๋ดี ภาษาวัยรุ่นสมัยนี้เพิ่นอาจสิใช้คำว่า "นั่งโง่ๆ" แทนกะได้คือกัน คือการนั่งแบบหมดความหวัง ปล่อยอารมณ์ให้มันหนาวตายไปโลดหัวใจนี่ ซั่นล่ะวา!
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำเกี่ยวกับ "ความหนาว"
คนอีสานเมื่อเว้ากันถึงเรื่อง "ความหนาว" มักจะมีสร้อยคำเพื่อขยายให้เห็นถึงความหนาวเหน็บที่คนรุ่นใหม่ๆ ฟังแล้วอาจไม่เข้าใจดังนี้
กะด้าง ว. แข็ง เช่น มือหรือเท้าแข็ง เพราะถูกอากาศหนาว เย็นจนมือกระด้าง อย่างว่า พระกาโยเหลืองหล่าตนตายกระด้าง (สังข์). hard, calloused, stiff.
งกงก ว. มีอาการสั่น เช่น คนเห็นเสือกลัวเสือจนตัวสั่นงกงก หรือหนาวมากจนตัวสั่นงกงก เรียก สั่นงกงก. trembling, shivering, shuddering.
ง็อกง็อก ว. อาการสั่นของคนกลัว หรือคนหนาวมาก เรียก สั่นง็อกง็อก ง็อกง็อกแง็กแง็ก ก็ว่า. to tremble, shiver, shudder.
งักงัก ว. อาการหนาวสั่นจนขากรรไกรกระทบกัน เรียก สั่นงักงัก จนคางกะไตแข็ง. (teeth) chattering from cold.
คงพอจะมองภาพออกนะครับ ตอนนี้ที่บ้านอาวทิดหมูนั่น เลาอยู่ผู้เดียวบ่มีผู้สาวใด๋มาให้ไออุ่น ก็ถึงขั้น หนาวสั่นงักงัก พุ้นแหล่วน้อ เป็นตาหลูโตน 😍🥰😘
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ตุ้ยพี"
ลมหนาวมาสั่นงักงักถ้ามีผู้สาวตุ้ยพีมาเคียงข้างคือสิอุ่นกายอุ่นใจเนาะ เมื่อวันก่อนนำเสนอเพลงเป็นตาฮักจากนักร้องสาว สิริพร สีประเสริฐ จาก สปป.ลาว ชื่อเพลงว่า "ตุ้ยพีดีงาม" ก็มีคนอยากรู้ความหมายกันว่า "ตุ้ยพี" นี่เป็นแบบใด๋ เลยนำมาฝากกัน
ตุ้ย ว. คนอ้วนเรียก คนตุ้ย เช่น พีตุ้ย พีอุ้ยตุ้ย พีลุ้ยตุ้ย พีตุ้ยพีตัง ก็ว่า อย่างว่า เจ้าอุ้ยตุ้ยขี้กะหลุ่ยเต็มหี สังบ่หาเหล็กชีควัดให้ฮูหีเกลี้ยง (บ.). fat, obese.
พี ว. อ้วน คนอ้วน เรียก คนพี ป่าใหญ่เรียก พงพี. fat, plump, also: large (of forest).
ตุ้ยพี จึงหมายถึง อวบอ้วนเป็นตาฮัก เป็นตากอดนั่นเอง บ่เถิงกับเป็นธิดาช้างดอกเด้อ โอย!! หนาวๆ หลายแท้น้อบาดนี่ อยากมีสาวตุ้ยพีมากอดคลายหนาวเด้ พะนะ 😍🥰😘
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "อึ่งลึ่ง"
สาวน้อยบ้านนาผู้ไปอยู่ไทดน (อยู่ กทม. มานาน) ถืกแม่ด่าว่า "เวียกการบ่เฮ็ดหยัง เอาแต่นอนเขี่ยโทรศัพท์ ไข่อึ่งลึ่งอยู่นั่นหล่ะ" ฮือๆๆ อาวทิดหมูส่อยบอกนางแหน่ว่า "อึ่งลึ่ง" มันแปลว่าอีหยัง อีแม่คือว่าให้ลูกสาวจั่งซี้
อึ่งลึ่ง ว. ขึ้นอืด พองขึ้น เช่น คนตายไหลล่องน้ำมา ว่า ไค่อึ่งลึ่ง อึ่งลึ่ง ก็ว่า. bloated.
อึ่งตึ่ง ว. แน่นหนา เต็ม เช่น คนแหน้นอึ่งตึ่ง น้ำอึ่งตึ่ง. stuffed tight, congested, completely full, swollen.
อาวทิดหมูขอบอกว่า "น้องสาวหล้านั่นถึงขนาดเกินคำว่า 'อ้วนพี' หรือ 'ตุ้ยพี' ไปหลายแล้วเด้อ กอดบ่หุ้มซั่นแหล่ว ถ้าไปประกวดนางงามก็คงได้แต่เวทีธิดาช้างเด้อหล้าเอย" ในรูปคนนอนข้างบนนั้น หายข้องใจล่ะบ้ออีหล้า แถมให้อีกคำเด้อ เจ้าผู้แน่นอึ่งตึ่ง กะงามหลายเป็นตากอดอุ่นแท้ล่ะ "สาวงามผู้ทางขวามือ" นี่หล่ะจั่งแม่นแน่นอึ่งตึ่งหลาย 😁🤣🤫
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
อ่ำถ่ำ-คันยู-ฮ่ม-คันจ้อง-ป้อย-ปุน-โอย-กะโพก-หมื่น-มื่น-มืน
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "อ่ำถ่ำ"
มีคำถามมาจากจากสาวน้อยทางนครปฐมบอกมาว่า มีหนุ่มอีสานเข้ามาจีบเอ่ยเป็นกลอนเสียงดังว่า "ฮักน้องหลาย ฮักน้องสาวแก้มอ่ำถ่ำ อยากเมือบ้านนำเด้หล้า" อ้ายแอดมินบอกน้องแหน่ว่า "แก้มอ่ำถ่ำ" นี่มันเป็นจั่งใด๋น้ออ้าย
อ่ำถ่ำ ว. สีคล้ำ เรียก สีอ่ำถ่ำ อย่างว่า แก้มอ่ำถ่ำแก้มเจ้าอ่ำถ่ำ หักดอกไม้ยามค่ำเอาไปบูชาธรรม คุณครูบาอาจารย์ให้มาฮับเอาพรข้าน้อยไว้ (กลอน) อ่ำถ่ำเนื้อเกลี้ยงกล่อมกันหลับ สีใสสันตื่นยามยังผ้า เหมือยฮวายไม้ลมบนเบยเมฆ สูรย์ส่องขึ้นเฮืองฟ้าเฮื่อแสง (ฮุ่ง). dusky, dark-colored.
อาวทิดหมูพิจารณาแล้วเห็นว่า น้องสาวหล้าผู้นี้คือสิมีความงาม แต่งตัวปัดแก้มออกสีคล้ำนิดๆ พองาม บ่แม่นขาววอกแบบใช้ครีมปรอทนั่นแหล่วนางเอย จนผู้บ่าวอดชื่นชมบ่ได้จั่งได้กล่าววาจาออกมาเช่นนี้
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "คันยู"
"ฝนตกรินจั่งซี้ สิเดินทางไปไสมาไสกะอย่าลืมเอาคันยูไปนำเด้อ" เสียงย่าบอกหลานก่อนจะไปโรงเรียน ตายๆๆ เว้าแบบนี้หลานกะงงตี้ล่ะ แม่นหยังคือ "คันยู" อ้ายแอดมินบอกแหน่...
คันยู น. ร่มกระดาษ ชื่อร่มกระดาษชนิดหนึ่ง ใช้กั้นแดดและฝน เรียก คันยู คันฮ่ม ฮ่มกระดาษ ก็ว่า. paper-covered parasol or umbrella.
ฮ่ม น. ร่ม ร่มที่ทำด้วยผ้า เรียก ฮ่ม ทำด้วยกระดาษเรียก ฮ่มกระดาษ คันยู อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ม้าอย่ากั้งฮ่มแพรแถม ย้านเจ้าเพพังตกถืกตอตำต้อง (กลอน) ร่มภูเขา เรียก ฮ่มผา เงาของต้นไม้ เรียก ฮ่มไม้. shade, place out of direct sun, umbrella, parasol.
ยังมีคำหนึ่งที่ความหมายเดียวกันคือ
คันจ้อง น. ชื่อร่มกั้นแดดชนิดหนึ่งทำด้วยผ้า เรียก ฮ่มจ้อง อย่างว่า เชื้อชาติจ้องคันก่องกะยังหุบ บาดห่าชาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง บาดห่าชะตาขึ้นขวางคือขอนก้เลยล่อง คาดชิล้มหยุมหญ้าบ่ฟัง (กลอน). cloth-covered parasol or umbrella.
คือสิเข้าใจแจ้งจ่างป่างล่ะน้อบาดนี้ ถือติดไม้ติดมือไปอย่าสิลืมเด้อ เปียกฝนกลับบ้านมา ย่าสิป้อยเอาเด้อ!
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ป้อย"
จากเรื่องของ "คันยู, ฮ่ม" และ "คันจ้อง" ที่ย่าบอกหลานให้ถือติดตัวไปยามมีฝนตก ถ้าลืมเอาไปเมื่อกลับบ้านมาตัวเปียกก็จะโดนย่า "ป้อย" อีกดอก
ป้อย ว. แช่ง ด่า อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มปุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีเผด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์). to curse, swear.
ปุน ก. ด่า แช่ง อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มปุนป้อย (สังข์). to curse, swear.
คำว่า "ป้อย" นั้นเป็นคำค่อนข้างเก่าโบราณอาจจะไม่ค่อยไดยินว่ามีใช้กันในปัจจุบันนัก และมักจะใช้ร่วมกันทั้งสองคำเป็น "ปุนป้อย" ซึ่งมีความหมายหนักเข้าไปมากกว่าใช้ "ป้อย" คำเดียว เพราะนั่นหมายความว่า ผู้พูดมีความโกรธมาก ในขั้นที่เรียกว่า สูญแฮง ภาษาปัจจุบันคงจะใช้คำว่า "โกรธจนควันออกหู" มาใช้บรรยายจึงจะเห็นภาพได้ชัดเจน
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "โอย"
โอย น. เสียงที่เปล่งแสดงความรู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกแปลกประหลาดอัศจรรย์ว่า โอย โอ๊ย ก็ว่า. ouch!, wow!, exclamation of pain or amazement.
โอย ก. น้อมรับ เมื่อผู้ใหญ่สั่งให้ทำก็ยินดีรับทำตามที่สั่ง อย่างว่า บัดนี้เมืองค่ำค้อยเป็นป่าแปนขุน แล้วท่าน ลุงค่อยชมชิงแปลงแต่งมุงเมืองบ้าน เมื่อนั้นวัณนุราก้มโอยพรพร้อมไพร่ ข้าเถ้าหลับบ่ฮู้นอนคู้บ่ฝัน แท้นา (สังข์). to bend or bow and submit to a command.
โอย ก. ให้ทาน เรียก โอยทาน อย่างว่า ผ่อดูซว่าซว่าพร้อมพันส่ำแสนสัตว์ สกุณานกฮอกหอนแหนอ้ม บาหากโอยทานแท้ยายปันเป็นคู่ สัตว์สิ่งเค้าคณาพร้อมเพิ่งบุญ (สังข์) ของฝากล้วนขันอาจดูตระการ ยอมวลไปกล่าวนายในห้อง มันก็ชมคุณเจ้าโอยทานทูลขม่อม ฮู้ว่ามีเครื่องย้องเมือฟ้าสู่สาว แลซาม (ฮุ่ง). to give (alms).
อาวทิดหมูก็ฮู้จักความหมายเดียวคือ โอย = เจ็บปวด บ่นึกว่าสิมีความหมายอื่นอีก ต้องยอมรับว่าเกิดช้ากว่าคำเก่าๆ เหล่านี้มากมายทีเดียวเลย
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "กะโพก"
แม่ใหญ่เฒ่าบอกว่า "มื้อวันก่อนได้ยินเสียงตีฆ้อง ตีกลอง ตีเกราะเคาะไม้ เคาะกาละมัง ฝาหม้อ ทั้งเสียงปืน เสียงกะโพก ดังสนั่นหวั่นไหว นอนกะบ่หลับ หนวกหูหลาย" อ้ายแอดมินบอกแหน่ว่า "กะโพก" คืออีหยังน้อน้องบ่ฮู้จัก
กะโพก น. ประทัด สิ่งที่จุดหรือเผาไฟแล้วมีเสียงดัง เรียก กะโพก มีหลายชนิด ชนิดที่ห่อดินปืนด้วยกระดาษเรียก กะโพกเจี้ย ชนิดห่อดินปืนด้วยใบลานเรียก กะโพกใบลาน ชนิดที่ใช้ดินปืนในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟ เรียก กะโพกน้ำ. firecracker.
กะโพก ก็คือ ประทัด นั่นเอง ระวังฟืนไฟเด้อ ถ้ายิงปืนขึ้นฟ้านั่นผิดกฏหมายทั้งปรับทั้งจำ ลูกปืนอาจจะหล่นลงมาถืกคนตายได้ เป็นคดีอาญา
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอตำว่า "มื่น"
อาวทิดหมูผู้น่ารักช่วยบอกน้องหน่อยนะคะ ไปเที่ยวอีสานมาเมื่อช่วงวันหยุดยาว มีป้ายติดบอกในที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งซึ่งสร้างด้วยไม่ไผ่สวยงามเชียว แต่หนูก็ไม่เข้าใจตามภาพข้างล่างนี่เลยค๊า บอกหน่อยนะคะ รักนะจุ๊บๆ
หมื่น ว. จำนวนนับเท่ากับ 10 พัน. ten thousand.
หมื่น น. ชื่อตำแหน่งในราชการ เหนือพันขึ้นไป เช่น หมื่นโสมสงัดพาล หมื่นประหารวรเดช หมื่นวิเศษนรสีห์ เป็นต้น. title for high-ranking official (archaic).
หมื่น น. ชื่อมาตราชั่งตวง 10 ชั่งหรือ 12 กิโลกรัมเป็น หนึ่งหมื่น. unit of weight equal to 12 kg.
แต่มีคำภาษาอีสานอีกคำคือ "มื่น" ที่เวลาออกเสียงจะคล้ายคลึงกับ หมื่น หรือ 10,000 ซึ่งมีความหมายแปลว่า ลื่น ไถล ดังนี้
มื่่น ก. ลื่น ไถล ลื่นโคลน เรียก มื่นตม อย่างว่า ช่างมาติแถลงล่มตมบ่มีกะติมื่น ติคาดล้มเดือนห้าก่อนฝน (ผญา) ช่างมาติแถลงหล้มตมบ่มีกะติลื่น ตั๋วให้กลืนกินก้างคาค้างอยู่ลักลาน ยามจาต้านนำกันว่าแต่มัก มักอยู่นี้หนีแล้วเล่าลืม (ผญา). to be slippery.
ความหมายจากป้ายในภาพบน "ระวัง!!! 10,000 หัวสัก" ก็คือ ระวังลื่นหัวทิ่ม นั่นเอง เช่นเดียวกับการเขียนที่พื้นลานซีเมนต์ที่มีราหรือตะไคร้น้ำจับเขียวๆ ดังในภาพล่าง ก็มีคำอธิบายให้เป็นภาพก็แล้วกันนะน้องสาว (อย่ามาตั๋วอ้ายหลายว่า รักๆ บ่จริงใจเลยน้อง)
ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "มึน, มืน"
จากคำว่า "มื่น" หรือลื่นล้มข้างบนนั้น ยังมีคำที่ออกเสียงคล้ายคลึงกันอีกหลายคำ ที่มีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นำมาเสนอเพื่อให้แฟนนานุแฟนได้ทราบกันครับ คือ มึน (สระ อึ) และ มืน (สระอือ)
มึน น. โรคเหน็บชา ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการชาตามผิวหนัง เรียก โรคมึน มึนเซีย ก็ว่า. beriberi, vitamin B deficiency disease causing numbness.
มึน ว. ดื้อดึง ไม่อาย คนที่ดื้อดึงไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนมึน อย่างว่า อันว่าพราหมโณเถ้าชุยชะโกผีเผด ปากก็กล้าทังหน้าเล่ามึน (เวส-กลอน). obstinate, unabashed.
การใช้คำนี้ในการพูดจาเช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไปวัดนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระสงฆ์นานๆ ก็จะบอกว่า "มื้อนี้ฟังญาท่านเทศน์ดน จนขา 'มึน' ลุกเกือบบ่ได้" หรือเมื่อมีเด็กในบ้านที่ดื้อด้าน พูดไม่ฟังคำสั่งสอนก็จะบอกว่า "โอย ลูกหลานพวกนี้จั่งแหม่นมัน 'มึน' หลาย บอกอีหยังกะบ่เคยฟัง จักมันได้ไผมา"
มืน ว. ลืม เปิด แย้ม ลืมตาเรียก มืนตา อย่างว่า ใผอยากเห็นใจอ้ายให้มืนตาใส่น้ำแจ่ว คันมันแสบแจ้วแจ้วใจอ้ายก็ดั่งเดียว นั้นแล้ว (ผญา) มืนตาหลิงล่ำนางจวนค้าง (กาไก) ก็ท่อมืนตาเห็นป่าไพรดงด้าว (สังข์). to open (eyes).
การใช้คำว่า มืน ในการพูดจาก็เช่น "จั่งแหม่นมึงหย่างบ่มืนตาน้อ ตำซะตำซายไปทั่วทีป จนหัวร้างข้างแตก" หมายถึง "เอ็งมันเดินไม่ลืมตาหรือ ถึงได้ชนไปทั่วจนหัวแตก"
หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
รวมผญา สุภาษิต และคำสอย
กลอนลำ
เพลงลูกทุ่งอีสาน มาเข้าใจความหมายของคำภาษาอีสานในเพลงลูกทุ่ง
ภาษาอีสานแยกตามหมวดอักษร
กลอน ภาษิตโบราณอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)