foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

thai isan language

ภาษาอีสาน เป็นภาษาที่มีความเป็นมาเป็นของตนเองโดยแนบแน่นมากับภาษาลาว มีตัวอักษร อักขรวิธี คำ และความหมายของคำเป็นของตัวเอง มีรูปแบบการเขียน การพูด การเล่า การร้อง การลำเป็นของตนเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบ การพูด การเล่า การร้อง การลำนั้น นับว่าแพร่หลายมากในห้วงเวลาที่คนอ่านออกเขียนได้มีจำนวนจำกัด การสื่อความหมาย การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในหัวเมืองลาวเหล่านี้ ก่อนที่ระบบการศึกษาแบบสมัยใหม่ของกรุงเทพฯ จะเข้ามานั้น ส่วนใหญ่จะสื่อความหมายกันทางปาก นั่นคือ การพูด การเล่า การร้อง การลำในรูปแบบต่างๆ เช่น เล่านิทาน ลำตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผญา นิทานก้อม เป็นต้น

kwai 01

ภายหลังการเข้าจัดการปกครองหัวเมืองลาวโดยฝ่ายกรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ระบบการศึกษาแบบใหม่ของกรุงเทพฯ ก็เข้ามาเผยแพร่ในหัวเมืองเหล่านี้ การระบาดของภาษาตามแบบกรุงเทพฯ ดำเนินไปอย่างเข้มข้น พร้อมกับการขยายการศึกษาภาคบังคับ การขยายตัวของเส้นทางคมนาคมขนส่ง (ทางรถไฟ) และการขยายตัวของระบบสื่อสารมวลชน (มีโทรเลข วิทยุ) แม้ว่าจะมีความพยายามอย่างมากที่จะแทนที่ภาษาท้องถิ่นหัวเมืองลาวด้วยภาษาไทยกลาง แต่ความพยายามดังกล่าวก็ยังไม่บรรลุผลสมบูรณ์แบบ ความปนเปกันระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาอีสานนั้นมีนัยะให้น่าศึกษาอยู่

tum kaopoon

การตำแป้งขนมจีนด้วยครกกระเดื่อง ภาษาอีสานเรียก ตำเข้าปุ้นด้วยครกมอง

ด้วยความจำกัดในด้านความรู้และด้านเวลาของผู้เขียน จึงขอนำเสนอลักษณะความปนเปหรือความเกี่ยวพันสัก 2 ลักษณะ

'บักลาอิ่มข้าวหลาม'

1. คำที่เขียนอย่างเดียวกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน แต่มีความหมายทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น

คำว่า “อิ่ม” ในความหมายภาษาไทยกลาง หมายถึง การได้กระทำในสิ่งที่ต้องการทำอย่างเพียงพอ การได้ดูอย่างเพียงพอ การได้พูดอย่างเพียงพอ การได้ฟังอย่างเพียงพอ คือได้กระทำอย่างจุใจก็เรียกว่า “อิ่ม” เช่น กินจนอิ่ม ดูจนอิ่ม พูดจนอิ่ม ฟังจนอิ่ม เป็นความสมหวังตามสิ่งที่ต้องการอยากทำ มีความหมายในเชิงบวก

ส่วนคำว่า “อิ่ม” ในภาษาอีสานนั้น นอกจากจะมีความหมายอย่างเดียวกันกับภาษาไทยกลางแล้ว ยังมีความหมายที่ลึกลงไปกว่านั้นอีก คือมีความหมายยิ่งกว่าเบื่อหน่าย ยิ่งกว่าเอือมระอา ยิ่งกว่าคำว่า “เซ็ง” เป็นความหมายในเชิงลบ

bug la im kaolam

มีเรื่องเล่าของชาวอีสานอยู่เรื่องหนึ่ง คือเรื่อง “บักลาอิ่มข้าวหลาม” (บัก หมายถึง นาย เป็นคำนำหน้านามเพศชาย) หากจะพูดและหมายความตามภาษาไทย (กลาง) ก็คือ “นายลาอิ่มข้าวหลาม” จะต้องหมายความว่า "นายลารับประทานข้าวหลามมากจนอิ่ม และไม่อยากรับประทานข้าวหลามอีก" แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เป็นอย่างไรหนอ...

เรื่องมีอยู่ว่า

นายลาไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพฯ พอเก็บเงินได้บ้างเล็กน้อยก็เดินทางกลับบ้านโดยขบวนรถไฟ มาถึงสถานีรถไฟโคราช นายลารู้สึกหิวข้าวมาก จึงตัดสินใจซื้อข้าวหลาม ในขณะที่รถไฟกำลังเคลื่อนออกจากสถานีอย่างช้าๆ นายลาไม่มีเงินย่อยจึงเอาธนบัตรใบละร้อยบาทซื้อ (เงินร้อยบาทในสมัยนั้นเป็นจำนวนที่สูงมาก) ปรากฏว่า คนขายข้าวหลามไม่ยอมเดินตามรถไฟเพื่อทอนเงินให้นายลา นายลาต้องซื้อข้าวหลามราคาท่อนละร้อยบาท

railway korat

ปรากฏว่านายลาไม่ยอมแตะต้องข้าวหลามนั้นเลย (แม้จะหิวมาก) นายลากินข้าวหลามไม่ลง นายลาอิ่มข้าวหลาม แม้เมื่อนายลากลับมาถึงบ้านนายลาก็ไม่ยอมกินข้าวหลามเลยตลอดชีวิตของนายลา เมื่อมีคนเรียกนายลากินข้าวหลาม นายลาจะบอกปฏิเสธ พร้อมกับบอกว่า “อิ่ม”

บ้างก็ว่า ความอิ่มของบักลานี้มากถึงขั้นเดินทางผ่านป่าไผ่ แล้วมองเห็นยอดไผ่ไหวโอนไปมาทำเอา "บักลาฮากแตกย้อนคึดฮอดข้าวหลามบั้งละร้อยบั้งนั้น มิรู้ลืม"

คำว่าอิ่มตามความหมายของนายลานั้น มากกว่าเบื่อ มากกว่าแหนงหน่าย มากกว่าเอือมระอา มากกว่าเซ็ง ความรู้สึก “อิ่ม” ไม่เกิดเฉพาะกับอาหารหรือสิ่งของอื่นๆ เท่านั้น แต่อาจจะเป็นความรู้สึกที่บุคคลมีต่อบุคคลก็ได้ เช่น สามีที่เจ้าชู้ ชอบมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น นอกใจภรรยาอยู่เสมอก็อาจจะถูกภรรยา “อิ่ม” ได้เช่นเดียวกัน

บักลาอิ่มบั้งข้าวหลาม ลำโดย สังวาลย์น้อย ดาวเหนือ

'นายอำเภอหัวฆวยมาก'

2. คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้การสื่อความหมายผิด ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้เรื่องของความกระด้างกระเดื่อง อวดดี จองหอง ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง เช่น

คำว่า “ฆวย” คำที่ออกเสียงอย่างนี้ในภาษาอีสานมี 2 ความหมาย คือ

  1. เป็นคำนาม หมายถึง "กระบือ" หรือ "ควาย" ที่เลี้ยงไว้ไถนา คนอีสานออกเสียงเป็น "ฆวย" (เลี่ยงตัวอักษรเพื่อให้ไม่หยาบโลนในภาษาไทยกลาง นะขอรับ คอมเมนต์โดย อาวทิดหมู)
  2. เป็นคำกริยา หมายถึง สั่น, คลอน, สั่นคลอน เช่น หลักไม้ที่ตอกหรือฝังไม่แน่น สามารถโยกได้คลอนได้ ภาษาอีสานจะบอกว่าหลักนั้น “ฆวย” หรือฟันที่กำลังจะหลุดซึ่งเรียกว่า ฟันโยก ภาษาอีสานก็เรียกว่า ฟันฆวย

road in bannok
ถนนหนทางในชนบทยุคหนังเรื่อง "ครูบ้านนอก" ปี 2521

มีเรื่องเล่าว่า

ครั้งหนึ่ง ท่านนายอำเภอเดินทางไปตรวจราชการในหมู่บ้านชนบทอีสาน แต่เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกดังเช่นปัจจุบัน หนทางเป็นหลุมเป็นบ่อมาก กำนันจึงให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเอาเกวียนเทียมโคเป็นพาหนะไปรับท่านนายอำเภอ ปรากฏว่า จากสภาพหนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อมาก ทำให้ท่านนายอำเภอนั่งหัวสั่นหัวคลอนมาตลอดเส้นทาง พอเดินทางมาถึงหมู่บ้าน กำนันก็รีบถามด้วยความเป็นห่วงท่านนายอำเภอกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านว่า "การเดินทางเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ช่วย?"

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตอบเสียงดังฟังชัดขึ้นทันทีเลยว่า “การเดินทางแย่ เพราะนายอำเภอหัวฆวยมาก”

kwian 01

คัดลอกส่วนหนึ่งจากบทความ “ภาษาไทย (กลาง) ในภาษาอีสาน” เขียนโดย ชุมพล แนวจำปา 
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม ๒๕๓๓

สภาพถนนหนทางเมื่อ 40 ปีก่อน คลิปสั้นจาก "ครูบ้านนอก 2521"

 

redline

backled1

 

attalak isan

ฟ้อนภูไท

ฟ้อนภูไท เป็นฟ้อนที่งดงามและเก่าแก่ ถือว่าเป็นนาฏศิลป์ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวภูไท เนื่องจากชาวภูไทอาศัยกระจัดกระจายหลายพื้นที่ในอีสาน จึงจำแนกประเภทการฟ้อนภูไทตามพื้นที่ เช่น การฟ้อนภูไทของเขตจังหวัดสกลนคร การฟ้อนภูไทเขตเรณูนคร (รำภูไทภูพาน รำภูไทสามเผ่า) การรำภูไทของเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีลีลาการฟ้อนที่แตกต่างกัน การฟ้อนภูไทจะฟ้อนในงานมงคลและงานบุญ เช่น บุญมหาชาติ ในการทำบุญแต่ละครั้งหลังวันทำบุญจะมีการแห่ปัจจัยไปวัด การแห่ขณะไปทำบุญและการแห่หลังทำบุญนี้เองที่ทำให้เกิดฟ้อนภูไทขึ้น

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ผู้ฟ้อนแต่งกายชุดพื้นเมืองของชาวภูไท คือนิยมนุ่งห่มดำ สีเข้ม หรือสีคราม เป็นผ้าที่ทอด้วยฝ้ายพื้นเมือง แขนยาว เครื่องตกแต่งร่างกายอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามกลุ่มต่างๆ ของชาวภูไท

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและการทำบุญ

fon poo tai

ชาวผู้ไท เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย คือ บริเวณลาวตอนเหนือ บางส่วนของเวียตนามเหนือ และทางตอนใต้ของจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไล เมืองแถง เรียกว่า ผู้ไทดำ ชาวผุ้ไทสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ถึงแม้จะมีผู้แบ่งเป็นกลุ่มผู้ไทแดงและผู้ไทลาย แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจน (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. 2526 : 2) ชาวผู้ไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มาจากเมืองวัง และเมืองตะโปน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน และแยกย้ายกันตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในเขต 3 จังหวัด คือ

  • ชาวผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอคำม่วง
  • ชาวผู้ไทจังหวัดสกลนคร อยู่ในอำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ
  • ชาวผู้ไทจังหวัดนครพนม อยู่ในอำเภอเรณูนคร อำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูง

fon poo tai renu 6

การฟ้อนผู้ไทนั้น เริ่มมีมาในสมัยที่เริ่มสร้างพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ผู้ไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษา หาเครื่องสักการะบูชาพระธาตุทุกๆ ปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวงกำลังแก่ จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนมาทำข้าวเม่า ชาวผู้ไทจะนำข้าวเม่ามาถวายสักการะบูชาพระธาตุเชิงชุม การนำข้าวเม่ามาถวายพระธาตุนั้น เรียกว่า "แห่ข้าวเม่า" จะมีขบวนฟ้อนรอบๆ พระธาตุ ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ผู้หญิงแต่งตัวพื้นเมือง ใส่เล็บยาว ผู้ชายเล่นดนตรี เช่น กลองเส็ง กลองยาว ตะโพน รำมะนา ฉิ่งฉาบ เป็นต้น (พนอ กำเนิดกาญจน์. 2519:38)

fon poo tai renu 4

การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์

การฟ้อนภูไทเรณูนคร

เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม

ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2498 นั้น นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย นายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร ได้อำนวยการปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร และได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อจนปัจจุบัน

ลักษณะการฟ้อนภูไทเรณูนคร ชาย-หญิงจับคู่เป็นคู่ๆ แล้วฟ้อนท่าต่างๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้อนรำเป็นวงกลม แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน

หญิงสาวที่จะฟ้อนภูไทเรณูนครต้อนรับแขก จะได้ต้องเป็นสาวโสด ผู้ที่แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ฟ้อนภูไทเรณูนคร เวลาฟ้อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า และที่สำคัญคือในขณะฟ้อนภูไทนั้น ฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้เด็ดขาด (มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวภูไทนับถือผีบ้านผีเมือง อาจจะถูกปรับไหมตามจารีตประเพณีได้)

เครื่องดนตรี แบบดั้งเดิม ประกอบด้วย แคน กลองสองหน้า กลองหาง ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ ส่วนในวงโปงลาง ก็ใช้เครื่องดนตรีครบชุดของวงโปงลาง ลายเพลง ใช้ลายลมพัดพร้าว

ท่าฟ้อนภูไทเรณูนคร มี 16 ท่า ดังนี้คือ

  • ท่าโยกหรือท่าเตรียม (ท่าเตรียมโยกตัวไปมาเป็นการอุ่นเครื่องเพื่อจะไปท่าบิน)
  • ท่าบิน หรือท่านกกะทาบินเลียบ
  • ท่าเพลิน หรือท่าลำเพลิน
  • ท่าเชิด หรือ ท่ารำเชิด
  • ท่าม้วน หรือท่ารำม้วน
  • ท่าส่าย หรือท่ารำส่ายเปิด
  • ท่าลมพัดพร้าว
  • ท่ารำเดี่ยว หรือฟ้อนเลือกคู่
  • ท่าเสือออกเหล่า
  • ท่ากาเต้นก้อนข้าวเย็น
  • ท่าเสือลากหาง
  • ท่าม้ากระทืบโฮง
  • ท่าจระเข้ฟาดหาง
  • ท่ามวยโบราณ
  • ท่าถวายพระยาแถน หรือท่าหนุมานถวายแหวน
  • ท่ารำเกี้ยว

[ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การฟ้อนพื้นบ้านภูไท ]

redline

backled1

word

"บักหำ" คำของผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย อย่างเอ็นดู

ham 01

คำอีสานเรียก คนผู้ชาย ว่า “บัก” และเรียก ผู้หญิง ว่า “อี่” หรือ “อี” ซึ่งเป็นการเรียกเพื่อจำแนกเพศอย่างกว้างๆ เด็กผู้ชายคลอดใหม่ที่ครบอาการสามสิบสอง แน่นอน ต้องมีบัก โดยคำว่าบักนั้น มีแนวเทียบ (analogy) กับอวัยวะสืบพันธุ์ที่ติดตัวต่องแต่งมาแต่เมื่อแรกคลอด

ยุคที่ไม่มีระบอบตรวจสอบลูกในครรภ์ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยอย่างในปัจจุบัน กว่าจะรู้ว่าลูกเป็นเพศอะไร ก็ต้องรอตอนคลอด แม้ขณะที่โผล่หัวออกมาจากช่องคลอด บางคนก็ยังจำแนกไม่ออก ด้วยว่าเป็นตัวแดงๆ มีขนติดหัวมากระหย็อมหนึ่ง ต้องดูกันจะจะก็ตรงเครื่องเพศนั่นเองว่า จะเป็น "อี" หรือเป็น "บัก"

ham 02ฐานเดิมของคำว่า "บัก" ถ้าเป็นกริยา หมายถึง บาก/ฟัน/ควั่น/ทำให้คอด/หรือทำให้กิ่วโดยรอบ เช่น เวลาจะผูกด้ายที่ปลายไม้คันเบ็ด ถ้าใช้ด้ายผูกแล้วดึงทบให้แน่นๆ ก็พอใช้การได้ แต่คนมีประสบการณ์ท่านสอนให้บักปลายคันเบ็ดเสียก่อน คือ การใช้มีดควั่นบริเวณปลายคันไม้นั้นโดยรอบ เพื่อให้เป็นร่องหรือเป็นแนวเล็กๆ เมื่อผูกด้าย จะทำให้ด้ายไม่เคลื่อนหรือเลื่อนหลุดโดยง่าย บักที่เป็นวิเศษณ์ ก็หมายถึง (สิ่ง) ซึ่งมีสภาพคอดหรือกิ่วโดยรอบ

แล้วอะไรเล่าที่ทำให้ผู้ชายได้รับการเรียกขาน ว่า บัก ในขณะที่ผู้หญิงไม่ได้รับการเรียกเช่นนั้น อีกทั้งเป็นเครื่องจำแนกเพศชายกับเพศหญิงที่เด่นชัด

คำตอบที่ทำให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือ "อวัยวะเพศ" นั้นแหละ

ส่วนที่จะเรียกว่า บัก หาใช่หมดทั้งพวงไม่ แต่เป็นเพียงส่วนปลายซึ่ง “มีสภาพคอดโดยรอบ” และนี่เป็นฐานความหมายพาดพิงถึงการเรียกว่า บัก ซึ่งถ้าพูดเรื่องง่ายๆ ให้ยุ่งๆ ขึ้นมาอีกนิด คำว่า บัก ในภาษาอีสานที่ใช้เรียกเพศชาย/เพศผู้ ก็ต้องแปลว่า “ผู้ซึ่งมีสภาพคอดโดยรอบ (ติดตัวมาแต่กำเนิด) นั่นเอง

จริงอยู่ มนุษย์นั้นมีส่วนที่คอดเหมือนๆ กัน คือ ที่คอบ้าง ที่ข้อมือข้อเท้าบ้าง แต่เมื่อมีแล้วไม่สามารถจำแนกหาลักษณะพิเศษที่แตกต่างอย่างเด่นชัด จึงต้องมองหาส่วนอื่นๆ เรียกว่าเป็นการจำแนกหาความต่าง

ภาษาแขกเรียกชุดเครื่องเพศชายออกเป็นสองอย่าง

ส่วนที่เป็นลำหรือท่อ หรือแท่งนั้นเรียกว่า ลิงค หรือลึงค์

ส่วนที่เป็นก้อนเหมือนกับไข่นั้น เรียกว่า อัณฑะ

คำอีสานก็มีวิธีจำแนกชุดเครื่องเพศด้วยเหมือนกัน กล่าวคือ

เรียก ลึงค์ ว่า โค็ย หรือ โคย

เรียก อัณฑะ ว่า หำ ไข่หำ หมากไข่หำ หรือไข่ลอน ก็มี

คำว่า โค็ย นี้ ความหมายหลักก็อยู่ตรงที่เป็นท่อนแท่งแห่งอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย หรือสัตว์เพศผู้

แล้วก็มีการใช้ในความหมายที่ขยายตัวออก หมายถึงวัตถุที่ให้สอดใส่ในช่องของวัตถุอื่น เช่น

      โค็ยกง = เดือยระวิง

      โค็ยเกวียน = เพลาเกวียน ซึ่งเป็นความหมายโดยปริยาย

การโพล่งคำว่า “โค็ย” ออกคำเดียวดังๆ ก็เป็นการผรุสวาท หรือบริภาษ รวมทั้งหมายถึงอาการแสดงความไม่พอใจอะไรบางอย่างได้ด้วย แต่คนอีสานจะบอกลูกสอนหลานว่า "หากหนุ่มคนไหนกินเหล้าเมาแอ๋ แล้วแจกอวัยวะดังว่าเสียงดังลั่น เจ็ดบ้านแปดเรือน ท่านว่าไม่ควรเอามาสืบหน่อต่อแนว ด้วยถือว่าเป็นคนไม่ดี"

ham 03

ภาพประกอบและบทกวีบรรยายทั้งหมดได้จากหนังสือ เดินทาง-บันทึก-ศึกษา “เบิ่งฮูป-แต้มคำ” ของวิโรฒ ศรีสุโร

แม้โค็ยจะแสดงออกถึงความไม่สุภาพในบางวาระ แต่คำอีสานก็มีชื่อเรียกสิ่งของอื่นๆ อีก อย่างเป็นสามัญธรรมดา เช่น โค็ยงู = ต้นควยงู, โค็ยตาล = งวงตาล, โค็ยมอน = หางไหล เป็นอาทิ

ชาวอีสานพูดคำว่า "หำ" โดยไม่กระเดียมเหนียมปาก เพราะมันเป็นคำสามัญจริงๆ เช่น เรียกปมรากที่เกิดกับเถามันป่าและมันปลูกบางชนิด ปมดังกล่าวนี้ทรงกลม บางชนิดก็แป้นเล็กน้อย ขนาดย่อมกว่าลูกปิงปอง มักเรียกกันว่า "หำมัน" สามารถนำมาเผาไฟ ต้ม หรือนึ่งกินก็ได้ นำไปปลูกก็ได้, เรียกเห็ดชนิดหนึ่ง ทรงกลม สีเหลืองๆ เนื้อเหนียวว่า เห็ดหำฟาน, เรียก ส่าขนุน หรือ ผลขนุนอ่อน ที่เพิ่งติดลูกว่า หำมี้, หำหมากมี้

ham 04

ชาวฝรั่งนำต้นมะฮอกกานีไปปลูกที่เวียงจันทน์ เป็นเพราะเหตุที่ไม่ใช่ต้นไม้ท้องถิ่นที่เคยมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เรียกเป็นคำฝรั่งก็ไม่สะดวกปาก ชาวลาวกำหนดเรียกไม้ดังกล่าวนี้ว่า หำงัว ด้วยว่าผลของต้นมะฮอกกานี มีสัณฐานคล้ายกับอัณฑะของวัว แถมยังมีสีน้ำตาลเหมือนกับสีหนังวัวอีก เป็นการนิยามคำศัพท์ได้เด็ดขาดเฉียบคมมาก

ชื่อโรคก็มีที่พาดพิงถึงเรื่อง "หำ" คือคำว่า หำโปง หมายถึง ไส้เลื่อนลงถุง (อัณฑะ) ทำให้อัณฑะโตขึ้นและปวดหนึบๆ ทรมานสิ้นดี บางทีก็เรียกว่า "ไส้ลงหำ"

สำนวนว่า "หำหด" ใช้เรียกภาวะกลัวหรือหวาด หรือขยาดเกรงขาม เช่น การเรียกหน้าผาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิว่า "ผาหำหด" ก็หมายถึง เมื่อใครไปยืนที่ริมหน้าผานั้นแล้ว จะเกิดอาการกลัวจนหำหด นั่นเอง

นั่นว่าด้วยเรื่องหำ

ส่วนคำว่า "บัก" ไม่จำกัดเฉพาะคนเพศชายเท่านั้น ยังใช้เรียกสัตว์เพศผู้อย่าง วัว ควาย เช่น บักคำดี บักทองคูน บักด่อน บักตู้ เรียก สุนัข ว่า บักก่าน บักดำ รวมถึงสัตว์อื่นๆ แม้หา “รอยบักที่อวัยวะเพศ” ไม่ได้ แต่ก็ถูกจำแนกให้เป็นบักไปโดยความเข้าใจ เช่น เรียกแมลงกว่างตัวผู้เขาสั้นว่า บักกิ เรียกตัวผู้ที่เขายาวว่า บักโง้ง เรียก ไก่ตัวผู้ เป็น บักโอก บักโจ้น เรียก ม้าตัวผู้ขนาดเล็ก ว่า บักจ้อน เป็นอาทิ

มีสำนวนอีสานเกิดใหม่ คือคำว่า บวชล้างบัก ใช้เรียก “เหน็บ” คนยุคสมัยหลังๆ ที่มักจะบวชกันไม่กี่วัน ไม่ทันได้ศึกษาอบรมเรื่องมารยาทหรือฝึกจิตใจในทางพุทธธรรมสักเท่าใด แล้วก็ด่วนลาสิกขาออกมา จากที่เคยเรียกบักนำหน้าชื่อ ก็เรียก "ทิด" นำหน้าแทน แต่ถ้าทำตัวเกกมะเหรกเกเรเหมือนเคย ชาวบ้านก็มักจะพูดประเทียดเอาว่า บวชล้างบัก

คำว่าบัก มีปรากฏใช้ที่หน้าคำอื่น เป็นลักษณะของการใช้พยางค์เสริมหน้า (pre syllable) เช่น

บักใหญ่ หมายถึง ใหญ่ (พิเศษ)

บักเอ้บ หมายถึง (ลักษณะรูปร่างที่ปรากฏทางสายตา) ใหญ่เป็นพิเศษ

อย่างไรก็ดีคำพ้องรูปและพ้องเสียงกับ “บัก” ที่ปรากฏในคำเรียกผลไม้ บักอึ (ฟักทอง) บักโต่น (ฟักเขียว ผลใหญ่) บักขาม บักแตง คำเหล่านี้เป็นการเลื่อนเสียงกัน ระหว่างหน่วยเสียง /m/ หรือเสียง /ม/ กับหน่วยเสียง /b/ หรือเสียง /บ/ เพราะเป็นหน่วยเสียงที่เกิดริมฝีปากทั้งสอง (เราจะออกเสียง ม หรือ บ โดยไม่เอาริมฝีปากทั้งสองแตะกันก่อนไม่ได้) คือคำว่า หมาก เลื่อนเป็น หมัก และถ้าบังคับลมไม่ให้ออกทางจมูก เสียง หมัก ก็จะเป็นเสียง บัก ได้โดยง่าย บางคนยังถนัดปากที่จะเรียก หมักอึ หมักแตง อยู่เลย คำว่า หมาก/หมัก/บัก ในที่นี้ หมายถึงผลของพรรณไม้ ไม่เกี่ยวกับรอยบัก แต่ประการใด

ham 05

ในภาษาอีสานจำแนกเพศเป็นสองอย่าง คือเพศผู้ กับเพศแม่ ต่อเมื่อมีคนประเภท “มีบัก” แต่จริตจก้านกระเดียดไปทางเพศหญิง ก็จึงเกิดมีคำว่าคนผู้แม่ (คำนี้เก่าเต็มที หาคนพูดน้อยแล้ว) ซึ่งก็หมายถึง 'กะเทย' ในความหมายที่เราสื่อความกันในปัจจุบัน หรือเช่นเรียก ไก่ตัวผู้ที่ไม่ขัน (แม้อายุของไก่จะล่วงเลยเข้าสู่วัยที่ควรขัน และไก่ลักษณะนี้ก็หายาก) ว่า ไก่ผู้แม่ เป็นต้น

บัก เมื่อใช้กับคนเพศชาย ใช้ได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่จะไม่ใช้กับผู้อาวุโสกว่า เว้นเสียแต่ว่าจะใช้ในความหมายที่เป็นสามัญ และเป็นภาษาพูดไม่เป็นทางการ เช่นเรียกนักร้องชายที่เป็นซูเปอร์สตาร์ว่า บัก…(ตามด้วยชื่อ) หรือใช้ในความหมายที่ดูถูก ไม่ยำเกรง เช่น เรียกรัฐมนตรีที่มีข่าวพฤติกรรมที่โกงกินว่าบัก…(ตามด้วยชื่อ) หรือเรียกชาวตะวันตกว่า บักดังโม (ไอ้จมูกโต) เป็นต้น และมักจะเรียกในฐานะเป็น บุรุษที่สาม คือ เรียกลับหลัง ไม่ได้เรียกต่อหน้าในฐานะที่เป็นบุรุษที่สอง

ดังที่เกริ่นมาแต่ต้น คำว่า "บัก" นั้นเป็นการจำแนกผู้ชาย ซึ่งมีความต่างจากผู้หญิงแล้ว บักก็ถูกนำไปผนวกกับคำอื่น เช่น บักหำ เป็นคำที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กชายด้วยความเอ็นดู บางคราวก็ประสมกับความเสแสร้งแกล้งใช้เด็ก เช่น ถ้าผู้ใหญ่พูดว่า “มึงไปตักน้ำให้กูสักขัน” กับ “บักหำ…ไปตักน้ำมาให้จั๊กขันแด่” ข้อความหลังนี้ นุ่มหูและน่าไปตักน้ำให้มากกว่าข้อความแรกเยอะเลย

เรียก บักหำ แค่นี้ยังไม่พอ บางคนเรียก บักหำน้อย ยิ่งระคนความน่ารักน่าเอ็นดูเจืออยู่ในน้ำคำเข้าไปใหญ่ แต่อย่าริไปพูดเอาคำว่า ใหญ่ ไปแทนคำว่า น้อย  นั่นเชียว เป็นการล้อเลียนที่ไม่น่าให้อภัย

ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2547
ผู้เขียน : วีระพงศ์ มีสถาน, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

redline

backled1

song word

ารเรียนรู้ภาษาอีสานจากเพลง น่าจะเป็นหนทางที่ผู้เรียนจะเข้าใจได้ง่ายกว่า เพราะได้ยินสำเนียงเสียงอีสานจากนักร้อง บางเพลงก็ยังเรียนรู้ความหมายของคำได้ จากละครในมิวสิกวีดิโอได้อีกด้วย ตามคำขอครับสำหรับแฟนๆ ที่ชอบเพลงอีสานแต่ฟังแล้วเข้าใจความหมายได้ไม่หมด ก็ทำให้ความรู้สึกซาบซึ้งในดนตรีนั้นลดน้อยลง อยากจะทราบเนื้อหาเพลงใด ของนักร้องคนใด ก็บอกกันมาครับ ส่งอีเมล์ไปที่ webmaster (@) isangate.com จะได้นำมาเสนอเป็นลำดับต่อไป ขอแจ้งให้ทราบว่า ผู้จัดทำไม่ได้มีความต้องการโปรโมทเพลงนักร้องคนใด ค่ายใดทั้งสิ้น เพลงที่ถูกคัดเลือกมานำเสนอ จะต้องมีภาษาอีสานแทรกอยู่จำนวนหนึ่ง ที่แฟนเพลงบางท่านอาจไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ฟังแล้วม่วนแต่บ่เข้าใจ จึงจะได้รับการคัดเลือกมาลงในหน้านี้ครับ

โลกยังมีผู้ชายแบบอ้าย

คำร้อง/ทำนอง : ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก
ขับร้อง : มนต์แคน แก่นคูน

ห้ามฝนบ่ให้ตกจังใด๋ ห้ามใจบ่ให้คึดฮอด ถึงบ่ได้กอด ได้แค่พาใจมาจอดความเหงา เป็นแขกประจำ ที่น้องมองข้ามได้ชมเพียงเงา หลบมุมโต๊ะเดิมที่เก่า ให้ความปวดร้าวเข้าสิง

บ่โทษผู้ใด๋ อ้ายตั้งใจมาเจ็บ บ่เผื่อบ่เซฟ เพราะใจยังโสดซิงซิง ส่งสายตาเหงามาซอมเบิ่งเจ้าบ่เคยซูนคิง คืนไหนมีเสี่ยตบดริ๊งก์ อ้ายนั่งกลืนก้อนความอกหัก

* ปากอ้ายมันหนัก แต่ใจฮักเบาคือบักนุ่น หมดโอกาสลุ้น นับว่าโชคดีมีเจ้าให้ฮัก คนบ่มีไผได้มาอยู่ใกล้ก็สุขใจนัก เจ็บหลายยามถูกเธอทัก ว่าอ้ายมาถ่าผู้ใด๋

** บอกให้รับฮักมาจากไผ พบเจ้าก็ถูกชะตา อย่าฟ้าวรำคาญเด้อหล่า ยามที่สายตาเทียวส่งกด LIKE บ่ได้ครอบครอง แต่คิดฮอดน้องจนเป็นนิสัย โลกยังมีผู้ชายแบบอ้าย ฮักไปวันวันก็พอ

(ซ้ำ * และ **) โลกยังมีผู้ชายแบบอ้าย ได้ฮัก ได้มองก็พอ


          มีคำที่เป็นภาษาอีสานหลายคำที่น่าสนใจดังนี้

บ่ให้ = ไม่ให้
คึดฮอด = คิดฮอด
บ่เผื่อบ่เซฟ = ไม่เผื่อไม่เซฟ
บ่เคยซูนคิง = ไม่เคยจับเนื้อต้องตัว
ฮักเบาคือบักนุ่น = รักเบาเหมือนปุยนุ่น
คนบ่มีไผ = คนไม่มีใคร
ฮักมาจากไผ = รักมาจากใคร
จั่งใด๋ = อย่างไร
บ่โทษผู้ใด๋ = ไม่โทษใคร
ซอมเบิ่งเจ้า = มองดูน้อง
อ้าย = พี่ชาย
มีเจ้าให้ฮัก = มีน้องให้รัก
อ้ายมาถ่าผู้ใด๋ = พี่มารอคอยใคร
อย่าฟ้าวรำคาญเด้อหล่า = อย่าเพิ่งรำคาญนะน้อง

 

 redline

backled1

 

หมวดหมู่รอง

รวมผญา สุภาษิต และคำสอย

กลอนลำ

song word

เพลงลูกทุ่งอีสาน มาเข้าใจความหมายของคำภาษาอีสานในเพลงลูกทุ่ง

ภาษาอีสานแยกตามหมวดอักษร

กลอน ภาษิตโบราณอีสาน

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)