คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
เรื่องของการมีคู่ครองเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นการเอาคนต่างครอบครัว ต่างนิสัยมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งต้องมีการปรับตัวเข้าหากันเพื่อสร้างครอบครัวที่มั่นคง ประเพณีโบราณอีสานจึงถือว่า "การเลือกคู่ครอง" เป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่การเลือกดูดวงชะตาราศีให้สมพงษ์กัน หาเลือกงามยามดีในการแต่งงาน
สมพงษ์นาค เป็นวิธีการหนึ่งของการเลือกคู่ครอง ถ้าอยากรู้ว่า ชายหญิงที่ชอบพอกันนี้ชะตาจะสมพงษ์กันหรือไม่ ให้ดูที่สมพงษ์นาค (ดังรูปด้านล่าง) ผู้ชายให้นับปีชวดจากหัวนาคไปหางนาค นับไปจนถึงปีเกิดของตน ถ้าเป็นหญิงให้เริ่มนับปีชวดจากหางนาคไปจนถึงปีเกิดของตน นอกจากนับปีเกิดแล้วยังมีการนับเดือน และวันด้วย โดยการนับเดือนให้นับจากเดือนอ้าย ส่วนวันให้นับวันจากวันอาทิตย์ ใช้วิธีการเดียวกับการนับเดือน (ชายเริ่มจากหัวนาค หญิงเริ่มจากหางนาค) แต่ที่นิยมกันคือการนับปีเกิด ซึ่งจะทำนายผลดังนี้
โบราณประเพณีได้กำหนดวันสมพงษ์เป็นมิตร และเป็นคู่ครองกันไว้ดังนี้
อธิบายว่า วันพุธคู่กับวันจันทร์ วันพฤหัสบดีคู่กับวันอาทิตย์ วันศุกร์คู่กับวันอังคาร วันเสาร์คู่กับวันราหู (คือวันพุธกลางคืน) ถ้านอกจากคู่นี้ชื่อว่าไม่สมพงษ์
ดูดวงเนื้อคู่ ดวงสมพงศ์นาคคู่ จาก ตำราพรหมชาติ
ในตำรา "หนังสือใบลานหมอดูอีสาน" นั้น พบเฉพาะหลักการสมพงษ์ปี และวัน ไม่พบเห็นการจับคู่สมพงษ์เดือน ในตำราการจับคู่สมพงษ์ปีที่จะเป็นมิตรและเป็นคู่ครองที่ดีนั้น มีกำหนดไว้ดังนี้
ปีชวด - ปีมะโรง | เทวดาผู้ชาย | ปีมะเมีย - ปีมะแม | เทวดาผู้หญิง |
ปีวอก - ปีระกา | ยักษ์ผู้ชาย | ปีจอ - ปีขาล | ยักษ์ผู้หญิง |
ปีมะเส็ง - ปีฉลู | มนุษย์ผู้ชาย | ปีเถาะ - ปีกุน | มนุษย์ผู้หญิง |
การแต่งงานจึงควรจับคู่ให้สมพงษ์กัน คือ เทวดาผู้ชายคู่กับเทวดาผู้หญิง ยักษ์ผู้ชายคู่กับยักษ์ผู้หญิง มนุษย์ผู้ชายแต่งกับมนุษย์ผู้หญิง ถ้าจับคู่นอกเหนือจากนี้ถือว่าไม่ดี
อย่างไรก็ตาม หากทั้งสองคนบ่าวสาวมีความรักใคร่ ใจบริสุทธิ์ใสซื่อต่อกัน ก็ไม่ต้องใส่ใจต่อการสมพงษ์ แต่ให้มุ่งมั่นทำความดีปฏิบัติตามฆราวาสธรรมอย่างเคร่งครัด มีจิตใจเป็นพระ สงบเย็น มีขันติธรรม ให้อภัยแก่กัน ครอบครัวก็จะร่มเย็นเป็นสุข มั่นคงยั่งยืนตลอดไป โดยไม่ต้องไปสนใจว่าคู่เราจะเป็นเทวดา ยักษ์ มนุษย์ชายหรือหญิง แต่อย่างใด
"สีประจำวัน" ที่สมพงษ์กับคนเกิดวันต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างความพึงพอใจแก่คนที่เราคบหา หากเลือกของขวัญของฝากให้ตรงกับสีประจำวันของผู้ที่เราคบหา ก็จะได้รับความรัก ความเมตตาจากผู้นั้น หากเราแต่งตัวให้มีสีตรงกับสีประจำวันของเรา ก็อาจจะได้รับผลดีเช่นกัน สีที่ต้องโฉลกหรือเป็นศิริมงคลประจำวัน ดังนี้
วันอาทิตย์ | สีแดง |
วันจันทร์ | สีขาว หรือ สีเทา |
วันอังคาร | สีชมพู |
วันพุธ | สีแสด หรือ สีเหลือง |
วันพฤหัสบดี | สีเขียว หรือ สีเหลือง |
วันศุกร์ | สีม่วง หรือ สีเทาแก่ |
วันเสาร์ | สีดำ หรือ สีครามแก่ |
นอกจากเรื่องของดวงสมพงษ์และสีแล้ว เมื่อตกลงปลงใจจะร่วมชีวิตใหม่ร่วมกันแล้ว ก็ต้องหาฤกษ์งามยามดีในการประกอบพิธีกรรมแต่งงาน ควรเลือกฤกษ์ยามตามแนวปฏิบ้ติดังนี้
อ่านมาถึงตรงนี้ บางท่านอาจจะวิตกกังวล เพราะตรวจสอบดูแล้วพบว่า ตนได้จัดการงานแต่งงานไปในวัน หรือฤกษ์ต้องห้ามข้างต้น โบราณท่านว่าแก้ไขได้ ด้วยการไหว้พระสวดมนต์ทุกเช้าเย็น หม้่นตักบาตรทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร จะพ้นทุกข์ มีสุขทุกคืนวันแล...
ศึกษาเรื่อง ดวง โหราศาสตร์ กันแล้ว ก็มาดูรายละเอียดในทัศนะของหมอ (จิตวิทยา) ปัจจุบันกันบ้าง โดยทั่วไปทั้งชายแลหญิงมักจะมีความคิดในเรื่องการมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร แต่มักจะมีคำถามว่า "ควรจะเลือกคู่ครองอย่างไรจึงจะถูกใจ" ซึ่งไม่มีคำตอบที่เฉพาะเจาะจงและตายตัว แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการเลือกคู่ครองเราควรที่จะทราบเกี่ยวกับความจริง 7 ข้อ ดังนี้
ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงความจริงบางส่วนของการมีชีวิตคู่ ซึ่งนอกเหนือไปจากความสุขและความอบอุ่นในชีวิตของการมีคู่ครอง ดังนั้น ถ้าคุณคิดที่จะเลือกใครสักคนมาเป็นคู่ครอง ก็คงต้องพิจารณาว่าคุณยอมรับความจริงเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมาะแก่การแต่งงานหรือเป็นพ่อแม่แต่ก็สามารถที่จะมีชีวิตที่ดีตามปกติได้เช่นกัน
สำหรับท่านที่คิดว่า พร้อม (หรือยังไม่พร้อม แต่สนใจ) ลองมาดูว่าหลักเกณฑ์ทั่วไป ที่มักจะใช้ในการเลือกคู่มีอะไรบ้าง
ทั้งหมดเป็นเพียงหลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องมีทุกข้อ คิดว่ามีข้อที่สำคัญหลายๆ ข้อ น่าจะได้คนที่ดีเพียงพอที่จะเป็นคู่ครองของเราได้ แล้วอย่าลืมปรับปรุงตัวเองให้เป็นคนที่ดีและมีค่าในตัวเอง เพื่อที่ว่าคุณจะได้เป็นคนที่มีค่าอีกคนหนึ่งในสังคม
ที่มา : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : การเลือกคู่ครอง | การแต่งงานแบบอีสาน | แซนการ์ แต่งงานอีสานใต้ | ซัตเต แต่งงานชาวกุย
หนุ่ม-สาวชาวอีสาน เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว ตามปกติฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านพ่อตา-แม่ยาย ต่อเมื่อมีลูกแล้วจึงขยับขยายไปอยู่ที่ใหม่เรียกว่า "การออกเฮือน" แล้วไปหักล้างถางพงหาที่ทำนา (หากพ่อตา-แม่ยายไม่มีทรัพย์ไว้ให้) ดังนั้น ที่นาของคนชั้นลูกชั้นหลานจึงมักไกลออกจากหมู่บ้านไปทุกที และเมื่อบริเวณที่เหมาะสมจะทำนาหมดไป เพราะพื้นที่ราบที่มีแหล่งน้ำจำกัด คนอีสานชั้นลูกหลานก็มักจะชักชวนกันไปตั้งบ้านขึ้นใหม่อีก หรือถ้าที่ราบในการทำนาบริเวณใดกว้างไกลเดินทางไปมาลำบาก ก็จะชักชวนกันไปตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ใกล้เคียงกับที่นาของตน ทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นหมู่บ้านใหม่ขึ้น
ในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของคนอีสาน มักเลือกทำเลที่เอื้อต่อการยังชีพ ซึ่งมีองค์ประกอบทั่วไปดังนี้
สิ่งที่ต้องต้องพิจารณาสถานที่อันดับแรก ก่อนที่จะสร้างบ้านเรือนนั้น โดยปกติจะต้องเลือกเอาสถานที่มีความปลอดโปร่ง ไม่มีหลุมบ่อ ไม่มีจอมปลวก ไม่มีหลุมผี ไม่มีตอไม้ใหญ่ และต้องดูความสูงต่ำ ลาดเอียงของพื้นดินว่า ลาดเอียงไปทางทิศใด และจะเป็นมงคลหรือไม่ ดังนี้
เมื่อเลือกได้พื้นที่ปลูกเรือนแล้ว จะมีการเสี่ยงทายพื้นที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดข้าว 3 กระทง คือ ข้าวเหนียว 1 กระทง, ข้าวเหนียวดำ 1 กระทง และข้าวเหนียวแดง 1 กระทง นำไปวางไว้ตรงหลักกลางที่ดินเพื่อให้กากิน ถ้ากากินข้าวดำ ท่านว่าอย่าอยู่เพราะที่นั้นไม่ดี ถ้ากากินข้าวแดง ท่านว่าไม่ดียิ่งเป็นอัปมงคลมาก ถ้ากากินข้าวขาว ท่านว่าดีหลี จะอยู่เย็นเป็นสุข ให้รีบเฮ็ดเรือนสมสร้างให้เสร็จเร็วไว
การเลือกพื้นที่ที่จะปลูกเรือนอีกวิธีหนึ่งคือ การชิมรสของดินโดยขุดหลุมลึกราวศอกเศษๆ เอาใบตองปูไว้ก้นหลุม แล้วหาหญ้าคาสดมาวางไว้บนใบตอง ทิ้งไว้ค้างคืนจะได้ไอดินเป็นเหงื่อจับอยู่หน้าใบตอง จากนั้นให้ชิมเหงื่อที่จับบนใบตอง หากมีรสหวาน เป็นดินที่พออยู่ได้ มีรสจืด เป็นดินที่เป็นมงคล จะอยู่เย็นเป็นสุข มีรสเค็ม เป็นอัปมงคล ใครอยู่มักไม่ยั่งยืน มีรสเปรี้ยว พออยู่ได้แต่ไม่ใคร่ดีนัก จะมีทุกข์เพราะเจ็บไข้อยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องกลิ่นของดินอีกด้วย โดยการขุดดินลึกราว 1 ศอก เอาดินขึ้นมาดมกลิ่นว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าดินมีกลิ่นหอม ถือว่าดินนั้นอุดมดี เป็นมงคลอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าดินมีกลิ่นเย็น กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว ถือว่าดินนั้นไม่ดี ใครปลูกสร้างบ้านอยู่เป็นอัปมงคล
การดูพื้นที่ก่อนการสร้างเรือน ชาวอีสานแต่โบราณถือกันมาก แต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยยังใช้คติเดิมแต่มีการเลี่ยงหรือแก้เคล็ด เช่น การชิมดิน หากเป็นรสเค็มหรือเปรี้ยว ก็แก้เคล็ดโดยการบอกว่าจืด ส่วนการดมกลิ่นดิน หากมีกลิ่นเหม็นคาวก็จะบอกเอาเคล็ดว่าหอม เป็นต้น
ปัจจัย 4 ที่สำคัญของมนุษย์ย่อมมี ที่อยู่อาศัย หรือ บ้าน เฮือน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะไปทำมาค้าขาย ทำกิจการงานที่ใดก็ตาม เมื่อเสร็จกิจการงานแล้วก็จะกลับมายังบ้านพักอาศัยเสมอ เพราะบ้านเป็นที่ที่เราภาคภูมิใจ เป็นสิ่งที่รักและหวงแหน ความอบอุ่นเกิดภายในบ้าน นอนหลับสบายใจไร้ความกลัว และความหวาดระแวง แต่ถ้าปลูกบ้านไม่ถูกโฉลกกับเจ้าของ ความทุกข์ความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นกับเรา ดังนั้น จึงควรเลือกวัน เวลา เดือน ปี โสกหรือโฉลก และวิธีปลูกบ้าน ให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมโบราณณ
อุกาสะ ผู้ข้าขออัญเชิญแม่ธรณีเจ้าได้ออกจาก (หยับย้ายออกจาก) ที่ปลูกบ้าน เพราะที่ปลูกบ้านลูกหลานย่อมทิ้งสิ่งสกปรก ขอย้ายแม่ออกไปอยู่ข้างบ้าน แล้วขอให้แม่คุ้มครองปกป้องรักษาบ้าน และลูกหลานในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้แม่นำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย หมายมีกระดูกเป็นต้น ขอให้แม่โยนทิ้งไปให้ไกล เอาเหลือไว้แต่สิ่งอันเป็นมงคลแก่ข้าเทอญฯ "
เดือน | สีธง | เดือน | สีธง |
---|---|---|---|
เดือนอ้าย | สีขาว | เดือนยี่ | สีขาว |
เดือนสี่ | สีเหลือง | เดือนหก | สีเหลือง |
เดือนเก้า | สีดำหรือสีนิล (เขียวแก่) | เดือนสิบสอง | สีแดง |
วิธีขุดเสา เมื่อเราทำเครื่องบูชาเสร็จแล้ว ให้ลงมือขุดหลุมเสาแฮก คนที่ถือเคร่งจริงๆ เวลาขุดหลุมเสาแฮกนั้น เขาจะเอาไม้คูณ หรือไม้ยอทำด้ามเสียมก่อน คนขุดก็จะตั้งชื่อให้ว่า "ท้าวเงิน ท้าวคำ ท้าวแก้ว ท้าวค้ำ ท้าวคูณ" ชื่อใดชื่อหนึ่งตามความเหมาะสม ให้เป็นผู้ขุดเสาแฮก แต่ถ้าจะตั้งชื่อคนขุดทั้ง 8 หลุม (เรือน 3 ห้องสมัยโบราณมีเสา 8 ต้นต่อเกย หรือเฉลียงอีก 4 ต้น จึงรวมเป็น 12 ต้น เกยไม่นับเป็นเรือน) ก็ให้ตั้งเพิ่มอีก 3 ชื่อ คือ ท้าวสุข ท้าวดี ท้าวมี แล้วให้ขุดเสาคนละเสา
สำหรับเสียมขุด นอกจากเสาแฮกแล้วจะเอาด้ามอะไรก็ได้ เฉพาะเสาเอกหรือเสาแฮก ให้ใช้เสียมไม้คูณ หรือไม้ยอ โดยให้ท้าวเงินเป็นคนขุด ในเวลาขุดหลุมเสาย่อมจะพบสิ่งที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคล ดังนั้นเมื่อพบแล้วให้แก้นิมิตแก้อาถรรพ์ ดังนี้
มีหลายคนได้ยินแต่คนพูด แต่ไม่รู้ว่า เสาแฮก เป็นต้นไหน เสาขวัญเป็นต้นไหน มันอยู่ตรงไหนของบ้าน ทำไมจึงเรียกอย่างนั้น? ตอนจะปลูกบ้าน โบราณอีสานมีเคล็ดวิธีผูกของเป็นมงคลที่เสาแฮกเสาขวัญอย่างไร และตอนก่อนจะเอาเสาลงหลุม เอาอะไรผูกเสาแฮก และเอาอะไรผูกเสาขวัญ ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ปฏิบัติไม่ถูก ขอแนะนำเพื่อความเข้าใจถูกต้อง ดังนี้
เพื่อจะให้ผู้อ่านและเยาวชนรุ่นหลังได้รู้ว่า เสาแฮกเป็นต้นไหน เสาขวัญเป็นต้นไหน จะแสดงตำแหน่งที่ตั้งของเสาดังกล่าวให้ทราบ โดยยกตัวอย่างบ้านโบราณอีสาน ซึ่งเป็นบ้าน 3 ห้อง เสา 8 ต้น ถ้ามีเฉลียงก็ 12 ต้น
จะเสากี่ต้นก็ตาม ก็ให้เอาเสาต้นที่ 3 แถวที่หนึ่งทางหัวนอน นับจากซ้ายไปขวาเป็นเสาแฮก เอาเสาต้นที่ 3 แถวที่สองเป็นเสาขวัญ นับจากซ้ายมาทางขวา โดยผู้นับหันหน้าขึ้นไปทางหัวนอน
ในการยกเสาลงหลุม นอกจากจะเขียนคาถาลงใส่ในหลุม และเอาของมุงคุลผูกที่เสาแล้ว ถ้ามีพระพอที่จะนิมนต์มาได้ ก็นิมนต์มาสวดชยันโต รดเสาตอนยกเสาลงหลุมด้วย แต่ถ้าไม่มีพระ ก็ให้พ่อใหญ่ประเพณีสวดคาถา พร้อมเอาน้ำมนต์รดเสาไปด้วย คาถาสวดรดให้ว่าดังนี้
ตอนที่เรายกเสาไปวางที่ปากหลุมนั้น นอกจากการสวดคาถาแล้ว โบราณอีสานท่านให้หันปลายเสาไปในทิศทางที่เป็นมงคล ซึ่งจะสอดคล้องกับเดือนต่างๆ ดังนี้
เดือนที่ปลูกบ้านเฮือน | ทิศที่ดีในการหันปลายเสา |
---|---|
เดือนอ้าย - ยี่ | ให้หันปลายเสาไปทางทิศอีสาน เจ้าของบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข |
เดือนสี่ - หก | ให้หันปลายเสาไปทางทิศอาคะเนย์ เจ้าของบ้านจะมีโชคแล |
เดือนเก้า | ให้หันปลายเสาไปทางทิศหรดี จะเกิดความสงบสุขภายในบ้าน |
เดือนสิบสอง | ให้หันปลายเสาไปทางทิศพายัพจะเกิดความรุ่งเรือง |
เดือนสาม, ห้า, เจ็ด, แปด, สิบ, สิบเอ็ด | ไม่แนะนำให้ปลูกเฮือนเพราะเป็นเดือนต้องห้าม |
ถ้าปลูกเฮือนปีวอก หรือ ปีระกา | ให้เอาเทียน 3 เล่มไปผูกต้นเสาทางหัวนอนต้นใดก็ได้ จึงยกเสาลงหลุม |
บันไดทางขึ้นบ้านนั้น เราอาจจะเลือกทิศทางตั้งไม่ได้ตามทิศที่ดีตามโหราจารย์ท่านระบุ ด้วยสาเหตุของที่ดิน ทิศทางเข้าออก แต่ถ้าเลือกได้ควรจะเลือกให้อยู่ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ทิศอุดร (ทิศเหนือ) และทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) แต่ถ้าเลือกไม่ได้ ในวันขึ้นบ้านใหม่ให้หาบันไดสำรองพาดตัวบ้านตามทิศที่ดีนั้น แล้วกระทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ เมื่อเสร็จพิธีก็ให้รื้อบันไดสำรองออกเสีย
เมื่อสร้างบ้านเฮือนสำเร็จเสร็จสิ้น โบราณอีสานจะต้องมีพิธีกรรมในการขึ้นเฮือนใหม่ เอาฤกษ์เอาชัยเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล ซึ่งต้องคำนึงถึงทิศ และวันที่เหมาะสม พร้อมทั้งการถือสิ่งของอันเป็นมงคลขึ้นบ้านดังนี้
วันขึ้นบ้านใหม่ตามโบราณนิยมจะเป็นวันพุธ พฤหัสบดี และวันศุกร์ จะอยู่เย็นเป็นสุข และอย่าลืมดูยามที่เป็นมงคลประกอบด้วย ก่อนเวลาจะขึ้นบ้านใหม่จะแบ่งกลุ่มคนที่มาร่วมงานออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มีจำนวนมากจะทำหน้าที่เป็นเจ้าของบ้านอยู่กับบ้าน ให้เตรียมตุ่มใส่น้ำพร้อมกระบวย เอาใบกล้วยมาวางไว้ที่ดินตรงทางขึ้นบันได เอาหินมาทับไว้แล้วคอยดูอยู่ อีกกลุ่มหนึ่งมีประมาณ 3 คน เป็นชายหนึ่ง หญิงสอง ผู้ชายเป็นหัวหน้าใหญ่ใส่กุบเกิ้ง (หมวกงอบใหญ่) พายถงย่ามใบใหญ่ ในถงนั้นจะมีสิ่ว ฆ้อน ของค้ำคูณที่เป็นมงคลเช่น คุด เขา นอ งาช้าง เป็นต้น ส่วนผู้หญิงสองคนนั้นจะหาบกระบุงสายยาว หรือกระต่า แต่งตัวด้วยผ้าถุงใส่งอบ และใส่เสื้อดำจุบคาม ในกระบุงที่หาบมาจะมีเงิน ทอง เสื้อ และของกินทุกอย่าง
พอได้เวลาหัวหน้าจะถือไม้เท้าและใส่กุบเกิ้งพายถงเดินออกหน้า พอมาถึงบ้านแล้วจะยืนมองดูนิดหนึ่ง แล้วพาลูกหาบหญิงทั้งสองเดินเวียนขวา (ให้บ้านอยู่ด้านขวามือ) 3 รอบ มาหยุดยืนอยู่ที่บันได ยังไม่ขึ้น พวกที่เป็นเจ้าของบ้านซึ่งคอยจ้องอยู่แล้ว ก็ทำท่าขึงขังร้องถามออกไปว่า
เจ้าของบ้าน | เฮ้ย แม่นไผ หาบกระดอนคอนกระต่า ขนข้าวของสิไปไส? | |
---|---|---|
พ่อพราหมณ์ | โอย พวกข้าน้อย มาแต่เมืองหมั่นคำทองพุ้นดอก ได้ยินข่าวว่า ลูกหลานปลูกเฮือนใหม่ใส่หญ้าเต็ม ว่าสิมาค้ำมาคูณให้ ความเจ็บบ่ให้ได้ ความไข้บ่ให้มี ให้อยู่ดีมีแฮง บ่ให้ทุกข์ บ่ให้ยาก บ่ให้อึดให้อยาก บ่ให้ขาด บ่ให้เขิน จักอันจักแนว | |
เจ้าของบ้าน | เออ คันสิมาค้ำมาคูณ ให้ลูกหลานคือว่านั่นได้หยังมาแหน่? | |
พ่อพราหมณ์ | ได้มาพร้อมเหมิดสู่อย่างสู่แนวนั่นหล่ะ | |
เจ้าของบ้าน | กุบส่องฟ้า ผ้าส่องดาว ได้มาบ่? | |
พ่อพราหมณ์ | ได้มา | |
เจ้าของบ้าน | ข้อยข้าหญิงชายได้มาบ่? | |
พ่อพราหมณ์ | เออ ข้อยข้า หญิงชาย เครื่องใช้ไม้สอย เงินคำ ถ้วย บ่วง ข่วง จอง ข้าวน้ำ ถ้ำปลา (ไหปลาแดก) แก้วแหวนแสนสิ่ง แม่นได้มาเหมิด | |
เจ้าของบ้าน | ของอยู่ของกินได้มาบ่? | |
พ่อพราหมณ์ | ได้มา | |
เจ้าของบ้าน | เหล้ายา ปลาปิ้ง ได้มาบ่? | |
พ่อพราหมณ์ | ได้มา | |
เจ้าของบ้าน | ความบ่อึด บ่อยาก บ่ทุกข์ บ่ยาก บ่ไข้ บ่หนาว ได้มาบ่? | |
พ่อพราหมณ์ | ได้มา | |
เจ้าของบ้าน | เออ คันเพิ่นมาค้ำมาคูณบ่ให้เจ็บ บ่ให้ไข้ บ่ให้อึด บ่ให้อยาก บ่ให้ทุกข์ บ่ให้ยากหยังจักแนวกะเชิญขึ้นมาพี้ |
จากนั้นพวกแขก หรือพ่อพราหมณ์ที่มาแต่เมืองมั่นคำทอง ก็จะเหยียบหินและล้างเท้า แล้วจึงก้าวขึ้นบ้าน เอาถงไปห้อยไว้ที่เสาแฮก ถงนี้จะเอาไว้ 7 วันจึงจะเอาออกได้ แต่ก่อนห้อยพ่อพราหมณ์จะหยิบเอาสิ่วกับฆ้อนออกมาจากถงย่าม แล้วเอาฆ้อนตีสิ่วเพื่อห้อยถง 7 ครั้ง และว่าคำค้ำคูณแต่ละครั้งดังนี้
"ตอกบาดหนึ่ง ให้ได้ฆ้องเก้ากำ ตอกบาดสอง ให้ได้คำเก้าหมื่น ตอกบาดสาม ให้ได้เล้าข้าวหมื่นมาเยีย ตอกบาดสี่ ให้ได้เมียสาวมานอนพ่างข้าง ตอกบาดห้า ให้ได้ช้างมาเทียมโฮง ตอกบาดหก ให้ได้ชายโถงมานอนเฝ้าเล้าข้าว ตอกบาดเจ็ด ให้ได้ผู้เฒ่ามานอนเฝ้าเฮือน โอมอุอะมุมะมูนมามหามูลมังสวาหุม" ตอกแล้วกะเอาถงห้อยไว้
ต่อจากนั้นทางฝ่ายเจ้าของบ้านก็จะบอกฝ่ายตนว่า "ไปเอาสาดเอาหมอนมาปูที่นอนต้อนรับพ่อใหญ่และพี่น้องที่แต่เมืองมั่นคำทองแม้สู" แล้วก็เอาสาดเอาเสื่อมาปูใกล้เสาห้อยถง และหันหัวไปทางห้อยถง ปูเสร็จแล้วกะเชิญพ่อใหญ่เมืองมั่นคำทองพักนอน
พ่อใหญ่ฯ จะนอนเอาผ้าคลุมหัวตลอดเท้า เจ้าของบ้านก็นอนเอาผ้าคุมหัวจดเท้าเช่นเดียวกัน แล้วทุกคนต้องทำเป็นล้มตัวลงนอนหลับพักผ่อน นอนกรน คร๊อกๆ สักครู่ให้คนใดคนหนึ่งส่งเสียงขันเช่นดังไก่ขัน 2 - 3 ครั้ง พ่อใหญ่และเจ้าของบ้าน รวมทั้งคนอื่นๆ ก็ตื่นขึ้นมาพร้อมกัน
เจ้าของบ้านจะแก้ความฝันว่า "ฝันคืนนี้ฝันดีมีลาภ ฝันว่า พ่อใหญ่เอาไข่มาป้อนปันให้แต่เฮา เบิดกระบวน แล้วคนเมือเหมิดอ่อนฮ่อย ฝันว่านางนารถน้อยจูงแขนเข้าบ่อนนอน" เมื่อแก้ความฝันแล้วพ่อใหญ่มาแต่เมืองมั่นคำทอง ก็จะให้พรว่า "เออ นอนหลับให้เจ้าได้เงินพัน นอนฝันให้เจ้าได้เงินหมื่น นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน มือแปนให้เจ้าได้แก้วมณีโชติ โทษฮ้ายอย่ามาพาน มารฮ้ายอย่ามาเบียน โอมสหมฯ"
คำว่า “บ้าน" กับ “เฮือน” (ความหมายเช่นเดียวกับ “เรือน”) สำหรับความเข้าใจของชาวอีสานแล้วจะต่างกัน คำว่า “บ้าน” มักจะหมายถึง “หมู่บ้าน” มิใช่บ้านเป็นหลังๆ เช่น บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านนาคำแคน หรือบ้านดงมะไฟ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ เฮือน” นั้นชาวอีสานหมายถึงเรือนที่เป็นหลังๆ นอกจากคำว่า “เฮือน“ แล้ว อีสานยังมีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการใช้สอยใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบแตกต่างกันไป เช่น คำว่า “โฮง” หมายถึงที่พักอาศัยใหญ่กว่า “เฮือน” มักมีหลายห้อง เป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองหรือเจ้าครองนครในสมัยโบราณ
คำว่า “คุ้ม” หมายถึง บริเวณที่มี “เฮือน” รวมกันอยู่หลายๆ หลัง เป็นหมู่อยู่ในละแวกเดียวกัน เช่น คุ้มวัดเหนือ คุ้มวัดใต้ และคุ้มหนองบัว เป็นต้น คำว่า “ตูบ” หมายถึง กระท่อมที่ปลูกไว้เป็นที่พักชั่วคราว มุงด้วยหญ้าหรือใบไม้
ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” (ตามตะวัน) เพราะถือกันว่า หากสร้างเรือนให้ “ขวางตาเว็น” แล้วจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคลทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุขบริเวณรอบๆ เรือนอีสานไม่นิยมทำรั้ว เพราะเป็นสังคมเครือญาติมักทำยุ้งข้าวไว้ใกล้เรือน บางแห่งทำเพิงต่อจากยุ้งข้าว มีเสารับมุงด้วยหญ้าหรือแป้นไม้ เพื่อเป็นที่ติดตั้งครกกระเดื่องไว้ตำข้าว ส่วนใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นบริเวณที่มีการใช้สอยมากที่สุด จะมีการตั้งหูกไว้ทอผ้า กี่ทอเสื่อ แคร่ไว้ปั่นด้วย และเลี้ยงลูกหลาน นอกจากนั้นแล้ว ใต้ถุนยังใช้เก็บไหหมักปลาร้า และสามารถกั้นเป็นคอกสัตว์เลี้ยง ใช้เก็บเครื่องมือเกษตรกรรม ตลอดจนใช้จอดเกวียน
พิธีการยกเสาเอกของบ้าน เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อมีการก่อสร้างบ้าน อาคาร สำนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย คนไทยเรามักจะหาผู้มีความรู้ในพิธีการขึ้นเสาเอกมาช่วยในการทำพิธี ซึ่งก็มีหลายตำรับตามแต่ละท้องถิ่น เราสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมได้ (ทุกตำรับล้วนแต่มีเคล็ลับ ความเชื่อดีๆ ทั้งนั้น) ทำไมต้องทำ ถ้าจะทำมีวิธีการ หรือต้องเตรียมการอย่างไร ไม่ยากครับทำตามนี้เลย
ให้นำหน่อกล้วย และอ้อย อย่างละหน่อ พร้อมผ้าสามสี และ/หรือผ้าขาวม้า มาผูกติดกับเสาต้นที่จะทำพิธีขึ้นเสาเอก ซึ่งอาจให้ช่างหรือคนงานเป็นคนจัดการให้ แต่บางที่เจ้าของบ้านก็จะทำการผูกเองขั้นต้นเพื่อความเป็นมงคล ซึ่งต้องผูกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนฤกษ์ขึ้นเสาเอก ไม่งั้นจะไม่ทันหลังจากนี้ จะเป็นพิธีที่จะทำในวันขึ้นเสาเอก ซึ่งเราอาจเชิญพราหมณ์มาทำพิธีให้ ซึ่งเราก็เพียงตั้งโต๊ะรอ ของพิธีในส่วนของพราหมณ์ ท่านจะนำมาเอง หรือเราอาจเชิญพระที่วัดใกล้บ้านมาช่วยทำพิธี ซึ่งถ้าเชิญพระมา เราต้องตั้งโต๊ะและจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด และอาจจัดหาอาหารสำหรับฉันก่อนเพล แจ้งให้ท่านทราบ หรืออาจให้ผู้ใหญ่ที่เรานับถือมาเป็นประธานในพิธีก็ได้ หรือตัวเจ้าของบ้านเองเป็นหลัก และผู้อยู่อาศัย ถ้าครบทุกคนก็จะดีมาก
การตอกไม้มงคล 9 ชนิดในหลุมเสาก่อสร้างบ้าน
ซึ่งในพิธีของทางพราหมณ์ อาจมีลำดับขั้นตอนที่เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงจากนี้ โดยให้ทางพราหมณ์เป็นผู้กำหนด ของที่ใส่ลงไปในหลุม สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ทั่วไป อย่างไรก็ดี การขึ้นเสาเอก อาจถือเพียงฤกษ์ของวันและเวลาที่เป็นมงคล ส่วนการเตรียมของนั้น อาจไม่ต้องครบมากก็ได้ หาได้เท่าไหร่ ก็เท่านั้น และทำตามพิธีได้มากน้อยแค่ไหน ก็แค่นั้น อย่างน้อยที่สุดให้ถือฤกษ์วันและเวลา พร้อมไม้มงคลทั้งเก้าชนิด ตอกลงไปในหลุมสาเอกแค่นี้ก็พอได้
กระท่อมน้อยของอ้ายทิดหมู มักม่วน ตอนกำลังก่อสร้าง (ปี พ.ศ. 2554)
กระท่อมน้อยของอ้ายทิดหมู มักม่วน เสร็จเรียบร้อยต้นปี พ.ศ. 2555
วิวัฒนาการของคนผ่านกาลเวลา พบกับภัยธรรมชาติ ทั้ง ฟ้าผ่า ไฟไหม้ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ทำให้เกิดการบอกเล่าและสังเกต จดจำ ทำสถิติจดบันทึก เปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยาวนานนับร้อย นับพันปี เป็นขุมความรู้ของมนุษย์ ว่าฤดูกาลใดควรทำสิ่งใด วันใดเวลาใดทำการแล้วได้ผลดี วันใดทำแล้วเกิดผลเสีย
การหาฤกษ์งาม-ยามดี จึงหมายถึงเวลาที่มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคน โดยเฉพาะเวลาประกอบพิธีต่างๆ ย่อมจะติดขัดถ้าไม่รู้ฤกษ์ยาม ความเชื่อของคนเชื่อว่า ฤกษ์นอกจากจะช่วยให้อยู่ดีกินดี ยังมีผลในทางสังคมวิทยาด้วย เช่น การหาวัน เวลาที่เหมาะสม ย่อมสามารถนัดหมายญาติ-มิตรให้พร้อมเพรียง เพื่อประกอบกิจการงานที่ต้องการความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจนั้นให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านแปงเฮือน แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งฤกษ์ยามที่ควรทำรู้จักมีดังนี้
เดือน | วันจม | วันฟู |
---|---|---|
อ้าย (เดือน ๑)
|
วันศุกร์
|
วันจันทร์
|
ยี่ (เดือน ๒)
|
วันเสาร์
|
วันอังคาร
|
สาม, แปด
|
วันอาทิตย์
|
วันพุธ
|
สี่, เก้า
|
วันจันทร์
|
วันพฤหัสบดี
|
ห้า, สิบ
|
วันอังคาร
|
วันศุกร์
|
หก, สิบเอ็ด
|
วันพุธ
|
วันเสาร์
|
เจ็ด, สิบสอง
|
วันพฤหัสบดี
|
วันอาทิตย์
|
อาทิตย์ | จันทร์ | อังคาร | พุธ | พฤหัสบดี | ศุกร์ | เสาร์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้างขึ้น (ค่ำ) | 8 | 3 | 9 | 2 | 4 | 1 | 5 |
ข้างแรม (ค่ำ) | 8 | 3 | 9 | 2 | 4 | 1 | 5 |
ชื่อดิถี | วัน | ข้างขึ้น-แรม (เดือน) | การกระทำ |
---|---|---|---|
ไชยดิถี |
อังคาร
|
3-8-13 ค่ำ
|
เหมาะสำหรับการสรงน้ำคุด ขอ นอ งา และให้ออกทัพจับศึก |
ภัทรดีถี |
พุธ
|
2-7-12 ค่ำ
|
เหมาะสำหรับการให้ยศ ให้ตำแหน่ง และฉลองศักดินาตราตั้ง |
ปุณณดิถี |
พฤหัสบดี
|
5-10-15 ค่ำ
|
เหมาะสำหรับการประกอบการค้าและปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร |
นันทดีถี |
ศุกร์
|
1-6-11 ค่ำ
|
เหมาะสำหรับการปลูกเรือนย้าวท้าวพระยา |
มิตตะดิถี |
เสาร์
|
4-9-14 ค่ำ
|
เหมาะสำหรับการเจริญทางการทูต ผูกเสี่ยว การสู่ขวัญต้อนรับ |
ดิถีมหาโชค การทำงานมงคลทั้งการแต่งงาน ปลุกบ้านเฮือนใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ เฉลิมฉลองใดๆ ให้เลือกทำและละเว้นตามวันในตารางข้างล่างนี้
วัน | อาทิตย์ | จันทร์ | อังคาร | พุธ | พฤหัส | ศุกร์ | เสาร์ | ดิถี | คำทาย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
8
|
3
|
9
|
2
|
4
|
1
|
5
|
อำฤตโชค
|
ดี
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
11
|
5
|
14
|
10
|
9
|
11
|
4
|
สิทธิโชค
|
ดี
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
14
|
12
|
13
|
4
|
7
|
10
|
15
|
มหาสิทธิโชค
|
ดี
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
8
|
3
|
13
|
10
|
4
|
1
|
11
|
ชัยโชค
|
ดี
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
6
|
3
|
9
|
6
|
12
|
1
|
5
|
ราชาโชค
|
ดี
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
1
|
4
|
6
|
9
|
5
|
3
|
7
|
ทึกทึน
|
ชั่ว-ร้าย
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
4
|
6
|
1
|
3
|
8
|
7
|
1
|
ทรธึก
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
12
|
11
|
7
|
13
|
6
|
8
|
9
|
ยมขันธ์
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
4
|
6
|
1
|
3
|
3
|
9
|
1
|
อัตนิโรจน์
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
1
|
2
|
10
|
7
|
1
|
6
|
6
|
ทินกาล
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
12
|
10
|
15
|
8
|
5
|
7
|
8
|
ทินสูญ
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
4
|
6
|
1
|
3
|
8
|
9
|
10
|
กาฬโชค
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
4
|
2
|
7
|
5
|
8
|
3
|
6
|
กาลสูญ
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
12
|
11
|
10
|
9
|
8
|
7
|
1
|
กาลทัณฑ์
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
4
|
6
|
10
|
9
|
8
|
9
|
1
|
โลกวินาส
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
4
|
8
|
6
|
4
|
8
|
8
|
9
|
วินาสส์
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
6
|
10
|
8
|
7
|
2
|
9
|
12
|
พิลา
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
9
|
1
|
10
|
9
|
8
|
7
|
6
|
มฤตยู
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
7
|
8
|
4
|
7
|
1
|
14
|
14
|
วันบอด
|
เลว
|
ขึ้น-แรม (เดือน)
|
5
|
6
|
10
|
8
|
11
|
5
|
7
|
กาลทีน
|
เลว
|
การเลือกทำและละเว้นให้ดูวันในแต่ละเดือนว่าดี หรือเลว ดีให้เอา เลวให้ละเว้น และถ้าไปตรงกับวันจมแม้จะเป็นวันอำฤตโชคก็ให้เว้นด้วย เช่นกัน
ถ้าเดือนต่อไปนี้ ตรงกับวันขึ้น-แรม (เดือน) ดังตารางถือว่าเป็นวันมหาสูญ แม้ว่าบางครั้งวันขึ้นแรมจะตรงกับ 5 ช่องแรกของวันดิถีมหาโชค แต่วันในสัปดาห์ไม่ตรงกันก็ถือว่า เลว จึงห้ามประกอบพิธี หรือการงานมงคลทั่วไป
เดือน | ขึ้น-แรม/ค่ำ | เดือน | ขึ้น-แรม/ค่ำ |
---|---|---|---|
6-3 | 4 | 7-10 | 8 |
8-5 | 6 | 11-2 | 12 |
9-12 | 10 | 4-1 | 2 |
เวลาจะเดินทางไปทำการมงคล หรือประกอบธุรกิจอะไร ห้ามไปหรือเดินทาง หรือนั่งหันหน้าไปในทิศทางที่ผีหลวง หรือหลาวเหล็กอยู่ ควรหันหน้าไปในทิศที่เทพเจ้าอยู่ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางก็ให้เดินทางไปในทิศทางที่เทพเจ้าอยู่ก่อนแล้ว ค่อยโค้งคืนมาในทิศทางไม่ดีนั้น ผีหลวงหลาวเหล็ก หรือเทพเจ้าอยู่ประจำทิศต่างๆ กัน ตามวันดังนี้
วัน | เทพเจ้าอยู่ทิศ | หลาวเหล็กอยู่ทิศ | ผีหลวงอยู่ทิศ |
---|---|---|---|
อาทิตย์ | ตะวันออกเฉียงใต้ | ตะวันตก | ตะวันออกเฉียงเหนือ |
จันทร์ | ตะวันตก | ตะวันออก | ตะวันออก |
อังคาร | ตะวันตกเฉียงใต้ | เหนือ | ตะวันออกเฉียงเหนือ |
พุธ | ใต้ | เหนือ | เหนือ |
พฤหัสบดี | เหนือ | ใต้ | ใต้ |
ศุกร์ | ตะวันออก | ตะวันตก | ตะวันตก |
เสาร์ | ตะวันตกเฉียงเหนือ | ตะวันออก | ตะวันออกเฉียงใต้ |
ถ้าต้องการจะเดินทางไปทำการค้าขาย ทำธุรกิจยังต่างถิ่นต่างที่ ควรจะเลือกเวลาในการเดินทาง และทิศทางเดินออกจากเคหสถานเพื่อโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น ดังนี้
วัน | ชื่อยาม | เวลาดี | ทิศดี |
---|---|---|---|
อาทิตย์ | ยามศุกร์ | 07.30 - 09.00 น. | เหนือ |
ยามพุธ | 09.00 - 10.30 น. | ทุกทิศ | |
ยามจันทร์ | 10.30 - 12.00 น. | ตะวันตก | |
จันทร์ | ยามเสาร์ | 07.30 - 09.00 น. | เหนือ |
ยามพฤหัส | 13.30 - 15.00 น. | ทุกทิศ | |
ยามศุกร์ | 15.00 - 16.30 น. | ทุกทิศ | |
ยามพุธ | 16.30 - 18.00 น. | ทุกทิศ | |
อังคาร | ยามศุกร์ | 09.00 - 10.30 น. | เหนือ |
ยามพุธ | 10.30 - 12.00 น. | ตะวันตก | |
ยามจันทร์ | 12.00 - 13.30 น. | ตะวันออก | |
ยามเสาร์ | 13.30 - 15.00 น. | เหนือ | |
ยามพฤหัส | 15.00 - 16.30 น. | ทุกทิศ | |
พุธ | ยามพุธ | 06.00 - 07.30 น. | ทุกทิศ |
ยามจันทร์ | 07.30 - 09.00 น. | ทุกทิศ | |
ยามพฤหัส | 10.30 - 12.00 น. | ทิศเหนือ | |
ยามศุกร์ | 15.00 - 16.30 น. | ทิศตะวันออก | |
ยามพุธ | 16.30 - 18.00 น. | ทุกทิศ | |
พฤหัสบดี | ยามพฤหัส | 06.00 - 07.30 น. | ทุกทิศ |
ยามอาทิตย์ | 09.00 - 10.30 น. | ทุกทิศ | |
ยามศุกร์ | 10.30 - 12.00 น. | ทุกทิศ | |
ยามพุธ | 12.00 - 13.30 น. | ทุกทิศ | |
ยามจันทร์ | 13.30 - 15.00 น. | ทุกทิศ | |
ยามพฤหัส | 16.30 - 18.00 น. | ทิศอุดร | |
ศุกร์ | ยามศุกร์ | 06.00 - 07.30 น. | ทุกทิศ |
ยามพุธ | 07.30 - 09.00 น. | ทุกทิศ | |
ยามจันทร์ | 09.00 - 10.30 น. | ทิศตะวันออก | |
ยามเสาร์ | 10.30 - 12.00 น. | ทุกทิศ | |
ยามพฤหัส | 12.00 - 13.30 น. | ทุกทิศ | |
ยามอังคาร | 13.30 - 15.00 น. | ทิศเหนือ | |
ยามศุกร์ | 16.30 - 18.00 น. | ทุกทิศ | |
เสาร์ | ยามพฤหัส | 07.30 - 09.00 น. | ทุกทิศ |
ยามศุกร์ | 12.00 - 13.30 น. | ทุกทิศ | |
ยามพุธ | 13.30 - 15.00 น. | ทุกทิศ |
โบราณาจารย์อีสานท่านกล่าวไว้ว่า สงฆ์ 14 นารี 11 สมรส 7 เผาศพ 15 นั้น ไม่ดีเลย ห้ามกระทำเด็ดขาด ความหมายของคำกล่าวนี้ คือ
ที่มา : ได้มาจากหนังสือที่ระลึกงานศพ (ผู้ใดไม่ปรากฏ เพราะปกฉีกขาด เสียหาย และปลวกกัดแทะหลายส่วน)
การปฏิบัติด้านศาสนพิธีของชาวพุทธในภาคอีสานนั้น มีคนเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่นำมาใช้ปฏิบัติผิดไป เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเพราะมีคนอยากรู้แต่ไม่มีคนสอน ผู้ที่น่าจะสอนได้ก็ไม่สอนเพราะเกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า เพราะไปเห็นมาหลายที่ก็กระทำผิดแผกแตกต่างกันไป
การทำบุญในประเพณีอีสานบ้านเฮา ที่ปฏิบัติกันอยู่จะมี 2 อย่างคือ
ตัวอย่างนี้เป็นการปฏิบัติของการทำบุญบ้านแบบอีสาน ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
เมื่อพระสงฆ์เดินทางมาถึง และนั่งบนอาสนะของท่านเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามะ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามะ อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามะ พุทธะปูชา เตชะวันตา ธัมมะปูชา ปัญญะวันตา สังฆะปูชา โภคะวันตา ยัง ยัง ชะนะปะทัง ยาติ นิคะเม ราชะธานิโย สัพพัตถะ ปูชิโต โหติ สัพพะโสตถี ภวันตุ โนเสร็จแล้วเอาภาชนะบูชานั้นประเคนพระเถระประธานสงฆ์
สำหรับการเตรียมการในงานศาสนพิธีอื่นๆ ก็ทำในลักษณะเดียวกันคล้ายคลึงกัน ให้ศึกษาหรือสอบถามจากผู้รู้เพิ่มเติม
โต๊ะหมู่บูชา หมายถึง ชุดโต๊ะที่ใช้วางพระพุทธรูปประธาน และเครื่องบูชา เช่น แจกันดอกไม้ เชิงเทียน กระถางธูป และอื่นๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบันเรียก "โต๊ะหมู่บูชา" มีหลายขนาด เช่น หมู่ 5 หมู่ 7 หมู่ 9 หมู่ 11 หมายความว่า โต๊ะหนึ่งชุดหรือหนึ่งหมู่ประกอบด้วย โต๊ะขนาดต่างๆ จำนวน 5, 7, 9 หรือ 11 ตัว หากไม่มีก็สามารถนำโต๊ะอะไรก็ได้ที่เหมาะสมไม่สูงหรือต่ำเกินไปมาใช้งาน โดยคลุมด้วยผ้าขาวสะอาด แล้วหาโต๊ะขนาดเล็กอีกตัวหนึ่งมาวางซ้อนเพื่อวางพระพุทธรูปก็ได้
การตั้งโต๊ะหมู่บูชามีหลักว่า ให้ตั้งหันหน้าออกทางเดียวกับพระสงฆ์ โดยอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์ โดยหมายเอาพระพุทธรูปเป็นประธาน (สมมุติว่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า) ตามธรรมเนียมปฏิบัติถ้าสถานที่ไม่จำกัดก็นิยมให้ผินพระพักตร์ของพระพุทธรูปไปด้านทิศเหนือ ด้วยหมายเอาว่า พระพุทธเจ้าเป็นโลกอุดร หรือจะผินไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้ทรงประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก) แต่หากสถานที่จัดงาน (ตึกราม บ้าน เรือน ในปัจจุบัน) ไม่อำนวย จะให้พระพุทธรูปผินไปทางทิศใดก็ได้ ขอให้การจัดพิธีสะดวกแก่ทั้งพระสงฆ์และเจ้าภาพได้ก็เพียงพอแล้ว
การเชิญพระพุทธรูปมาตั้งที่โต๊ะหมู่บูชานั้น ควรกระทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลาประกอบพิธี ควรจะมีขนาดเหมาะสมกับโต๊ะหมู่ ถ้าองค์พระมีครอบ (กันฝุ่น) อยู่ให้เอาออกก่อน องค์พระหากมีฝุ่นเกาะควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย ถ้าเป็นองค์ทองเหลืองก็ควรขัดให้แวววาว สะอาดสะอ้าน จะเป็นมงคลยิ่ง
ไม้มงคล ที่วางไขว้บนปากบาตรน้ำมนต์ไม่ใช่ไม้กางเขน แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งเท้าของพระยากาเผือก ผู้ให้กำเนิดครั้งแรกแห่งพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในภัทรกัปป์คือ พระกุกุสันธะ พระดกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระศรีอาริยะ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า
ท่านได้ถือกำเนิดครั้งแรกในไข่กาเผือก 5 ฟอง ที่ทำรังบนต้นไม้ติดฝั่งแม่น้ำ คืนหนึ่งฝนตกหนักและลมแรง ลมได้พัดเอาไข่ทั้ง 5 ฟองลงในน้ำ ไข่ใบที่ 1 ไก่เอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 2 พระยานาคเอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 3 เต่าเอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 4 โคเอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 5 ราชสีห์เอาไปฟักและเลี้ยงดู ซึ่งไข่ทั้งหมดถูกฟักออกมาเป็นคน เมื่อโตมาแม่เลี้ยงบอกว่า ท่านมิใช่แม่ที่แท้จริง ซึ่งต่างก็บวชเป็นฤาษีตามหาพ่อแม่ มาพบกันถามไถ่รู้เรื่องว่า มีกำเนิดจากไข่เหมือนกัน จึงพากันอธิษฐานให้ผู้เป็นพ่อแม่มาปรากฏ ทันใดนั้นพระยากาเผือกก็มาปรากฏและเล่าความจริงให้ฟัง และบอกลูกๆ ว่า ถ้าคิดถึงพ่อแม่ก็จงประทับรอยเท้าพ่อแม่ไว้ทุกครั้งที่ทำพิธีต่างๆ ทั้ง 5 ก็ถือปฏิบัติ จึงได้มีไม้ตีนกานี้มาตั้งแต่บัดนั้น และทั้ง 5 ก็ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้นแล
ในการนับถือศาสนาพุทธของคนไทยนั้นมี 2 พุทธ คือ คามวาสี หรือพุทธวัดบ้าน กับ อรัญวาสี หรือพุทธวัดป่า ที่ได้มาจากธรรมยุติกนิกาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการเอาม้า (โต๊ะตัวเล็กๆ) มาวางซ้อนกันเรียงลำดับใหญ่เล็กเพื่อวางพระพุทธรูป กระถางธูป เทียน แจกันดอกไม้ เรียกว่า ม้าหมู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาเรียกเป็น "โต๊ะหมู่" จนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับโต๊ะหมู่ในภาคอีสานมีความพิเศษกว่านั้น
ในวัฒนธรรมอีสานมีการทำโต๊ะหมู่บูชาเช่นกันแต่จะแปลกออกไป เป็นการนำเอา "ธรรมาสน์" ที่พระสงฆ์ใช้นั่งแสดงธรรมเก่าๆ มาเรียงซ้อนกันเป็นชั้นลดหลั่น เพื่อวางพระพุทธรูปและเครื่องบูชา คล้ายๆ เป็นบุษบก แล้วค่อยๆ เลือนหายใจ หันมาใช้ตามแบบอย่างทางการกรุงเทพมหานคร ที่นิยมใช้โต๊ะหมู่ประดับลวดลายอย่างจีนในสมัยรัชกาลที่ 4 และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นขาสิงห์ ประดับลวดลาย ลงรักปิดทอง หรือประดับกระจกเช่นในปัจจุบัน
โต๊ะหมู่บูชา ในรูปแบบศิลปะลาวล้านช้าง พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)